การพัฒนาการเรียนรู้ตามรูปแบบคอนสตรัคติวิสต์ เรื่อง การดำรงชีวิตของพืช กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้
นายสมพร หมั่นบ้านต้อน ตำแหน่ง ครูชำนาญการพิเศษ
โรงเรียนเทศบาลบ้านไผ่ กองการศึกษาเทศบาลเมืองบ้านไผ่ จังหวัดขอนแก่น
บทคัดย่อ
รายงานฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) หาประสิทธิภาพของการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบ
คอนสตรัคติวิสต์ (2) หาดัชนีประสิทธิผลของการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบคอนสตรัคติวิสต์
(3) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน (4) ศึกษาความคงทนในการเรียนรู้ (5) เปรียบเทียบทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ และ (6) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบคอนสตรัคติวิสต์ เรื่อง การดำรงชีวิตของพืช กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนโรงเรียนเทศบาลบ้านไผ่ กองการศึกษาเทศบาลเมืองบ้านไผ่ จังหวัดขอนแก่น ภาคเรียนที่ 1 ปีการวิจัย 2561 จำนวน 30 คน ด้วยวิธีการสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แผนการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบ
คอนสตรัคติวิสต์ จำนวน 9 แผน เวลาเรียน 18 ชั่วโมง ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ 9 เล่ม แบบทดสอบ
วัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน จำนวน 40 ข้อ แบบทดสอบทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ จำนวน
30 ข้อ และแบบสอบถามความพึงพอใจ จำนวน 30 ข้อ สถิติสำหรับการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าประสิทธิภาพ ค่าดัชนีประสิทธิผล และทดสอบค่า t
(แบบกลุ่มไม่อิสระ) ผลการวิจัยปรากฏ ดังนี้
1. ประสิทธิภาพของการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบคอนสตรัคติวิสต์ โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ มีค่าเท่ากับ 86.92/85.58 สูงกว่าเกณฑ์ 80/80
2. ดัชนีประสิทธิผลของการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบคอนสตรัคติวิสต์ เรื่อง การดำรงชีวิตของพืช มีค่าเท่ากับ 0.7700 แสดงว่า นักเรียนมีความก้าวหน้าในการเรียนรู้เพิ่มขึ้น คิดเป็นร้อยละ 77.00 สูงกว่าเกณฑ์ 70 หรืออยู่ในระดับดี
3. นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบคอนสตรัคติวิสต์ โดยใช้ชุดกิจกรรม
การเรียนรู้ มีผลสัมฤทธิ์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
4. นักเรียนมีความคงทนในการเรียนรู้หลังเรียนแล้ว 2 สัปดาห์ ลดลงเพียงร้อยละ 0.33 5. นักเรียนมีคะแนนทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน
อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และได้คะแนนหลังเรียนคิดเป็นร้อยละ 84.56
6. นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการพัฒนาการเรียนรู้ตามรูปแบบคอนสตรัคติวิสต์
โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้โดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมากที่สุด
คำสำคัญ : คอนสตรัคติวิสต์, ชุดกิจกรรมการเรียนรู้
_____________________________________________________________________________
บทนำ
การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ยังไม่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญผู้เรียนยังไม่สามารถที่จะสืบเสาะหาความรู้และสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง ผู้เรียนยังคงเป็นผู้รับความรู้เหมือนเดิมเพราะทั้งครูและนักเรียนยังยึดติดอยู่กับรูปแบบการสอนเดิม ๆ คือ ครู เป็น ศูนย์กลางการเรียนรู้ ผู้เรียนเป็นผู้รับความรู้โดยการจำความรู้ ไม่มีการลงมือปฏิบัติจริง ทำให้ความรู้ที่ได้ไม่คงทน ไม่มีทักษะในการคิดค้น ทำงานไม่มีระบบ ไม่มีขั้นตอน ไม่กล้าแสดงความคิดเห็น ไม่กล้าแสดงออก ขาดปฏิสัมพันธ์ในการทำงานกลุ่ม ซึ่งการสอนโดยใช้โมเดลคอนสตรัคติวิสต์ ถือเป็นรูปแบบการสอนหนึ่งที่มีกิจกรรมเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ เพราะมีรูปแบบที่ชัดเจนสามารถนำไปปฏิบัติได้โดยง่าย และสอดคล้องกับการดำรงชีวิต เหมาะสมกับความสามารถและความสนใจของผู้เรียน โดยเน้นให้ผู้เรียนได้มีส่วนร่วมและลงมือปฏิบัติจริงทุกขั้นตอน นอกจากนี้การสอนวิธีสอนตามรูปแบบแนวคิดคอนสตรัคติวิสต์ เป็นรูปแบบการสอนตามแนวทางการจัดการเรียนรู้ที่เน้นนักเรียนเป็นสำคัญ และตามทฤษฎีการสอน
คือ บุคคลมีความรู้ โดยการสร้างความรู้ด้วยวิธีการที่ต่าง ๆ กัน โดยอาศัยประสบการณ์เดิม โครงสร้างทางปัญญาที่มีอยู่ และแรงจูงใจภายในเป็นพื้นฐาน
วัตถุประสงค์การวิจัย
1. เพื่อหาประสิทธิภาพของการพัฒนาการเรียนรู้ตามรูปแบบคอนสตรัคติวิสต์ เรื่อง การดำรงชีวิตของพืช กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โดยใช้
ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ ตามเกณฑ์ 80/80
2. เพื่อหาดัชนีประสิทธิผลของการพัฒนา
การเรียนรู้ตามรูปแบบคอนสตรัคติวิสต์
เรื่อง การดำรงชีวิตของพืช กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ ตามเกณฑ์ 70 หรือระดับดีขึ้นไป
3. เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่ได้รับการพัฒนาการเรียนรู้ตามรูปแบบคอนสตรัคติวิสต์ เรื่อง การดำรงชีวิตของพืช กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โดยใช้ชุดกิจกรรม
การเรียนรู้
4. เพื่อศึกษาความคงทนในการเรียนรู้
ของนักเรียนที่ได้รับการพัฒนาการเรียนรู้ตามรูปแบบคอนสตรัคติวิสต์ เรื่อง การดำรงชีวิตของพืช กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โดยใช้ชุดกิจกรรม
การเรียนรู้
5. เพื่อเปรียบเทียบทักษะกระบวนการ
ทางวิทยาศาสตร์ ก่อนเรียนและหลังเรียน
ของนักเรียนที่ได้รับการพัฒนาการเรียนรู้ตามรูปแบบคอนสตรัคติวิสต์ เรื่อง การดำรงชีวิตของพืช
กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โดยใช้ชุดกิจกรรม
การเรียนรู้
6. เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการพัฒนาการเรียนรู้ตามรูปแบบคอนสตรัคติวิสต์ เรื่อง การดำรงชีวิตของพืช
กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โดยใช้ชุดกิจกรรม
การเรียนรู้
วิธีดำเนินการวิจัย
1. ประชากร ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนเทศบาลบ้านไผ่ ปีการศึกษา 2561 จำนวน 57 คน จาก 2 ห้องเรียน
2. กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4/1 โรงเรียนเทศบาลบ้านไผ่ ปีการศึกษา 2561 จำนวน 30 คน โดยวิธีการสุ่มด้วยวิธีแบบกลุ่ม
3. เครื่องมือวิจัย
3.1 แผนการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบคอนสตรัคติวิสต์ จำนวน 9 แผน เวลา 18 ชั่วโมง
3.2 ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ จำนวน
9 เล่ม
3.3 แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทาง
การเรียน จำนวน 40 ข้อ
3.4 แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียน จำนวน 30 ข้อ
4. การเก็บรวบรวมข้อมูล
4.1 ดำเนินการทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์
ทางการเรียน
4.2 ดำเนินการทดลองสอนโดยผู้วิจัยเป็นผู้ดำเนินการตามรูปแบบคอนสตรัคติวิสต์
โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เวลา 18 ชั่วโมง
4.3 ดำเนินการทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและสอบถามความพึงพอใจหลังเรียน
4.4 นำคะแนนการทดสอบและการสอบถาม มาวิเคราะห์ด้วยวิธีทางสถิติ
5. การวิเคราะห์ข้อมูล
5.1 หาประสิทธิภาพของการพัฒนา
การเรียนรู้
5.2 หาค่าดัชนีประสิทธิผลของการพัฒนา
การเรียนรู้
5.3 เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
ของนักเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน
5.4 เปรียบเทียบความคงทนในการเรียนรู้ของนักเรียน ก่อนเรียนและหลังเรียน
5.5 เปรียบเทียบทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ก่อนเรียนและหลังเรียน
5.6 ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียน
ผลการวิจัย
จากการพัฒนาการเรียนรู้ตามรูปแบบคอนสตรัคติวิสต์ เรื่อง การดำรงชีวิตของพืช
กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ สรุปผลการวิจัย ดังนี้
1. ประสิทธิภาพของการพัฒนาการเรียนรู้ตามรูปแบบคอนสตรัคติวิสต์ โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ มีค่าเท่ากับ 86.92/85.58 สูงกว่าเกณฑ์ 80/80
2. ดัชนีประสิทธิภาพของการพัฒนา
การเรียนรู้ตามรูปแบบคอนสตรัคติวิสต์ โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ มีค่าเท่ากับ 0.7700 แสดงว่า นักเรียนมีความก้าวหน้าในการเรียนรู้เพิ่มขึ้นร้อยละ 77.00 สูงกว่าเกณฑ์ 70 และ
มีความก้าวหน้าอยู่ในระดับดี
3. นักเรียนที่ได้รับการพัฒนาการเรียนรู้ตามรูปแบบคอนสตรัคติวิสต์ โดยใช้
ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ มีผลสัมฤทธิ์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
ที่ระดับ .01
4. นักเรียนที่ได้รับการพัฒนาการเรียนรู้
ตามรูปแบบคอนสตรัคติวิสต์ โดยใช้
ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ มีความคงทนในการเรียนรู้หลังเรียนแล้ว 2 สัปดาห์ โดยคะแนน
ลดลงเพียงร้อยละ 0.33
5. นักเรียนที่ได้รับการพัฒนาการเรียนรู้
ตามรูปแบบคอนสตรัคติวิสต์ โดยใช้
ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ มีคะแนนทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน
อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และได้คะแนนหลังเรียนคิดเป็นร้อยละ 84.56
6. นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการพัฒนา
การเรียนรู้โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุลดลงเพียงร้อยละ 0.33
5. นักเรียนที่ได้รับการพัฒนาการเรียนรู้
ตามรูปแบบคอนสตรัคติวิสต์ โดยใช้
ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ มีคะแนนทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และได้คะแนนหลังเรียนคิดเป็นร้อยละ 84.56
6. นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการพัฒนา
การเรียนรู้โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
สรุปและอภิปรายผล
ทั้งนี้เนื่องอาจจะเนื่องมาจากวิธีการเรียนรู้ตามรูปแบบคอนสตรัคติวิสต์ มีขั้นตอนกิจกรรม
ที่เน้นนักเรียนเป็นสำคัญทั้งกระบวนการกลุ่มและรายบุคคลตามรูปแบบสืบเสาะหาความรู้
ที่เป็นกระบวนการเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องในแต่ละเรื่อง ดังนี้ (1) ขั้นที่ 1 ขั้นสร้างความขัดแย้ง
ทางปัญญา ด้วยการจัดการเรียนรู้ให้นักเรียนได้การสังเกตสิ่งรอบตัวด้วยความอยากรู้อยากเห็น เชิญชวนให้เกิดความสงสัยนำไปสู่การตั้งประเด็นปัญหา รวมถึงการพิจารณาคำตอบ
ที่เป็นไปได้ของปัญหาที่ตั้งขึ้น การจดบันทึกปรากฏการณ์ที่ไม่คาดคิดมาก่อน การบ่งชี้สถานการณ์ที่การรับรู้ของนักเรียนแตกต่างกัน (2) ขั้นที่ 2 ขั้นกิจกรรมไตร่ตรอง ด้วยการให้นักเรียนมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรม การระดมสมอง การเลือกทรัพยากรที่เหมาะสม การออกแบบและการดำเนินการทดลอง การประเมินทางเลือกที่หลากหลาย และการรวบรวมวิเคราะห์ข้อมูล เพื่อตอบคำถามของปัญหาที่สงสัยอย่างมีระบบระเบียบ (3) ขั้นที่ 3 ขั้นสร้างสถานการณ์ปัญหา ด้วยการจัดการเรียนรู้ให้นักเรียนได้มีการสื่อสาร ความหมายข้อมูลและความคิดเห็น ในการสร้างคำอธิบายใหม่และวิจารณ์คำตอบของปัญหา การบูรณาการคำตอบที่ได้รับความรู้และประสบการณ์เดิมที่มีอยู่ และ (4) ขั้นที่ 4 ขั้นสรุปผลการสร้างโครงสร้างใหม่ทางปัญญา ด้วยการจัดการเรียนรู้ให้นักเรียนได้นำความรู้และทักษะไปใช้การแลกเปลี่ยนความคิดเห็น การพัฒนาผลที่ได้จากการเรียนรู้และการส่งเสริมความคิดเห็นเพื่อให้เกิดการอธิบายและการยอมรับจากเพื่อน ๆ
ทำให้นักเรียนประสบผลสำเร็จด้านความรู้
ความเข้าใจที่ดีเกี่ยวกับเรื่องการดำรงชีวิตของพืช รวมทั้งวิธีการเรียนรู้ตามรูปแบบคอนสตรัค
ติวิสต์ มุ่งให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้ได้บรรลุผลตามมาตรฐานการเรียนรู้และผลการเรียนรู้ รวมทั้งเป็นการเปิดโอกาสให้นักเรียนได้มีส่วนร่วมในกิจกรรมทั้งด้านร่างกาย สติปัญญา อารมณ์ และสังคม ด้วยกระบวนการกลุ่ม
ทำงานร่วมกันเป็นทีม ทำการศึกษาค้นคว้าและฝึกฝนจากการทำใบกิจกรรมและกิจกรรมการทดลองหรือกิจกรรมต่าง ๆ ที่ครูกำหนดไว้ในชุดกิจกรรมการเรียนรู้ แต่ละกลุ่มจึงเกิดการแข่งขันและกระตุ้นการเรียนรู้ซึ่งกันและกัน มีปฏิสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน เพื่อความสำเร็จของกลุ่ม คือ ได้รับรางวัล คำชมจากเพื่อนและครูผู้สอนในแต่ละเรื่องหรือการประกาศคะแนนให้ทราบพร้อมการยกย่องชมเชยทั้งรายกลุ่มและรายบุคคล ประกอบกับการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือ ได้เน้นให้นักเรียนได้ร่วมมือและช่วยเหลือกันในการเรียนรู้จากใบความรู้ที่เป็นความรู้เชิงทฤษฎีและการทำชุดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องการดำรงชีวิตของพืช นักเรียนที่มีความรู้และความสามารถแตกต่างกัน การทำกิจกรรมกลุ่ม จึงเป็นการร่วมกันอย่างมีโครงสร้างที่ชัดเจน มีการทำงานร่วมกัน มีการแลกเปลี่ยนความคิด มีการช่วยเหลือพึงพา
อาศัยซึ่งกันและกัน มีความรับผิดชอบร่วมกัน ทั้งในส่วนตนและส่วนรวมเพื่อให้ตนเองและสมาชิกทุกคนในกลุ่มประสบความสำเร็จตามจุดประสงค์การเรียนรู้ที่กำหนดไว้ จึงถือได้ว่า การเรียนรู้ด้วยตามรูปแบบคอนสตรัคติวิสต์ ดังกล่าว ทำให้นักเรียนเป็นคนมีความเข้าใจ
และมีกระบวนการเรียนรู้ด้วยกลุ่มและรายบุคคลมากยิ่งขึ้นเรื่อย ๆ เรียงจากเรื่อง
ที่ 1-9 ตามลำดับ
ข้อเสนอแนะ
1. การจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบคอนสตรัคติวิสต์ครูผู้สอนควรเตรียมสื่อการเรียนรู้ที่หลากหลาย เพื่อกระตุ้นการเรียนรู้ของผู้เรียน
2. การจัดการเรียนการสอนครูควรกำหนดบทบาทให้นักเรียนได้ร่วมวางแผนและออกแบบการวิจัยด้วยตนเองแต่ละเนื้อหาร่วมกับครูผู้สอน เพิ่มกิจกรรมให้นักเรียนได้ศึกษาค้นคว้าจากแหล่งเรียนรู้ต่าง ๆ ทั้งของจริง สื่อเอกสาร และอินเตอร์เน็ต และนักเรียนมีส่วนร่วมประเมินคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของสมาชิกในกลุ่มร่วมกับครูด้วย
3. การเรียนรู้ด้วยการพัฒนาการเรียนรู้ตามรูปแบบคอนสตรัคติวิสต์ ครูผู้สอนควรให้คำแนะนำ ชี้แจงแนวทางปฏิบัติแก่นักเรียนได้ศึกษาความรู้แต่ละเนื้อหาย่อย เรียงตามลำดับ ในการพัฒนาการเรียนรู้ตามรูปแบบคอนสตรัคติวิสต์ เพื่อให้มีพื้นฐานการเรียนแต่ละขั้นตอนและในเนื้อหาเรื่องต่อไปเรียงตามลำดับ
4. การสร้างการพัฒนาการเรียนรู้
ตามรูปแบบคอนสตรัคติวิสต์ ผู้สร้างควรมี
การวางแผนอย่างเป็นขั้นตอน การปรึกษากับนักวิชาการหรือผู้เชี่ยวชาญอย่างใกล้ชิดทุกขั้นตอน การทดลองใช้เพื่อปรับปรุงแก้ไข ให้ได้การพัฒนาการเรียนรู้ตามรูปแบบคอนสตรัค
ติวิสต์ ที่มีคุณภาพ แล้วจึงนำมาใช้จัดกิจกรรมการเรียนรู้
5. ครูผู้สอนควรออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ และให้ผู้เรียนได้ลงมือปฏิบัติกิจกรรมด้วยตนเอง
โดยครูเป็นผู้ให้คำแนะนำและดูแลอย่างใกล้ชิด
เอกสารอ้างอิง
ทิศนา แขมมณี. (2558). หลักการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์แห่ง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
นันทิยา บุญเคลือบ. (2559). การพัฒนาทักษะกระบวนการสู่โครงงานวิทยาศาสตร์, สสวท. 13(169) : 45-50 ; กรกฎาคม-กันยายน.
บุญชม ศรีสะอาด. (2559). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 13. กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น.
พวงทอง มีมั่งคั่ง. (2555). การสอนทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์สำหรับนักเรียน
ขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพฯ : พัฒนาศึกษา.
รุจิระ สุภรณ์ไพบูลย์. (2555). แนวการสอนทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์สำหรับครู. กรุงเทพฯ : สมานการพิมพ์.
รุ่งทิวา จักร์กร. (2558). หลักการสอนทั่วไป. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ : รุ่งเรืองธรรม.
วิชาญ เลิศลพ. (2557). รูปแบบการสอนยุคใหม่ตามแนวทาง สสวท. กรุงเทพฯ :
พัฒนาการศึกษา.