การพัฒนาคู่มือการบริหารเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมพัฒนาสมรรถนะครู ในการแก้ไขปัญหายาเสพติดและอบายมุขสู่ความสำเร็จ เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษา
โรงเรียนบ้านเขวาตะคลอง ปีการศึกษา 2560 (ภายใต้โครงการสถานศึกษาสีขาว)
บทนำ
พระราชบัญญัติการศึกษาในแผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560 2579 ได้กำหนดกรอบแนวคิดโดยมีวิสัยทัศน์ คนไทยทุกคนได้รับการศึกษาและเรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างมีคุณภาพ ดำรงชีวิตอย่างเป็นสุขสอดคล้องกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และการเปลี่ยนแปลงของโลกศตวรรษที่ 21 มี 6 ยุทธศาสตร์ ได้แก่ 1) การจัดการศึกษาเพื่อความมั่นคงของสังคมและประเทศชาติ 2) การผลิตและพัฒนากำลัง การวิจัยและนวัตกรรมเพื่อสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ 3) การพัฒนาศักยภาพคนทุกช่วงและการสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ 4) การสร้างโอกาสความเสมอภาพและความเท่าเทียมทางการศึกษา 5) การจัดการศึกษาเพื่อสร้างเสริมคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และ 6) การพัฒนาประสิทธิภาพระบบบริหารการจัดการศึกษามีเป้าหมาย คือการเข้าถึงการศึกษา (Access) ความเท่าเทียม (Equity) คุณภาพ (Quality) ประสิทธิภาพ (Efficiency) และตอบโจทย์บริบทที่เปลี่ยนแปลง (Relevancy) โดยยุทธศาสตร์ที่ 1 การจัดการศึกษาเพื่อความมั่นคงของสังคมและประเทศชาติ เป้าหมายที่ 3 คนทุกช่วงวัยได้รับการศึกษาและดูแลป้องกันภัยคุกคามในชีวิตรูปแบบใหม่ และมีแนวทางในการพัฒนาพัฒนาการจัดการศึกษาเพื่อจัดระบบการดูแลและป้องกันภัยคุกคามในรูปใหม่อาทิยาเสพติด โรคอุบัติใหม่ภัยจากไซเบอร์ เป็นต้น โดยในยุทธศาสตร์ที่ 3 เป้าหมายที่ 1 ผู้เรียนมีทักษะและคุณลักษณะพื้นฐานของพลเมืองไทยและทักษะคุณลักษณะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21 เป้าหมายที่ 2 คนทุกช่วงวัยมีทักษะความรู้ความสามารถและสมรรถนะตามมาตรฐานการศึกษาและมาตรฐานวิชาชีพ และพัฒนาคุณภาพชีวิตได้ตามศักยภาพเป้าหมายที่ 3 สถานศึกษาทุกระดับการศึกษาสามารถจัดกิจกรรม/กระบวนการเรียนรู้ตามหลักสูตรอย่างมีคุณภาพและมาตรฐาน เป้าหมาย ที่ 4 แหล่งเรียนรู้ สื่อดำราเรียน นวัตกรรม และสื่อการเรียนรู้มีคุณภาพและมาตรฐาน และประชาชนสามารถเข้าถึงได้โดยไม่จำกัดเวลาและสถานที่ (สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา, 2560 : 24-25) กอปรกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ.2560-2564) การพัฒนาประเทศในระยะของต่อไปเพื่อให้บรรลุเป้าหมายการพัฒนาประเทศโดยยึดคนเป็นศูนย์กลางการพัฒนา มุ่งสร้างคุณภาพชีวิตและสุขภาวะที่ดีสำหรับคนไทย พัฒนาคนให้มีความสำคัญโดยยึดคนเป็นศูนย์กลางการพัฒนา มุ่งสร้างคุณภาพชีวิตและสุขภาวะที่ดีสำหรับคนไทย พัฒนาคนให้มีความเป็นคนที่สมบูรณ์มีวินัย ใฝ่รู้มีความรู้ มีทักษะ มีความคิดสร้างสรรค์ มีทัศนคติที่ดี รับผิดชอบต่อสังคมมีจริยธรรมและคุณธรรม พัฒนาคนทุกช่วงวัยและเตรียมความพร้อมเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างมีคุณภาพ
ในการกำหนดทิศทางด้านคุณภาพการศึกษาที่กล่าวมา เป็นเป้าหมายการศึกษาระดับนโยบายของชาติ ที่หน่วยงานในระดับจังหวัดมากำหนดเป็นเป้าหมายของการพัฒนาคุณภาพการศึกษาในระดับพื้นที่ โดยสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดร้อยเอ็ด จัดทำแผนพัฒนาการศึกษาธิการจังหวัดร้อยเอ็ดระยะเวลา 5 ปี (พ.ศ.2560-2564 ได้กำหนดวิสัยทัศน์การพัฒนาการศึกษาจังหวัดร้อยเอ็ด ภายในปี 2564 ประชากรผู้รับบริการทั้งในระบบ นอกระบบและตามอัธยาศัย ได้รับการพัฒนาอย่างทั่วถึงและมีคุณภาพ ครูและบุคลากรมีความเป็นมืออาชีพ สามารถใช้เทคโนโลยีในการเรียนรู้และทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมตามหลัก ธรรมาภิบาล พันธกิจ 1) สนับสนุนประชากรผู้รับบริการในระบบ นอกระบบและตามอัธยาศัย ให้ได้รับการศึกษาอย่างทั่วถึงและต่อเนื่องตลอดชีวิต 2) พัฒนาให้ผู้รับบริการทั้ง 3 ระบบมีคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาชาติ 3) พัฒนาครูและบุคลากรให้มีความเป็นมืออาชีพสู่สากล 4) ส่งเสริมผู้เรียนทุกวัยสามารถใช้เทคโนโลยีในการเรียนรู้อย่างเหมาะสม 5) ส่งเสริมให้ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาตามหลักธรรมาภิบาล ประเด็นยุทธศาสตร์ 1) สนับสนุนประชากรผู้รับบริการทั้ง 3 ระบบให้ได้รับการศึกษาอย่างทั่วถึงต่อเนื่องตลอดชีวิต 2) เร่งรัดให้ผู้รับบริการทั้ง 3 ระบบมีคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาชาติ 3) พัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาให้มีความเป็นมืออาชีพสู่สากล 4) ส่งเสริมผู้เรียนทุกวัยสามารถใช้เทคโนโลยีในการเรียนรู้อย่างเหมาะสม 5) ส่งเสริมให้ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาตามหลักธรรมาภิบาล เป้าประสงค์ 1) เพื่อสนับสนุนประชากรผู้รับบริการทั้ง 3 ระบบมีคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาชาติ 2) เพื่อพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาให้มีความเป็นมืออาชีพสู่สากล 3) เพื่อส่งเสริมผู้เรียนทุกวัยสามารถใช้เทคโนโลยีในการเรียนรู้อย่างเหมาะสม 4) เพื่อส่งเสริมให้ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาตามหลักธรรมาภิบาล และทิศทางการจัดการศึกษาสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 2 ปีงบประมาณ พ.ศ.2561 วิสัยทัศน์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 2 เป็นองค์กรชั้นนำ ส่งเสริมสนับสนุนและบริหารจัดการศึกษาสู่ความเป็นเลิศทางวิชาการ วิชาชีพและวิชาประคองชีพ ตามมาตรฐานสากลบนพื้นฐานความเป็นไทย พันธกิจ 1) ส่งเสริมและสนับสนุนให้ประชากรในวัยเรียนได้รับการศึกษาอย่างทั่วถึง มีคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐานและมาตรฐานสากลบนพื้นฐานของความเป็นไทย 2) ปลูกฝังให้ผู้เรียนมีทัศนคติที่ดีต่อวิชาชีพมีความรู้และทักษะทางวิชาชีพเบื้องต้นตามความถนัดและความสนใจของผู้เรียน 3) ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีทักษะชีวิต มีคุณธรรม จริยธรรม มีคุณภาพลักษณะอันพึงประสงค์ตามหลักสูตรและค่านิยมหลัก 12 ประการ 4) พัฒนาระบบบริหารจัดการศึกษา ด้วยระบบบริหารจัดการที่ทันสมัยตามหลักธรรมาภิบาล เป้าประสงค์ 1) นักเรียนระดับก่อนประถมศึกษา มีพัฒนาการที่เหมาะสมตามวัยและนักเรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ทุกคนมีพัฒนาการเหมาะสมตามช่วงวัยอย่างมีคุณภาพ 2) ประชากรวัยเรียนทุกคนได้รับโอกาสในการเรียนรู้ตามมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐานอย่างทั่วถึง ด้วยความเสมอภาคอย่างมีคุณภาพ 3) ผู้เรียนมีความรู้ทักษะ และทัศนคติที่ดีต่อวิชาชีพ 4) ผู้เรียนมีทักษะชีวิต มีคุณธรรม จริยธรรม มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามหลักสูตรและค่านิยมหลัก 12 ประการ 5) ผู้เรียนมีทักษะในการใช้เทคโนโลยี การสื่อสารภาษาไทยและภาษาต่างประเทศมีความสามารถในการแข่งขัน 6) ครูและบุคลากรทางการศึกษามีความรู้ความสามารถและทักษะที่เหมาะสมตามสมรรถนะสามารถปฏิบัติงานตามมาตรฐานวิชาชีพได้อย่างมีประสิทธิภาพ 7) สถานศึกษามีการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ และเป็น กลไกลขับเคลื่อนการศึกษาขั้นพื้นฐานสู่คุณภาพมาตรฐานระดับสากล 8) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา บูรณาการทำงาน เน้นการบริหารแบบมีส่วนร่วมตามหลักธรรมาภิบาลให้บริการสถานศึกษาด้วยระบบเทคโนโลยีที่ทันสมัย
ยาเสพติดและอบายมุขเป็นปัญหา ที่รุนแรงต่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของคนไทยในวัยเรียน รัฐบาลได้กำหนดนโยบายการป้องการและแก้ไขปัญหายาเสพติด โดย คณะรัฐมนตรีได้แถลงนโยบายต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติ เมื่อวันที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2557 กำหนดให้ปัญหายาเสพติดเป็นปัญหาเฉพาะหน้าที่ต้องได้รับการป้องกันและแก้ไขโดยการบังคับใช้ กฎหมายที่เข้มงวดและจัดการกับปัญหาอื่น ๆ ที่เชื่อมโยงต่อเนื่องให้เบ็ดเสร็จและได้มีคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่ 156/2557 ลงวันที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2557 เรื่องจัดตั้งศูนย์อำนวยการป้องกันและ ปราบปรามยาเสพติดแห่งชาติ และคณะกรรมการการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด ได้มีมติ เห็นชอบแผนยุทธศาสตร์การป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด พ.ศ.2558-2562 แสดงให้เห็นว่า รัฐบาลได้ให้ความสำคัญเป็นอย่างยิ่งต่อปัญหายาเสพติด ซึ่งแนวโน้มสถานการณ์ปัญหายาเสพติดในปี 2559 ยังคงมีความรุนแรงถึงแม้รัฐจะมีการปราบปรามอย่างจริงจังแต่การผลิตยังคงสามารถผลิตได้ไม่จำกัดดังข้อสถานการณ์ปัญหายาเสพติดในปี 2558 ที่ยังคงมีความรุนแรงและยังคงมีการจับกุมยาเสพ ติดได้ในปริมาณที่มากโดยเฉพาะอย่างยิ่งยาบ้า และจากเอกสารแนบท้ายคำสั่ง ศอ.ปส ที่ 8/2558 เรื่องแผนปฏิบัติการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดปี 2559 จะบ่งชี้ให้เห็นถึงสถานการณ์แนวโน้ม ความรุนแรงของปัญหายาเสพติดที่ยังมีอยู่แต่รัฐก็ได้วางแนวทางในการป้องกันและแก้ปัญหาไว้อย่างรอบด้านทั้งการแก้ปัญหาในระดับภายในและความร่วมมือในระดับภูมิภาคจากรายงานฉบับเดียวกันนี้ ยังคงชี้ให้เห็นว่าปัญหายาเสพติดได้แพร่ระบาด เข้ามายังกลุ่มนักเรียนนักศึกษามากขึ้นโดยเกือบร้อยละ 50 ของผู้บำบัดรักษาเป็นเยาวชนที่มีอายุระหว่าง 15-24 ปี และยังพบกลุ่มที่มีอายุน้อยกว่า 15 ปี อีกจำนวนหนึ่งอีกด้วย และกรอบแผนปฏิบัติการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดปี 2559 แผนปฏิบัติการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดปี 2559 ประกอบด้วย 4 แผน คือ แผนป้องกันยาเสพติด แผนบำบัดรักษายาเสพติด แผนปราบปรามยาเสพติด และแผนบริหารจัดการอย่างบูรณการ แผนป้องกันยาเสพติด เป้าหมายแผน สร้างภูมิคุ้มกันและป้องกันยาเสพติดให้กับเด็กและเยาวชน ทั้งในและนอกสถานศึกษา กลุ่มผู้ใช้แรงงานและประชาชนทั่วไป แผนการป้องกันยาเสพติด มี 6 แผน โดยมีแผนที่เกี่ยวข้องกับเด็กในวัยเรียนดังนี้ 1) แผนงานสร้างภูมิคุ้มกันในเด็กปฐมวัย โดยมีแนวทางคือสร้างพื้นฐานภูมิคุ้มกัน ยาเสพติดในเด็กปฐมวัย โดยใช้แนวคิดทฤษฏีความสามารถของสมองในการบริหารจัดการชีวิต (Executive Function หรือ EF) โดยจะสร้างความเข้าใจในทฤษฏีผ่านครูโรงเรียนอนุบาลและครู ผู้ดูแลเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กทั่วประเทศ มีโครงการต่างๆดังเช่น โครงการพัฒนาสื่อการเรียนรู้ เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันในเด็กปฐมวัย โครงการพัฒนาบุคลากรเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันในเด็กปฐมวัย และ โครงการติดตาม ประเมินผลการสร้างภูมิคุ้มกันในเด็กปฐมวัย 2) แผนสร้างภูมิคุ้มกันในสถานศึกษาโดยมีแนวทางที่แตกต่างกันในเด็กแต่ละกลุ่ม สำหรับแนวทางในกลุ่มมัธยมศึกษา ขยายโอกาส มีดังนี้ 2.1) สร้างภูมิคุ้มกันให้แก่นักเรียนในระดับมัธยมศึกษา ขยายโอกาสผ่าน กิจกรรมลูกเสือในโรงเรียน 2.2) สร้างภูมิคุ้มกันทางจิตใจ โดยใช้กิจกรรมทางศาสนา ได้แก่ ค่ายศาสนธรรม ทั้งศาสนาพุทธและศาสนาอื่น ๆ ที่สอดคล้องกับกลุ่มเป้าหมาย 2.3) พัฒนาแนวทางการจัดการเรียนการสอน เพื่อเสริมสร้างทักษะชีวิต โดยจัดทำคู่มือ ค่ายทักษะชีวิตเพื่อการปูองกันยาเสพติดให้แก่โรงเรียนในระดับมัธยมศึกษา 2.4) ส่งเสริม สนับสนุนให้สถานศึกษากำหนดบทบาทและสร้างความเข้มแข็ง ให้กับกลไก เครือข่ายแกนนำเยาวชน ครู ในโรงเรียนให้มีความต่อเนื่องจริงจัง 2.5) ส่งเสริม สนับสนุนให้สถานศึกษาเป้าหมายทุกแห่ง ขับเคลื่อนโครงการ TO BE NUMBER ONE ในสถานศึกษา 2.6) ดำเนินการแก้ไขปัญหายาเสพติดในสถานศึกษา โดยเน้นการสำรวจคัด กรองนักเรียน และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมด้วยรูปแบบที่เหมาะสม 3) แผนบำบัดรักษายาเสพติด 10 เป้าหมายนำผู้เสพติดยาเสพติดเข้าสู่กระบวนการบำบัดรักษาทุกระบบ จำนวน 220,000 คน ติดตามดูแลช่วยเหลือผู้ผ่านการบำบัดรักษา จำนวน 235,000 คน ประกอบด้วย 6 แผนงานดังนี้ 3.1) แผนงานบำบัดรักษาระบบสมัครใจ 3.2) แผนงานบำบัดรักษาระบบบังคับบำบัด 3.3) แผนงานบำบัดรักษาในระบบต้องโทษ 3.4) แผนงานบริหารจัดการระบบการบำบัดรักษา 3.5) แผนงานติดตามผู้ผ่านการบำบัดรักษาและ 3.6) แผนงานช่วยเหลือผู้ผ่านการบำบัดรักษายาเสพติด 4) แผนการปราบปรามยาเสพติด โดยมีเป้าหมายทำลายการค้ายาเสพติดทั้งในและนอกประเทศ ตลอดจน เสริมสร้าง พัฒนาและยกระดับความร่วมมือในการแก้ไขปัญหายาเสพติดระหว่างประเทศ ประกอบด้วย 4 แผนงานดังนี้ 4.1) แผนงานสกัดกั้นยาเสพติด 4.2) แผนงานปราบปรามยาเสพติด 4.3) แผนงานควบคุมพืชเสพติด และ 4.4) แผนงานความร่วมมือระหว่างประเทศ 5) แผนบริหารจัดการอย่างบูรณาการ โดยมีเป้าหมายดังนี้ กลไกระดับนโยบาย และกลไกภายใต้ ศอ.ปส.มีระบบ บริหารจัดการ อำนวยการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดอย่างมีเอกภาพสามารถนำนโยบายไปสู่ การปฏิบัติได้อย่างมีประสิทธิภาพ จะเห็นได้ว่ารัฐบาลให้ความสำคัญกับปัญหายาเสพติดเป็นอย่างมากโดยได้มีการ จัดตั้งศูนย์อำนวยการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดแห่งชาติขึ้นมีการจัดทำแผนที่มีเป้าหมายชัดเจนเพื่อต้องการให้ปัญหายาเสพติดนั้นหมด
ไปจากประเทศไทย ซึ่งสอดคล้องกับกระทรวง ศึกษาธิการ (2560) กระทรวงศึกษาธิการได้กำหนดมาตรการป้องกันเด็กและ เยาวชนก่อนวัยเสี่ยงและในวัยเสี่ยงไม่ให้เข้าไปเกี่ยวข้องกับยาเสพติด เรียนรู้ถึงโทษและพิษภัยของยาเสพติด รู้จักวิธีปฏิเสธหลีกเลี่ยงยาเสพติดและใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์เพื่อหลีกเลี่ยงการหมกมุ่นมั่วสุมกับยาเสพติดและอบายมุข ตลอดจนดูแลช่วยเหลือนักเรียน นักศึกษาที่ไปเกี่ยวข้องกับยาเสพติด จึงได้กำหนดนโยบายให้ผู้บริหารองค์กรหลัก หน่วยงานและสถานศึกษาดำเนินการโครงการสถานศึกษา สีขาวปลอดยาเสพติดและอบายมุข ดังนี้ 1) ผู้บริหารทุกระดับนำนโยบายการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดไปสู่การปฏิบัติ จัดทำแผนปฏิบัติการครอบคลุมทุกกลุ่มเป้าหมายและการมีส่วนร่วมของทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งในและนอกสถานศึกษา 2) ผู้บริหารทุกระดับ ครู อาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษา ต้องให้ความสำคัญและมี จิตสำนึกร่วมกันที่จะปกป้องคุ้มครองดูแลช่วยเหลือนักเรียนไม่ให้ไปเกี่ยวข้องกับยาเสพติด ให้ความร่วมมือและร่วมแรงร่วมใจ จัดกิจกรรมทั้งในหลักสูตรและกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน 3) ผู้บริหารสถานศึกษาส่งเสริม สนับสนุนจัดกิจกรรมป้องกันและเฝ้าระวังยาเสพติดในสถานศึกษาเป็นส่วนหนึ่งของการเรียนการสอน เช่น กิจกรรม TO BE NUMBER ONE กิจกรรมเชิง สร้างสรรค์ต่าง ๆ ค่ายคุณธรรม กิจกรรมลูกเสือและเนตรนารีป้องกันยาเสพติด กิจกรรมกีฬาปูองกัน ยาเสพติด ส่งเสริมการรวมกลุ่มของนักเรียน นักศึกษาทั้งในส่วนของชมรมและสภานักเรียน 4) ผู้บริหารสถานศึกษาจัดการเรียนการสอนให้ความรู้ เสริมสร้างจิตสำนึก ทักษะชีวิต ภูมิคุ้มกันต่อต้านยาเสพติดและอบายมุข จัดระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน นักศึกษาทุกคนให้ทั่วถึง โดยสร้างเครือข่ายแกนนำทุกระดับในสถานศึกษา 5) ผู้บริหารสถานศึกษาจัดระบบการดำเนินงานยุทธศาสตร์ 5 มาตรการ ตามโครงการ สถานศึกษาสีขาวปลอดยาเสพติดและอบายมุข คือ มาตรการป้องกัน มาตรการค้นหา มาตรการรักษา มาตรการเฝ้าระวัง มาตรการบริหารจัดการ ภายใต้กลยุทธ์ 4 ต้อง 2 ไม่ ที่กำหนดให้สถานศึกษาต้องมี ยุทธศาสตร์ ต้องมีแผนงาน ต้องมีระบบข้อมูล ต้องมีเครือข่ายไม่ปกปิดข้อมูลและไม่ไล่ออก 6) ผู้บริหารทุกระดับ อำนวยการ กำกับ ติดตามและประเมินผลการดำเนินงานและจัด มาตรการเสริมแรงให้แก่ผู้รับผิดชอบด้านยาเสพติดดีเด่น ด้วยการยกย่องชมเชย มอบโล่ เกียรติบัตร เลื่อนขั้นเงินเดือนกรณีพิเศษ มาตรการลงโทษบุคลากรที่ไปเกี่ยวข้องกับยาเสพติด ให้ออกจากราชการ และเพิกถอนใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ กระทรวงศึกษาธิการได้มีประกาศกระทรวงศึกษาธิการเรื่อง นโยบายการป้องกันและแก้ไข ปัญหายาเสพติด โครงการสถานศึกษาสีขาว ปลอดยาเสพติดและอบายมุขประกาศเมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2559 มีสาระสำคัญเพื่อให้ผู้บริหารองค์กรหลัก หน่วยงาน และสถานศึกษา ดำเนินการดังนี้ 1) ผู้บริหารสถานศึกษานำนโยบายการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด โครงการ สถานศึกษาสีขาวปลอดยาเสพติดและอบายมุข ไปสู่การปฏิบัติให้มีแผนปฏิบัติการครอบคลุม กลุ่มเป้าหมายและการมีส่วนร่วมของคณะผู้บริหาร ครู อาจารย์ และกลุ่มเป้าหมายนักเรียน นักศึกษา ทั้งในและนอกสถานศึกษา 2) ผู้บริหารหน่วยงานและผู้บริหารสถานศึกษาส่งเสริม สนับสนุน การดำเนินงานการ ป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดโครงการสถานศึกษาสีขาว ปลอดยาเสพติดและอบายมุข เพื่อสร้าง และพัฒนาระบบการดำเนินงานที่เข้มแข็งต่อเนื่องและยั่งยืน 14 เป้าหมาย สถานศึกษา 3) ผู้บริหารหน่วยงานและผู้บริหารสถานศึกษา อำนวยการ กำกับ ติดตามและประเมินผล การดำเนินงานการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด โครงการสถานศึกษาสีขาว ปลอดยาเสพติดและอบายมุข และจัดทำมาตรการเสริมแรงให้แก่ผู้รับผิดชอบด้วยการยกย่อง ชมเชย มอบโล่เกียรติยศ เกียรติบัตรและการเลื่อนขั้นเงินเดือนกรณีพิเศษ 4) ผู้บริหารหน่วยงานและผู้บริหารสถานศึกษา อำนวยการ กำกับ ติดตามและประเมินผลการดำเนินงานการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด โครงการสถานศึกษาสีขาวปลอดยาเสพติดและ อบายมุขและใช้มาตรการลงโทษบุคลากรที่ไปเกี่ยวข้องกับยาเสพติด ให้ออกจากราชการและเพิกถอน ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ 5) ผู้ตรวจราชการกระทรวงศึกษาธิการ ตรวจติดตามผลการดำเนินงานและผู้บริหาร หน่วยงานและผู้บริหารสถานศึกษา จัดตั้งคณะกรรมการติดตาม ประเมินผล และรายงาน ผลการ ดำเนินงานการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด โครงการสถานศึกษาสีขาวปลอดยาเสพติดและอบายมุข 6) ผู้บริหารหน่วยงานและผู้บริหารสถานศึกษา สรุปรายงานต้นสังกัดเพื่อสรุปผลรายงาน ศูนย์อำนวยการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดกระทรวงศึกษาธิการ โดยการดำเนินงานโครงการสถานศึกษาสีขาว ปลอดยาเสพติดและอบายมุขมีเป้าหมาย เพื่อให้สถานศึกษาทุกแห่งปลอดจากยาเสพติด และอบายมุข คือ ปลอดยาเสพติด ปลอดสื่อลามกอนาจาร ปลอดการพนัน ปลอดการทะเลาะวิวาท และเพื่อให้สามารถยกระดับคุณภาพการศึกษา ของผู้เรียนได้ตามมาตรฐานการศึกษาที่กำหนดไว้
จากนโยบายด้านการศึกษา และนโยบายการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดดังกล่าว โรงเรียนบ้านเขวาตะคลอง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ดเขต 2 ได้กำหนดทิศทางพัฒนาคุณภาพการศึกษาได้กำหนดวิสัยทัศน์ภายในปี 2562 มุ่งพัฒนาสู่คุณภาพควบคู่คุณธรรมนำชุมชน ประหยัดอดออม น้อมนำเศรษฐกิจพอเพียง ส่งเสริมและสนับสนุนให้ประชาชนในวัยเรียนได้รับการศึกษาอย่างทั่วถึง มีคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐานและมาตรฐานสากลบนพื้นฐานของความเป็นไทย ปลูกฝังให้ผู้เรียนมีทัศนคติที่ดีต่อวิชาชีพ มีความรู้และทักษะทางวิชาชีพเบื้องต้นตามความถนัดและความสนใจของผู้เรียนส่งเสริมให้ผู้เรียนมีทักษะชีวิต มีคุณธรรม จริยธรรม มีคุณสมบัติอันพึงประสงค์ตามหลักสูตรและค่านิยม 12 ประการ เพื่อพัฒนาระบบการบริหารจัดการ ด้วยระบบบริหารจัดการที่ทันสมัยตามหลักธรรมาภิบาล โดยมีเป้าหมาย เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้และทักษะที่จำเป็นตามหลักสูตรสถานศึกษามีการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนคือวิชาการ วิชาชีพ วิชาประคองชีพ ผู้เรียนมีคุณธรรม จริยธรรมและค่านิยมที่พึงประสงค์ มีความสามารถในการคิดอย่างเป็นระบบ คิดสร้างสรรค์ ตัดสินใจ แก้ปัญหาได้อย่างมีสติสมเหตุผล มีทักษะในการแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง รักเรียนรู้สู่ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง สถานศึกษามีการจัดหลักสูตรและกระบวนการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ครูจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ สถานศึกษามีการจัดกิจกรรมพัฒนาคุณภาพผู้เรียนเรียน อย่างหลากหลาย สถานศึกษามีการใช้แหล่งเรียนรู้ พัฒนาคุณภาพผู้เรียนอย่างคุ้มค่า ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกฝ่ายมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาของสถานศึกษา มีอัตลักษณ์ที่โดดเด่น และมีการพัฒนาคุณภาพสถานศึกษาตามแนวทางปฏิรูปการศึกษา นอกจากนั้นได้กำหนดนโยบายการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดและอบายมุข ซึ่งมีแนวทางการดำเนินงานป้องกันแก้ไขปัญหายาเสพติดและอบายมุขโรงเรียนบ้านเขวาตะคลอง ด้วยโรงเรียนบ้านเขวาตะคลองจะทำการล้อมรั้วโรงเรียนเพื่อป้องกันยาเสพติด แพร่ระบาดเข้ามาในโรงเรียนอย่างครบวงจร โดยมีมาตรการต่าง ๆ ในการป้องกัน ค้นหา รักษา เฝ้าระวังและบริหารจัดการ เพื่อไม่ให้นักเรียนเข้าไปเกี่ยวข้องกับยาเสพติดต่าง ๆ และสกัดกั้นยาเสพติดไม่ให้ระบาดเข้ามาในโรงเรียน โรงเรียนบ้านเขวาตะคลอง จึงได้กำหนดมาตรการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดและอบายมุขในสถานศึกษาดังนี้ 1) ให้ความรู้ เสริมสร้างจิตสำนึก ทักษะชีวิต ภูมิคุ้มกันต่อต้านยาเสพติด และอบายมุข 2) จัดระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน จัดระบบการดำเนินงาน 5 มาตรการ ตามโครงการสถานศึกษาสีขาวปลอดยาเสพติดและอบายมุข คือ ป้องกัน ค้นหา รักษา เฝ้าระวัง และบริหารจัดการ 3) โรงเรียนดำเนินการตามกลยุทธ์ 4 ต้อง 2 ไม่ 4 ต้อง คือ โรงเรียนต้องมียุทธศาสตร์ มีแผนงาน มีระบบข้อมูล มีเครือข่าย 2 ไม่ คือ ไม่ปกปิดข้อมูล ไม่ไล่นักเรียนออกจากโรงเรียน 4) โรงเรียนอำนวยการ กำกับ ติดตามและประเมินผลการดำเนินงาน 5) เสริมแรงให้ผู้รับผิดชอบเกี่ยวกับยาเสพติดดีเด่น ด้วยการยกย่อง ชมเชย เสนอผลงาน เพื่อขอรับโล่ เกียรติบัตร และเสนอเลื่อนขั้นเงินเดือนกรณีพิเศษ ต่อหน่วยงาน ต้นสังกัด 6) ดำเนินการลงโทษบุคลากรที่ไปเกี่ยวข้องกับยาเสพติด โดยแต่งตั้งคณะกรรมการสอบวินัยร้ายแรง และเสนอขอเพิกถอนใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูตามลำดับให้บรรลุเป้าหมายการศึกษา ในระดับนโยบายระดับชาติและระดับพื้นที่ สอดคล้องกับการพัฒนาคุณภาพการศึกษาตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน มุ่งพัฒนาผู้เรียนทุกคน ซึ่งเป็นกำลังของชาติให้เป็นมนุษย์ที่มีความสมดุลทั้งด้านร่างกาย ความรู้ คุณธรรม มีจิตสำนึกในความเป็นพลเมืองเมืองไทยและเป็นพลโลก ยึดมั่นในการปกครองตามระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขมีความรู้และทักษะพื้นฐาน รวมทั้งเจตนคติที่จำเป็นต่อการศึกษาต่อ การประกอบอาชีพ และการศึกษาตลอดชีวิต โดยมุ่งเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญบนพื้นฐานความเชื่อว่าทุกคนสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้เต็มตามศักยภาพ หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน มีหลักการที่สำคัญดังนี้ 1) เป็นหลักสูตรการศึกษาเพื่อความเป็นเอกภาพของชาติมีจุดมุ่งหมายและมาตรฐานการเรียนรู้ เป็นเป้าหมายสำหรับพัฒนาเด็กและเยาวชนให้มีความรู้ ทักษะ เจตคติ และคุณธรรมบนพื้นฐานของความเป็นไทยควบคู่กับความเป็นสากล 2) เป็นหลักสูตรการศึกษาเพื่อปวงชนที่ประชาชนทุกคนมีโอกาสได้รับการศึกษาอย่างเสมอภาคและมีคุณภาพ 3) เป็นหลักสูตรการศึกษาที่สนองการกระจายอำนาจ ให้สังคมมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาให้สอดคล้องกับสภาพและความต้องการของท้องถิ่น 4) เป็นหลักสูตรการศึกษาที่มีโครงสร้างยืดหยุ่นทั้งด้านสาระการเรียนรู้ เวลาและการจัดการเรียนรู้ 5) เป็นหลักสูตรการศึกษาที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ 6) เป็นหลักสูตรการศึกษาสำหรับการศึกษาในระบบ นอกระบบ และตามอัธยาศัย ครอบคลุมทุกกลุ่มเป้าหมาย สามารถเทียบโอนผลการเรียนรู้ และประสบการณ์ และหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน มุ่งพัฒนาผู้เรียนให้เป็นคนดี มีปัญญา มีความสุข มีศักยภาพในการศึกษาต่อ และประกอบอาชีพ จึงกำหนดเป็นจุดหมาย เพื่อให้เกิดกับผู้เรียนเมื่อจบการศึกษาขั้นพื้นฐาน ดังนี้ 1) มีคุณธรรม จริยธรรมและค่านิยมที่พึงประสงค์ เห็นคุณค่าของตนเอง มีวินัยและปฏิบัติตนตามหลักธรรมของพระพุทธศาสนา หรือศาสนาที่ตนนับถือ ยึดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 2) มีความรู้อันเป็นสากลและมีความสามารถในการสื่อสาร การคิด การแก้ปัญหา การใช้เทคโนโลยี และมีทักษะชีวิต 3) มีสุขภาพกายและสุขภาพจิตที่ดี มีสุขนิสัย และรักการออกกำลังกาย 4) มีความรักชาติ มีจิตสำนึกในความเป็นพลเมืองไทยและพลโลก ยึดมั่นในวิถีชีวิต และการปกครองตามระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข 5) มีจิตสำนึกในการอนุรักษ์วัฒนธรรมและภูมิปัญญาไทย การอนุรักษ์และพัฒนาสิ่งแวดล้อม มีจิตสาธารณะที่มุ่งทำประโยชน์และสร้างสิ่งที่ดีงามในสังคม และอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างมีความสุข (กระทรวงศึกษาธิการ, 2551 : 4-5)
ในการวิเคราะห์บริบทของชุมชนภายใต้ความต้องการของชุมชน ตำบลทุ่งทอง อำเภอเกษตรวิสัย จังหวัดร้อยเอ็ด จากแผนพัฒนาตำบลทุ่งทอง ที่เกิดจากประชาคมของชุมชน พบว่าส่วนหนึ่งของความต้องการวางรากฐานให้เยาวชนเป็นคนที่สมบูรณ์มีคุณธรรมจริยธรรม ระเบียบวินัย ค่านิยมที่ดีมีคุณภาพชีวิตที่ดี มีจิตสาธารณะและมีความสุข มีสุขภาวะและสุภาพที่ดี ครอบครัวอบอุ่นตลอดจนเป็นคนเก่งมีทักษะความรู้ และพัฒนาตนเองได้ต่อเนื่องตลอดชีวิต และมีภูมิคุ้มกันเรื่องยาเสพติด และอบายมุข เพื่อให้ชุมชนสังคมเป็นสุข ส่งเสริมอาชีพพัฒนารายได้ยกระดับคุณภาพชีวิตและสร้างความเข้มแข็งของชุมชนส่งเสริมการศึกษาให้เกิดการพัฒนาที่สมดุลและยั่งยืนมีความมั่นคงปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน โดยโรงเรียนเขวาตะคลอง นำล่องได้กำหนดนโยบายป้องกันแก้ไขปัญหายาเสพติดและอบายมุขเพื่อยกระดับคุณภาพทางการศึกษาตอบสนองความต้องการของชุมชนดังกล่าว
ในปี 2559 โรงเรียนบ้านเขวาตะคลอง มีการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน ระดับการศึกษาคือ ระดับปฐมวัย ประถมศึกษาปีที่ 1-6 และ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ถึง 3 มีจำนวนนักเรียนทั้งหมด 152 คน พบว่า นักเรียนผ่านเกณฑ์มาตรฐานจัดการเรียนรู้ตามหลักสูตร อยู่ในระดับดี จำนวน 85 คน คิดเป็นร้อยละ 55.92 อยู่ในระดับปานกลางจำนวน 67 คนคิดเป็นร้อยละ 44.08 และปัญหาที่เกิดจากครูที่เกิดจากเทคนิคการสอนที่ครูผู้สอนนั้นยังไม่มีความชัดเจนและเป็นไปตามครูผู้สอนเท่าที่ควรและปัญหาที่เกิดจากผู้เรียน ที่มีสภาพปัญหาแตกต่างกันไปแต่ส่วนหนึ่งหากวิเคราะห์ผู้เรียนจะพบว่าอบายมุข และยาเสพติด อาจเป็นส่วนหนึ่งของปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อระดับคุณภาพการศึกษาของผู้เรียนที่กล่าวมา
ปัจจุบันการพัฒนาสมรรถนะทางวิชาการของครูผู้สอนนั้นมีความสำคัญและเป็นหัวใจของการคุณภาพผู้เรียนทุกด้านยังไม่มีความ ชัดเจนและเป็นไปตามความต้องการของครูผู้สอนเท่าที่ควร มีเพียงคู่มือการประเมินสมรรถนะครูที่ทางสำนักงาน คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานสร้าง ขึ้นเพื่อใช้เป็นแบบประเมินครูผู้สอนในแต่ ละกลุ่มสาระการเรียนรู้และเพื่อประเมินการปฏิบัติงานประจำปีเท่านั้น แต่คู่มือที่มีอยู่ยังขาดรายละเอียดถึงวิธีการ ขั้นตอนการปฏิบัติในการได้มาของแต่ละตัวบ่งชี้ ซึ่งสอดคล้องกับกลุ่มงานวิจัย สำนักวิจัยและพัฒนาการศึกษา ที่ศึกษาเกี่ยวกับการพัฒนาครูของหน่วยงานต่าง ๆ ซึ่งสรุปในภาพรวม พบว่า การพัฒนาครูนั้นยังขาดระบบการพัฒนาที่มีประสิทธิภาพ ดังนั้น การพัฒนาครูจึงไม่มีคุณภาพและมาตรฐานที่ชัดเจน หลักสูตรและเนื้อหาไม่สอดคล้อง กับความต้องการในการพัฒนาตนเองของครูเน้นหลักการทฤษฎีมากกว่าการได้ ลงมือปฏิบัติ ทำให้ครูไม่สามารถประยุกต์ใช้ความรู้จากการอบรมได้ ขาดการติดตามประเมินผลอย่างต่อเนื่องหลังการอบรม การพัฒนาสมรรถนะทางวิชาการของครูผู้สอนในสถานศึกษา จะประสบความสำเร็จหรือมีประสิทธิภาพอย่างยั่งยืน ดังนั้นจะเห็นได้ว่าคู่มือเป็นสิ่งสำคัญและจำเป็นในการที่จะบอกให้ผู้ปฏิบัติได้รับรู้ถึงขั้นตอนวิธีการหรือ แนวทางในการปฏิบัติงานเพื่อให้เกิดการ พัฒนาและเป็นไปตามทิศทางที่ต้องการ
จากเหตุผลดังกล่าวการพัฒนาคู่มือการบริหารเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมพัฒนาสมรรถนะครูในการแก้ไขปัญหายาเสพติดและอบายมุขสู่ความสำเร็จ เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษา โรงเรียนบ้าน เขวาตะคลอง ปีการศึกษา 2560 (ภายใต้โครงการสถานศึกษาสีขาว) เป็นการนำความรู้ที่ผู้ศึกษาวางแผนและเตรียมข้อมูลจากเอกสาร ตำรา และคู่มือในแต่ละขั้นตอนเน้นให้ครูได้ปฏิบัติเป็นสำคัญ มีวิธีการจัดกิจกรรม ครูได้รับความรู้ความเข้าใจได้ด้วยตนเอง สามารถปฏิบัติตามขั้นตอนได้ มีเนื้อหาที่ครอบคลุมความสำคัญ และมีการทดลองนำไปปฏิบัติ ซึ่งช่วยให้เกิดทักษะและความเข้าใจยิ่งขึ้น ลงสู่กิจกรรมพัฒนาที่วัดเป็นระบบ ด้วยรูปแบบวิธีการที่หลากหลายซึ่งสอดคล้องกับ วลัยวัลล์ พุ่มพึ่งพุทธ (2554 : 95) คู่มือจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนตามหลักสูตรขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551 ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยรังสิต ผู้ประเมิน ประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญ ผู้บริหารสถานศึกษา และผู้ปฏิบัติการสอน มีความเห็นว่ามีความเหมาะสมในการนำคู่มือไปใช้จัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุดที่เป็นเช่นนี้เนื่องจากความเหมาะสมของคู่มือกายภาพ มีรูปลักษณ์ ขนาดตัวอักษร มีความชัดเจน อ่านง่าย ลักษณะการจัดรูปเล่มเหมาะสม เมื่อครูผู้ปฏิบัติการสอนได้ศึกษารายละเอียดจากคำแนะนำการใช้คู่มือแล้วจะมีความรู้ความเข้าใจ และสามารถจัดกิจกรรมได้ เนื้อหาในคู่มือครอบคลุม กิจกรรมลูกเสือ - เนตรนารี กิจกรรมชุมนุมและกิจกรรมเพื่อสังคมและสาธารณประโยชน์ โดยวัตถุประสงค์ของคู่มือมีความสอดคล้องกับหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.2551 ครูผู้ปฏิบัติการสอนและครูที่ปรึกษากิจกรรมพัฒนาผู้เรียนสามารถ ใช้เป็นแนวทางในการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนอย่างมีขั้นตอน และมีวิธีการวัดประเมินผลที่ชัดเจนซึ่งในคู่มือมีรูปแบบเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม เป็นกระบวนการที่ใช้ในการผลิต การกระจายความรู้ รวมทั้งเป้าหมายของการปรับปรุงขีดความสามารถและการปฏิบัติทำให้บรรลุวัตถุประสงค์ในทางปฏิบัติและการเปลี่ยนแปลงสภาพความเป็นจริงทางสังคม ผ่านทางนักวิจัย กลุ่มผู้มีส่วนร่วม และกลุ่มผู้ที่ได้รับผลกระทบ มีส่วนร่วมถึงประเด็นปัญหาตั้งแต่การวางแผนการดำเนินการ การวิเคราะห์และการประยุกต์ใช้ ผลของการวิจัย การเจริญเติบโตและการพัฒนาของผู้มีส่วนร่วมเป็นส่วนสำคัญในการออกแบบ ผลลัพธ์ที่ต้องการ เพื่อความสำเร็จในการเปลี่ยนแปลงการจัดตั้งรวมกลุ่มหรือองค์กรการมีส่วนร่วม (Participation) เพื่อเปิดโอกาสให้บุคคลหลายฝ่ายที่มีส่วนได้ส่วนเสีย(Stakeholder) เกี่ยวกับการจัดการศึกษามีส่วนร่วมในการแสดงความคิด ร่วมวางแผน ร่วมปฏิบัติ ร่วมประเมินผล และร่วมชื่นชมยินดีกับความสำเร็จ 3) กระจายอำนาจ (Decentralization) การบริหารจัดการศึกษา ด้านวิชาการ ด้านงบประมาณ ด้านบริหารงานบุคคล และด้านบริหารทั่วไป 4) ความรับผิดชอบตรวจสอบได้ (Accountability) มีการกำหนดหน้าที่ ความรับผิดชอบ โดยการมอบหมายงาน หลักความรับผิดชอบนี้ถือว่าใครได้รับมอบหมาย งานในหน้าที่ใดต้องรับผิดชอบทำงานนั้นให้เกิดผลดีที่สุด และต้องสามารถตรวจสอบได้ เพื่อเป็นหลักประกัน คุณภาพการศึกษาที่เกิดขึ้นโดยมี กระบวนการดำเนินการ 4 ขั้น คือ ขั้นตอนการวางแผนขั้นปฏิบัติ ขั้นตรวจสอบ และขั้นสะท้อนผล โดยการมีส่วนร่วมของผู้บริหารโรงเรียน ครู คณะกรรมการสถานศึกษา ผู้ปกครอง ภาคีเครือข่าย และนักเรียนซึ่งสอดคล้องกับ คำผล สุพร (2556 : บทคัดย่อ) ได้ศึกษาเรื่องปัญหาและแนวทางการดำเนินงานป้องกัน ยาเสพติดในสถานศึกษาอำเภอบ้านบึง จังหวัดชลบุรี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 18 พบว่า ปัญหาและแนวทางทางการดำเนินงานป้องกันยาเสพติดในสถานศึกษา โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับปานกลาง ผลการเปรียบเทียบปัญหา การดำเนินงานป้องกันยาเสพติดในสถานศึกษา จำแนกตามตำแหน่ง โดยรวมและรายด้าน แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติและจำแนกตามขนาดสถานศึกษา โดยรวมและรายด้านแตกต่างกันอย่างมี นัยสำคัญทางสถิติทีระดับ .05 และสอดคล้องกับ สุริยันต์ เสรีเรืองยุทธ (2554 : บทคัดย่อ) ได้ทำการศึกษากระบวนการบริหารเพื่อป้องกันยาเสพติดในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาร้อยเอ็ด เขต 2 พบว่า ผลการศึกษากระบวนการบริหารเพื่อป้องกัน ยาเสพติดในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาร้อยเอ็ด เขต 2 โดยรวมอยู่ในระดับมากผลการเปรียบเทียบการศึกษากระบวนการบริหารเพื่อป้องกันยาเสพติดในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาร้อยเอ็ด เขต 2 จำนวนตามสถานภาพ พบว่าโดยรวมไม่แตกต่างกัน และผลการเปรียบเทียบการศึกษากระบวนการบริหารเพื่อป้องกันยาเสพติดในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาร้อยเอ็ด เขต 2 จำแนกตามช่วงชั้น พบว่า โดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
จากที่มาและความสำคัญของปัญหาดังกล่าว ผู้ศึกษาในฐานะผู้อำนวยการโรงเรียน บ้านเขวาตะคลอง ตำบลทุ่งทอง อำเภอเกษตรวิสัย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 2 จึงได้สร้างและพัฒนาออกแบบคู่มือการบริหารเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมพัฒนาสมรรถนะครู ในการแก้ไขปัญหายาเสพติดและอบายมุขสู่ความสำเร็จ เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษา โรงเรียนบ้านเขวาตะคลอง ปีการศึกษา 2560 (ภายใต้โครงการสถานศึกษาสีขาว) เพื่อแก้ไขปัญหานักเรียนที่มีปัญหาได้รับความช่วยเหลือได้รับคำปรึกษาแนะนำรวมทั้งสามารถวิเคราะห์หลีกเลี่ยงป้องกันจากสารเสพติดและอบายมุข ครูมีสมรรถนะความสามารถบริหารจัดการในห้องเรียนบูรณาการกลุ่มสาระวิชา สอนให้ผู้เรียนปลอดสารเสพติดและอบายมุข และเป็นการพัฒนาการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการเพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาของผู้เรียน ให้สูงขึ้น ก่อให้เกิดประโยชน์ผลงานทางวิชาการอย่างกว้างขวางต่อผู้เรียน ครู โรงเรียนและชุมชน ร่วมทั้งตอบสนองนโยบายด้านการแก้ไขปัญหายาเสพติด และคุณภาพการศึกษาทั้งในระดับพื้นที่และนโยบายระดับชาติได้อย่างแท้จริง
วิธีดำเนินการทดลองและเก็บรวบรวมข้อมูล
ดำเนินการพัฒนาคู่มือการบริหารเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมพัฒนาสมรรถนะครูในการแก้ไขปัญหายาเสพติดและอบายมุข สู่ความสำเร็จ เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษา โรงเรียนบ้านเขวาตะคลอง ปีการศึกษา 2560 (ภายใต้โครงการสถานศึกษาสีขาว) ระหว่างเดือนกรกฎาคม 2560 ถึงเดือนมีนาคม 2561 แบ่งเป็น 3 ระยะ ดังนี้
ระยะที่ 1 จัดการประชุม เพื่อนำเสนอคู่มือการบริหารเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมพัฒนาสมรรถนะครูในการแก้ไขปัญหายาเสพติดและอบายมุขสู่ความสำเร็จ เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษา โรงเรียนบ้านเขวาตะคลอง ปีการศึกษา 2560 (ภายใต้โครงการสถานศึกษาสีขาว) ต่อครูจำนวน 15 ท่าน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานจำนวน 9 ท่าน และตัวแทนภาคีเครือข่าย 9 ท่าน นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 3 จำนวน 33 คน ผู้ปกครองของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 3 จำนวน 33 คน (ซึ่งเป็นตัวแทนของชุมชน) เพื่อรับทราบในหลักการบริหารและเป้าหมายความสำเร็จของโครงการสถานศึกษาสีขาว โรงเรียนบ้านเขวาตะคลอง ที่ปราศจากยาเสพติดและอบายมุขทั้งมวล โดยในปีการศึกษา 2560 ผู้ศึกษาในฐานะผู้อำนวยการโรงเรียนมีความมุ่งมั่นที่จะทำให้เป้าหมายที่ตั้งไว้สำเร็จ จึงได้พัฒนาคู่มือการบริหารเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมพัฒนาสมรรถนะครู ในการแก้ไขปัญหายาเสพติดและอบายมุขสู่ความสำเร็จ เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษา โรงเรียนบ้านเขวาตะคลอง ปีการศึกษา 2560 (ภายใต้โครงการสถานศึกษาสีขาว) ขึ้นและผ่านการตรวจสอบความเหมาะสมของคู่มือโดยผู้เชี่ยวชาญเรียบร้อยแล้ว จึงถึงขั้นตอนในการขอความคิดเห็นจากคณะกรรมการสถานศึกษา ฯ ภาคีเครือข่าย ครู นักเรียน และผู้ปกครองซึ่งเป็นตัวแทนของชุมชน ดังนั้นผู้ศึกษาจึงได้ดำเนินการบริหารการใช้คู่มือตามขั้นตอนเป็นระยะ ๆ พร้อมกับเก็บข้อมูลไปจนครบระยะเวลา เพื่อนำไปวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากการศึกษาในครั้งนี้ ต่อไป
ซึ่งรายละเอียดดังกล่าว ผู้ศึกษาได้นำมาแจ้งเพื่อให้คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และตัวแทนภาคีเครือข่าย ครู นักเรียนและผู้ปกครองทราบในที่ประชุม เป็นการปฏิบัติการในระยะที่ 1 (เดือนกรกฎาคม 2560) และในระยะ ที่ 1 ผู้ศึกษาได้ทำการใช้เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลกับกลุ่มเป้าหมาย 2 กลุ่ม คือ
1.1) นำแบบสอบถามทัศนคติมาสอบถามความคิดเห็นและความเข้าใจจากคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และตัวแทนภาคีเครือข่าย จำนวน 18 คน เก็บรวบรวมคะแนนไว้
1.2) นำแบบสอบถามความพึงพอใจของครูต่อการปฏิบัติงานจากการใช้คู่มือการบริหารเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมพัฒนาสมรรถนะครูในการแก้ไขปัญหายาเสพติดและอบายมุขสู่ความสำเร็จ เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษา โรงเรียนบ้านเขวาตะคลอง ปีการศึกษา 2560 (ภายใต้โครงการสถานศึกษาสีขาว) มาสอบถามความคิดเห็นครูก่อนใช้คู่มือ ดังกล่าว เก็บรวบรวมคะแนนไว้
ระยะที่ 2 ห้วงระหว่างเดือนกรกฎาคม 2560 เดือนมีนาคม 2561เมื่อครูได้นำคู่มือไปใช้ศึกษาพร้อมกับทำกิจกรรมในคู่มือ และนำสู่การปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม โดยมีเป้าหมายเดียวกัน คือ เป้าหมายความสำเร็จของโครงการสถานศึกษาสีขาว โรงเรียนบ้านเขวาตะคลอง ที่ปราศจากยาเสพติดและอบายมุขทั้งมวล โดยแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้มีการจัดกิจกรรมบูรณาการเชื่อมโยงกับโครงการสถานศึกษาสีขาว ครูประจำชั้นจัดห้องเรียนสีขาวเพื่อให้มีระบบดูแลกันระหว่างนักเรียนถึงนักเรียน โดยมีครูเป็นที่ปรึกษา และมีกิจกรรมที่ครูร่วมกันระดมความคิดสร้างสรรค์กิจกรรมขึ้นเพื่อรณรงค์ ปกป้อง แก้ปัญหายาเสพติดและอบายมุขให้กับนักเรียน เช่น กิจกรรมกีฬาต้านภัยยาเสพติด กิจกรรมเดินรณรงค์ให้คำมั่นว่า เราไม่รับ ไม่เอา ไม่ซื้อ ไม่เสพยาเสพติดทุกประเภท กิจกรรมเรื่องเล่าจากลุงตำรวจ ซึ่งในระยะที่ 2 นี้มีกิจกรรมเกิดขึ้นตามความเหมาะสม จนสิ้นสุดโครงการภายในเดือนมีนาคม 2561 ผู้ศึกษาได้ทำการใช้เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลกับกลุ่มเป้าหมาย 2 กลุ่ม คือ
2.1) นำแบบสอบถามความพึงพอใจไปสอบถามความคิดเห็นจากนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 3 จำนวน 33 คน สอบถามถึงความพึงพอใจที่มีต่อผลลัพธ์และความสำเร็จในการแก้ไขปัญหายาเสพติดและอบายมุขสู่ความสำเร็จ เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษา โรงเรียนบ้านเขวาตะคลอง ปีการศึกษา 2560 (ภายใต้โครงการสถานศึกษาสีขาว) เก็บรวบรวมคะแนนไว้
2.2) นำแบบสอบถามความพึงพอใจของผู้ปกครองของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 3 จำนวน 33 คน (ซึ่งเป็นตัวแทนของชุมชน) ไปสอบถามความพึงพอใจที่มีต่อคู่มือการบริหารเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมพัฒนาสมรรถนะครูในการแก้ไขปัญหายาเสพติดและอบายมุขสู่ความสำเร็จ เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษา โรงเรียนบ้านเขวาตะคลอง ปีการศึกษา 2560 (ภายใต้โครงการสถานศึกษาสีขาว) เก็บรวบรวมคะแนนไว้
ระยะที่ 3 เมื่อครูได้ปฏิบัติการใช้คู่มือเสร็จสิ้นแล้ว จึงได้ตอบแบบสอบถามความพึงพอใจ อีกครั้ง เป็นการตอบแบบสอบถามหลังจากใช้คู่มือดังกล่าว เพื่อเก็บข้อมูลนำไปวิเคราะห์ผลทางสถิติต่อไป หลังจากเก็บข้อมูลนักเรียนและผู้ปกครองเสร็จเรียบร้อยแล้ว (เดือนมีนาคม 2561) เก็บรวบรวมคะแนนไว้แล้วนำคะแนนที่ได้ไปทำการวิเคราะห์ด้วยวิธีทางสถิติ ต่อไป
การวิเคราะห์ข้อมูล
1. วิเคราะห์หาค่าความเที่ยงตรงของแบบวัดทัศนคติ แบบสอบถามความพึงพอใจของครูก่อน- หลัง การใช้คู่มือ แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียน และผู้ปกครอง โดยใช้ค่าดัชนีความสอดคล้อง (Index of Item Objective Congruence : IOC)
2. วิเคราะห์หาความเชื่อมั่น(Reliability) ของแบบสอบถามทั้งฉบับ โดยใช้สูตรของ
ครอนบาค (Cronbach, 1990 : 161) โดยใช้
โปรแกรมสำเร็จรูป
3. วิเคราะห์ผลการวัดความพึงพอใจของครู นักเรียน และผู้ปกครองต่อการพัฒนาคู่มือ การบริหารเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมพัฒนาสมรรถนะครูในการแก้ไขปัญหายาเสพติดและอบายมุขสู่ความสำเร็จ เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษา โรงเรียนบ้านเขวาตะคลอง ปีการศึกษา 2560 (ภายใต้โครงการสถานศึกษาสีขาว)
สรุปผลการศึกษา
1. ผลการประเมินทัศนคติของกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานและภาคีเครือข่ายต่อการบริหารเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมพัฒนาสมรรถนะครูในการแก้ไขปัญหายาเสพติดและอบายมุขสู่ความสำเร็จ เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษา โรงเรียนบ้านเขวาตะคลอง ปีการศึกษา 2560 (ภายใต้โครงการสถานศึกษาสีขาว) พบว่า ทัศนคติและการรับรู้ของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานและภาคีเครือข่ายต่อการพัฒนาคู่มือการบริหารเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมพัฒนาสมรรถนะครูในการแก้ไขปัญหายาเสพติดและอบายมุขสู่ความสำเร็จ เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษา โรงเรียนบ้านเขวาตะคลอง ปีการศึกษา 2560 (ภายใต้โครงการสถานศึกษาสีขาว) ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย ( ) เท่ากับ 4.75 ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) เท่ากับ 0.35 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ทุกด้านมีทัศนคติและการรับรู้อยู่ในระดับมากที่สุด เป็นไปตามสมมติฐานข้อ 1
2. ผลการเปรียบเทียบความพึงพอใจของครูต่อการปฏิบัติงานจากการใช้คู่มือการบริหารเชิงปฏิบัติการ แบบมีส่วนร่วมพัฒนาสมรรถนะครูในการแก้ไขปัญหายาเสพติดและอบายมุขสู่ความสำเร็จ เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษา โรงเรียนบ้านเขวาตะคลอง ปีการศึกษา 2560 (ภายใต้โครงการสถานศึกษาสีขาว) พบว่า ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย ก่อนใช้คู่มือเท่ากับ 4.66 และมีค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) เท่ากับ 0.37 ค่าเฉลี่ย หลังใช้คู่มือเท่ากับ 5.00 ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) เท่ากับ 0.00 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ทุกด้านมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด และเมื่อเปรียบเทียบผลต่างระหว่างคะแนนก่อนและหลังการใช้คู่มือ โดยใช้ t- test พบว่า หลังจากครูได้ใช้คู่มือการบริหารเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมพัฒนาสมรรถนะครูในการแก้ไขปัญหายาเสพติดและอบายมุขสู่ความสำเร็จ เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษา โรงเรียนบ้านเขวาตะคลอง ปีการศึกษา 2560 (ภายใต้โครงการสถานศึกษาสีขาว) เกิดความพึงพอใจต่อการปฏิบัติงานสูงกว่าก่อนการใช้คู่มืออย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 นั่นแสดงว่า คู่มือการบริหารเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมพัฒนาสมรรถนะครูในการแก้ไขปัญหายาเสพติดและอบายมุขสู่ความสำเร็จ เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษา โรงเรียนบ้านเขวาตะคลองปีการศึกษา 2560 (ภายใต้โครงการสถานศึกษาสีขาว) เป็นเครื่องมือที่ทำให้ครูเกิดความพึงพอใจและมุ่งมั่นในการปฏิบัติงานพร้อมขับเคลื่อนในการแก้ไขปัญหายาเสพติดและอบายมุข ได้อย่างแท้จริง เป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้ในข้อ 2
3. ผลการประเมินความพึงพอใจของนักเรียนต่อผลลัพธ์และความสำเร็จในการแก้ไขปัญหายาเสพติดและอบายมุขสู่ความสำเร็จ เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษา โรงเรียนบ้านเขวาตะคลอง ปีการศึกษา 2560 (ภายใต้โครงการสถานศึกษาสีขาว) พบว่า นักเรียนมีความพึงพอใจในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 4.86 ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) เท่ากับ 0.23 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ทุกด้านมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด เป็นไปตามสมมติฐานข้อ 3
4. ผลการประเมินความพึงพอใจของผู้ปกครองที่มีต่อคู่มือการบริหารเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมพัฒนาสมรรถนะครูในการแก้ไขปัญหายาเสพติดและอบายมุขสู่ความสำเร็จเพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาโรงเรียนบ้านเขวาตะคลอง ปีการศึกษา 2560 (ภายใต้โครงการสถานศึกษา สีขาว) พบว่าผู้ปกครองมีความพึงพอใจในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 4.85 ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) เท่ากับ 0.28 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ทุกด้านมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด เป็นไปตามสมมติฐานข้อ 4
ผลการศึกษาการพัฒนาคู่มือการบริหารเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมพัฒนาสมรรถนะครูในการแก้ไขปัญหายาเสพติดและอบายมุข สู่ความ สำเร็จ เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาโรงเรียนบ้านเขวาตะคลอง ปีการศึกษา 2560 (ภายใต้โครงการสถานศึกษาสีขาว) ส่งผลต่อการบริหารแบบมีส่วนร่วมก่อให้เกิดสมรรถนะครูในการแก้ไขปัญหาและพัฒนา และให้ผู้เรียนมีคุณภาพการศึกษา มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ตามหลักสูตรสถานศึกษากำหนดแล้ว ยังทำให้ผู้เรียนมีสุขภาพอนามัยที่ดีได้ตามเกณฑ์มาตรฐานตามที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนดไว้ ยังทำให้ผู้เรียนเข้าถึงเข้าใจ ตระหนักรู้ พิษภัยจากยาเสพติดและอบายมุข เห็นคุณค่าในตนเอง ในการพัฒนาทักษะชีวิต พัฒนาคุณภาพการศึกษาการเรียนรู้ ให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี มีคุณธรรมนำความรู้ เป็นคนดีของครอบครัว ชุมชน สังคมประเทศชาติ จากผลการศึกษาดังกล่าว ในปีการศึกษา 2560 โรงเรียนบ้าน เขวาตะคลอง ได้รับความภาคภูมิใจ สิ่งที่มีคุณค่า ให้กับประโยชน์ทางผลงานวิชาการ ให้เกิดประโยชน์ทางวิชาชีพและเกิดประโยชน์ต่อผู้เรียน ครู โรงเรียน และชุมชน ยังทำให้โรงเรียนได้รับรางวัลระดับชาติ สถานศึกษาสีขาว ปลอดยา เสพติดและอบายมุข ประเภทผลงานดีเด่น ระดับทอง ปีการศึกษา 2560 หลังจากนั้นผู้ศึกษาได้ย้ายมาดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนเมืองบัววิทยาคาร ปีการศึกษา 2561 ได้นำหลักการและเทคนิคการบริหารงานโครงการสถานศึกษาสีขาว ปลอดยาเสพติดและอบายมุข มาพิจารณาดำเนินการด้านวิชาการต่อเนื่อง ทำให้โรงเรียนได้รับรางวัลสถานศึกษาสีขาว ปลอดยาเสพติดและอบายมุข ประเภทผลงานดีเด่น ระดับเงิน โครงการสถานศึกษาสีขาว ปลอดยาเสพติดและอบายมุข ปีการศึกษา 2561 ทำให้เกิดความภาคภูมิใจกับผู้เกี่ยวข้องในการศึกษาครั้งนี้ และจะรักษาคุณภาพสถานศึกษาสีขาวให้คงอยู่สืบไป
เอกสารอ้างอิง
กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลาง
การศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ : ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
_________. (2560). คู่มือการดำเนินงาน
โครงการสถานศึกษาสีขาวปลอดยาเสพติดและอบายมุข ฉบับปรับปรุงพุทธศักราช 2559. กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา.
คำผล สุพร. (2559). ปัญหาและแนวทางการ
ดำเนินงานป้องกันยาเสพติดในสถานศึกษาอำเภอบ้านบึง จังหวัดชลบุรี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 18. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการ การบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์. มหาวิทยาลัยบูรพา.
ปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน์. (2543). การบริหารงาน
วิชาการ. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ : พิมพ์ดี.
โรงเรียนบ้านเขวาตะคลอง. (2560). หลักสูตร
การศึกษาโรงเรียนบ้านเขวาตะคลอง ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560). ร้อยเอ็ด : โรงเรียนบ้านเขวาตะคลอง.
วลัยวัลล์ พุ่มพึ่งพุทธ. (2554). การพัฒนาคู่มือ
การจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนตามหลักสูตรขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยรังสิต. สารนิพนธ์ กศ.ม. (การบริหารการศึกษา). กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.