ชื่อเรื่อง พัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ที่ส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ และเจตคติทางวิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
ผู้วิจัย นางวานิสินธุ์ ผาลา
ปีที่วิจัย 2561
หน่วยงาน โรงเรียนเทศบาล 1 (หนองแสง) สังกัดเทศบาลเมืองนครพนม อำเภอเมือง
จังหวัดนครพนม กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัญหาในการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ที่ส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ และเจตคติทางวิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ที่ส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ และเจตคติทางวิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 3) เพื่อศึกษาผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
ที่ส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ และเจตคติทางวิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ดังนี้
3.1) เปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระหว่างก่อนเรียนกับหลังเรียน
3.2) ศึกษาการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนโดยเทียบกับเกณฑ์ร้อยละ 70 3.3) ศึกษาเจตคติทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ที่ส่งเสริมการคิดวิเคราะห์และเจตคติทางวิทยาศาสตร์ 4) เพื่อประเมินรูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ที่ส่งเสริมการคิดวิเคราะห์และเจตคติทางวิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยและพัฒนา มีขั้นตอนการดำเนินการวิจัยเป็น 4 ระยะ ดังนี้ ระยะที่ 1 การศึกษาสภาพปัจจุบันและปัญหาในการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ที่ส่งเสริมการคิดวิเคราะห์และเจตคติทางวิทยาศาสตร์ โดยศึกษา แนวคิด ทฤษฎีงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และการสัมภาษณ์ ผู้ทรงคุณวุฒิทางด้านการศึกษา จำนวน 5 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์แบบ กึ่งโครงสร้าง การวิเคราะห์ข้อมูล ใช้การวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) ระยะที่ 2 การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ที่ส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ และเจตคติทางวิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยนำข้อมูลที่ได้จากระยะที่ 1 มาร่างเป็นรูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ที่ส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ และเจตคติทางวิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ รูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ที่ส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ และเจตคติทางวิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 คู่มือการใช้รูปแบบ แบบประเมินรูปแบบ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และแบบทดสอบการคิดวิเคราะห์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ และ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ระยะที่ 3 การศึกษาผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ที่ส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ และเจตคติทางวิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยนำรูปแบบไปใช้กับกลุ่มตัวอย่าง ซึ่งเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6/1 จำนวน 30 คน โรงเรียนเทศบาล 1 (หนองแสง) สังกัดเทศบาลเมืองนครพนม ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2561 ซึ่งได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ รูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ที่ส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ และเจตคติทางวิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 คู่มือการใช้รูปแบบ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบทดสอบการคิดวิเคราะห์ และแบบวัดเจตคติทางวิทยาศาสตร์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบที ระยะที่ 4 การประเมินรูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ที่ส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ และเจตคติทางวิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยการนำรูปแบบที่ผ่านการทดลองแล้วมาประเมินประสิทธิภาพของรูปแบบตามการรับรู้ของผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องเพื่อให้ได้รูปแบบที่มีคุณภาพ สามารถนำไปใช้พัฒนาผู้เรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบประเมินรูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ที่ส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ และเจตคติทางวิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า
1. ครูมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ที่ส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ และเจตคติทางวิทยาศาสตร์ แต่ขาดแนวทางในการปฏิบัติ ขาดทักษะ และการนำความรู้ไปใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ สำหรับแนวทางการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ และเจตคติทางวิทยาศาสตร์ ครูควรจัดการเรียนรู้โดยเน้นให้นักเรียนได้ลงมือปฏิบัติ ร่วมกันระดมสมองเพื่อสร้างแนวคิดอย่างหลากหลาย อภิปราย ช่วยเหลือกันจนสามารถค้นพบคำตอบได้ด้วยตนเอง โดยครูเป็นผู้ชี้แนะ
2. รูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ที่ส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ และเจตคติทางวิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ประกอบด้วย 6 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) แนวคิดและทฤษฎีพื้นฐาน 2) วัตถุประสงค์ของรูปแบบ 3) กระบวนการจัดการเรียนรู้ ประกอบด้วย 5 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นที่ 1 ขั้นกระตุ้นความสนใจ (Invitation) ขั้นที่ 2 ขั้นวางแผน (Plan) ขั้นที่ 3 ขั้นวิเคราะห์ (Analysis) ขั้นที่ 4 ขั้นสรุปและอภิปราย (Conclusion and Discussion) ขั้นที่ 5 ขั้นนำความรู้ไปใช้ (Implemention) 4) ระบบสังคม (Social System) 5) ระบบการสนับสนุน (Support System) 6) หลักการตอบสนอง (Principles of reaction) ผลการประเมินความเหมาะสมของรูปแบบอยู่ในระดับ มากที่สุด
3. นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ที่ส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ และเจตคติทางวิทยาศาสตร์ มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงขึ้นจากก่อน เรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 มีความสามารถด้านการคิดวิเคราะห์สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และมีเจตคติทางวิทยาศาสตร์ต่อการเรียนรู้ อยู่ในระดับ มากที่สุด
4. นักเรียนกลุ่มทดลอง และครูผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง มีความคิดเห็นว่ารูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ที่ส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ และเจตคติทางวิทยาศาสตร์ที่พัฒนาขึ้น มีประสิทธิภาพอยู่ในระดับ มาก