การศึกษาค้นคว้าครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาผลนิเทศการศึกษาเพื่อพัฒนาการจัดประสบการณ์การเรียนรู้โครงงานวิทยาศาสตร์ปฐมวัยตามแนวทางโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ประเทศไทย สำหรับครูปฐมวัยด้วยเทคนิคการนิเทศแบบชี้แนะ (Coaching) และวิธีเสริมพลังครู (Empowered Development Approach) 2) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของครูปฐมวัยที่มีต่อเทคนิคการนิเทศแบบชี้แนะ(Coaching) และวิธีเสริมพลังครู (Empowered Development Approach) 3) เพื่อศึกษาความสามารถของเด็กปฐมวัยในการทำโครงงานวิทยาศาสตร์ปฐมวัย โดยใช้กระบวนการการวิจัยปฏิบัติการ (Action Research) ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน คือ ขั้นการวางแผน (Planning) ขั้นปฏิบัติการตามแผน (Action) ขั้นการสังเกต (Observation) และขั้นการสะท้อนผล (Reflection) จำนวน 2 วงรอบ โดยในวงรอบที่ 1 ใช้กลยุทธ์ในการพัฒนา 3 กลยุทธ์ ได้แก่ 1) การประชุมเชิงปฏิบัติการ 2) เทคนิคการนิเทศแบบชี้แนะ (Coaching) และ 3) วิธีเสริมพลังครู (Empowered Development Approach) ส่วนในวงรอบที่ 2 ใช้กลยุทธ์ในการพัฒนา 2 กลยุทธ์ ได้แก่ 1) เทคนิคการนิเทศ แบบชี้แนะ (Coaching) และ 2) วิธีเสริมพลังครู โดยมีกลุ่มผู้ร่วมศึกษาค้นคว้า จำนวน 54 คน ประกอบด้วย ผู้ศึกษาค้นคว้า จำนวน 1 คน ผู้ร่วมศึกษาค้นคว้าโดยความสมัครใจ จำนวน 43 คน ได้แก่ ครูที่ปฏิบัติหน้าที่การสอนในชั้นอนุบาลปีที่ 3 ปีการศึกษา 2561จำนวน 43 คน ในโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ประเทศไทย รุ่นที่ 1 จำนวน 6 คน รุ่นที่ 2 จำนวน 16 คน รุ่นที่ 3 จำนวน 4 คน รุ่นที่ 7 จำนวน 8 คน รุ่นที่ 8 จำนวน 7 คน กลุ่มผู้ร่วมพัฒนา จำนวน 10 คน ประกอบด้วย ครูปฐมวัยที่มีประสบการณ์ จำนวน 10 คน และกลุ่มผู้ให้ข้อมูล จำนวน 723 คน ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 43 คน และเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 3 จำนวน 680 คน
เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้าครั้งนี้ ประกอบด้วย 1) เครื่องมือที่ใช้ในการพัฒนามี 2 ชนิด ได้แก่ 1.1) คู่มือการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาการจัดประสบการณ์การเรียนรู้โครงงานวิทยาศาสตร์ปฐมวัยรูปแบบวัฏจักรวิจัยตามแนวทางโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ประเทศไทยสำหรับครูปฐมวัย 1.2) แผนการนิเทศด้วยเทคนิคการนิเทศแบบชี้แนะ (Coaching) และวิธีเสริมพลังครู(Empowered Development Approach) เพื่อพัฒนาการจัดประสบการณ์การเรียนรู้โครงงานวิทยาศาสตร์ปฐมวัยตามแนวทาง โครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ประเทศไทยสำหรับครูปฐมวัย 2) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลมี 5 ชนิด ได้แก่ แบบทดสอบความรู้ความเข้าใจ แบบสัมภาษณ์ แบบสังเกต แบบสอบถาม และแบบประเมิน การตรวจสอบข้อมูลใช้เทคนิคการตรวจสอบข้อมูลแบบสามเส้า (Triangulation Technique) และนำเสนอผลการศึกษาค้นคว้าโดยวิธีพรรณนาวิเคราะห์
ผลการศึกษาค้นคว้าพบว่า
การนิเทศการศึกษาเพื่อพัฒนาการจัดประสบการณ์การเรียนรู้โครงงานวิทยาศาสตร์ปฐมวัย โครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ประเทศไทย สำหรับครูปฐมวัยด้วยเทคนิคการนิเทศแบบชี้แนะ (Coaching) และวิธีเสริมพลังครู (Empowered Development Approach) ในวงรอบที่ 1 โดยใช้กลยุทธ์ ในการพัฒนา 3 กลยุทธ์ คือ 1) การประชุมเชิงปฏิบัติการ 2) การนิเทศแบบชี้แนะ (Coaching) และ 3) วิธีเสริมพลังครู (Empowered Development Approach) สรุปผลการศึกษาทั้ง 2 วงรอบ ได้ดังนี้
1. ผลการนิเทศการศึกษาเพื่อพัฒนาการจัดประสบการณ์การเรียนรู้โครงงานวิทยาศาสตร์ปฐมวัยรูปแบบวัฏจักรวิจัยตามแนวทางโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ประเทศไทยสำหรับครูปฐมวัยด้วยเทคนิคการนิเทศแบบชี้แนะ (Coaching) และวิธีเสริมพลังครู (Empowered Development Approach) ดังนี้
1.1 กลุ่มผู้ร่วมศึกษาค้นคว้าทุกคนทั้ง 43 คน มีความรู้ความเข้าใจเรื่องการจัดประสบการณ์ การเรียนรู้โครงงานวิทยาศาสตร์ปฐมวัยวัฏจักรสืบเสาะตามแนวทางโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ประเทศไทย ดังจะเห็นได้จากคะแนนทดสอบหลังการประชุมเชิงปฏิบัติการผ่านเกณฑ์ที่กำหนดทุกคนผ่านเกณฑ์ที่กำหนดไว้ทั้ง 43 คน และความพึงพอใจที่มีต่อการประชุมเชิงปฏิบัติการ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.59) แสดงว่า กลยุทธ์การประชุมเชิงปฏิบัติการมีส่วนช่วยให้กลุ่มผู้ร่วมศึกษาค้นคว้ามีความรู้ความเข้าใจเรื่อง การจัดประสบการณ์การเรียนรู้โครงงานวิทยาศาสตร์ปฐมวัยตามแนวทางโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ประเทศไทย
1.2 กลุ่มผู้ร่วมศึกษาค้นคว้าทุกคนทั้ง 43 คน สามารถเขียนแผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้วิทยาศาสตร์ต่อยอดสู่ทำโครงงานวิทยาศาสตร์ปฐมวัยวัฏจักรสืบเสาะ มีความเหมาะสมของแผนจัดประสบการณ์การเรียนรู้วิทยาศาสตร์ต่อยอดสู่การทำโครงงานวิทยาศาสตร์ปฐมวัยของกลุ่มผู้ร่วมศึกษาค้นคว้า โดยภาพรวมอยู่ในระดับเหมาะสมมากที่สุด ( = 4.55)
1.3 กลุ่มผู้ร่วมศึกษาค้นคว้าทุกคนทั้ง 43 คน สามารถจัดประสบการณ์การเรียนรู้โครงงานวิทยาศาสตร์ปฐมวัยวัฏจักรสืบเสาะ โดยภาพรวมอยู่ในระดับดีมาก ( = 4.49) และจากการสังเกตพฤติกรรมการจัดประสบการณ์การเรียนรู้วิทยาศาสตร์ต่อยอดสู่การทำโครงงานวิทยาศาสตร์ปฐมวัยวัฏจักรสืบเสาะ กลุ่มผู้ร่วมศึกษาค้นคว้า ทั้ง 43 คน มีการปฏิบัติในภาพรวมคิดเป็นร้อยละ 100
1.4 กลุ่มผู้ร่วมศึกษาค้นคว้าทุกคนทั้ง 43 คน สามารถเขียนรายงานโครงงานวิทยาศาสตร์ปฐมวัย วัฏจักรสืบเสาะได้ พบว่า ผลการประเมินการเขียนรายงานโครงงานวิทยาศาสตร์ปฐมวัยวัฏจักรสืบเของ กลุ่มผู้ร่วมศึกษาค้นคว้าทุกคน ทั้ง 43 คน โดยรวมเฉลี่ยทั้ง 2 วงรอบ อยู่ในระดับดี ( = 4.42)
2. ความพึงพอใจของครูปฐมวัยที่มีต่อเทคนิคการนิเทศแบบชี้แนะ (Coaching) และวิธีเสริมพลังครู (Empowered Development Approach) พบว่า ความพึงพอใจของของครูปฐมวัยที่มีต่อการนิเทศด้วยเทคนิคการนิเทศแบบชี้แนะ (Coaching) และวิธีเสริมพลังครู (Empowered Development Approach) โดยรวมเฉลี่ย ทั้ง 2 วงรอบ โดยรวมเฉลี่ยมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.60)
3. ความสามารถของเด็กปฐมวัยในการทำโครงงานวิทยาศาสตร์ปฐมวัยวัฏจักรสืบเสาะ พบว่าความสามารถของเด็กปฐมวัยในการทำโครงงานวิทยาศาสตร์ปฐมวัยวัฏจักรสืบเสาะ โดยภาพรวมอยู่ในระดับดีมาก ( = 2.51)
สรุปผลการพัฒนาทั้ง 2 วงรอบ ผลปรากฏว่า กลุ่มผู้ร่วมศึกษาค้นคว้าทั้ง 43 คน มีความรู้ ความเข้าใจในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้โครงงานวิทยาศาสตร์ปฐมวัยตามแนวทางโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ประเทศไทย สามารถเขียนแผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้วิทยาศาสตร์ต่อยอดสู่ทำโครงงานวิทยาศาสตร์ปฐมวัยวัฏจักรสืบเสาะสามารถจัดประสบการณ์การเรียนรู้วิทยาศาสตร์ต่อยอดสู่ทำโครงงานวิทยาศาสตร์ปฐมวัยวัฏจักรสืบเสาะ และครูปฐมวัยกลุ่มผู้ร่วมศึกษาค้นคว้าทั้ง 43 คน สามารถเขียนรายงานโครงงานวิทยาศาสตร์ปฐมวัยวัฏจักรสืบเสาะตามแนวทางโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ประเทศไทยได้โดยบรรลุเป้าหมายของการพัฒนาได้เป็นอย่างดี เด็กปฐมวัยกลุ่มเป้าหมาย จำนวน 43 โรงเรียน จำนวน 680 คน มีความสุข มีความกระตือรือร้น สนุกสนานกับการเรียนรู้ เด็กเกิดการเรียนรู้ด้วยตนเอง และสามารถคิดอย่างเป็นเหตุเป็นผล เด็กมีเจตคติที่ดีต่อวิทยาศาสตร์ ธรรมชาติ และเด็กปฐมวัยสามารถทำโครงงานวิทยาศาสตร์ปฐมวัยวัฏจักรสืบเสาะได้ และการพัฒนาครูปฐมวัยครั้งนี้ กลุ่มผู้ร่วมศึกษาค้นคว้าทั้ง 43 คน จำนวน 43 โรงเรียน ที่เข้าร่วมโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ประเทศไทย มีผลงานโครงงานวิทยาศาสตร์ปฐมวัยฉบับจริง เพื่อยื่นขอรับตราพระราชทานและคงสภาพความเป็นบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ประเทศไทยส่งสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานทันตามระยะเวลาที่สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานกำหนด