ชื่อผลงาน การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง ระบบสมการเชิงเส้น วิชาคณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้แบบฝึกทักษะการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD
ผู้รายงาน นางณิชชา มะลีจันทร์
โรงเรียน โรงเรียนเทศบาลบ้านสุขสำราญ
ปีการศึกษา 2561
บทคัดย่อ
การศึกษาในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน สำหรับนักเรียนที่ใช้แบบฝึกทักษะการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD 2) เพื่อพัฒนาแบบฝึกทักษะการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 75/75 3) เพื่อหาดัชนีประสิทธิผลของการเรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD และ 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD
ประชากร ที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนเทศบาลบ้านสุขสำราญ ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2561 จำนวน 72 คน กลุ่มตัวอย่างได้แก่นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/1 โรงเรียนเทศบาลบ้านสุขสำราญ จำนวน 35 คน ที่ได้มาโดยการเลือกตัวอย่างแบบกลุ่มเครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ แบบฝึกทักษะการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD
ประกอบด้วยแบบฝึกทักษะทั้งหมด 5 เล่ม แผนการจัดการเรียนรู้ วิชาคณิตศาสตร์ รหัสวิชา ค23101 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 7 แผน มีค่าความเที่ยงตรงระหว่าง 0.60 ถึง 1.00 แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชาคณิตศาสตร์ รหัสวิชา ค23101 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ซึ่งเป็นแบบทดสอบแบบปรนัยชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 40 ข้อ ซึ่งใช้เป็นแบบทดสอบ วัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน มีค่าความเที่ยงตรงระหว่าง 0.60 ถึง 1.00 ค่าความยากระหว่าง 0.21 ถึง 0.82 ค่าอำนาจจำแนกระหว่าง 0.32 ถึง 0.82 และค่าความเชื่อมั่น ทั้งฉบับเท่ากับ 0.98 และแบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกทักษะการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD จำนวน 20 ข้อ มีค่าความเที่ยงตรงระหว่าง 0.80 ถึง 1.00 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) และ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation)
ผลการศึกษา พบว่า
1. นักเรียนที่เรียนโดยใช้แบบฝึกการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน ซึ่งมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.01 ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานที่กำหนด
2. แบบฝึกทักษะการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD ที่ผู้ศึกษาสร้างขึ้นมีประสิทธิภาพเท่ากับ 78.00/77.79 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้
3. ดัชนีประสิทธิผลของการเรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิคSTAD แบบร่วมมือเทคนิคSTAD มีค่าเท่ากับ 0.6375 ซึ่งแสดงว่า นักเรียนมีความรู้เพิ่มขึ้นร้อยละ 63.75
4. นักเรียนที่เรียนโดยการใช้แบบฝึกทักษะการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD มีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกอยู่ในระดับมากที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.52