ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ค้นหากระทู้
ตั้งกระทู้คำถามใหม่ กลับหน้าที่แล้ว
 
การจัดกิจกรรมการละเล่นพื้นฐานอีสาน เพื่อส่งเสริมพัฒนาการด้านสังคม ของเด็กปฐมวัย (3-4 ปี)

บทสรุปผลการวิจัย

การจัดกิจกรรมการละเล่นพื้นบ้านอีสานเพื่อส่งเสริมพัฒนาการด้านสังคมของเด็กปฐมวัย (3 – 4 ปี)

ศริญญา วรรณสินธ์

ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการ

การจัดกิจกรรมการละเล่นพื้นบ้านอีสานเพื่อส่งเสริมพัฒนาการด้านสังคม

ของเด็กปฐมวัย (3 – 4 ปี)

ศริญญา วรรณสินธ์*

Sarinya Wannasin

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่อง การจัดกิจกรรมการละเล่นพื้นบ้านอีสานเพื่อส่งเสริมพัฒนาการด้านสังคม ของเด็กปฐมวัย ( อายุ 3 – 4 ปี) มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมพัฒนาการด้านสังคมของเด็กปฐมวัย ( 3 – 4 ปี ) โดยการจัดกิจกรรมการละเล่นพื้นบ้านอีสาน กลุ่มเป้าหมาย เป็นเด็กปฐมวัย (3 – 4 ปี) ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านดู่น้อย ตำบลดู่น้อย อำเภอจตุรพักตรพิมาน จังหวัดร้อยเอ็ด ที่กำลังเรียนใน ปีการศึกษา 2562 จำนวน 15 คน เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมการละเล่นพื้นบ้านอีสาน แบบสังเกตพฤติกรรมด้านสังคมระหว่างเรียนและแบบประเมินพัฒนาการด้านสังคม สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน รูปแบบการวิจัย คือ รูปแบบการวิจัยวิจัยเชิงปฏิบัติการ แบ่งเป็น 4 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นวางแผน (Plan) ขั้นปฏิบัติการ (Action) ขั้นสังเกต (Observe) และขั้นสะท้อนผล (Reflection) ผลการวิจัยพบว่า เด็กที่ได้รับการจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมการละเล่นพื้นบ้านอีสานมีคะแนนพัฒนาการด้านสังคมสูงขึ้น มีเด็กที่มีคะแนนผ่านเกณฑ์ร้อยละ 75 จำนวน 14 คน

จากเด็กทั้งหมด 15 คน คิดเป็นร้อยละ 93.33

บทนำ

เด็กปฐมวัยเป็นวัยที่สำคัญที่สุดในการเริ่มต้นการพัฒนาการของชีวิตมนุษย์ สิ่งที่เด็กได้รับ ประสบการณ์ และเรียนรู้ในช่วง 5 ปีแรกของชีวิต จะมีผลต่อการวางรากฐานที่สำคัญต่อบุคลิกภาพของที่จะเติบโตขึ้นเป็นผู้ใหญ่ การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่เหมาะสมจึงมีส่วนสำคัญในการส่งเสริมพัฒนาการให้แก่เด็กอย่างมีประสิทธิภาพและเมื่อเด็กได้รับการส่งเสริมพัฒนาการอย่างมีประสิทธิภาพ ก็จะช่วยให้เขาเติบโตขึ้นเป็นผู้ใหญ่ที่สมบูรณ์และเป็นพลเมืองที่มีคุณภาพในอนาคต (เยาวพา เดชะคุปต์, 2542) การจัดการศึกษาให้แก่เด็กปฐมวัยนับเป็นช่วงที่มีความสำคัญมากเพราะการพัฒนาในช่วงวัยนี้จะเป็นการกำหนดตัวบุคลิกภาพ ลักษณะนิสัยของเด็กในอนาคตได์จึงนับว่าเป็นการวางรากฐานความรู้ที่สำคัญของเด็กปฐมวัยสำหรับเตรียมความพร้อมในการศึกษาที่สูงขึ้นในทุกด้านไม่ว่าจะเป็นด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคมและสติปัญญาที่สนองตอบความต้องการตามวัยให้เป็นเด็กที่มีคุณภาพสามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีคามสุขเต็มศักยภาพของแต่ละคนและมีความเหมาะสมกับวัยรวมทั้ง ดำรงไว้ซึ่งเอกลักษณ์และวัฒนธรรมในสังคมไทย (กรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น, 2550) จุดเริ่มต้นของการศึกษาอยู่ที่การศึกษาปฐมวัย ซึ่งเป็นพื้นฐานของการศึกษาทั้งหมด ในช่วง 5 ปีแรก เป็นช่วงที่การพัฒนาทุกด้านเป็นไปอย่างรวดเร็ว ไม่ว่าจะเป็นด้านร่างกาย สติปัญญา สังคม อารมณ์ และจิตใจ เราควรสงเสริมและพัฒนาอย่างเหมาะสม การจัดการปฐมวัยจึงมีความสำคัญยิ่ง เพราะเป็นการให้การศึกษาเบื้องต้นที่มีความสำคัญต่อชีวิตในอนาคตของเด็ก เป็นการศึกษากึ่งอบรมเลี้ยงดู เพื่อต้องการให้ถูกตามหลักการพัฒนาตามวัย ทั้งยังช่วยปลูกฝังทัศนคติ ค่านิยม ลักษณะนิสัยและวัฒนธรรมอันเป็นพื้นฐานที่จะทำให้เด็กมีชีวิตที่สมบูรณ์ รู้จักรักตนเอง รักคนอื่น ดังนั้นเด็ก ปฐมวัยจึงเป็นวัยทองของชีวิต จากความสำคัญดังกล่าวจึงจำเป็นต้องจัดการศึกษาให้ตั้งแต่ปฐมวัย ซึ่งในการจัดการศึกษาปฐมวัยในสังคมโลกเป็นการจัดเพื่อพัฒนาศักยภาพของบุคคลให้สามารถเสริมสร้างพลังความสามารถของแต่ละบุคคลที่มีอยู่ในตนเอง ให้เจริญเติบโตอย่างเต็มขีดความสามารถและศักยภาพมาพัฒนาตนและได้เหมาะสมกับความสามารถแห่งตน การพัฒนาการศึกษาในเด็กระดับปฐมวัยจึงเป็นปัจจัยพื้นฐานในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ เนื่องจากเด็กปฐมวัยจะเป็นช่วงอายุที่สามารถ พัฒนาความพร้อมด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคมและสติปัญญาได้เต็มที่ หากไม้ได้รับการส่งเสริมให้พัฒนาในช่วงนี้ อาจส่งผลให้พัฒนาการด้านต่าง ๆ ของเด็กเป็นไปอย่างเชื่องช้าซึ่งจะกระทบต่อเจริญเติบโตและการพัฒนาประเทศให้ในอนาคต (สำนักคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ, 2543) ซึ่งการที่ประเทศหนึ่ง ๆ จะมีความเจริญก้าวหน้าได้มากน้อยเพียงใด ต้องอาศัยเงื่อนไขหลายประการ คุณภาพของคนหรือประชากร ของประเทศนั้น ๆ นับว่าสำคัญยิ่ง และจากสภาพสังคม เศรษฐกิจและการเมือง มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา รวมไปถึงความเจริญก้าวหน้าทางด้านวัตถุที่มีการพัฒนาไปอย่างรวดเร็ว ทำให้รูปแบบการดำรงชีวิตในปัจจุบันมุ่งเน้น ในด้านการแข็งขันมากขึ้น จนทำให้ลืมไปว่าแท้จริงแล้ว สิ่งที่สังคมควรให้ความสำคัญและไม่ควรละเลยก็ คือ การอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างมีความสุข การช่วยเหลือ การแบ่งปัน การมีความร่วมมือซึ่งกันและกันในสังคม เป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้สังคมที่เจริญอย่างแท้จริง ส่วนจุดเริ่มต้นของการพัฒนามนุษย์ก็คือ การศึกษาของเด็กปฐมวัยเพราะเด็กในวัยนี้ คือ อนาคตของประเทศชาติ ควรได้รับการส่งเสริมและเรียนรู้เพื่อพัฒนาเด็กให้เติบโตเป็นพลเมืองที่ดีและสิ่งสำคัญในการพัฒนาเด็กก็คือการส่งเสริม พฤติกรรมทางสังคม ซึ่งเป็นพฤติกรรมพื้นฐาน ในการอยู่ร่วมกันในสังคมจึงเป็นสิ่งที่ควรได้รับการปลูกฝังเป็นอย่างยิ่ง (รัตนะ บัวสนธ์, 2553)

ทักษะทางสังคมเป็นทักษะหนึ่งที่จำเป็นและควรปลูกฝังให้กับเด็กปฐมวัย กระบวนการปรับตัวทางสังคม (Socialization Process) ของเด็กปฐมวัยเป็นการเรียนรู้จากการปฏิสัมพันธ์กับบุคคลและสิ่งแวดล้อม บริบทแรกที่เด็กสัมผัส คือ บุคคลในครอบครัว เมื่อเด็กเข้ากลุ่มเพื่อน ได้เห็นพฤติกรรมผู้อื่นเห็นบทบาททางสังคม เด็กก็ได้รับการหล่อหลอมและพัฒนาทักษะทางสังคม

เด็กเรียนรู้สังคมจากผู้ใหญ่ใกล้เคียงจากพ่อแม่ การมีความสัมพันธ์กับคนอื่น ทำให้เด็กเรียนรู้ความร่วมมือ การปฏิเสธ การรับ การแบ่งปัน การสื่อสาร การแสดงออกอย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้เด็กยังเรียนรู้ ที่จะเป็นสมาชิกของกลุ่มด้วยการเข้ากลุ่ม กิจกรรม รับรู้สิทธิและความรู้สึกของผู้อื่นด้วย กุลยา ตันติผลาชีวะ (2551) เช่นเดียวกับเกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์ (2553) ที่ได้กล่าวไว้ว่า ทักษะทางสังคมเป็นทักษะพื้นฐานที่สำคัญของบุคคล ควรได้รับการฝึกฝน ปลูกฝังตั้งแต่เด็ก เพื่อให้ทุกคนซึ่งเป็นหน่วยหนึ่งของสังคมดำรงชีวิตอยู่ในสังคม ได้อย่างมีความสุข ซึ่งแนวทางการสร้างและพัฒนาทักษะทางสังคมให้แก่เด็กนั้น สามารถทำได้โดยมีแนวทางหลัก ได้แก่ การสร้างมิตรภาพ การรู้จักเป็นผู้ให้มากกว่าที่จะเป็นผู้รับเพียงฝ่ายเดียว การสอนให้คิดถึงผู้อื่น รู้จักเอาใจเขามาใส่ใจเรา การทำงานเป็นทีม เป็นต้น ทั้งนี้กิจกรรมการสอนทักษะทางสังคมให้เด็กมีหลากหลายรูปแบบ

ต้องเลือกให้เหมาะสม ดังนั้นจึงเป็นหน้าที่ที่สำคัญของครูและผู้ที่เกี่ยวข้องกับเด็กปฐมวัยที่ต้องจัดประสบการณ์เพื่อเสริมสร้างพัฒนาการและการเรียนรู้ให้แก่เด็ก อันจะส่งผลให้เด็กเจริญเติบโต มีพัฒนาการเหมาะสมตามวัย

การจัดประสบการณ์สำหรับเด็กปฐมวัยนั้นมีหลายรูปแบบ ซึ่งครูเป็นผู้มีบทบาทสำคัญเป็น อย่างมากในการเลือกจัดประสบการณ์เพื่อพัฒนาทักษะทางสังคมของเด็กปฐมวัย โดยจัดกิจกรรมที่ทำ ให้เด็กเกิดการเรียนรู้และฝึกฝนพฤติกรรมที่ดีในการเข้าสังคม คู่มือหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560 กำหนดโครงสร้างของหลักสูตรในหัวข้อประสบการณ์สำคัญที่ส่งเสริมพัฒนาการด้านสังคม ด้วยการสนับสนุนให้เด็กได้มีโอกาสปฏิสัมพันธ์กับบุคคลและสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ รอบตัว

จากการปฏิบัติกิจกรรมต่าง ๆ ผ่านการเรียนรู้ทางสังคม เช่น การเล่น การทำงานร่วมกับผู้อื่น การที่เด็กได้เรียนรู้การเล่น ทำงานร่วมกับผู้อื่นทำให้เด็กจะได้ฝึกฝนการช่วยเหลือ การแบ่งปัน การร่วมมือ การเป็นผู้นำ การเป็นผู้ตาม การรู้จักรอคอย ได้เรียนรู้ผลัดเปลี่ยนกันทำงาน ซึ่งคุณลักษณะเหล่านี้ล้วนแล้วแต่เป็นพัฒนาการทางด้านสังคมที่จำเป็นต้องปลูกฝัง เพื่อเป็นพื้นฐานในการเข้าสังคม (กระทรวงศึกษาธิการ, 2560)

การละเล่นพื้นบ้านอีสานเป็นการเล่นรูปแบบหนึ่ง ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ละวัฒนธรรมที่สอบทอดกันมาในวิถีชีวิตของคนในท้องถิ่นภาคอีสาน เป็นการละเล่นที่สะท้อนให้เห็นถึงลักษณะความเป็นอยู่ อาชีพ ความเชื่อละภาษาของคนในท้องถิ่น กิจกรรมการเล่นเน้นการนำวัสดุที่มีอยู่ในท้องถิ่นมาประดิษฐ์เป็นเครื่องเล่น ส่วนการเล่นไม่จำกัดจำนวนผู้เล่น วิธีการเล่นไม่ยุ่งยากซับซ้อนและกติกาการเล่นไม่เคร่งครัด สำหรับคุณประโยชน์ของการละเล่นพื้นบ้านอีสาน สามารถช่วยส่งเสริมทางด้านสติปัญญา ดังที่ ศันสนีย์ นาคะสนธ์ (2545) ที่ได้กล่าวไว้ว่า เด็กที่มีโอกาสเล่นทั้งสมมติและเล่นแบบโบราณหรือทำกิจกรรมต่าง ๆ ด้วยตนเอง ล้วนมีผลต่อการพัฒนาใยประสาทและจุดเชื่อมใยประสาทที่เกี่ยวข้องกับการแก้ปัญหาต่าง ๆ ในชีวิต ซึ่งมีประโยชน์เมื่อเติบโตเป็นผู้ใหญ่ก็จะสามารถแก้ปัญหาในชีวิตได้ เช่นเดียวกับวีรพงศ์ บุญประจักษ์ (2545) ก็ได้กล่าวไว้ว่า กิจกรรมการละเล่นพื้นบ้านเป็นกิจกรรมสำคัญในการที่จะส่งเสริม หล่อหลอม ปรับเปลี่ยน ปรับปรุงพฤติกรรมด้านสังคมในทางที่ดีให้เกิดขึ้นกับตัวเด็ก เพราะขณะที่เด็กเล่นนั้น เด็กได้รู้จักการปรับตัวให้เข้ากับเพื่อน ๆ รู้จักการเจรจา สนทนา การคบหาสมาคมกับผู้อื่น ดังนั้นถ้าเราเข้าใจความสำคัญ เข้าใจธรรมชาติของการเล่นและเปิดโอกาสให้เด็กได้รับประสบการณ์การเล่นในสิ่งที่เด็กพอใจและหาวิธีการส่งเสริมให้เด็กเกิดการเรียนรู้พัฒนาการทางสังคม ได้อย่างเหมาะสม ย่อมจะทำให้เด็กมีประสบการณ์ในการที่จะปรับตัวเข้ากับสังคมและอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข สำหรับการจัดประสบการณ์การเล่นกลางแจ้ง สามารถนำเอาการละเล่นพื้นบ้านมาจัดให้เด็กได้ เพราะการละเล่นพื้นบ้านนอกจากจะมีความสำคัญต่อเด็กดังที่กล่าวแล้ว

ยังมีความสำคัญอีกมากมาย เช่น ความกระตือรือร้น ความรู้สึกเป็นอิสระ ความสนุกสนานเพลิดเพลิน เป็นต้น

จากความเป็นมาและความสำคัญของปัญหาดังกล่าว ผู้วิจัยได้ศึกษาค้นคว้าข้อมูลความรู้จากนักวิชาการและงานวิจัยของหลาย ๆ ท่าน เพื่อเป็นแนวทางในการแก้ปัญหาดังกล่าว ทำให้ผู้วิจัย

ได้ตระหนักถึงความสำคัญของทักษะทางสังคมที่เป็นทักษะพื้นฐานของบุคคล ที่ควรได้รับการฝึกฝนปลูกฝังตั้งแต่เด็ก ๆ และจากการศึกษาค้นคว้าพบว่าการละเล่นพื้นบ้านเป็นวิธีการเล่นที่สอนให้เด็กรู้จักเหตุผล รู้จักให้อภัยกัน ฝึกให้รู้จักสามัคคี รู้จัก เสียสละ รู้จักการรอคอย อดทน มีความเห็นอกเห็นใจ มีระเบียบวินัย ความสามัคคีและสามารถปรับตัวเข้ากับสังคมได้อย่างดี ดังนั้นผู้วิจัยจึงสนใจนำกิจกรรมการละเล่นพื้นบ้านมาใช้เพื่อส่งเสริมพัฒนาการด้านสังคมของเด็กปฐมวัย ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านดู่น้อย ตำบลดู่น้อย อำเภอจตุรพักตรพิมาน จังหวัดร้อยเอ็ด โดยมุ่งหวังว่าเด็กจะมีพัฒนาการด้านสังคมที่ดีขึ้น

เป็นเด็กที่มีคุณภาพและสามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข

วัตถุประสงค์ของการวิจัย

เพื่อส่งเสริมพัฒนาการด้านสังคมของเด็กปฐมวัย ( 3 – 4 ปี ) โดยการจัดกิจกรรมการละเล่นพื้นบ้านอีสาน

กรอบแนวคิดการวิจัย

ตัวแปรต้น ได้แก่

กิจกรรมการละเล่น

พื้นบ้านอีสาน

- ม้าก้านกล้วย

- เดินกะลา

- โค้งตีนเกวียน

- จ้ำหมู่หมี่

- บักปากกืก

- งูกินหาง

- รีรีข้าวสาร

- ดีดเม็ดมะขามลงหลุม

- เป่ากบ

- วิ่งเปี้ยว

- ดึงเชือก

- เต้นฟด

ตัวแปรตาม ได้แก่

พัฒนาการด้านสังคม

- การช่วยเหลือตนเองในการ

ปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน

- การมีวินัยในตนเอง

- การประหยัดและพอเพียง

- การดูแลรักษาธรรมชาติ

และสิ่งแวดล้อม

- การมีมารยาทตามวัฒนธรรม

ไทยและรักความเป็นไทย

- การยอมรับความเหมือน

และความแตกต่างระหว่างบุคคล

- การมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับผู้อื่น

- การปฏิบัติตนเบื้องต้นในการเป็น

สมาชิกที่ดีของสังคม

สมมติฐานของการวิจัย

การจัดกิจกรรมการละเล่นพื้นบ้านอีสานทำให้พัฒนาการด้านสังคมของเด็กปฐมวัยดีขึ้น มีคะแนนผ่านเกณฑ์ร้อยละ 75 จำนวนไม่น้อยกว่าร้อยละ 80

วิธีดำเนินการ

1. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัย คือ กลุ่มเป้าหมาย เป็นเด็กปฐมวัย (อายุ 3-4 ปี)

ที่กำลังเรียนในปีการศึกษา 2562 ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านดู่น้อย ตำบลดู่น้อย

อำเภอจตุรพักตรพิมาน จังหวัดร้อยเอ็ด จำนวน 15 คน

2. ระยะเวลาที่ใช้ในการวิจัย

ดำเนินการ ปีการศึกษา 2562 ใช้เวลารวมทั้งสิ้น 6 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 4 วัน วันละ 40 นาที ทั้งนี้ ไม่รวมกับสัปดาห์ที่ผู้วิจัยประเมินพัฒนาการด้านสังคมก่อนจัดกิจกรรม

3. ตัวแปรที่ใช้ในการวิจัย

ตัวแปรต้น ได้แก่ กิจกรรมการละเล่นพื้นบ้านอีสาน

ตัวแปรตาม ได้แก่ พัฒนาการด้านสังคม ตามกรอบการประเมินพัฒนาการด้านสังคมของเด็กปฐมวัย หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พ.ศ.2560

4. เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย

เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ แบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ

4.1 เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง ได้แก่ แผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ โดยใช้การละเล่นพื้นบ้านอีสาน

4.2 เครื่องมือที่ใช้ในการสะท้อนผลการปฏิบัติ ได้แก่ แบบสังเกตพฤติกรรมด้านสังคมระหว่างเรียน สังเกตโดยผู้ช่วยวิจัย

4.3 เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินผลการวิจัย ได้แก่ แบบประเมินพัฒนาการด้านสังคม ประเมินโดยผู้วิจัย

การเก็บรวบรวมข้อมูล

ในการวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยดำเนินการวิจัยเก็บรวบรวมข้อมูลโดยผู้วิจัยและผู้ช่วยวิจัย รวบรวมข้อมูลในปีการศึกษา 2562 โดยมีขั้นตอนและรายละเอียด ดังนี้

1. ขั้นเตรียมการก่อนเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วยขั้นตอนต่าง ๆ ดังนี้

1.1 การศึกษาข้อมูลพื้นฐาน ผู้วิจัยได้ศึกษาข้อมูลพื้นฐานด้านการส่งเสริมพัฒนาการของเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านดู่น้อย ตำบลดู่น้อย อำเภอ

จตุรพักตรพิมาน จังหวัดร้อยเอ็ด เกี่ยวกับพัฒนาการทั้ง 4 ด้าน ได้แก่ ด้านร่างกาย ด้านอารมณ์และจิตใจ ด้านสังคม และด้านสติปัญญา วิธีการจัดประสบการณ์การเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัยทั้งในอดีตและปัจจุบัน ระหว่างปี

พ.ศ. 2556 – 2561 และได้ศึกษาแนวคิด ทฤษฎีเกี่ยวกับการจัดประสบการณ์การเรียนโดยใช้การละเล่นพื้นบ้าน พัฒนาการด้านสังคมของเด็กปฐมวัยและการวิจัยเชิงปฏิบัติการ เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการจัดทำเครื่องมือสำหรับการวิจัย

1.2 เลือกกลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัย ซึ่งการวิจัยในครั้งนี้ผู้วิจัยเลือกเด็กปฐมวัย (3-4 ปี) ปีการศึกษา 2562 ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านดู่น้อย ตำบล

ดู่น้อย อำเภอจตุรพักตรพิมาน จังหวัดร้อยเอ็ด

จำนวน 15 คน

1.3 การเลือกและประชุมผู้ช่วยวิจัย

ผู้วิจัยได้ขอความร่วมมือจากนางดาวรุ่ง คุณหงส์ ผู้ดูแลเด็ก ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านดู่น้อย ตำบลดู่น้อย อำเภอจตุรพักตรพิมาน จังหวัดร้อยเอ็ด ซึ่งเป็นผู้ที่มีประสบการณ์ในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัยมานานกว่า 10 ปี และจบการศึกษา

ด้านปฐมวัย เพื่อเป็นผู้ทำหน้าที่สังเกตพฤติกรรม

การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ของผู้วิจัยและพฤติกรรมการเรียนรู้ของเด็กในขณะดำเนินกิจกรรม จากนั้นผู้วิจัย ได้ชี้แจงให้ผู้ช่วยวิจัยทราบเกี่ยวกับวัตถุประสงค์ วิธีดำเนินการและบทบาทหน้าที่ของผู้ช่วยวิจัย จากนั้นได้ร่วมปรึกษาหารือและวางแผนร่วมกันเกี่ยวกับวัน

เวลาและลักษณะของกิจกรรม

1.4 ปฐมนิเทศกลุ่มเป้าหมาย เด็กกลุ่มเป้าหมายได้แก่ เด็กปฐมวัย (3-4 ปี) ปีการศึกษา 2562 ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านดู่น้อย ตำบลดู่น้อย อำเภอจตุรพักตรพิมาน จังหวัดร้อยเอ็ด จำนวน 15 คน ซึ่งผู้วิจัยได้ทำการปฐมนิเทศเกี่ยวกับวิธีการจัดกิจกรรมการละเล่นพื้นบ้านอีสานและอบรมเพื่อเตรียมความพร้อมและอธิบายวิธีการทำกิจกรรม

1.5 กำหนดปฏิทินการดำเนินการ

โดยดำเนินการในช่วงเวลากิจกรรมกลางแจ้ง

ปีการศึกษา 2562 ใช้เวลาในการดำเนินการทั้งสิ้น 6 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 4 วัน วันละ 40 นาที ทั้งนี้

ไม่รวมกับสัปดาห์ที่ผู้วิจัยประเมินพัฒนาการด้านสังคมก่อนจัดกิจกรรม

1.6 ประเมินพัฒนาการด้านสังคมของเด็กก่อนจัดก่อนจัดกิจกรรมการละเล่นพื้นบ้านอีสาน

รายละเอียดการจัดกิจกรรมดังตารางที่ 1

ตารางที่ 1 การจัดกิจกรรมการละเล่นพื้นบ้านอีสาน

วงจรปฏิบัติ สัปดาห์ที่ การละเล่นพื้นบ้านอีสาน วันที่จัดกิจกรรม เวลา

1 ประเมินพัฒนาการด้านสังคมก่อนจัดกิจกรรม

วงจรที่ 1 2 ม้าก้านกล้วย วันจันทร์ 09.00–09.40 น.

ม้าก้านกล้วย วันอังคาร 09.00–09.40 น.

เดินกะลา วันพุธ 09.00–09.40 น.

เดินกะลา วันพฤหัสบดี 09.00–09.40 น.

3 โค้งตีนเกวียน วันจันทร์ 09.00–09.40 น.

โค้งตีนเกวียน วันอังคาร 09.00–09.40 น.

จ้ำหมู่หมี่ วันพุธ 09.00–09.40 น.

จ้ำหมู่หมี่ วันพฤหัสบดี 09.00–09.40 น.

วงจรที่ 2 4 บักปากกืก วันจันทร์ 09.00–09.40 น.

บักปากกืก วันอังคาร 09.00–09.40 น.

งูกินหาง วันพุธ 09.00–09.40 น.

งูกินหาง วันพฤหัสบดี 09.00–09.40 น.

5 รีรีข้าวสาว วันจันทร์ 09.00–09.40 น.

รีรีข้าวสาร วันอังคาร 09.00–09.40 น.

ดีดเม็ดมะขามลงหลุม วันพุธ 09.00–09.40 น.

ดีดเม็ดมะขามลงหลุม วันพฤหัสบดี 09.00–09.40 น.

วงจรที่ 3 6 เป่ากบ วันจันทร์ 09.00–09.40 น.

เป่ากบ วันอังคาร 09.00–09.40 น.

วิ่งเปี้ยว วันพุธ 09.00–09.40 น.

วิ่งเปี้ยว วันพฤหัสบดี 09.00–09.40 น.

7 ดึงเชือก วันจันทร์ 09.00–09.40 น.

ดึงเชือก วันอังคาร 09.00–09.40 น.

เต้นฟด วันพุธ 09.00–09.40 น.

เต้นฟด วันพฤหัสบดี 09.00–09.40 น.

2. ขั้นเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วยขั้นตอนต่าง ๆ ดังนี้

2.1 ดำเนินการตามแผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ตามวงจรปฏิบัติที่เตรียมไว้

โดยใช้เครื่องมือต่าง ๆ ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสังเกตพฤติกรรมระหว่างเรียน โดยผู้ช่วยวิจัยเป็นผู้เก็บรวบรวมข้อมูลและแบบประเมินพัฒนาการด้านสังคม โดยผู้วิจัยเป็นผู้เก็บรวบรวมข้อมูลในระหว่างวันตลอดช่วงของการจัดประสบการณ์เรียนรู้โดยใช้กิจกรรมการละเล่นพื้นบ้านอีสาน

2.2 เมื่อจบแต่ละวงจร นำข้อมูลที่ได้มาสะท้อนการปฏิบัติ อภิปราย วิเคราะห์ สังเคราะห์ ร่วมกับผู้ช่วยวิจัย เพื่อปรับปรุง แก้ไข การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ในวงจรต่อไป

3. ขั้นประเมินผลการปฏิบัติการวิจัย เมื่อจัดประสบการณ์การเรียนรู้ครบทั้ง 3 วงจรปฏิบัติการแล้ว ผู้วิจัยและผู้ช่วยวิจัยร่วมกันสรุป วิเคราะห์และอภิปรายผลการดำเนินการ

การวิเคราะห์ข้อมูล

การวิเคราะห์ข้อมูล ผู้วิจัยได้นำข้อมูลที่ได้จากการเก็บรวบรวมมาวิเคราะห์ แบ่งเป็น 4 ส่วน ดังนี้

1. การวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อปรับปรุงแผนการ

จัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้การละเล่นพื้นบ้านอีสาน เพื่อส่งเสริมพัฒนาการด้านสังคมของเด็กปฐมวัย (3-4 ปี) ซึ่งประกอบด้วยด้วยข้อมูลเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ ดังนี้

1.1 ข้อมูลเชิงปริมาณ ได้แก่ แบบสังเกตพฤติกรรมระหว่างเรียนและประเมินพัฒนาการด้านสังคม ซึ่งวิเคราะห์โดยใช้สถิติพื้นฐาน ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

1.2 ข้อมูลเชิงคุณภาพ ได้แก่ ข้อมูลจากแบบบันทึกท้ายแผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ของผู้วิจัย ความคิดเห็นของผู้วิจัยจากแบบประเมินพัฒนาการ

ด้านสังคมและความเห็นของผู้ช่วยวิจัยต่อพฤติกรรมพฤติกรรมของเด็กระหว่างเรียน โดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) แล้วเรียบเรียงเป็นเชิงคุณภาพ โดยการสรุป อธิบายเมื่อจบวงจรแต่ละวงจร

2. การวิเคราะห์ข้อมูลพัฒนาการด้านสังคมของเด็ก โดยนำคะแนนที่ได้จากการการประเมินพัฒนาการด้านสังคมของเด็ก จากแบบประเมินพัฒนาการด้านสังคม ซึ่งผู้วิจัยเป็นผู้ประเมินพัฒนาการของเด็กในระหว่างวัน ทุกวันตลอดการดำเนินการ

สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล

ในการวิจัยครั้งนี้ ใช้สถิติในการหาคุณภาพของเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยและสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ดังนี้

1. สถิติที่ใช้ในการหาคุณภาพเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย

1.1 ดัชนีความสอดคล้องระหว่างข้อสังเกตกับลักษณะเฉพาะกลุ่มพฤติกรรม (IOC: Index of Item Objective) (สมนึก ภัททิยธนี, 2551) ดังสูตร

เมื่อ คือ ผลรวมของความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญ

คือ จำนวนผู้เชี่ยวชาญ

IOC คือ ดัชนีความสอดคล้องระหว่างข้อสังเกตกับลักษณะเฉพาะกลุ่มพฤติกรรม

2. สถิติใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล

ในวิเคราะห์ข้อมูล ใช้สถิติดังนี้

2.1 ค่าร้อยละ (Percentages) โดยใช้สูตร ดังนี้ (สมบัติ ท้ายเรือคำ, 2546)

=

เมื่อ แทน ร้อยละ

แทน ความถี่หรือจำนวนข้อมูลที่ต้องการหาร้อยละ

แทน จำนวนข้อมูลทั้งหมด

2.2 ค่าเฉลี่ย โดยใช้สูตร ดังนี้ (อรนุช ศรีสะอาด, สมบัติ ท้ายเรือคำและทรงศักดิ์

ภูสีอ่อน, 2549)

=

เมื่อ แทน ค่าเฉลี่ย

แทน ผลบวกของข้อมูลทั้งหมด

แทน จำนวนข้อมูล

2.3 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard deviation) โดยใช้สูตร ดังนี้ (สมบัติ ท้ายเรือคำ, 2546)

=

เมื่อ แทน ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

แทน ผลรวมทั้งหมดของคะแนน

แทน ผลรวมทั้งหมดของคะแนนยกกำลังสอง

แทน จำนวนคนทั้งหมด

ผลการวิจัย

ผู้วิจัยได้เสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูล ตามลำดับ ดังนี้

1. ผลการปฏิบัติที่ข้อมูลเป็นข้อมูลเชิงคุณภาพ

เมื่อสิ้นสุดวงจรปฏิบัติการที่ 3 ผู้วิจัยได้นำข้อมูลที่ได้จากการบันทึกหลังแผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้และความเห็นจากผู้ช่วยวิจัย มาวิเคราะห์

เชิงเนื้อหา (Content Analysis) พบว่า การจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมการละเล่นพื้นบ้านอีสานที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น ทำให้มีพัฒนาการด้านสังคม ได้แก่ ด้านการช่วยเหลือตนเองในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน การมีวินัยในตนเอง การประหยัดและพอเพียง

การดูแลรักษาธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม การมีมารยาทตามวัฒนธรรมไทยและรักความเป็นไทย การยอมรับความเหมือนและความแตกต่างระหว่างบุคคล การมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับผู้อื่นและการปฏิบัติตนเบื้องต้นในการเป็นสมาชิก ที่ดีของสังคม

2. ผลการปฏิบัติที่ข้อมูลเป็นข้อมูลเชิงปริมาณ

เมื่อเสร็จสิ้นวงจรปฏิบัติการที่ 3 ผู้วิจัยได้ทำการศึกษาพัฒนาการด้านสังคมของเด็กและนำข้อมูลมาหาค่าร้อยละ เปรียบเทียบผลการประเมินพัฒนาการด้านสังคมของเด็กก่อนและหลังการจัดกิจกรรมการละเล่นพื้นบ้านอีสานเพื่อทำการประเมินผลตามเกณฑ์ที่กำหนด คือ มีเด็กที่มีคะแนนผ่านเกณฑ์ร้อยละ 75 จำนวนไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ซึ่งปรากฏผลดังแสดงในตารางที่ 2

ตารางที่ 2 ตารางเปรียบผลการประเมินพัฒนาการ

ด้านสังคมของเด็กก่อนและหลังการจัด

กิจกรรมการละเล่นพื้นบ้านอีสาน

เลขที่ คะแนนพัฒนาการด้านสังคม พัฒนาการ แปลผล

ก่อนการจัดกิจกรรมการละเล่นพื้นบ้านอีสาน หลังการจัดกิจกรรมการละเล่นพื้นบ้านอีสาน (วงจรที่ 3)

ร้อยละ

ร้อยละ

1 25.00 75.76 30.13 91.30 เพิ่มขึ้น ผ่าน

2 25.80 78.18 31.00 93.94 เพิ่มขึ้น ผ่าน

3 16.00 48.48 26.13 79.18 เพิ่มขึ้น ผ่าน

4 22.00 66.67 29.38 89.03 เพิ่มขึ้น ผ่าน

5 18.40 55.76 28.13 85.24 เพิ่มขึ้น ผ่าน

6 25.20 76.36 31.13 94.33 เพิ่มขึ้น ผ่าน

7 25.40 76.97 30.38 92.06 เพิ่มขึ้น ผ่าน

8 20.40 61.82 31.00 93.94 เพิ่มขึ้น ผ่าน

9 17.80 53.94 28.25 85.61 เพิ่มขึ้น ผ่าน

10 17.60 53.33 29.00 87.88 เพิ่มขึ้น ผ่าน

11 19.60 59.39 30.50 92.42 เพิ่มขึ้น ผ่าน

12 20.00 60.61 30.13 91.30 เพิ่มขึ้น ผ่าน

13 26.20 79.39 30.88 93.58 เพิ่มขึ้น ผ่าน

14 28.40 86.06 31.63 95.85 เพิ่มขึ้น ผ่าน

15 16.40 49.70 21.63 65.55 เพิ่มขึ้น ไม่ผ่าน

จำนวนเด็กที่

ผ่านเกณฑ์ (คน) 6 14 14

คิดเป็นร้อยละ 40 93.33 93.33

จากตารางที่ 2 พบว่า ก่อนการจัดกิจกรรมการละเล่นพื้นบ้านอีสาน มีเด็กที่มีคะแนนจากการประเมินพัฒนาการด้านสังคมผ่านเกณฑ์ร้อยละ 75 อยู่ 6 คน ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 40.00 ของเด็กทั้งหมด และเพื่อพิจารณาจากผลการประเมินหลังจัดกิจกรรมการละเล่นพื้นบ้านอีสาน (วงจรปฏิบัติการที่ 3) พบว่า มีเด็กที่มีคะแนนผ่านเกณฑ์ร้อยละ 75 อยู่ 14 คน ซึ่งคิดเป็น

ร้อยละ 93.33 ของจำนวนเด็กทั้งหมดและเมื่อพิจารณารายบุคคลพบว่า เด็กทุกคนมีพัฒนาการเพิ่มขึ้น ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานของการวิจัย คือ การจัดกิจกรรมการละเล่นพื้นบ้านอีสานทำให้พัฒนาการด้านสังคมของเด็กปฐมวัยดีขึ้น มีคะแนนผ่านเกณฑ์ร้อยละ 75 จำนวน

ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80

สรุปผล

จากการดำเนินการวิจัยในรูปแบบเชิงปฏิบัติการในครั้งนี้ สามารถสรุปผลการวิจัยได้ดังนี้

1. การวิจัย เรื่อง การจัดกิจกรรมการละเล่นพื้นบ้านอีสานเพื่อส่งเสริมพัฒนาการด้านสังคมของเด็กปฐมวัย (3 – 4 ปี) โดยใช้รูปแบบการวิจัยเชิงปฏิบัติการครั้งนี้ ได้ปฏิบัติการ 3 วงจร เพื่อสะท้อนผลการปฏิบัติและนำผลการสะท้อนมาปรับปรุง แก้ไขในวงจรถัดไป ดังนี้

1.1 ผลการสะท้อนวงจรปฏิบัติการที่ 1

หลังจากจัดกิจกรรมการละเล่นพื้นบ้านอีสานในวงจรปฏิบัติการที่ 1 เสร็จสิ้น จากการสังเกตพฤติกรรมด้านสังคมของเด็กขณะทำกิจกรรมของผู้ช่วยวิจัยพบว่า เด็กมีความสนุกสนาน มีความอดทน รู้จักรอคอย รู้จักการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน รู้จักปฏิบัติตามกติกากลุ่ม รู้จักช่วยเหลือกันเก็บวัสดุอุปกรณ์การเล่น มีความเป็นผู้นำและตาม สามารถเล่นได้กับเพื่อนทั้งเพศเดียวกันและเพื่อนต่างเพศ อย่างสนุกสนานแต่จะยังมีนักเรียนบางคนที่ยังเล่นไม่ค่อยเข้ากับเพื่อน จากการสังเกตสีหน้ายังไม่ค่อยแสดงออกถึงความสนุกสนานเท่าที่ควร บางคนก็ยังเล่นต่อในขณะที่ครูให้สัญญาณหยุด ซึ่งจากคะแนนการสังเกตพฤติกรรมด้านสังคมระหว่างเรียนในวงจรปฏิบัติการที่ 1 พบว่า เด็กมีคะแนนเฉลี่ย ( ) เท่ากับ 14.12 คิดเป็นร้อยละ 78.43 และเมื่อพิจารณาเป็นรายบุคคลพบว่า เด็กที่มีคะแนนผ่านเกณฑ์ร้อยละ 75 อยู่ 12 คน คิดเป็นร้อยละ 80.00 และเมื่อพิจารณาจากผลการประเมินพัฒนาการด้านสังคม ซึ่งเป็นการประเมินพัฒนาการของเด็กระหว่างวันโดยผู้วิจัย พบว่า เด็กสามารถช่วยเหลือตนเองได้มากขึ้นทั้งเรื่องการรับประทานอาหาร การใช้ห้องน้ำหรือการแต่งตัว รู้จักเก็บของที่เล่นแล้วเข้าที่เดิม รู้จักรักษาความสะอาดช่วยกัน สามารถเล่นกับเพื่อนได้ มีคำกล่าวขอโทษและเริ่มรู้จักการไหว้ขอบคุณเมื่อรับของ แต่จะมีเด็กบางคนที่ยังชอบเล่นคนเดียว เล่นแล้วไม่เก็บของหรือการใช้ห้องน้ำ การรับประทานอาหารยังไม่ถูกวิธีต้องมีครูคอยชี้แนะ และจากการประเมินพัฒนาการด้านสังคมของเด็กในระหว่างวัน พบว่า เด็กมีคะแนนเฉลี่ย ( ) เท่ากับ 24.89 คิดเป็นร้อยละ 75.43 และเมื่อพิจารณาเป็นรายบุคคลพบว่า เด็กที่มีคะแนนผ่านเกณฑ์ร้อยละ 75 อยู่ 11 คน คิดเป็นร้อยละ 73.33

1.2 ผลการสะท้อนวงจรปฏิบัติการที่ 2

หลังจากจัดกิจกรรมการละเล่นพื้นบ้านอีสานในวงจรปฏิบัติการที่ 2 เสร็จสิ้น จากการสังเกตพฤติกรรมด้านสังคมของเด็กขณะทำกิจกรรมของผู้ช่วยวิจัยพบว่า เด็กมีพฤติกรรมด้านสังคมสูงขึ้นกว่าวงจรปฏิบัติการที่ 1 เด็กแสดงออกถึงความสนุกสนาน กระตือรือร้นมากขึ้น การจัดกลุ่มหรือจัดเด็กเพื่อให้เล่นเร็วขึ้น เพราะเด็กเริ่มรู้จักลำดับในการเล่น การจัดเด็กเข้ากลุ่มง่ายขึ้นเพราะเด็กสามารถเล่นได้กับเพื่อน ๆ มีการช่วยเหลือกันมากขึ้น การแสดงออกทางอารมณ์ดีขึ้น รู้จักช่วยกันเก็บของมากขึ้น มีการแสดงความเป็นผู้นำหรือผู้ตามได้ดีตามโอกาสที่ครูมอบหมาย รู้จักปฏิบัติตามกฎและแสดงออกถึงการเป็นผู้รักษากฎได้ จากคะแนนการสังเกตพฤติกรรมด้านสังคมระหว่างเรียนในวงจรปฏิบัติการที่ 2 พบว่า เด็กมีคะแนนเฉลี่ย ( ) เท่ากับ 15.68 คิดเป็น

ร้อยละ 87.08 และเมื่อพิจารณาเป็นรายบุคคลพบว่า เด็กที่มีคะแนนผ่านเกณฑ์ร้อยละ 75 อยู่ 13 คน คิดเป็นร้อยละ 86.67 และเมื่อพิจารณาจากผลการประเมินพัฒนาการด้านสังคม ซึ่งเป็นการประเมินพัฒนาการของเด็กระหว่างวันโดยผู้วิจัย พบว่า เด็กสามารถช่วยเหลือตนเองได้มากขึ้นทั้งเรื่องการรับประทานอาหาร การใช้ห้องน้ำหรือการแต่งตัว รู้จักเก็บของที่เล่นแล้วเข้าที่เดิมมากขึ้นโดยที่ครูไม่ต้องบอก รู้จักรักษาความสะอาดช่วยกันเช่นการทิ้งขยะให้ถูกที่ สามารถเล่นกับเพื่อนได้มากขึ้นทั้งเพื่อนเพศเดียวกันและเพื่อนต่างเพศ โดยไม่มีการแย่งของกัน รู้จักกล่าวคำขอโทษและรู้จักขอบคุณ

มากขึ้น แต่จะมีเด็กบางคนที่ครูต้องคอยแนะนำเรื่องการรับประทานเองอย่างถูกวิธี การใช้ห้องน้ำห้องส้วมและยังมีเด็กบางคนที่ยังชอบเล่นคนเดียวตามมุมที่ตนเองชอบ บางคนยังไม่รู้จักการประหยัดเท่าที่ควรยังมีการเปิดปิดน้ำเล่น ครูต้องคอยเตือนและคอยชี้แนะและจากการประเมินพัฒนาการด้านสังคมของเด็กในระหว่างวัน พบว่า เด็กมีคะแนนเฉลี่ย ( ) เท่ากับ 27.10 คิดเป็นร้อยละ 82.12 และเมื่อพิจารณาเป็นรายบุคคลพบว่า เด็กที่มีคะแนนผ่านเกณฑ์ร้อยละ 75 อยู่ 12 คน คิดเป็นร้อยละ 80.00

1.3 ผลการสะท้อนวงจรปฏิบัติการที่ 3

หลังจากจัดกิจกรรมการละเล่นพื้นบ้านอีสานในวงจรปฏิบัติการที่ 3 เสร็จสิ้น จากการสังเกตพฤติกรรมด้านสังคมของเด็กขณะทำกิจกรรมของผู้ช่วยวิจัยพบว่า เด็กมีพฤติกรรมด้านสังคมสูงขึ้น เด็กแสดงออกถึงความสนุกสนาน กระตือรือร้นมากขึ้น สามารถแสดงความคิดเห็นของตนเองได้มากขึ้น รู้จักการยอมรับความคิดเห็นของผู้อื่นมากขึ้น รู้จักลำดับหรือวางแผนในการเล่น สามารถเล่นได้กับเพื่อน ๆ ทั้งเพื่อนเพศเดียวกันหรอเพื่อนต่างเพศ มีการช่วยเหลือกันมากขึ้น การแสดงออกทางอารมณ์ดีขึ้น รู้จักรับผิดชอบต่อหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย มีการแสดงความเป็นผู้นำหรือผู้ตามได้ดีตามโอกาสที่ครูมอบหมาย รู้จักปฏิบัติตามกฎและแสดงออกถึงการเป็นผู้รักษากฎได้ จากคะแนนการสังเกตพฤติกรรมด้านสังคมระหว่างเรียนในวงจรปฏิบัติการที่ 3 พบว่า เด็กมีคะแนนเฉลี่ย ( ) เท่ากับ 16.99 คิดเป็นร้อยละ 94.40 และเมื่อพิจารณาเป็นรายบุคคลพบว่า เด็กที่มีคะแนนผ่านเกณฑ์ร้อยละ 75 อยู่ 14 คน คิดเป็นร้อยละ 93.33 และเมื่อพิจารณาจากผลการประเมินพัฒนาการด้านสังคม ซึ่งเป็นการประเมินพัฒนาการของเด็กระหว่างวันโดยผู้วิจัย พบว่า เด็กสามารถช่วยเหลือตนเองได้มากขึ้นทั้งเรื่องการรับประทานอาหาร การใช้ห้องน้ำหรือการแต่งตัว โดยไม่ต้องมีครูคอยชี้แนะ รู้จักเก็บของที่เล่นแล้วเข้าที่เดิมมากขึ้นโดยที่ครูไม่ต้องบอก รู้จักรักษาความสะอาดช่วยกัน เช่น การทิ้งขยะให้ถูกที่ การรักษาความสะอาดในห้องเรียน สามารถเล่นกับเพื่อนได้มากขึ้นทั้งเพื่อนเพศเดียวกันและเพื่อนต่างเพศ โดยไม่มีการแย่งของกัน รู้จักกล่าวคำขอโทษและรู้จักขอบคุณมากขึ้น รู้จักการทำงานร่วมกับเพื่อนทั้งในเวลาที่ตนเองเป็นผู้นำหรือในโอกาสที่ตนเองเป็นผู้ตาม รู้จักการใช้สิ่งของและของเล่นอย่างทะนุถนอมมากขึ้น แต่จะมีเด็กบางคนที่ครูต้องคอยแนะนำเรื่องการรับประทานเองอย่างถูกวิธี การใช้ห้องน้ำห้องส้วม การแต่งตัวด้วยตนเองและยังมีเด็กบางคนที่ยังชอบเล่นแอบรังแกเพื่อนในบางเวลา ครูต้องคอยเตือนและคอยชี้แนะและจากการประเมินพัฒนาการด้านสังคมของเด็กในระหว่างวัน พบว่า เด็กมีคะแนนเฉลี่ย ( ) เท่ากับ 29.28 คิดเป็นร้อยละ 88.74 และเมื่อพิจารณาเป็นรายบุคคลพบว่า เด็กที่มีคะแนนผ่านเกณฑ์ร้อยละ 75 อยู่ 14 คน คิดเป็นร้อยละ 93.33

2. การประเมินพัฒนาการด้านสังคมของเด็กปฐมวัย

การประเมินพัฒนาการด้านสังคมของเด็กปฐมวัย (3 – 4 ปี) ซึ่งผู้วิจัยเป็นผู้ประเมินเอง โดยใช้แบบประเมินพัฒนาการด้านสังคมของเด็กระหว่างเรียน ผลการเปรียบเทียบพัฒนาการด้านสังคมก่อนและหลังการจัดกิจกรรมการละเล่นพื้นบ้านอีสาน ปรากฏว่า ก่อนการจัดกิจกรรมการละเล่นพื้นบ้านอีสาน มีเด็กที่มีคะแนนจากการประเมินพัฒนาการด้านสังคมผ่านเกณฑ์ร้อยละ 75 อยู่ 6 คน ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 40.00 ของเด็กทั้งหมด และเพื่อพิจารณาจากผลการประเมินหลังจัดกิจกรรมการละเล่นพื้นบ้านอีสาน (วงจรปฏิบัติการที่ 3) พบว่า มีเด็กที่มีคะแนนผ่านเกณฑ์ร้อยละ 75 อยู่ 14 คน ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 93.33 ของจำนวนเด็กทั้งหมดและเมื่อพิจารณารายบุคคลพบว่า เด็กทุกคนมีพัฒนาการเพิ่มขึ้น

อภิปรายผล

จากผลการวิจัยเรื่อง การจัดกิจกรรมการละเล่นพื้นบ้านอีสานเพื่อส่งเสริมพัฒนาการด้านสังคมของเด็กปฐมวัย (3 – 4ปี) ผู้วิจัยอภิปรายผลในประเด็นต่าง ๆ ดังนี้ เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์กิจกรรมการละเล่นพื้นบ้านอีสานเพื่อส่งเสริมพัฒนาการด้านสังคมโดยใช้กิจกรรม การละเล่นพื้นบ้านทั้ง 12 กิจกรรม มีคะแนนจากแบบประเมินพัฒนาการด้านสังคม ซึ่งได้แก่ ด้านการช่วยเหลือตนเองในชีวิตประจำวัน ด้านการมีวินัยในตนเอง ด้านการประหยัดและพอเพียง ด้านการดูแลธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ด้านการมีมารยาทตามวัฒนธรรมไทยและรักความเป็นไทย ด้านการยอมรับความเหมือนและความแตกต่างระหว่างบุคคล ด้านการมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับผู้อื่นและด้านการปฏิบัติตนเบื้องต้นในการเป็นสมาชิกที่ดีของสังคม สูงขึ้น ทั้งนี้อาจเป็นเพราะ กิจกรรมการละเล่นพื้นบ้านอีสานเป็นการเล่นที่เด็กได้ลงมือทำทุกขั้นตอน ครูผู้สอนให้อิสระเด็กในการเล่น ให้เวลา ให้โอกาส จัดวัสดุอุปกรณ์ให้ เด็กได้เล่นหรือทำงานร่วมกับกลุ่ม ซึ่งผู้วิจัยได้คัดเลือกกิจกรรมการละเล่นพื้นบ้านของภาคอีสานที่ให้เด็กได้เล่นเป็นกลุ่มย่อย เพื่อให้เด็กมีโอกาสเป็นผู้นำมากขึ้น ขณะเดียวกันมีการให้กำลังใจเพื่อให้เด็กมีความรู้สึกที่ดีต่อตนเอง กล้าแสดงออก กล้าพูดแนะนำ เพื่อนในการทำกิจกรรม ให้โอกาสเพื่อนได้สับเปลี่ยนกันเป็นผู้นำผู้ตาม ซึ่งการทำกิจกรรมร่วมกันทำให้เด็กมีพัฒนาการด้านสังคมดีขึ้นขึ้น ซึ่งสอดคล้องกับ แนวคิดของคณาจารย์ชมรมเด็ก (2545) ที่ได้สรุปว่า การเล่นช่วยส่งเสริมการเรียนรู้ของเด็ก เพราะการเล่นของเด็กจัดว่าเป็นการศึกษาอย่างหนึ่งช่วยตอบสนองความต้องการของเด็ก เมื่อเด็กได้เล่นเด็กจะแสดงออกได้ระบายอารมณ์ และความต้องการต่าง ๆ อันเป็นการผ่อนคลายไม่ให้เกิดความตึงเครียด การเล่นจึงเป็นสิ่งที่ผ่อนคลายความตึงเครียดในชีวิตประจำวันของเด็ก ช่วยให้เด็กรู้จัก วางแผนทำสิ่งต่าง ๆ และช่วยให้เด็กรู้จักแก้ปัญหาที่เกิดกับตนอีกด้วย การเล่นช่วยฝึกฝนมารยาทที่ดีให้แก่เด็ก ซึ่งเป็นประโยชน์ที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งในการเล่น ทำให้เด็กรู้จักผิดถูก รู้จักการแพ้ชนะ เข้าใจความหมายของความยุติธรรมและความซื่อสัตย์ต่อหมู่คณะ การเล่นบางประเภทฝึกให้เด็กเป็นคนอดทน เสียสละและสร้างความเห็นอกเห็นใจบุคคลอื่น ๆ นอกจากนี้ยังสอดคล้องกับสาร สาระทัศนานันท์ (สุพัตรา ตาลดี 2551; อ้างอิงมาจาก สาร สาระทัศนานันท์, 2529) ที่ได้อธิบายไว้ว่าการละเล่นพื้นบ้านเป็นการฝึกระเบียบวินัย การเชื่อฟัง และรู้จักหน้าที่ ธรรมดาการละเล่นย่อมมีกติกา ผู้เล่นต้องอยู่ในขอบข่ายของกติกาและจะต้องถือระเบียบวินัยแห่งการเล่นและปกติการละเล่นย่อมมักมีผู้ตัดสิน บางทีมีหัวหน้าทีม ผู้เล่นจะต้องเชื่อฟังผู้ตัดสินและจะต้องเชื่อฟังหัวหน้าทีมด้วยจึงทำให้การเล่นดำเนินไปด้วยความเรียบร้อยและการเล่นถ้าจะให้ได้ชัยชนะ ข้อสำคัญอย่างหนึ่งคือ ผู้เล่นจะต้องรู้จักหน้าที่ของตนและพยายามทำหน้าที่ของตนให้ดีที่สุดด้วย การละเล่นจึงนับเป็นการฝึกสิ่งดีงามดังกล่าวไปในตัว ดังนั้นในการวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยได้จัดการเรียนการสอนที่หลากหลายโดยเน้นกระบวนการเรียนรู้ใช้วิธีสอนให้เหมาะสมกับวัย กำหนดจุดประสงค์การเรียนรู้เน้นกระบวนการเรียนการสอนและเทคนิควิธีที่ช่วยให้เด็กมีพัฒนาการด้านสังคมด้วยกิจกรรมการละเล่นพื้นบ้านอีสานทั้ง 12 กิจกรรม ทำให้เด็กปฐมวัยมีคะแนนพัฒนาการด้านสังคมดีขึ้น ซึ่งสอดคล้องกับงานวิจัยของฉวี บุญทูล (2557) ที่ได้ศึกษาผลการส่งเสริมพัฒนาการด้านสังคมของเด็กปฐมวัยโดยใช้ชุดกิจกรรมการละเล่นพื้นบ้าน ซึ่งการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาชุดกิจกรรมการละเล่นพื้นบ้านเพื่อส่งเสริมพัฒนาการด้านสังคมของเด็กปฐมวัย ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 เพื่อเปรียบเทียบพัฒนาด้านสังคมของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังจัดประสบการณ์โดยใช้ชุดกิจกรรมการละเล่นพื้นบ้าน เพื่อศึกษาดัชนีประสิทธิผลของการส่งเสริมพัฒนาการด้านสังคมของเด็กปฐมวัยโดยใช้ชุดกิจกรรมการละเล่นพื้นบ้านและเพื่อศึกษาความพึงพอใจของเด็กปฐมวัยที่มีต่อการจัดประสบการณ์โดยใช้ชุดกิจกรรมการละเล่นพื้นบ้านเพื่อส่งเสริมพัฒนาการด้านสังคมของเด็กปฐมวัย ก็ได้สรุปผลการวิจัยไว้ว่า ประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมการละเล่นพื้นบ้านเพื่อส่งเสริมพัฒนาการด้านสังคมของเด็กปฐมวัย ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นมีประสิทธิภาพ 83.53/85.39 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ พัฒนาการด้านสังคมของเด็กปฐมวัยหลังการจัดประสบการณ์สูงกว่าก่อนการจัดประสบการณ์โดยใช้ชุดกิจกรรมการละเล่นพื้นบ้าน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ดัชนีประสิทธิผลของพัฒนาการด้านสังคมของเด็กปฐมวัย โดยใช้ชุดกิจกรรมการละเล่นพื้นบ้าน มีค่าเท่ากับ 0.7629 แสดงว่านักเรียนมีความรู้เพิ่มขึ้น ร้อยละ 76.29 และความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดประสบการณ์เพื่อส่งเสริมพัฒนาการด้านสังคมของเด็กปฐมวัยโดยใช้ชุดกิจกรรมการละเล่นพื้นบ้าน โดยภาพรวมมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากและจุฑาทิพย์ ธรรมสิริวัฒน์ (2558) ที่ได้ทำการพัฒนาทักษะทางสังคมของเด็กปฐมวัยโดยการจัดกิจกรรมการเล่นเป็นกลุ่ม ในสถานรับเลี้ยงเด็กไฮเทค โดยมีวัตถุประสงค์ของการวิจัยเพื่อพัฒนาทักษะทางสังคมของเด็กปฐมวัย โดยใช้การจัดกิจกรรมการเล่นเป็นกลุ่ม ในสถานรับเลี้ยงเด็กไฮเทคและเพื่อศึกษาผลของการใช้กิจกรรมการเล่นเป็นกลุ่มที่มีต่อพัฒนาการทักษะทางสังคมของเด็กปฐมวัยในสถานรับเลี้ยงเด็กไฮเทค ก็สรุปผลการวิจัยไว้ว่า เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเล่นเป็นกลุ่มมีพัฒนาการด้านทักษะทางสังคมดีขึ้นและมีคะแนนเฉลี่ยทักษะทางสังคมหลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลอง นอกจานั้นยังสอดคล้องกับผลการวิจัยของ วีรณา ปะกิลาภัง (2558) ที่ได้ศึกษาการจัดกิจกรรมการละเล่นพื้นบ้านอีสานเพื่อเสริมสร้างทักษะทางสังคมของเด็กปฐมวัย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบทักษะทางสังคมของเด็กปฐมวัยระหว่างก่อนและหลังการจัดกิจกรรมการละเล่นพื้นบ้านอีสาน และ 2) เพื่อศึกษาพฤติกรรมทักษะทางสังคมของเด็กปฐมวัย โดยผ่านกิจกรรมการละเล่นพื้นบ้านอีสาน โดยสังเกตพฤติกรรมทางสังคม 3 ด้าน ได้แก่ ด้านความอดทน ด้านความเป็นผู้นำและผู้ตามและด้านความรับผิดชอบ ก็ได้สรุปผลการวิจัยไว้ว่า เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมการละเล่นพื้นบ้านอีสานมีพฤติกรรมทักษะทางสังคมทั้ง 3 ด้าน หลังการจัดกิจกรรมสูงขึ้นอยู่ในระดับดีและมีคะแนนเฉลี่ยเพิ่มขึ้นมากกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และยังพบว่าการจัดกิจกรรมการละเล่นพื้นบ้านอีสานเพื่อเสริมสร้างทักษะทางสังคม นักเรียนสนุกสนาน ตื่นเต้น สนใจและตั้งใจ ในการละเล่นพื้นบ้านอีสานนักเรียนรู้จกอดทน มีความเป็นผู้นำและผู้ตามที่ดีในการทำกิจกรรม มีความรับผิดชอบและเรียนรู้ร่วมกันอย่างมีความสุข นอกจากนี้ สุปราณี แก้วขุมเหล็ก (2559) ได้พัฒนาการจัดประสบการณ์การส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาและทักษะทางสังคมของเด็กปฐมวัยโดยใช้การละเล่นพื้นบ้าน การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษากิจกรรมการละเล่นพื้นบ้านที่เหมาะสมในการส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาและทักษะทางทางสังคมของเด็กปฐมวัย 2) พัฒนาและหาคุณภาพด้านประสิทธิผลของแผนพัฒนาการจัดประสบการณ์การส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาและทักษะทางทางสังคมของเด็กปฐมวัยโดยใช้การละเล่นพื้นบ้านและ 3) เปรียบเทียบความสามารถในการแก้ปัญหาและทักษะทางทางสังคมของเด็กปฐมวัยโดยใช้การละเล่นพื้นบ้านก่อนและหลังการจัดประสบการณ์ ก็ได้สรุปผลการวิจัยไว้เช่นเดียวกัน คือ กิจกรรมการละเล่นพื้นบ้านที่เหมาะสมกับการส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาและทักษะทางสังคมของเด็กปฐมวัย คือ กิจกรรมดมดอกไม้ กิจกรรมกาฟักไข่ กิจกรรมกระโดดเชือกคู่ กิจกรรมกำทาย กิจกรรมเก้าอี้ดนตรี กิจกรรมขี่ม้าส่งเมือง กิจกรรมแข่งเรือบก กิจกรรมเล่นเตย กิจกรรมหนอนวงและกิจกรรมน้ำขึ้นน้ำลง และผลจากความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับความเหมาะสมของแผนการจัดประสบการณ์ ผลการพัฒนาและหาคุณภาพแผนด้านประสิทธิผล พบว่า โดยรวมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.60 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.57 ดัชนีประสิทธิผลของแผนการจัดประสบการณ์ส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาและทักษะทางสังคมของเด็กปฐมวัยโดยใช้การละเล่นพื้นบ้าน มีค่าเท่ากับ 0.6936 คิดเป็นร้อยละ 69.36 แสดงว่า แผนการจัดประสบการณ์ส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาและทักษะทางสังคมของเด็กปฐมวัยโดยใช้การละเล่นพื้นบ้าน ทำให้นักเรียนมีความรู้เพิ่มขึ้น คิดเป็นร้อยละ 69.36 และผลการเปรียบเทียบความสามารถในการแก้ปัญหาและทักษะทางสังคมของเด็กปฐมวัย พบว่า ความสามารถในการแก้ปัญหาและทักษะทางสังคมของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์การละเล่นพื้นบ้านหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 อีกทั้งยังมีผลการวิจัยของรุ่งนภา จำปาเทศ (2560) ที่ได้พัฒนารูปแบบการสอนโดยใช้การจัดกิจกรรมเกมการละเล่นพื้นบ้านเพื่อส่งเสริมทักษะทางสังคมด้านการช่วยเหลือของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 2 โดยใช้รูปแบบการวิจัยกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อ พัฒนารูปแบบการสอนโดยจัดกิจกรรมเกมการละเล่นพื้นบ้าน เพื่อส่งเสริมทักษะทางสังคมด้านการช่วยเหลือของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 2 และเพื่อเปรียบเทียบทักษะทางสังคมด้านการช่วยเหลือของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังทำกิจกรรมเกมการละเล่นพื้นบ้าน และสรุปไว้ว่า ผู้เรียนได้รับรูปแบบการเรียนการสอน คือ ผู้เรียนมีทักษะทางสังคมความด้านการช่วยเหลือเพิ่มขึ้น และนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 หลังจากการจัดประสบการณ์การเรียนรู้มีทักษะทางสังคมด้านการช่วยเหลือสูงกว่าก่อนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

ข้อเสนอแนะ

จากผลการวิจัย เรื่อง การจัดกิจกรรมการละเล่นพื้นบ้านอีสานเพื่อส่งเสริมพัฒนาการด้านสังคมของเด็กปฐมวัย (3 – 4ปี) ผู้วิจัยจึงได้ให้ข้อเสนอแนะดังนี้

1. ข้อเสนอแนะในการนำไปใช้

1. ข้อเสนอแนะในการนำไปใช้

1.1 จากการจัดกิจกรรมการละเล่นพื้นบ้านอีสานทำให้เด็กปฐมวัยมีความกระตือรือร้นและ รอคอยในการทำกิจกรรมอีกทั้งยังมีปฏิสัมพันธ์กันมากขึ้น จากการสังเกตพบว่า เด็กสนทนาโต้ตอบกันเองภายในกลุ่มขณะทำกิจกรรม มีความสนุกสนานในการเล่น

และมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีต่อการเล่นกับเพื่อนร่วมกลุ่ม ผลวิจัยทำให้เด็กมีพัฒนาการด้านสังคมสูงขึ้น ดังนั้น ครูผู้สอน

จึงควรนำกิจกรรมการละเล่นพื้นบ้านอีสานดังกล่าวไปใช้ส่งเสริมพัฒนาการด้านสังคมสำหรับเด็กปฐมวัยในช่วงอายุอื่นต่อไป

1.2 การจัดกิจกรรมการละเล่นพื้นบ้านอีสานในระยะเริ่มแรก เด็กยังไม่เข้าใจกติกาการเล่น ทำให้ต้องใช้เวลาในการอธิบายกฎกติกาช้าจนมีเวลาในการเล่นน้อยลง ครูผู้สอนสามารถปรับเวลาในการจัดกิจกรรมให้เหมาะสมและในการนำกิจกรรมการละเล่นพื้นบ้านอีสานไปใช้ในกิจกรรมกลางแจ้งทุกครั้งครูต้องตรวจสุขภาพและศึกษาความบกพร่องของเด็กและอบอุ่นร่างกายก่อน

ทุกครั้ง

1.3 การใช้กิจกรรมการละเล่นพื้นบ้านอีสานประกอบการจัดกิจกรรมกลางแจ้งนี้เป็น กิจกรรมที่สามารถพัฒนาทักษะด้านต่าง ๆ สำหรับเด็กปฐมวัย ดังนั้น ผู้ปกครองและเด็กปฐมวัยสามารถนำการละเล่นพื้นบ้านไปเล่นนอกเหนือจากที่โรงเรียนได้

2. ข้อเสนอแนะในการทำวิจัยครั้งต่อไป

2.1 ควรมีการศึกษาผลของการจัดกิจกรรมการละเล่นพื้นบ้านอีสานต่อตัวแปรอื่น เช่น กล้ามเนื้อมัดเล็ก อารมณ์และจิตใจ สติปัญญา เพราะจะได้ ทราบแนวทางนำมาปรับปรุงกิจกรรมให้เหมาะสมและเป็นการบูรณาการการเรียนรู้

2.2 ควรมีนำกิจกรรมการละเล่นพื้นบ้านอีสานไปใช้กับเด็กที่มีอายุในระดับประถมศึกษาหรือมัธยมศึกษาแล้วศึกษาพัฒนาการด้านสังคม

2.3 ควรติดตามผลหลังการทดลองในระยะยาว เพื่อศึกษาความคงทนของพัฒนาการด้านสังคม ตลอดจนการจัดกิจกรรมการละเล่นพื้นบ้านอีสานที่ผลต่อพฤติกรรมที่ดีหรือติดเป็นนิสัยไปตลอดชีวิต

2.4 ควรมีการศึกษาเปรียบเทียบผลของการเข้าร่วมกิจกรรมการละเล่นพื้นบ้านอีสานที่มีต่อ ทักษะทางสังคมระหว่างเด็กชายและเด็กหญิงหญิงและเด็กที่มีอายุต่างกัน เพราะเด็กแต่ละคนมีลักษณะเฉพาะตัวแตกต่างกัน ซึ่งผลที่ศึกษาได้สามารถนำมาปรับปรุงกิจกรรมให้เหมาะสมยิ่งขึ้น

โพสต์โดย ครูอ๋อย : [28 ก.พ. 2563 เวลา 03:17 น.]
อ่าน [9088] ไอพี : 223.204.8.81
หากข้อความนี้ไม่เหมาะสม คลิก คลิกปุ่มนี้ หากเห็นว่าข้อความนี้ไม่เหมาะสม
 
 

โปรดอ่านกฎกติกาก่อนแสดงความเห็น
1. ข้อความของท่านจะขึ้นแสดงโดยอัตโนมัติทันทีที่ได้รับข้อมูล
2.
ห้ามโพสต์ ข้อความยั่วยุให้เกิดความรุนแรงทางสังคม ข้อความที่ก่อให้เกิดความเสียหายและเสื่อมเสียต่อบุคคลที่สาม, เบอร์โทรศัพท์,
รูปภาพที่ไม่เหมาะสมต่อเยาวชนหรือภาพลามกอนาจาร หรือกระทบถึงสถาบันอันเป็นที่เคารพ
ขอให้ผู้ตั้งกระทู้รับผิดชอบตัวเอง
และรับผิดชอบต่อสังคม ถ้ารูปภาพ หรือข้อความใดส่งผลกระทบต่อบุคคลอื่น ทีมงานพร้อมจะส่งรายละเอียดให้เจ้าหน้าที่
เพื่อตามจับตัวผู้กระทำผิดต่อไป

3.
สมาชิกที่โพสต์สิ่งเหล่านี้ อาจถูกดำเนินคดีทางกฎหมายจากผู้เสียหายได้
4. ไม่อนุญาตให้มีการโฆษณาสินค้าใด ๆ ทั้งสิ้น ทั้งทางตรงและทางอ้อม
5. ทุกความคิดเห็นเป็นข้อความที่ทางผู้เยี่ยมชมเข้ามาร่วมตั้งกระทู้ในเว็บไซต์ ทางเว็บไซต์ kroobannok.com ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องใดๆ ทั้งสิ้น
6. ทางทีมงานขอสงวนสิทธิ์ในการลบกระทู้ที่ไม่เหมาะสมได้ทันที โดยไม่ต้องมีการชี้แจงเหตุผลใดๆ ต่อเจ้าของความเห็นนั้นทั้งสิ้น

7. หากพบเห็นรูปภาพ หรือข้อความที่ไม่เหมาะสม กรุณาแจ้งมาที่อีเมล์ kornkham@hotmail.com เพื่อทำการลบออกจากระบบต่อไป


 ** พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.๒๕๕๐**

ขออภัยในความไม่สะดวก เนื่องจากเราประสบปัญหา
มีผู้โพสต์ข้อความที่หมิ่นเหม่และไม่เหมาะสมเป็นจำนวนมาก
ครูบ้านนอกดอทคอมจึงขอความร่วมมือสมาชิก
กรุณาเข้าสู่ระบบก่อนแสดงความเห็นครับ


  

สมัครสมาชิกใหม่
 

 

Advertisement

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

เปิดอ่าน 9,934 ครั้ง
คนไทย80% กินอาหารเกินจำเป็นร่างกาย
คนไทย80% กินอาหารเกินจำเป็นร่างกาย

เปิดอ่าน 16,408 ครั้ง
ทำไมไข่เยี่ยวม้าจึงมีสีดำ
ทำไมไข่เยี่ยวม้าจึงมีสีดำ

เปิดอ่าน 20,266 ครั้ง
2012 วันสิ้นโลก จริงหรือ?
2012 วันสิ้นโลก จริงหรือ?

เปิดอ่าน 12,165 ครั้ง
รูดซิป"กูเกิล ดูเดิล" เปิดประวัติ "กิเดียน ซุนด์แบกด์" ผู้ให้กำเนิด"ซิป"คนแรกของโลก
รูดซิป"กูเกิล ดูเดิล" เปิดประวัติ "กิเดียน ซุนด์แบกด์" ผู้ให้กำเนิด"ซิป"คนแรกของโลก

เปิดอ่าน 9,784 ครั้ง
ออกกำลังหนักช่วงสั้นๆ หนีโรคหัวใจได้ดีกว่าออกกำลังระยะยาว
ออกกำลังหนักช่วงสั้นๆ หนีโรคหัวใจได้ดีกว่าออกกำลังระยะยาว

เปิดอ่าน 14,922 ครั้ง
ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยการบริหารเงินทุนหมุนเวียนเพื่อแก้ไขปัญหาหนี้สินข้าราชการครู พ.ศ. 2558
ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยการบริหารเงินทุนหมุนเวียนเพื่อแก้ไขปัญหาหนี้สินข้าราชการครู พ.ศ. 2558

เปิดอ่าน 11,396 ครั้ง
แชร์สนั่น!คลิปสาวนักพากย์คนใหม่
แชร์สนั่น!คลิปสาวนักพากย์คนใหม่

เปิดอ่าน 3,282 ครั้ง
แนะนำแนวทางสำหรับครูรุ่นใหม่ ในการเตรียมเด็กสอบ TGAT
แนะนำแนวทางสำหรับครูรุ่นใหม่ ในการเตรียมเด็กสอบ TGAT

เปิดอ่าน 13,859 ครั้ง
อุทาหรณ์! มัวแต่ถ่ายรูป เจอรถไฟสวน เกือบหัวขาดแล้ว
อุทาหรณ์! มัวแต่ถ่ายรูป เจอรถไฟสวน เกือบหัวขาดแล้ว

เปิดอ่าน 11,185 ครั้ง
วิจัยพบการดื่ม "กาแฟ-ชา" อาจลดเสี่ยง "สโตรก-สมองเสื่อม"
วิจัยพบการดื่ม "กาแฟ-ชา" อาจลดเสี่ยง "สโตรก-สมองเสื่อม"

เปิดอ่าน 9,832 ครั้ง
ดีเอสไอเตือนชาวเน็ต!! ระวังติดอีเมล์ไวรัสเรียกค่าไถ่
ดีเอสไอเตือนชาวเน็ต!! ระวังติดอีเมล์ไวรัสเรียกค่าไถ่

เปิดอ่าน 22,106 ครั้ง
กฎของก๊าซ (THE GAS LAWS)
กฎของก๊าซ (THE GAS LAWS)

เปิดอ่าน 12,554 ครั้ง
ตับของเธอ สบายดีไหม?
ตับของเธอ สบายดีไหม?

เปิดอ่าน 11,172 ครั้ง
ชมหรือยัง? สถานการณ์ การศึกษาไทย 2557 (The State of Thai Education 2014)
ชมหรือยัง? สถานการณ์ การศึกษาไทย 2557 (The State of Thai Education 2014)

เปิดอ่าน 721 ครั้ง
จองตั๋วเครื่องบินอุดร กรุงเทพ ราคาดีพร้อมวิธีเตรียมตัวก่อนเดินทาง
จองตั๋วเครื่องบินอุดร กรุงเทพ ราคาดีพร้อมวิธีเตรียมตัวก่อนเดินทาง

เปิดอ่าน 13,985 ครั้ง
อาหารกับการออกกำลัง
อาหารกับการออกกำลัง
เปิดอ่าน 14,064 ครั้ง
สัญญาณบอกอาการ 15 โรคฮิต เช็กดูสักนิด ก่อนจิตตก
สัญญาณบอกอาการ 15 โรคฮิต เช็กดูสักนิด ก่อนจิตตก
เปิดอ่าน 26,876 ครั้ง
พายุสุริยะ คืออะไร
พายุสุริยะ คืออะไร
เปิดอ่าน 13,642 ครั้ง
20 วิธีที่คุณควรลอง ถ้าอุปกรณ์เชื่อมต่อภายนอกของคุณไม่ทำงาน
20 วิธีที่คุณควรลอง ถ้าอุปกรณ์เชื่อมต่อภายนอกของคุณไม่ทำงาน
เปิดอ่าน 10,969 ครั้ง
ขับรถอย่างฉลาด ปลอดภัย และประหยัดน้ำมัน
ขับรถอย่างฉลาด ปลอดภัย และประหยัดน้ำมัน

รายการหลัก

หน้าแรก
ข่าว/บทความ
สมุดเยี่ยม
กระดานสนทนา
เว็บลิงค์
ผู้จัดทำเว็บครูบ้านนอก
ข้อมูลบุคคล
ภาพกิจกรรม
ผู้สนับสนุน

สมาชิก

เข้าสู่ระบบ
คุณครูต้องรู้ไว้
รวมแบบฟอร์มต่างๆ

เว็บน่าสนใจ

เว็บไซต์ สพฐ.
กระทรวงศึกษาธิการ
เครื่องมือวิทยาศาสตร์
เครื่องมือวัด
เครื่องมืออุตสาหกรรม
เกมส์
แหล่งรวมเกมส์

แหล่งรวมเกมส์
สพป.มุกดาหาร



 เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ คลายเครียด

เกมส์ รวมเกมส์ เกมส์แข่งรถ เกมส์ต่อสู้ เกมส์ภาษา เกมส์วางระเบิด เกมส์แต่งตัว เกมส์ท่องเที่ยว เกมส์หมากฮอส เกมส์ผจญภัย เกมส์เต้น เกมส์รถ เกมส์ดนตรี เกมส์ขายของ เกมส์ฝึกสมอง เกมส์เด็กๆ เกมส์ปลูกผัก เกมส์การ์ด เกมส์จับผิดภาพ เกมส์ตลก เกมส์ตัดผม เกมส์ก้านกล้วย เกมส์ทําอาหาร เกมส์เลี้ยงสัตว์ เกมส์ผี เกมส์จับคู่ เกมส์กีฬา เกมส์เศรษฐี เกมส์ฝึกทักษะ เกมส์วางแผน เกมส์จีบหนุ่ม เกมส์มาริโอ เกมส์ระบายสี เกมส์จีบสาว เกมส์เบ็นเท็น เกมส์ยิง เกมส์ยาน เกมส์สร้างเมือง เกมส์มันส์ๆ เกมส์แต่งบ้าน เกมส์ความรู้
      kroobannok.com

© 2000-2020 Kroobannok.com  
All rights reserved.


Design by : kroobannok.com


ครูบ้านนอกดอทคอม
การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
 

ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

Email : kornkham@hotmail.com
Tel : 096-7158383

สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ