ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ค้นหากระทู้
ตั้งกระทู้คำถามใหม่ กลับหน้าที่แล้ว
 
การพัฒนาการเรียนรู้ตามรูปแบบวัฏจักร 7 ขั้น เรื่อง อาหารกับการเจริญเติบโตของมนุษย์ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้หนั

การพัฒนาการเรียนรู้ตามรูปแบบวัฏจักร 7 ขั้น เรื่อง อาหารกับการเจริญเติบโตของมนุษย์

กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้หนังสือประกอบการเรียน

นายสมพร หมั่นบ้านต้อน ตำแหน่ง ครูชำนาญการพิเศษ

โรงเรียนเทศบาลบ้านไผ่ กองการศึกษา เทศบาลเมืองบ้านไผ่ จังหวัดขอนแก่น

บทคัดย่อ

การวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ

การวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) หาประสิทธิภาพของการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบ

วัฏจักร 7 ขั้น (2) หาดัชนีประสิทธิผลของการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบวัฏจักร 7 ขั้น (3) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และ (4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบวัฏจักร 7 ขั้น เรื่อง อาหารกับการเจริญเติบโตของมนุษย์ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้หนังสือประกอบการเรียน กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนโรงเรียนเทศบาล

บ้านไผ่ กองการศึกษาเทศบาลเมืองบ้านไผ่ จังหวัดขอนแก่น ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561 จำนวน 31 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา คือ แผนการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบวัฏจักร 7 ขั้น จำนวน

10 แผน ใช้จัดกิจกรรม 20 ชั่วโมง หนังสือประกอบการเรียน 10 เล่ม แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 40 ข้อ และแบบสอบถามความพึงพอใจ 20 ข้อ สถิติสำหรับการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าประสิทธิภาพ ค่าดัชนีประสิทธิผล และทดสอบค่า t (แบบกลุ่มไม่อิสระ) ผลการศึกษาปรากฏ ดังนี้

1. ประสิทธิภาพของการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบวัฏจักร 7 ขั้น เรื่อง อาหารกับ

การเจริญเติบโตของมนุษย์ มีค่าเท่ากับ 85.76/84.27 สูงกว่าเกณฑ์ 80/80

2. ดัชนีประสิทธิผลของการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบวัฏจักร 7 ขั้น เรื่อง อาหารกับ

การเจริญเติบโตของมนุษย์ มีค่าเท่ากับ 0.7400 แสดงว่า นักเรียนมีความก้าวหน้าในการเรียนรู้

เพิ่มขึ้น คิดเป็นร้อยละ 74.00 สูงกว่าเกณฑ์ 70 หรืออยู่ในระดับดี

3. นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบวัฏจักร 7 ขั้น เรื่อง อาหารกับการเจริญเติบโตของมนุษย์ มีผลสัมฤทธิ์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 4. นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้แบบวัฎจักร 5 ขั้น โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ชอบขั้นสำรวจที่มีการวางแผน ลงมือปฏิบัติ และศึกษา

แหล่งอื่นๆ เพื่อให้ได้ข้อมูลเพียงพอที่จะใช้ในขั้นต่อไป รองลงมา คือ ชอบหนังสือประกอบการเรียน

ที่ส่งเสริมให้นักเรียนรู้จักการแสวงหาความรู้ด้วยตนเองที่ดีและเรียนตามเพื่อนผู้อื่นได้ทัน

คำสำคัญ : รูปแบบวัฏจักร 7 ขั้น, หนังสือประกอบการเรียน

_____________________________________________________________________________

บทนำ

การพัฒนาความรู้ทางวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีของไทยโดยเฉลี่ยยังอยู่ในระดับต่ำ โดยเฉพาะการให้ความสำคัญต่อการเรียนวิทยาศาสตร์ และสร้างระบบความคิดการทำงานอย่างเป็นวิทยาศาสตร์ ส่งผลให้เกิดสภาพการขาดแคลน บุคลากรด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และเมื่อพิจารณาคุณภาพของ

การจัดการศึกษาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีพบว่า ความสามารถในกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษายังอยู่ในเกณฑ์ที่ต้องปรับปรุง จากผลการประเมินคุณภาพการศึกษาของ กระทรวงศึกษาธิการ และสมรรถนะของนักเรียนในด้านความรู้ความคิด ยังอยู่ในระดับค่อนข้างต่ำทุกด้าน โดยเฉพาะกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์

มีคะแนนเฉลี่ยต่ำกว่าครึ่ง โดยกิจกรรมการเรียนการสอนแบบสืบเสาะโดยใช้วัฏจักรการเรียนรู้แบบ 7 ขั้น หรือ 7E คือ ขั้นที่ 1 การตรวจสอบความรู้เดิม (E1 : Elicitation Phase) ขั้นที่ 2 การเร้าความสนใจ (E2 : Engagement Phase) ขั้นที่ 3 การสำรวจค้นหา (E3 : Exploration Phase) ขั้นที่ 4 การอธิบาย (E4 : Explanation Phase) ขั้นที่ 5 การขยายความรู้ (E5 : Elaboration Phase) ขั้นที่ 6 การประเมินผล (E6 : Evaluation Phase) และขั้นที่ 7 การนำความรู้ไปใช้ (E7 : Extension Phase) เป็นรูปแบบการสอนที่สามารถทำให้นักเรียนได้เรียนรู้เพื่อนำผลการเรียนรู้ไปใช้ในชีวิตและการประกอบอาชีพ

เมื่อนักเรียนได้เรียนรู้ได้รับการกระตุ้นให้เกิดความตื่นเต้น ท้าทายกับการเผชิญสถานการณ์หรือปัญหามีการร่วมกันคิด ลงมือปฏิบัติจริง ก็จะเข้าใจและเห็นความเชื่อมโยงของวิทยาศาสตร์กับวิชาอื่น

และชีวิต ทำให้สามารถอธิบาย ทำนาย คาดการณ์สิ่งต่าง ๆ ได้อย่างมีเหตุมีผล (อาภาพร สิงหราช.

2557 : 11-12) และการสอนแบบสืบเสาะตามรูปแบบวัฏจักร 7 ขั้น ถือเป็นกิจกรรมส่งเสริมให้นักเรียนประสบความสำเร็จในการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ให้เกิดความเข้าใจอย่างลึกซึ้งในมโนมติต่าง ๆ ทางวิทยาศาสตร์ (รุ่ง แก้วแดง. 2558 : 45) นักเรียนมีความสนใจมุ่งมั่นที่จะสังเกต สำรวจตรวจสอบ สืบค้นความรู้ที่มีคุณค่าเพิ่มขึ้นอย่างไม่หยุดยั้ง เพราะการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน

มีการจัดให้สอดคล้องกับสภาพจริงในชีวิต โดยใช้แหล่งเรียนรู้ที่หลากหลายในท้องถิ่น และได้คำนึงถึงนักเรียนที่มีวิธีการเรียนรู้ มีความสนใจ ความถนัดที่แตกต่างกัน การเรียนรู้วิทยาศาสตร์ความสำคัญของธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ซึ่งจะส่งผลให้นักเรียนสามารถเชื่อมโยงองค์ความรู้หลาย ๆ ด้าน

เป็นความรู้แบบองค์รวม เพื่อนำไปสู่การสร้างสรรค์สิ่งต่างๆ และพัฒนาคุณภาพชีวิต

มีความสามารถในการจัดการ และร่วมกันดูแลรักษาโลกธรรมชาติอย่างยั่งยืน นอกจากนี้ หนังสือประกอบการเรียนสามารถสนองความแตกต่างระหว่างบุคคลของนักเรียนได้เรียนรู้ตามเอกัตภาพของตน เช่น ความสนใจ สติปัญญา วุฒิภาวะ นักเรียนสามารถศึกษาหนังสือหรือตำราในเวลาใด เมื่อไรก็ได้ตามความพอใจของนักเรียนเอง นักเรียนสามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง นักเรียนได้เรียนรู้เป็นขั้นตอนทีละน้อย และได้ทราบผลการเรียนรู้ของตนทุกขั้นตอนจึงเกิดแรงเสริมที่นำมาใช้กับหนังสือประกอบการเรียน

วัตถุประสงค์การวิจัย

1. เพื่อหาประสิทธิภาพของการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบวัฏจักร 7 ขั้น เรื่อง อาหารกับการเจริญเติบโตของมนุษย์ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้หนังสือประกอบการเรียน ตามเกณฑ์ 80/80

2. เพื่อหาดัชนีประสิทธิผลของการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบวัฏจักร 7 ขั้น เรื่อง อาหารกับการเจริญเติบโตของมนุษย์ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6

โดยใช้หนังสือประกอบการเรียน ตามเกณฑ์ 70 หรือระดับดีขึ้นไป

3. เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบวัฏจักร 7 ขั้น เรื่อง อาหารกับการเจริญเติบโตของมนุษย์ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้หนังสือประกอบการเรียน

4. เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียน

ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบวัฏจักร

7 ขั้น เรื่อง อาหารกับการเจริญเติบโตของมนุษย์ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์

ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้หนังสือประกอบการเรียน

วิธีดำเนินการวิจัย

1. ประชากร ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนเทศบาลบ้านไผ่ ปีการศึกษา 2561 จำนวน 60 คน จาก 2 ห้องเรียน

2. กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6/1 โรงเรียนเทศบาลบ้านไผ่ ปีการศึกษา 2561 จำนวน 31 คน โดยวิธีการสุ่มด้วยวิธีแบบกลุ่ม

3. เครื่องมือวิจัย

3.1 แผนการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบวัฏจักร 7 ขั้น จำนวน 10 แผน เวลา 20 ชั่วโมง

3.2 หนังสือประกอบการเรียน จำนวน

10 เล่ม

3.3 แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทาง

การเรียน จำนวน 40 ข้อ

3.4 แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียน จำนวน 20 ข้อ

4. การเก็บรวบรวมข้อมูล

4.1 ดำเนินการทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์

ทางการเรียน

4.2 ดำเนินการทดลองสอนโดยผู้วิจัยเป็นผู้ดำเนินการตามรูปแบบวัฏจักร 7 ขั้น

โดยใช้หนังสือประกอบการเรียน เวลา

20 ชั่วโมง

4.3 ดำเนินการทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและสอบถามความพึงพอใจ

หลังเรียน

4.4 นำคะแนนการทดสอบและการสอบถาม มาวิเคราะห์ด้วยวิธีทางสถิติ

5. การวิเคราะห์ข้อมูล

5.1 หาประสิทธิภาพของการพัฒนา

การเรียนรู้

5.2 หาค่าดัชนีประสิทธิผลของการพัฒนา

การเรียนรู้

5.3 เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน

ของนักเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน

5.4 ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียน

ผลการวิจัย

จากการพัฒนาการเรียนรู้ตามรูปแบบ

วัฏจักร 7 ขั้น เรื่อง อาหารกับการเจริญ

เติบโตของมนุษย์ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้หนังสือประกอบการเรียน สรุปผลการวิจัย ดังนี้

1. ประสิทธิภาพของการพัฒนาการเรียนรู้ตามรูปแบบวัฏจักร 7 ขั้น โดยใช้หนังสือประกอบการเรียน มีค่าเท่ากับ 85.76/84.27 สูงกว่าเกณฑ์ 80/80

2. ดัชนีประสิทธิภาพของการพัฒนา

การเรียนรู้ตามรูปแบบวัฏจักร 7 ขั้น โดยใช้หนังสือประกอบการเรียน มีค่าเท่ากับ 0.7400 แสดงว่า นักเรียนมีความก้าวหน้าในการเรียนรู้เพิ่มขึ้นร้อยละ 74.00 สูงกว่าเกณฑ์ 70 และมีความก้าวหน้าอยู่ในระดับดี

3. นักเรียนที่ได้รับการพัฒนาการเรียนรู้ตามรูปแบบวัฏจักร 7 ขั้น โดยใช้

หนังสือประกอบการเรียน มีผลสัมฤทธิ์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญ

ทางสถิติที่ระดับ .01

4. นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการพัฒนา

การเรียนรู้โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด

สรุปและอภิปรายผล

ทั้งนี้เนื่องอาจจะเนื่องมาจากวิธีการเรียนรู้ตามรูปแบบวัฏจักร 7 ขั้น มีขั้นตอนกิจกรรมที่เน้นนักเรียนเป็นสำคัญทั้งกระบวนการกลุ่มและรายบุคคลตามรูปแบบสืบเสาะหาความรู้ที่เป็นกระบวนการเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องในแต่ละเรื่อง ดังนี้ (1) ขั้นที่ 1 การตรวจสอบความรู้เดิม (E1 : Elicitation Phase) ด้วยการใช้คำถามของครู เพื่อกระตุ้นให้นักเรียนได้แสดงความรู้เดิม คำถามเป็นประเด็นที่เป็นปัญหาที่เกิดขึ้นตามสภาพสังคมท้องถิ่น สถานการณ์ข่าว เกม หรือความรู้ที่เคยเรียนมาแล้ว เพื่อให้นักเรียนสามารถเชื่อมโยงการเรียนรู้ไปยังประสบการณ์

ที่ตนมี (2) ขั้นที่ 2 การเร้าความสนใจ (E2 : Engagement Phase) โดยการนำเข้าสู่เนื้อหาในบทเรียน โดยใช้สื่อและวิธีการต่าง ๆ เช่น ภาพ การสาธิต เป็นต้น ใช้คำถามให้นักเรียนเกิดความอยากรู้อยากเห็น และกำหนดประเด็นที่จะศึกษาแก่นักเรียน ได้ร่วมอภิปรายภายในกลุ่มเชื่อมโยงกับความรู้เดิม หรือประสบการณ์เดิมที่นักเรียนมี หรือเพิ่งเรียนมารู้มาแล้ว เพื่อนำไปสู่การสำรวจตรวจสอบในขั้นต่อไป

(3) ขั้นที่ 3 การสำรวจค้นหา (E3 : Exploration Phase) ด้วยการให้นักเรียนทำความเข้าใจในประเด็นหรือตั้งคำถามที่สนใจจะศึกษาอย่างถ่องแท้ แล้ววางแผนลงมือปฏิบัติเพื่อเก็บรวบรวมข้อมูล ทำการทดลอง โดยครูทำหน้าที่กระตุ้น

ให้นักเรียนตรวจสอบปัญหา ดำเนินการสำรวจตรวจสอบ และรวบรวมข้อมูลด้วยตนเอง

(4) ขั้นที่ 4 การอธิบาย (E4 : Explanation Phase) ด้วยการจัดกิจรรมที่นักเรียนได้ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติม นำข้อมูลเหล่านั้นมาอภิปราย

ซึ่งจะช่วยให้นักเรียนเห็นความสัมพันธ์ของข้อมูล โดยอ้างอิงประจักษ์พยานอย่างชัดเจน ช่วยให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้และสร้างความรู้ได้ (5) ขั้นที่ 5 การขยายความรู้ (E5 : Elaboration Phase) ด้วยการนำความรู้ที่สร้างขึ้นไปเชื่อมโยงกับความรู้เดิม โดยขยายกรอบแนวคิดเดิมของนักเรียน ต่อเติมให้สอดคล้องกับประสบการณ์เดิมและที่ค้นคว้าเพิ่มเติม หรือนำข้อสรุปที่ได้ไปใช้อธิบายสถานการณ์หรือเหตุการณ์อื่น ๆ ซึ่งจะช่วยให้เชื่อมโยงเกี่ยวกับเรื่องต่าง ๆ และทำให้เกิดความรู้กว้างขวางขึ้น ส่งเสริมให้นักเรียนตั้งประเด็น เพื่ออภิปราย และแสดงความคิดเห็นเพิ่มเติมให้ชัดเจนยิ่งขึ้น ขั้นที่ 6 การประเมินผล (E6 : Evaluation Phase) ด้วยการจัดกิจกรรมที่ให้นักเรียนตรวจสอบความเข้าใจของตนเอง ว่านักเรียนรู้อะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด ส่งเสริมให้นักเรียนนำความรู้ใหม่ที่ได้ไปเชื่อมโยงกับ

ความรู้เดิม นำความรู้ที่ได้มาประมวล ปรับประยุกต์สร้างผังมโนทัศน์ และทำแบบทดสอบ นอกจากนี้ครูได้เปิดโอกาสให้นักเรียนได้ตรวจสอบซึ่งกันและกัน และ (7) ขั้นที่ 7

การนำความรู้ไปใช้ (E7 : Extension Phase) ด้วยการจัดกิจกรรมที่สร้างสถานการณ์ให้นักเรียนนำความรู้ที่ได้เรียนมาไปปรับประยุกต์ใช้ให้เหมาะสม และเกิดประโยชน์

ต่อชีวิตประจำวัน โดยกระตุ้นให้นักเรียนนำความรู้ไปสร้างความรู้ใหม่ ซึ่งจะช่วยให้นักเรียนสามารถถ่ายโอนการเรียนรู้ได้ จึงทำให้นักเรียนประสบผลสำเร็จด้านการเรียนรู้และทักษะ

รวมทั้งวิธีการเรียนรู้ตามรูปแบบวัฏจักร 7 ขั้น มุ่งให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้ และบรรลุผล

ตามมาตรฐานการเรียนรู้และผลการเรียนรู้

ที่ผู้สอนได้กำหนดให้นักเรียนที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนแตกต่างกันทำงานร่วมกันเป็นทีม กลุ่มละ 5-6 คน ทำการทดสอบความรู้และฝึกด้วยหนังสือประกอบการเรียนภายในกลุ่ม จึงเกิดการแข่งขันและกระตุ้นการเรียนรู้ซึ่งกันและกัน มีปฏิสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน เพื่อความสำเร็จของกลุ่ม คือ ได้รับรางวัล คำชมจากเพื่อนและครูผู้สอนในแต่ละเรื่องหรือการประกาศคะแนนให้ทราบพร้อมการยกย่องชมเชยทั้งรายกลุ่มและรายบุคคล ประกอบกับการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือ ได้เน้นให้นักเรียนได้ร่วมมือและช่วยเหลือกันในการเรียนรู้จากใบความรู้ที่เป็นความรู้เชิงทฤษฎีและการทำหนังสือประกอบ

การเรียน นักเรียนที่มีความรู้และความสามารถแตกต่างกัน การทำกิจกรรมกลุ่ม จึงเป็นการร่วมกันอย่างมีโครงสร้างที่ชัดเจน มีการทำงานร่วมกัน มีการแลกเปลี่ยนความคิด มีการช่วยเหลือพึงพาอาศัยซึ่งกันและกัน มีความรับผิดชอบร่วมกัน ทั้งในส่วนตนและส่วนรวมเพื่อให้ตนเองและสมาชิกทุกคนในกลุ่มประสบความสำเร็จตามจุดประสงค์การเรียนรู้ จึงถือได้ว่า การเรียนรู้ด้วยตามรูปแบบวัฏจักร 7 ขั้น ดังกล่าว ทำให้นักเรียนเป็นคนมีความเข้าใจ

และมีทักษะกระบวนการเรียนรู้ด้วยกลุ่มและรายบุคคลมากยิ่งขึ้นเรื่อย ๆ ในแต่ละเรื่อง

ข้อเสนอแนะ

1. การจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบวัฏจักร

7 ขั้นครูผู้สอนควรเตรียมสื่อการเรียนรู้ที่หลากหลาย เพื่อกระตุ้นการเรียนรู้ของผู้เรียน

2. การจัดการเรียนการสอนครูควรกำหนดบทบาทให้นักเรียนได้ร่วมวางแผนและออกแบบการวิจัยด้วยตนเองแต่ละเนื้อหาร่วมกับครูผู้สอน เพิ่มกิจกรรมให้นักเรียนได้ศึกษาค้นคว้าจากแหล่งเรียนรู้ต่าง ๆ ทั้งของจริง สื่อเอกสาร และอินเตอร์เน็ต และนักเรียนมีส่วนร่วมประเมินคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของสมาชิกในกลุ่มร่วมกับครูด้วย

3. การเรียนรู้ด้วยการพัฒนาการเรียนรู้

ตามรูปแบบวัฏจักร 7 ขั้น ครูผู้สอนควรให้คำแนะนำ ชี้แจงแนวทางปฏิบัติแก่นักเรียนได้ศึกษาความรู้แต่ละเนื้อหาย่อย เรียงตามลำดับ ในการพัฒนาการเรียนรู้ตามรูปแบบวัฏจักร

7 ขั้น เพื่อให้มีพื้นฐานการเรียนแต่ละขั้นตอนและในเนื้อหาเรื่องต่อไปเรียงตามลำดับ

4. การสร้างการพัฒนาการเรียนรู้ตามรูปแบบวัฏจักร 7 ขั้น ผู้สร้างควรมีการวางแผนอย่างเป็นขั้นตอน การปรึกษากับนักวิชาการหรือผู้เชี่ยวชาญอย่างใกล้ชิดทุกขั้นตอน การทดลองใช้เพื่อปรับปรุงแก้ไข ให้ได้การพัฒนาการเรียนรู้ตามรูปแบบวัฏจักร

7 ขั้น ที่มีคุณภาพ แล้วจึงนำมาใช้จัดกิจกรรมการเรียนรู้

5. ครูผู้สอนควรออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ และให้ผู้เรียนได้ลงมือปฏิบัติกิจกรรมด้วยตนเอง โดยครู

เป็นผู้ให้คำแนะนำและดูแลอย่างใกล้ชิด

เอกสารอ้างอิง

จินตนา ใบกาซูยี. (2557). การสร้างสื่อการเรียนการสอน. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ :

สุวีริยาสาส์น.

ทิศนา แขมมณี. (2559). ศาสตร์การสอน : องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มี ประสิทธิภาพ. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

เปรื่อง กุมุท. (2557). การผลิตสื่อและนวัตกรรมสำหรับครูยุคใหม่. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ : กราฟิคอาร์ต.

รุ่งทิวา จักร์กร. (2558). หลักการสอนทั่วไป. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ : รุ่งเรืองธรรม.

โพสต์โดย สะมะพร : [24 ก.พ. 2563 เวลา 19:46 น.]
อ่าน [3194] ไอพี : 184.22.125.215
หากข้อความนี้ไม่เหมาะสม คลิก คลิกปุ่มนี้ หากเห็นว่าข้อความนี้ไม่เหมาะสม
 
 

โปรดอ่านกฎกติกาก่อนแสดงความเห็น
1. ข้อความของท่านจะขึ้นแสดงโดยอัตโนมัติทันทีที่ได้รับข้อมูล
2.
ห้ามโพสต์ ข้อความยั่วยุให้เกิดความรุนแรงทางสังคม ข้อความที่ก่อให้เกิดความเสียหายและเสื่อมเสียต่อบุคคลที่สาม, เบอร์โทรศัพท์,
รูปภาพที่ไม่เหมาะสมต่อเยาวชนหรือภาพลามกอนาจาร หรือกระทบถึงสถาบันอันเป็นที่เคารพ
ขอให้ผู้ตั้งกระทู้รับผิดชอบตัวเอง
และรับผิดชอบต่อสังคม ถ้ารูปภาพ หรือข้อความใดส่งผลกระทบต่อบุคคลอื่น ทีมงานพร้อมจะส่งรายละเอียดให้เจ้าหน้าที่
เพื่อตามจับตัวผู้กระทำผิดต่อไป

3.
สมาชิกที่โพสต์สิ่งเหล่านี้ อาจถูกดำเนินคดีทางกฎหมายจากผู้เสียหายได้
4. ไม่อนุญาตให้มีการโฆษณาสินค้าใด ๆ ทั้งสิ้น ทั้งทางตรงและทางอ้อม
5. ทุกความคิดเห็นเป็นข้อความที่ทางผู้เยี่ยมชมเข้ามาร่วมตั้งกระทู้ในเว็บไซต์ ทางเว็บไซต์ kroobannok.com ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องใดๆ ทั้งสิ้น
6. ทางทีมงานขอสงวนสิทธิ์ในการลบกระทู้ที่ไม่เหมาะสมได้ทันที โดยไม่ต้องมีการชี้แจงเหตุผลใดๆ ต่อเจ้าของความเห็นนั้นทั้งสิ้น

7. หากพบเห็นรูปภาพ หรือข้อความที่ไม่เหมาะสม กรุณาแจ้งมาที่อีเมล์ kornkham@hotmail.com เพื่อทำการลบออกจากระบบต่อไป


 ** พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.๒๕๕๐**

ขออภัยในความไม่สะดวก เนื่องจากเราประสบปัญหา
มีผู้โพสต์ข้อความที่หมิ่นเหม่และไม่เหมาะสมเป็นจำนวนมาก
ครูบ้านนอกดอทคอมจึงขอความร่วมมือสมาชิก
กรุณาเข้าสู่ระบบก่อนแสดงความเห็นครับ


  

สมัครสมาชิกใหม่
 

 

Advertisement

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

เปิดอ่าน 8,979 ครั้ง
ฝึกหายใจให้หายง่วง
ฝึกหายใจให้หายง่วง

เปิดอ่าน 22,711 ครั้ง
ประวัติวันวาเลนไทน์ 14 กุมภาพันธ์ วันแห่งความรัก
ประวัติวันวาเลนไทน์ 14 กุมภาพันธ์ วันแห่งความรัก

เปิดอ่าน 53,613 ครั้ง
คลิป "ควีโยมี Gwiyomi" ที่น่ารักสุดๆ และกำลังฮิตกระจาย
คลิป "ควีโยมี Gwiyomi" ที่น่ารักสุดๆ และกำลังฮิตกระจาย

เปิดอ่าน 32,116 ครั้ง
วิธีเซ็นรับรองสำเนาอย่างปลอดภัย
วิธีเซ็นรับรองสำเนาอย่างปลอดภัย

เปิดอ่าน 27,680 ครั้ง
สกิมเมอร์ : เทคโนโลยีโฉดเพื่อทรชน
สกิมเมอร์ : เทคโนโลยีโฉดเพื่อทรชน

เปิดอ่าน 24,307 ครั้ง
การช่างและหมู่บ้านช่าง
การช่างและหมู่บ้านช่าง

เปิดอ่าน 20,938 ครั้ง
วิธีดูสุริยุปราคาที่ถูกต้อง
วิธีดูสุริยุปราคาที่ถูกต้อง

เปิดอ่าน 13,542 ครั้ง
ชำแหละ "ข้อสอบระดับชาติ" เพิ่มเด็กด้อยโอกาส-ไม่สะท้อนความรู้ในห้องเรียน
ชำแหละ "ข้อสอบระดับชาติ" เพิ่มเด็กด้อยโอกาส-ไม่สะท้อนความรู้ในห้องเรียน

เปิดอ่าน 8,225 ครั้ง
"กูเกิ้ล"ผุดนวัตกรรม แว่นเสมือนจริง-รถอัตโนมัติ!
"กูเกิ้ล"ผุดนวัตกรรม แว่นเสมือนจริง-รถอัตโนมัติ!

เปิดอ่าน 32,181 ครั้ง
สรรพคุณของ "ปวยเล้ง"
สรรพคุณของ "ปวยเล้ง"

เปิดอ่าน 15,665 ครั้ง
สาเหตุของความดันโลหิตสูงที่คาดไม่ถึง
สาเหตุของความดันโลหิตสูงที่คาดไม่ถึง

เปิดอ่าน 10,222 ครั้ง
แกล้งคนในลิฟต์ 55+
แกล้งคนในลิฟต์ 55+

เปิดอ่าน 9,501 ครั้ง
แต่งหน้าตามราศี เสริมโหงวเฮ้งรับปีวัว
แต่งหน้าตามราศี เสริมโหงวเฮ้งรับปีวัว

เปิดอ่าน 15,649 ครั้ง
9 ประโยชน์เพื่อสุขภาพของกระเทียม ที่คุณอาจคาดไม่ถึง!
9 ประโยชน์เพื่อสุขภาพของกระเทียม ที่คุณอาจคาดไม่ถึง!

เปิดอ่าน 65,492 ครั้ง
ลูกชิดกับลูกจาก มาจากไหน
ลูกชิดกับลูกจาก มาจากไหน

เปิดอ่าน 19,930 ครั้ง
ประโยชน์จากฟักเขียว
ประโยชน์จากฟักเขียว
เปิดอ่าน 7,590 ครั้ง
เคล็ดลับเรียนแล้วรวย
เคล็ดลับเรียนแล้วรวย
เปิดอ่าน 15,636 ครั้ง
เพลงประจำอาเซียน
เพลงประจำอาเซียน
เปิดอ่าน 20,143 ครั้ง
รอบรู้เกี่ยวกับเรื่องของ พ.ร.บ. ประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับ
รอบรู้เกี่ยวกับเรื่องของ พ.ร.บ. ประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับ
เปิดอ่าน 48,885 ครั้ง
กระบี่ กระบอง
กระบี่ กระบอง

รายการหลัก

หน้าแรก
ข่าว/บทความ
สมุดเยี่ยม
กระดานสนทนา
เว็บลิงค์
ผู้จัดทำเว็บครูบ้านนอก
ข้อมูลบุคคล
ภาพกิจกรรม
ผู้สนับสนุน

สมาชิก

เข้าสู่ระบบ
คุณครูต้องรู้ไว้
รวมแบบฟอร์มต่างๆ

เว็บน่าสนใจ

เว็บไซต์ สพฐ.
กระทรวงศึกษาธิการ
เครื่องมือวิทยาศาสตร์
เครื่องมือวัด
เครื่องมืออุตสาหกรรม
เกมส์
แหล่งรวมเกมส์

แหล่งรวมเกมส์
สพป.มุกดาหาร



 เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ คลายเครียด

เกมส์ รวมเกมส์ เกมส์แข่งรถ เกมส์ต่อสู้ เกมส์ภาษา เกมส์วางระเบิด เกมส์แต่งตัว เกมส์ท่องเที่ยว เกมส์หมากฮอส เกมส์ผจญภัย เกมส์เต้น เกมส์รถ เกมส์ดนตรี เกมส์ขายของ เกมส์ฝึกสมอง เกมส์เด็กๆ เกมส์ปลูกผัก เกมส์การ์ด เกมส์จับผิดภาพ เกมส์ตลก เกมส์ตัดผม เกมส์ก้านกล้วย เกมส์ทําอาหาร เกมส์เลี้ยงสัตว์ เกมส์ผี เกมส์จับคู่ เกมส์กีฬา เกมส์เศรษฐี เกมส์ฝึกทักษะ เกมส์วางแผน เกมส์จีบหนุ่ม เกมส์มาริโอ เกมส์ระบายสี เกมส์จีบสาว เกมส์เบ็นเท็น เกมส์ยิง เกมส์ยาน เกมส์สร้างเมือง เกมส์มันส์ๆ เกมส์แต่งบ้าน เกมส์ความรู้
      kroobannok.com

© 2000-2020 Kroobannok.com  
All rights reserved.


Design by : kroobannok.com


ครูบ้านนอกดอทคอม
การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
 

ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

Email : kornkham@hotmail.com
Tel : 096-7158383

สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ