1.1 ระดับชั้นที่สอน
- ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 รายวิชา สังคมศึกษา รหัส ส23101 กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม จำนวน 3 ห้องเรียน คิดเป็น 9 คาบ/สัปดาห์
1.2 ได้รับการนิเทศการสอนจากเพื่อนครูในกลุ่มสาระและหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม
1.3 ข้าพเจ้าได้ปฏิบัติการสอนในกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรมซึ่งเป็นรายวิชาที่ตรงกับวิชาเอกและ/หรือความถนัดของข้าพเจ้า ได้รับการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่องในด้านการเรียนการสอนในรูปแบบของการอบรมสัมมนา ศึกษาดูงาน การศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้นและจากการค้นคว้าเอกสาร ตำรา อินเทอร์เน็ตและแหล่งความรู้อื่นๆอย่างต่อเนื่อง โดยมีประสบการณ์ในการสอน เป็นเวลา 2 ปี
1.4 ผลงานที่ภาคภูมิใจ ได้ร่วมกับคณะครู อาจารย์ ในองค์กรและนอกองค์กรในการร่วมพัฒนาหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 และ การจัดจำหน่ายการเรียนรู้ในการพัฒนาการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพ รวมทั้งร่วมพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน เพื่อยกระดับให้สูงขึ้นในด้านต่างๆดังนี้
2. วิธีการจัดทำและการใช้หน่วยการเรียนรู้
2.1 ผู้สอนได้ทำการแบ่งหน่วยการเรียนรู้ในแต่ละรายวิชา ดังนี้
- รายวิชา สังคมศึกษา รหัส ส23102 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ได้จัดทำหน่วยการเรียนรู้ ทั้งหมด 8 หน่วยการเรียนรู้ เวลา 60 ชั่วโมง จำนวน 1.5 หน่วยกิต ได้แก่
หน่วยที่ 1 พระพุทธ
หน่วยที่ 2 พระธรรม
หน่วยที่ 3 พระสงฆ์
หน่วยที่ 4 ศาสนพิธี พิธีกรรม ตามแนวปฏิบัติของศาสนาอื่นๆ
หน่วยที่ 5 สถาบันทางสังคม
หน่วยที่ 6 กฎหมายกับตัวเรา
หน่วยที่ 7 พลเมืองดีตามวิถีประชาธิปไตย
หน่วยที่ 8 ข้อมูลข่าวสารทางการเมืองการปกครองไทยสมัยปัจจุบัน
2.2 ขั้นตอนและวิธีการจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้
ได้ศึกษาหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 และหลักสูตรสถานศึกษาของโรงเรียนในการบูรณาการให้สอดคล้องกับท้องถิ่น จัดทำหน่วยการเรียนรู้และแผนการจัดการเรียนรู้เป็นลำดับขั้นตอน ดังนี้
- วิเคราะห์ตัวชี้วัดสู่มาตรฐานการเรียนรู้
- กำหนดสาระสำคัญ ว่าผู้เรียนรู้อะไร ทำอะไรได้
- จัดทำโครงสร้างรายวิชา
- วิเคราะห์มาตรฐานสู่สมรรถนะและคุณลักษณะ
- วิเคราะห์หลักฐานการเรียนรู้
- วางแผนกำหนดหลักฐานการเรียนรู้
- ออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้
- ตรวจสอบกิจกรรมการเรียนรู้
- ศึกษาองค์ประกอบของหน่วยการเรียนรู้
2.3 ความสำเร็จและหรือปัญหาของการนำไปใช้
ความสำเร็จ
การจัดกระบวนการเรียนการสอนมีความเป็นระบบมากขึ้นและมีประสิทธิภาพมาก
ปัญหา
-
2.4 วิธีการแก้ปัญหา
ด้านการเรียนการสอน
ควรจัดกิจกรรมที่หลากหลายและเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
ด้านการวิเคราะห์หลักสูตร
รู้ เข้าใจหลักการ/จุดหมาย/โครงสร้างหลักสูตร ได้แนวทางจัดกิจกรรมการเรียนรู้ได้วิเคราะห์
หลักสูตร/ตัวชี้วัด ได้คำอธิบาย/ผลการเรียนรู้/หน่วยการเรียนรู้ ได้ทราบรายวิชาที่ต้องสอนตามโครงสร้าง
2.5 วิธีการเรียนรู้ของนักเรียน
จากการสังเกตของครูผู้สอนในการนำหน่วยการเรียนรู้ที่จัดทำมาใช้สอนนักเรียน
ผลปรากฏว่า กระบวนการเรียนการสอนมีความคล่องตัว ผู้เรียนให้ความสำคัญกับการเรียนและเรียนรู้ได้ดียิ่งขึ้น
2.6 ผลการเรียนรู้/ผลสัมฤทธิ์ของนักเรียน
จากการประเมินผลการเรียนของนักเรียน ประจำภาคเรียนที่ 3 ปีการศึกษา 2560
รายวิชา สังคมศึกษา รหัสวิชา ส23101 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
นักเรียนทั้งหมด ระดับผลการเรียน ผลการประเมิน
(คน) 4 3.5 3 2.5 2 1.5 1 0 ร มส ผ มผ
116 24 26 46 20 - - - - - - - -
3. ผลการประเมินตนเอง ที่เชื่อมโยงหลักสูตรแกนกลาง 2551 (ใส่เครื่องหมาย)
ประเด็น ทำได้ดีมาก ทำได้ดี ทำได้บ้างแต่ต้องพัฒนาเพิ่ม ไม่ได้ทำหรือต้องการพัฒนามาก
1. การศึกษา/วิเคราะห์หลักสูตร 
2. โครงสร้างรายวิชา 
3. หน่วยการเรียนรู้ 
4. แผนการจัดการเรียนรู้ 
5. การจัดกิจกรรมเรียนรู้ 
6. สื่อ/แหล่งเรียนรู้ 
7. การใช้คำถาม 
8. การวัด ประเมินผล 
ประเด็น ทำได้ดีมาก ทำได้ดี ทำได้บ้างแต่ต้องพัฒนาเพิ่ม ไม่ได้ทำหรือต้องการพัฒนามาก
9. การพัฒนาทักษะการคิด 
10. การดูแลนักเรียนเป็นรายบุคคล 
11. การมีส่วนร่วมของผู้ปกครอง 
12. วิจัยปฏิบัติการ 
13. การสอดแทรกคุณลักษณะอันพึงประสงค์ 
14. ส่งเสริม/พัฒนาสมรรถนะสำคัญของผู้เรียน 
15. การสอดแทรกอาเซียน 
รวม(ประเด็น) 
จากตาราง พบว่า
1. ประเด็นที่ทำได้ในระดับดี มีอยู่ 9 ประเด็น ดังนี้
การศึกษา/วิเคราะห์หลักสูตร โครงสร้างรายวิชา หน่วยการเรียนรู้ การใช้คำถาม การดูแลนักเรียนเป็นรายบุคคล วิจัยปฏิบัติการ การสอดแทรกคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ส่งเสริม/พัฒนาสมรรถนะสำคัญของผู้เรียน การสอดแทรกอาเซียน
2. ประเด็นที่ทำได้บ้างแต่ต้องพัฒนาเพิ่มเติม มีอยู่ 6 ประเด็น ดังนี้
แผนการจัดการเรียนรู้ การจัดกิจกรรมเรียนรู้ สื่อ/แหล่งเรียนรู้ การวัด ประเมินผล การพัฒนาทักษะการคิด การมีส่วนร่วมของผู้ปกครอง
4. การร่วมมือพัฒนางาน
มีประชุมปรึกษาหารือกับคณะครู ระดับชั้นเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้ ระหว่างกลุ่มสาระการเรียนรู้และการประชุมร่วมกันระหว่างผู้บริหาร ครูและบุคลากรทางการศึกษา เพื่อหาข้อตกลงร่วมกันในด้านการเรียนการสอน การดูแลช่วยเหลือนักเรียนที่มีปัญหา เพื่อระดมพลังสมองในการร่วมกันพัฒนาหลักสูตรและพัฒนาผู้เรียนให้มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่สูงขึ้น
5. การสนับสนุนช่วยเหลือจากผู้อื่นในสังคมได้อย่างมีความสุข
-
6. ต้องการได้รับความช่วยเหลือ
-