โรงเรียนวัดน้ำรัก (ประชาน้ำรัก) ยึดแนวทางการปฏิบัติในการบริหารงานวิชาการโดยกระบวนการศึกษา วิเคราะห์เอกสาร นโยบายของหน่วยงานเหนือสถานศึกษา ศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหาการวางแผนพัฒนาคุณภาพวิชาการ การดำเนินการพัฒนาตามแผน การติดตาม ตรวจสอบ การประเมิน เพื่อการปรับปรุงและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ดำเนินการอย่างอิสระ คล่องตัว รวดเร็ว สอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียน ชุมชน ท้องถิ่น และการมีส่วนร่วมจากผู้มีส่วนได้เสียทุกฝ่าย ซึ่งจะเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้สถานศึกษามีความเข้มแข็งในการบริหารและการจัดการ สามารถพัฒนาหลักสูตรและกระบวนการเรียนรู้ตลอดจนการวัดผลประเมินผล รวมทั้งการวัดปัจจัยเกื้อหนุน การพัฒนาคุณภาพนักเรียน ชุมชน ท้องถิ่นได้อย่างมีคุณภาพและมีประสิทธิผล จากแนวทางการบริหารงานดังกล่าวโรงเรียนวัดน้ำรักจึงได้จัดทำระบบเรียนรู้ของโรงเรียนขึ้นเพื่อประกอบการปฏิบัติงานและเป็นแนวทางในการเตรียมการประเมินวิทยฐานะของครูผู้สอนตามเกณฑ์ ว21 อีกทั้งยังได้ใช้กระบวนการ PLC มาผนวกเข้ากับการจัดการเรียนรู้ด้วยจึงเกิดเป็นการจัดการเรียนรู้ด้วยระบบเรียนรู้โดยใช้กระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) ขึ้น
ระบบเรียนรู้ระบบเรียนรู้ หมายถึง ระบบงานที่จัดทำเป็นขั้นตอนตามหลักเหตุผลทางวิชาการโดยมีขั้นตอนของระบบที่ชัดเจนไม่ซับซ้อน ประกอบด้วยการกำหนดเป้าหมายในการพัฒนาผู้เรียน จัดทำแหล่งเรียนรู้และจัดทำหลักสูตรสถานศึกษา วิเคราะห์ผู้เรียนเพื่อปรับบทบาทของครูผู้สอน ปรับพื้นฐาน เตรียมการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ และแลกเปลี่ยนเรียนรู้พร้อมทั้งมีการนิเทศ ประเมินผลและประมวณผลแต่ละหน่วย สอนซ่อมเสริมและทำวิจัยเพื่อปรับปรุง และพัฒนาอย่างต่อเนื่อง และสรุปรายงานผลระบบเรียนรู้
ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ หมายถึง กระบวนการสร้างการเปลี่ยนแปลง โดยเรียนรู้จากการปฏิบัติงานของกลุ่มบุคคลที่มารวมกันเพื่อทำงานร่วมกันและสนับสนุนซึ่งกันและกัน โดยมีวัตถุประสงค์
เพื่อพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียน ร่วมกันวางเป้าหมายการเรียนรู้ของผู้เรียน และตรวจสอบ สะท้อนผล
การปฏิบัติทั้งในส่วนบุคคลและผลที่เกิดขึ้นโดยรวม ผ่านกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การวิพากษ์วิจารณ์
การทำงานร่วมกัน การร่วมมือรวมพลัง โดยมุ่งเน้นและส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้อย่างเป็นองค์รวม
จุดเด่นของการจัดการเรียนรู้ด้วยระบบเรียนรู้โดยใช้กระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ ระบบเรียนรู้มีการเขียนแผนผังการดำเนินงานอย่างเป็นระบบ เริ่มตั้งแต่ 1. กำหนดเป้าหมายในการพัฒนาผู้เรียน จัดแหล่งเรียนรู้ และจัดทำหลักสูตรสถานศึกษา 2. วิเคราะห์ผู้เรียนเพื่อปรับบทบาทของครูผู้สอน
3. พื้นฐานดีหรือไม่ (ปรับพื้นฐาน) 4. เตรียมการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ (จัดทำแผนการจัดการเรียนรู้) 5. จัดการเรียนรู้และแลกเปลี่ยนเรียนรู้/นิเทศ 6. ประเมินผลและประมวลผลแต่ละหน่วย 7. ผู้เรียนผ่านการประเมินหรือไม่ (ซ่อมเสริม/ วิจัยปรับปรุง) (นักเรียนกลุ่มต้องช่วยเหลือ) 8. ส่งเสริม/ วิจัยพัฒนาต่อเนื่อง (นักเรียนกลุ่มปานกลาง เก่ง) และ 9. สรุปรายงานผลระบบเรียนรู้ ทำให้ครูทำงานอย่างเป็นระบบส่งผลให้ ร้อยละ
ของนักเรียนที่มีผลการเรียนเฉลี่ยระดับ 3 ขึ้นไป หลังการใช้ระบบเรียนรู้ ปีการศึกษา 2562 โดยมีค่าเฉลี่ยระดับประถมศึกษาตอนต้นเท่ากับร้อยละ 60.76 ระดับประถมศึกษาตอนปลายเท่ากับร้อยละ 61.63 และเฉลี่ยรวมทั้งหมดเท่ากับร้อยละ 61.19 และจากการทบทวนหลังการปฏิบัติงาน (PLC) เพื่อปรับปรุงและพัฒนากระบวนการดำเนินงานระบบเรียนรู้ สามารถสรุปผลได้ดังนี้ ปัญหาอุปสรรคและแนวทางการดำเนินการระบบเรียนรู้ 1. แบบบันทึกข้อมูล / แบบประเมินบางส่วนยังต้องมีการปรับปรุงเพื่อให้เกิดความสมบูรณ์และเหมาะสมกับบริบทมากขึ้นดังนั้นในระหว่างการดำเนินการของระบบเรียนรู้จึงมีการปรับปรุงและพัฒนาแบบบันทึกข้อมูล แบบประเมินต่าง ๆ ให้เกิดความเหมาะสมกับนักเรียนรู้หรือบริบทต่าง ๆ ของโรงเรียน
2. การกำหนดการส่งงานโดยครูปฏิบัติได้ตามกำหนดการที่วางไว้ แต่ยังไม่มีการกำหนดการส่งงานคืน จึงทำให้เกิดปัญหาในส่วนข้อความต่อเนื่องในการทำงาน จึงควรมีการกำหนดการส่งงานคืน เพื่อให้การทำงานของครูมีความต่อเนื่อง 3. แนวปฏิบัติในการปฏิบัติงานสำหรับผู้ที่ไม่ได้ดำเนินการตามระบบหรืออาจมี ความบกพร่องบางส่วน จะต้องมีกฎเกณฑ์หรือหลักการดำเนินการเมื่อเกิดปัญหาขึ้น เพื่อให้เกิดมาตรฐานในการปฏิบัติงานและเป็นไปในรูปแบบเดียวกันทั่วทั้งองค์กรในภาพรวม 4. การดำเนินการสามารถดำเนินการได้บรรลุเป้าหมายเชิงปริมาณได้ แต่ในเชิงคุณภาพยังต้องมีการปรับปรุงและพัฒนาในเชิงลึกให้มากขึ้น ต้องลงสู่ผู้เรียนและนำข้อมูลจากผู้เรียนมาวิเคราะห์เพื่อพัฒนารูปแบบ/วิธีการ/กระบวนการให้เป็นไปเพื่อพัฒนาผู้เรียนโดยแท้จริง
5. กิจกรรมของโรงเรียนบางกิจกรรมไม่ได้ดำเนินการตามกำหนดการที่วางไว้ หรือมีกิจกรรมจากภายนอก ทำให้ส่งผลกระทบต่อเวลาในการดำเนินการของระบบ ดังนั้นการวางแผนงานหรือกำหนดการต่าง ๆ ต้องมีความยืดหยุ่นให้สามารถรองรับการเปลี่ยนแปลงได้ และในขณะเดียวกันอาจต้องวางแผนการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ให้รัดกุมและควบคุมให้เป็นไปตามกำหนดการมากขึ้นเช่นกัน
การเป็นแบบอย่างได้ การจัดการเรียนรู้ด้วยระบบเรียนรู้โดยใช้กระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ ได้มีการจัดทำคู่มือระบบเรียนรู้ซึ่งเกิดมาจากกระบวนการ PLC และนำข้อมูลมาเขียนแผนผัง
การดำเนินงาน ซึ่งในแบบบันทึกตามแต่ละตัวชี้วัดจะสอดคล้องกับการดำเนินงาน 3 ด้าน 13 ตัวชี้วัด ตาม ว21
และในการทำงานแต่ละขั้นตอนจะมีแบบบันทึกคุณภาพ มีการกำหนดเกณฑ์การประเมินชัดเจน ส่งผลให้ครูทำงานง่ายขึ้นและเป็นระบบสามารถนำข้อมูลรวบรวมส่งผลงานได้ และส่งผลต่อผู้เรียนให้มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่สูงขึ้นอย่างเห็นได้ชัดเจน
สรุปคือเมื่อใช้ระบบเรียนรู้ในการจัดการเรียนรู้ผ่านยกระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทำให้สมารถบริหารจัดการสถานศึกษาได้อย่างเป็นระบบส่งผลให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัดและครูสามารถรวบรวมผลงานเพื่อประเมินวิทยฐานะตามเกณฑ์ ว21 ได้ โดยระบบเรียนรู้ที่นำมาใช้ได้จัดทำเป็นครู่มือและแบบบันทึกที่ชัดเจนซึ่งได้มาจากกระบวนการ PLC และระหว่างการดำเนินการจัดการเรียนรู้ก็ได้มีการทำ AAR ระหว่างทางเพื่อปรับปรุงระบบเรียนรู้ให้ทันสมัยสอดคล้องกับนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการด้วย