บทนำ
ปัจจุบันการจัดการศึกษาได้ก้าวหน้าไปอย่างรวดเร็ว ประเทศไทยมีการปฏิรูปการจัดการศึกษาเพื่อให้เยาวชนเป็นคนดี คนเก่ง มีการคิดที่สร้างสรรค์ทันต่อเหตุการณ์ในปัจจุบัน มีศักยภาพและความพร้อมในการนำพาประเทศชาติสู่เป้าหมายประเทศมั่นคง มั่งคั่งและยั่งยืน พร้อมรับความเปลี่ยนแปลงของสังคมในศตวรรษที่ 21 ด้วยนโยบายประเทศไทย 4.0 การจัดการศึกษาของเยาวชนไทยมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง จึงเป็นบทบาทหน้าที่ที่สำคัญของครูประถมศึกษาที่จะต้องวางพื้นฐานสร้างสมรรถนะให้มีความเข้มแข็งที่พร้อมรับการเรียนรู้เพื่อให้สามารถดำรงตนอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข แต่เมื่อมีการทดสอบความสามารถของผู้เรียนระดับชาติ (NT) พบว่า ด้านเหตุผลยังมีค่าคะแนนที่ไม่น่าพึงพอใจในเกือบทุกกลุ่มสาระ โดยเฉพาะการจัดการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ยังไม่ประสบผลสำเร็จผู้เรียนมีการตอบสนองที่แตกต่างกัน ซึ่งพบว่ามาจากความแตกต่างของพื้นฐานความรู้ของแต่ละบุคคล โดยมีจุดสำคัญคือผู้เรียนมีสมรรถนะด้านการอ่าน คิด วิเคราะห์ที่ค่อนข้างน้อย นำไปสู่ความไม่สามารถค้นคว้าหาความรู้ตามกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ได้ ด้วยสภาพปัญหานี้ทำให้ข้าพเจ้าในฐานะครูผู้สอนวิทยาศาสตร์ ได้คิดหาเทคนิควิธีการจัดการเรียนการสอนด้วยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ด้วย Active Learning ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ด้วยการลงมือปฏิบัติจริง เรียนรู้อย่างเป็นสุขสนุก เพราะเป็นไปตามความกระบวนการที่ผู้เรียนต้องการ ร่วมกับการบูรณาการกระตุ้นส่งเสริมการอ่านเพื่อการคิดวิเคราะห์ให้เกิดขึ้นกับตัวของนักเรียน
เป้าหมายความสำเร็จ
นักเรียนเรียนรู้กลุ่มสาระวิทยาศาสตร์ได้อย่างสนุก เป็นสุขกับกิจกรรมที่ร่วมเสนอทางเลือกรู้จักใช้กระบวนการคิดวิเคราะห์ เพื่อนำสู่การเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เนื่องจากมีทักษะด้านการอ่าน วิเคราะห์เนื้อหาของภาษาไทยซึ่งเป็นโจทย์ได้เป็นอย่างดี อันส่งผลให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น
ปณิธาน
ทุ่มเทสร้างสรรค์กระบวนการจัดการเรียนรู้ เพื่อสร้างและพัฒนาสมรรถนะนักเรียนให้มีความพร้อม
สู่การเป็นผลผลิตที่มีคุณค่าของสังคมด้วยการเป็น คนดี คนเก่ง กล้าคิด กล้าแสดงออกอย่างสร้างสรรค์
หลักการแนวคิดทฤษฎีที่นำมาใช้
ข้าพเจ้าได้ทบทวนกระบวนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้และผลการวัดผลสัมฤทธิ์โดยใช้หลักการวิเคราะห์ ด้วย TOWS Matrix ซึ่งวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างจุดแข็งกับโอกาส พร้อมคิดเทคนิควิธีการเพื่อนำเข้าหารือร่วมกับทีมวิชาการ คณะครูในโรงเรียน การทดลองใช้ การวัดประเมินผลจนทำให้เกิดเป็นผลงานเด่นที่มีประสิทธิผล เป็นที่ยอมรับและเกิดประโยชน์เป็นรูปธรรม
ที่มาของการบรูณาการวิทยาศาสตร์สู่การส่งเสริมแก้ไขสภาพปัญหาการอ่าน
มีการนำผลจากการจัดกิจกรรมมารวมกลุ่ม PLC โดยการประชุมวางแผนเพื่อหาแนวทางการแก้ไขปัญหาการอ่านด้วยเทคนิค หยิน หยาง (Buddy Supervision) ครูทุกกลุ่มสาระออกแบบกิจกรรมแก้ปัญหาการที่เหมาะสมกับระดับชั้น โดยเฉพาะชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์บูรณาการกับหนังสืออ่านเพิ่มเติม เพื่อกระตุ้นส่งเสริมการอ่าน การคิดวิเคราะห์อย่างต่อเนื่อง เมื่อประสบความสำเร็จร่วมกันสะท้อนผลงานในคาบ PLC วันจันทร์ตั้งแต่เวลา 15.30 16.30 น.
ภาพความสำเร็จที่ได้รับ
1. นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ที่สูงขึ้น
เมื่อเรียนรู้โดยใช้หนังสืออ่านเพิ่มเติม ชุดโลกมหัศจรรย์
2. ผลการทดสอบการอ่านออกเขียนได้ของชั้นประถมศึกษาปีที่ 3
ปีการศึกษา 2562 นักเรียนมีการพัฒนาขึ้น อ่านออกเขียนได้
ร้อยละ 100
3. ได้รับรางวัลครูผู้สอนดีเด่นวิชาวิทยาศาสตร์ ของสำนักงาน
เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต 2
4. ได้รับรางวัลทรงคุณค่า OBEC AWARDS ระดับภาคใต้
ชนะเลิศเหรียญทอง และระดับชาติเหรียญทอง ประเภท
ครูผู้สอนยอดเยี่ยมระดับประถมศึกษาบูรณาการ
ด้านบริหารจัดการ
แนวทางพัฒนาต่อยอดขยายผล
1. นำเทคนิคกระบวนการสอนแบบ AOPE Model ไปใช้ใน
การจัดการเรียนการสอนในระดับชั้นอื่นๆ ทำให้มีผลสัมฤทธิ์
ทางการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์สูงขึ้น
2. บริษัท ทรู ได้ถ่ายทำสปอตต่อยอดนวัตกรรมหนังสือ
อ่านเพิ่มเติมชุดโลกมหัศจรรย์ รายการเปิดโลกทัศน์
แห่งการเรียนรู้สู่โรงเรียนทั่วประเทศทางโทรทัศน์
ทรูปลูกปัญญาของบริษัท ทรูทั้งในประเทศและต่างประเทศ
3. เทคนิคการสอนแบบ AOPE Mode นำไปเผยแพร่ ณ โรงเรียนประถมศึกษา SK .Jenis Kebangsaan
Bukit Mertajam ประเทศมาเลเซีย และได้เผยแพร่ทางหนังสือพิมพ์เป็นภาษาฮินดูในประเทศมาเลเซียด้วย