ชื่อเรื่อง การพัฒนาความเป็นมืออาชีพของครูด้วยการวิจัยเชิงปฏิบัติการ
โดยใช้การเสริมสร้างพลังอำนาจการทำงานของครู โรงเรียนเทศบาล ๒
(วัดกะพังสุรินทร์) เทศบาลนครตรัง
ผู้วิจัย นายจรวย บุญล้อม
สถานศึกษา โรงเรียนเทศบาล ๒ (วัดกะพังสุรินทร์) สังกัดเทศบาลนครตรัง
ปีที่วิจัย 2562
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์การวิจัย 1) เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนาความเป็นมืออาชีพของครูด้วยการวิจัยเชิงปฏิบัติการโดยใช้การเสริมสร้างพลังอำนาจการทำงานของครู โรงเรียนเทศบาล ๒ (วัดกะพังสุรินทร์) เทศบาลนครตรัง 2) เพื่อพัฒนาความเป็นมืออาชีพของครูด้วยการวิจัยเชิงปฏิบัติการโดยใช้การเสริมสร้างพลังอำนาจการทำงานของครู โรงเรียนเทศบาล ๒ (วัดกะพังสุรินทร์) เทศบาลนครตรัง 3) เพื่อทดลองใช้การพัฒนาความเป็นมืออาชีพของครูด้วยการวิจัยเชิงปฏิบัติการโดยใช้การเสริมสร้างพลังอำนาจการทำงานของครู โรงเรียนเทศบาล ๒ (วัดกะพังสุรินทร์) เทศบาลนครตรัง และ 4) เพื่อประเมินและปรับปรุงการพัฒนาความเป็นมืออาชีพของครูด้วยการวิจัยเชิงปฏิบัติการโดยใช้ การเสริมสร้างพลังอำนาจการทำงานของครู โรงเรียนเทศบาล ๒ (วัดกะพังสุรินทร์) เทศบาลนครตรัง กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ พนักงานครูและพนักงานจ้าง (ปฏิบัติหน้าที่สอน ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2562 จำนวน 55 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ 1) โปรแกรมการพัฒนาความเป็นมืออาชีพของครู 2) แบบสอบถาม 3) แบบสัมภาษณ์ 4) แบบบันทึก 5) แบบวัดความพึงพอใจ และ 6) แบบประเมินความสำเร็จ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน นำเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ และเชิงคุณภาพ
ผลการวิจัย พบว่า
1. ผลการศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนาความเป็นมืออาชีพของครูด้วยการวิจัยเชิงปฏิบัติการโดยใช้การเสริมสร้างพลังอำนาจการทำงานของครู โรงเรียนเทศบาล ๒ (วัดกะพังสุรินทร์) เทศบาลนครตรัง พบว่า 1.1) สภาพปัจจุบันการพัฒนาความเป็นมืออาชีพของครู โดยรวมและรายด้านทุกด้าน อยู่ในระดับน้อย โดยเรียงตามลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย คือ ด้านการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ด้านการพัฒนาหลักสูตร ด้านการประเมินตามสภาพจริง ด้านการวิจัยในชั้นเรียน และด้านการนิเทศ ติดตามประเมินผลเพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้ ตามลำดับ 1.2) ปัญหาการพัฒนา ความเป็นมืออาชีพของครู โดยรวมและรายด้านทุกด้าน อยู่ในระดับมาก โดยเรียงตามลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย คือด้านการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ด้านการประเมินตามสภาพจริงด้าน การพัฒนาหลักสูตร ด้านการวิจัยในชั้นเรียน และด้านการนิเทศ ติดตามประเมินผลเพื่อพัฒนา การจัดการเรียนรู้ ตามลำดับ และ 1.3) ความต้องการการพัฒนาความเป็นมืออาชีพของครู โดยรวมและรายด้านทุกด้าน อยู่ในระดับมาก โดยเรียงตามลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย คือ ด้าน การจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ด้านการพัฒนาหลักสูตร ด้านการวิจัยในชั้นเรียน และด้านการนิเทศ ติดตามประเมินผล เพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้ ตามลำดับ
2. ผลการพัฒนาโปรแกรมการพัฒนาความเป็นมืออาชีพของครูด้วยการวิจัยเชิงปฏิบัติการโดยใช้การเสริมสร้างพลังอำนาจการทำงานของครู โรงเรียนเทศบาล ๒ (วัดกะพังสุรินทร์) เทศบาลนครตรัง พบว่า 1.1) โปรแกรมที่ 1 การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา หลังจากมีการอบรมเชิงปฏิบัติการผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักสูตรสถานศึกษาตามแนวนโยบายการจัดการศึกษาโดยรวมอยู่ในระดับมาก ซึ่งบรรลุตามความมุ่งหมาย คือ ทำให้ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้ทั้งด้านทฤษฏีและการปฏิบัติและมีความมั่นใจที่จะสามารถนำไปปฏิบัติงานได้เพิ่มขึ้น 2.2) โปรแกรมที่ 2 การจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ หลังจากมีการอบรมเชิงปฏิบัติการผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ โดยรวมอยู่ในระดับมาก ซึ่งบรรลุตามความมุ่งหมาย คือ ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ สามารถจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ และพัฒนาทักษะ กระบวนการคิดด้วยวิธีการที่หลากหลาย และตระหนักและเห็นคุณค่าของการปรับการเรียนเปลี่ยนการสอนเพื่อนำไปสู่การปฏิรูปการเรียนรู้ และ 2.3) โปรแกรมที่ 3 การเรียนรู้ระหว่างการฝึกปฏิบัติงานของครูผู้สอน (1 ภาคเรียนที่สถานศึกษา) พบว่าครูผู้สอนได้เกิดกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ได้ร่วมกันกำหนดแนวการจัดการเรียนรู้ การสอนแบบ Group Based Learning เพื่อศึกษาเรียนรู้และช่วยเหลือซึ่งกันและกันรวมถึงการนำแนวคิดการสอนแบบ 5 Ps
3. ผลการทดลองใช้การพัฒนาความเป็นมืออาชีพของครูด้วยการวิจัยเชิงปฏิบัติการโดยใช้การเสริมสร้างพลังอำนาจการทำงานของครู โรงเรียนเทศบาล ๒ (วัดกะพังสุรินทร์) เทศบาลนครตรัง พบว่า 3.1) การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาที่เกิดขึ้นจากการวิจัยครั้งนี้ ส่งผลให้ครูได้เกิดกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เพื่อหล่อหลอมสาระการเรียนรู้ที่ครูได้มีประสบการณ์การจัดการเรียนรู้มาผสมผสานกับหลักการพัฒนาหลักสูตรเชิงวิชาการ โดยการตรวจสอบและปรับเข้าสู่มาตรฐานหลักสูตรช่วงชั้น ออกแบบและวางแผนการเรียนรู้แบบบูรณาการ นอกจากนี้การบริหารจัดการหลักสูตรยังได้มีการผสมผสานกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนที่สนับสนุนให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ในวิถีชีวิตประจำสัปดาห์ เช่น กิจกรรมวันสำคัญ กิจกรรมส่งเสริมการอ่าน กิจกรรมเรียนรู้นอกห้องเรียน กิจกรรมวิถีพุทธ กิจกรรมอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม เป็นต้น และ 3.2) การจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญที่เกิดขึ้นจากการศึกษาครั้งนี้ ส่งผลทำให้ครูมีการกำหนดเนื้อหาสาระการเรียนการสอนจะคำนึงถึงผู้เรียนเป็นสำคัญ ได้แก่ ความสนใจ ความถนัด และความแตกต่างระหว่างบุคคล ซึ่งก็จะสัมพันธ์กับสภาพของท้องถิ่นด้วย การจัดเนื้อหาสาระนั้นควรมีลักษณะของการผสมผสาน สาระความรู้ คุณธรรม ค่านิยม หลายวิชาเข้าด้วยกันอย่างสมดุลที่เรียกว่า บูรณาการ โดยจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีโอกาสวางแผน มีบทบาทในการเรียนรู้ มีประสบการณ์ตรง ได้ปฏิบัติจริง มีทักษะการคิดแก้ปัญหา มีนิสัยใฝ่รู้อย่างต่อเนื่อง ภายใต้บรรยากาศการเรียนรู้ที่หลากหลาย ทั้งรูปแบบการเรียนการสอนและแหล่งวิทยาการทุกเวลาทุกสถานที่ทั้งในและนอกโรงเรียน มุ่งให้ผู้เรียนได้สร้างองค์ความรู้ด้วยตนเองเป็นการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญของโรงเรียนเทศบาล ๒ (วัดกะพังสุรินทร์)
4. ผลการประเมินและปรับปรุงการพัฒนาความเป็นมืออาชีพของครูด้วยการวิจัยเชิงปฏิบัติการโดยใช้การเสริมสร้างพลังอำนาจการทำงานของครู โรงเรียนเทศบาล ๒ (วัดกะพังสุรินทร์) เทศบาลนครตรัง พบว่า 4.1) ความพึงพอใจในการเข้ารับการพัฒนา โดยรวมและรายด้านทุกด้าน อยู่ในระดับมาก โดยเรียงตามลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย คือด้านการพัฒนาหลักสูตร ด้านการเรียนรู้ระหว่างการฝึกปฏิบัติงานในโรงเรียนและด้านการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ และ 4.2) การบรรลุความสำเร็จ โดยรวมและรายด้านทุกด้านอยู่ในระดับมาก โดยเรียงตามลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย คือด้านการเรียนรู้ระหว่างการฝึกปฏิบัติงานในโรงเรียน ด้านการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญและด้านการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา ตามลำดับ และการบรรลุความสำเร็จในการเข้ารับการพัฒนาความเป็นมืออาชีพของครูด้วยกระบวนการเสริมสร้างพลังอำนาจในโรงเรียน โดยรวมและรายด้านทุกด้าน อยู่ในระดับมากโดยเรียงตามลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ด้านความร่วมมือในโรงเรียน ด้านระบบการทำงานในโรงเรียน ด้านบรรยากาศการทำงาน ด้านโครงสร้างการบริหารงาน ด้านแรงจูงใจในการทำงาน และด้านวัฒนธรรมองค์กรในการทำงาน ตามลำดับ