บทสรุปสำหรับผู้บริหาร
รายงานผลการบริหารจัดการโดยใช้เครือข่ายการมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน (O-NET) ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 14 มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) รายงานผลสภาพปัจจุบัน ปัญหาและความต้องการ การบริหารจัดการเพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน (O-NET) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 14 2) กำหนดแนวทางการบริหารจัดการเพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน (O-NET) ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 14 3) รายงานผลการบริหารจัดการโดยใช้เครือข่ายความร่วมมือ เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน (O-NET) ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 14 และ 4) รายงานความพึงพอใจของผู้บริหารสถานศึกษา ครู และบุคลากรทางการศึกษาต่อการบริหารจัดการศึกษาโดยใช้เครือข่ายความร่วมมือเพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน (O-NET) ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 14 ดำเนินการใน 4 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 การศึกษาสภาพปัญหาความต้องการและแนวทางการบริหารจัดการเพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน (O-NET) ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 14 ขั้นตอนที่ 2 การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน (O-NET) ขั้นตอนที่ 3 การรายงานผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน (O-NET) และขั้นตอนที่ 4 ประเมินความพึงพอใจของผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง
ผลการรายงานพบว่า
ขั้นตอนที่ 1 ผลการวิเคราะห์สภาพปัญหา ความต้องการและแนวทางการบริหารจัดการเพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน (O-NET) ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 14
1. สภาพการบริหารจัดการโดยใช้เครือข่ายความร่วมมือ เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน (O-NET) ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 14
2. ปัญหาการบริหารจัดการโดยใช้เครือข่ายความร่วมมือ เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน (O-NET) ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 14
2.1 ด้านการบริหารจัดการ เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน (O-NET)
2.2 ด้านการจัดการเรียนการสอน เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน (O-NET)
3. แนวทางการบริหารจัดการโดยใช้เครือข่ายความร่วมมือ เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน (O-NET) ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 14 ดำเนินการ 2 กิจกรรมคือ กิจกรรมที่ 1 การบริหารจัดการโดยใช้เครือข่ายความร่วมมือเพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน (O-NET)) ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 14 กิจกรรมที่ 2 การบูรณาการแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาเพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน (O-NET) ระดับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 14 ระดับสหวิทยาเขต และระดับสถานศึกษา
ขั้นตอนที่ 2 แนวทางการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน (O-NET)
ขั้นตอนการร่วมกันวางแผน (Plan) : ระยะที่ 1 ศึกษาบริบท คิด ค้น พัฒนา
ขั้นตอนการร่วมกันปฏิบัติ (Do) : ระยะที่ 2 ขับเคลื่อน ชวนทำ นำสู่ปฏิบัติ
ขั้นตอนการร่วมกันประเมิน (Check ) : ระยะที่ 3 แลกเปลี่ยน เรียนรู้ มุ่งสู่ความสำเร็จ
ขั้นตอนการร่วมปรับปรุง ( Act) : ระยะที่ 4 สะท้อน ขยาย รายงานผล
ขั้นตอนที่ 3 รายงานผลและเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน (O-NET) ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 14
1. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน (O-NET) (O-NET) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ประจำปีการศึกษา 2561 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 14 พบว่า คะแนนเฉลี่ยรวมระดับเขต ทุกรายวิชามีคะแนนเฉลี่ยร้อยละสูงกว่าระดับประเทศ และระดับสพฐ.
2. ผลการเปรียบเทียบสัมฤทธิ์ทางการเรียน (O-NET) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ระดับเขตพื้นที่การศึกษา ปีการศึกษา 2561 มีค่าเฉลี่ยรวมร้อยละสูงกว่าค่าเฉลี่ยปีการศึกษา 2560
3. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน (O-NET) (O-NET) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ประจำปีการศึกษา 2561 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 14 พบว่า คะแนนเฉลี่ยรวมระดับเขต ทุกรายวิชามีคะแนนเฉลี่ยร้อยละสูงกว่าระดับประเทศ และระดับสพฐ.
4. ผลการเปรียบเทียบสัมฤทธิ์ทางการเรียน (O-NET) มัธยมศึกษาปีที่ 6 ระดับเขตพื้นที่การศึกษา ปีการศึกษา 2561 มีค่าเฉลี่ยรวมร้อยละสูงกว่าค่าเฉลี่ยปีการศึกษา 2560
ขั้นตอนที่ 4 ความพึงพอใจของผู้บริหารสถานศึกษา ครูและบุคลากรทางการศึกษาต่อการบริหารจัดการศึกษาโดยใช้เครือข่ายความร่วมมือเพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน (O-NET) ของสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 14 พบว่า
ความพึงพอใจของผู้บริหาร ครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และคณะกรรมการติดตาม ตรวจสอบ ประเมินผล และการนิเทศการศึกษา มีความพึงพอใจต่อการบริหารจัดการศึกษาโดยใช้เครือข่ายความร่วมมือเพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน (O-NET) ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 14 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก
ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย
1. เขตพื้นที่การศึกษา ควรจัดทำนโยบายในการพัฒนาผู้บริหารสถานศึกษาและครูด้วยการอบรมแบบเข้มเน้นการบริหารงานวิชาการ เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน (O-NET) และการบริหารจัดการสถานศึกษาเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลง
2. เขตพื้นที่การศึกษา ควรกำหนดนโยบายหรือยุทธศาสตร์การพัฒนาโรงเรียนขนาดเล็กและขนาดกลางที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน (O-NET) ต่ำ เน้นหลักการมีส่วนร่วมของชุมชน เพื่อระดมทรัพยากรทั้งด้านงบประมาณ ภูมิปัญญาท้องถิ่น และแหล่งเรียนรู้ชุมชนและเทคโนโลยี นำมาใช้ในการจัดการศึกษา
3. เขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษา ควรวางแผนเพื่อกำหนดแนวทางการพัฒนาบุคลากรด้านการเรียนการสอนให้เป็นทิศทางเดียวกัน
4. คณะกรรมการติดตาม ตรวจสอบ ประเมินผล และการนิเทศการศึกษา ควรมีความรับผิดชอบหลักในการส่งเสริมสถานศึกษาให้มีความเข้มแข็งในการบริหารจัดการหลักสูตรสถานศึกษา และจัดกระบวนการเรียนรู้ได้อย่างมีคุณภาพ