ชื่อเรื่อง การพัฒนาแบบฝึกทักษะวรรณกรรมท้องถิ่น เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ โดยใช้การเทคนิค STAD กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียน
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6
ผู้รายงาน นายวัชชิระ วรรณปะเข
ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการ โรงเรียนประทาย อำเภอประทาย
องค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา
ปีการศึกษา 2562
บทคัดย่อ
การพัฒนาแบบฝึกทักษะวรรณกรรมท้องถิ่นเพื่อส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ โดยใช้
การเทคนิค STAD กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อสร้างและพัฒนาแบบฝึกทักษะวรรณกรรมท้องถิ่นเพื่อส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์โดยใช้การเทคนิค STAD กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อศึกษาดัชนีประสิทธิผลของแบบฝึกทักษะวรรณกรรมท้องถิ่นเพื่อส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์โดยใช้การเทคนิค STAD กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 3) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนจากวรรณกรรมท้องถิ่นเพื่อส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์โดยใช้การเทคนิค STAD กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 และ 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยแบบฝึกทักษะวรรณกรรมท้องถิ่นเพื่อส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์โดยใช้การเทคนิค STAD กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6/8 โรงเรียนประทาย อำเภอประทาย องค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562 จำนวน 40 คน ซึ่งได้มาโดยการวิธีสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาประกอบด้วย 1) แบบฝึกทักษะวรรณกรรมท้องถิ่นเพื่อส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์โดยใช้การเทคนิค STAD กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 8 เล่ม 2) แผนการจัดการเรียนรู้ รายวิชาภาษาไทย ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 8 แผน 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน จำนวน 40 ข้อ และ 4) แบบวัดความพึงพอใจ ของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยแบบฝึกทักษะการคิดวิเคราะห์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ ทดสอบค่าที (t test dependent)
ผลการศึกษาพบว่า
1. แบบฝึกทักษะวรรณกรรมท้องถิ่นเพื่อเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์โดยใช้การเทคนิค STAD กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ที่สร้างขึ้นมีประสิทธิภาพ เท่ากับ 85.17/84.75 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ 80 / 80
2. ดัชนีประสิทธิผลของแบบฝึกทักษะวรรณกรรมท้องถิ่นเพื่อส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์โดยใช้การเทคนิค STAD กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 มีค่าเท่ากับ 0.6965 คิดเป็นร้อยละ 69.65
3. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน จากการเรียนด้วยแบบฝึกทักษะวรรณกรรมท้องถิ่นเพื่อส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์โดยใช้การเทคนิค STAD กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
4. ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยแบบฝึกทักษะวรรณกรรมท้องถิ่นเพื่อเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์โดยใช้การเทคนิค STAD กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย ( ) เท่ากับ 4.55