ชื่อเรื่อง รายงานการพัฒนาทักษะการฟัง การพูด โดยใช้หนังสือเสริมประสบการณ์คำคล้องจอง
ประกอบภาพ สำหรับเด็กเล็กปีที่ 1
ผู้ศึกษาค้นคว้า นางธิดารัตน์ ไวยารัตน์
สถานศึกษา ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านบ่อร้าง ตำบลบงใต้ อำเภอสว่างแดนดิน จังหวัดสกลนคร
สังกัดกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย
ปีที่ศึกษาค้นคว้า 2561
บทคัดย่อ
การศึกษาค้นคว้าครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการใช้หนังสือเสริมประสบการณ์
คำคล้องจองประกอบภาพ สำหรับเด็กเล็กปีที่ 1 และเพื่อศึกษาสภาพความสามารถของเด็กที่เรียนด้วย
หนังสือเสริมประสบการณ์คำคล้องจองประกอบภาพ สำหรับเด็กเล็กปีที่ 1 กลุ่มเป้าหมายในการศึกษา
ค้นคว้า ได้แก่ เด็กเล็กปีที่ 1 ห้อง 1 ปีการศึกษา 2561 ของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านบ่อร้าง ตำบลบงใต้
อำเภอสว่างแดนดิน จังหวัดสกลนคร สังกัดกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย
จำนวน 12 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้าครั้งนี้ ได้แก่ 1) หนังสือเสริมประสบการณ์คำคล้องจอง
ประกอบภาพ สำหรับเด็กเล็กปีที่ 1 จำนวน 10 เล่ม 2) แผนการจัดประสบการณ์หนังสือเสริมประสบการณ์
คำคล้องจองประกอบภาพ สำหรับเด็กเล็กปีที่ 1 จำนวน 50 แผน 3) แบบประเมินทักษะการฟัง – การพูด
ก่อนเรียนและหลังเรียนของเด็กที่เรียนด้วยหนังสือเสริมประสบการณ์คำคล้องจองประกอบภาพ
สำหรับเด็กเล็กปีที่ 1 จำนวน 20 ข้อ มีค่าความยาก (p) ระหว่าง 0.60 ถึง 0.77 และค่าอำนาจจำแนก (B)
ระหว่าง 0.36 ถึง 0.56 ค่าความเชื่อมั่น (rcc) เท่ากับ 0.82 4) แบบสังเกตพฤติกรรมพัฒนาการ
ด้านสติปัญญา การใช้ภาษาสื่อสาร เพื่อพัฒนาทักษะการฟัง – การพูด ของเด็กที่เรียนด้วย
หนังสือเสริมประสบการณ์คำคล้องจองประกอบภาพ สำหรับเด็กเล็กปีที่ 1 5) แบบสอบถามความพึงพอใจ
ของเด็กที่เรียนด้วยหนังสือเสริมประสบการณ์คำคล้องจองประกอบภาพ สำหรับเด็กเล็กปีที่ 1
จำนวน 20 ข้อ ค่าอำนาจจำแนกเป็นรายข้อระหว่าง0.41 ถึง 0.77 และค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถาม
ทั้งฉบับเท่ากับ 0.94 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าคะแนนเฉลี่ย ( )
ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D) วิเคราะห์ประสิทธิภาพของหนังสือเสริมประสบการณ์ ตามเกณฑ์
80 / 80 โดยใช้ E1 / E2 วิเคราะห์ดัชนีประสิทธิผลของหนังสือเสริมประสบการณ์โดยวิธีของกูดแมน
และชไนเดอร์ และเปรียบเทียบผลการประเมินทักษะการฟัง – การพูดก่อนเรียนและหลังเรียนด้วย
t – test ชนิด Paired - Samples t – test
ผลการศึกษาค้นคว้าพบว่า
1. ผลการพัฒนาหนังสือเสริมประสบการณ์คำคล้องจองประกอบภาพ สำหรับ
เด็กเล็กปีที่ 1 ดังนี้
1.1 หนังสือเสริมประสบการณ์คำคล้องจองประกอบภาพ สำหรับเด็กเล็กปีที่ 1
มีประสิทธิภาพเท่ากับ 92.17 / 90.00 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ 80/80
1.2 ค่าดัชนีประสิทธิผลของหนังสือเสริมประสบการณ์คำคล้องจองประกอบภาพ
สำหรับเด็กเล็กปีที่ 1 มีค่าเท่ากับ 0.73 แสดงว่าเด็กมีความสามารถในการเรียนรู้เพิ่มขึ้นร้อยละ 73
1.3 ผลการประเมินทักษะการฟัง – การพูด หลังเรียนของเด็กที่เรียนด้วย
หนังสือเสริมประสบการณ์คำคล้องจองประกอบภาพ สำหรับเด็กเล็กปีที่ 1 สูงกว่าผลการประเมิน
ทักษะการฟัง – การพูด ก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
2. สภาพความสามารถของเด็กที่เรียนด้วยหนังสือเสริมประสบการณ์คำคล้องจอง
ประกอบภาพ สำหรับเด็กเล็กปีที่ 1 ดังนี้
2.1 พฤติกรรมพัฒนาการด้านสติปัญญา การใช้ภาษาสื่อสาร เพื่อพัฒนาทักษะ
การฟัง – การพูด ของเด็กในการเรียนด้วยหนังสือเสริมประสบการณ์คำคล้องจองประกอบภาพ
สำหรับเด็กเล็กปีที่ 1 หลังเรียนโดยรวมอยู่ในระดับดี มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.87 คิดเป็นร้อยละ 95.65
2.2 ความพึงพอใจของเด็กที่เรียนด้วยหนังสือเสริมประสบการณ์คำคล้องจอง
ประกอบภาพ สำหรับเด็กเล็กปีที่ 1 โดยรวมอยู่ในระดับมาก ( = 4.20 ; S.D. = 0.22)