ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการสถานศึกษา เพื่อสร้างนักเรียน สร้างสังคม
สู่ความพอเพียง และพัฒนาจิตสาธารณะและคุณธรรมพื้นฐาน โรงเรียนเทศบาล ๒ (วัดกะพังสุรินทร์) เทศบาลนครตรัง
ผู้วิจัย นายจรวย บุญล้อม
สถานศึกษา โรงเรียนเทศบาล ๒ (วัดกะพังสุรินทร์) สังกัดเทศบาลนครตรัง
ปีที่วิจัย 2561
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการสถานศึกษา เพื่อสร้างนักเรียน สร้างสังคม สู่ความพอเพียง และพัฒนาจิตสาธารณะและคุณธรรมพื้นฐาน โรงเรียนเทศบาล ๒ (วัดกะพังสุรินทร์) เทศบาลนครตรัง 2) เพื่อออกแบบและสร้างรูปแบบการบริหารจัดการสถานศึกษา เพื่อสร้างนักเรียน สร้างสังคม สู่ความพอเพียง และพัฒนา จิตสาธารณะและคุณธรรมพื้นฐาน โรงเรียนเทศบาล ๒ (วัดกะพังสุรินทร์) เทศบาลนครตรัง 3) เพื่อทดลองใช้รูปแบบการบริหารจัดการสถานศึกษา เพื่อสร้างนักเรียน สร้างสังคม สู่ความพอเพียง และพัฒนาจิตสาธารณะและคุณธรรมพื้นฐาน โรงเรียนเทศบาล ๒ (วัดกะพังสุรินทร์) เทศบาลนครตรัง และ 4) เพื่อการประเมินและปรับปรุงรูปแบบการบริหารจัดการสถานศึกษา เพื่อสร้างนักเรียน สร้างสังคม สู่ความพอเพียง และพัฒนาจิตสาธารณะและคุณธรรมพื้นฐาน โรงเรียนเทศบาล ๒ (วัดกะพังสุรินทร์) เทศบาลนครตรัง กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน หัวหน้ากลุ่มสาระ การเรียนรู้ และหัวหน้ากิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ครูปฏิบัติการสอน และนักเรียน โรงเรียนเทศบาล ๒ (วัดกะพังสุรินทร์) เทศบาลนครตรัง ปีการศึกษา 2561 จำนวน 1,205 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่แบบบันทึกการสนทนากลุ่มและแบบสอบถามวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหาและสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า
1. ศึกษาเอกสาร แนวคิด ทฤษฎี และงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับรูปแบบการบริหารจัด การสถานศึกษา เพื่อสร้างนักเรียน สร้างสังคม สู่ความพอเพียง และพัฒนาจิตสาธารณะและคุณธรรมพื้นฐาน โรงเรียนเทศบาล ๒ (วัดกะพังสุรินทร์) เทศบาลนครตรัง พบว่าผลการศึกษาแนวคิดเกี่ยวกับรูปแบบและการพัฒนารูปแบบที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) ศึกษาเอกสาร แนวคิด ทฤษฏี งานวิจัยการพัฒนารูปแบบการทดลองใช้และประเมินและปรับปรุงพัฒนารูปแบบ 2) แนวคิดตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงคือ พอประมาณ มีเหตุผล มีภูมิคุ้มกัน เงื่อนไขความรู้และเงื่อนไขคุณธรรม และ 3) แนวคิดการบริหารจัดการสถานศึกษา คือด้านงานวิชาการ ด้านงานบุคลากร ด้านงานธุรการการเงิน/พัสดุ ด้านงานอาคารสถานที่ ด้านงานสัมพันธ์ชุมชน และด้านงานกิจการนักเรียน
2. สร้างและพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการสถานศึกษา เพื่อสร้างนักเรียน สร้างสังคม สู่ความพอเพียง และพัฒนาจิตสาธารณะและคุณธรรมพื้นฐาน โรงเรียนเทศบาล ๒ (วัดกะพังสุรินทร์) เทศบาลนครตรัง ประกอบด้วย กิจกรรมร่วมมือร่วมใจ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย กิจกรรมการใช้ปัญหาเป็นหลัก กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ กิจกรรมอาสาพัฒนา กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ กิจกรรมคุณธรรมพอเพียง กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม กิจกรรมกีฬาเพื่อสุขภาพ กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา กิจกรรมผลงานพัฒนาการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ กิจกรรมโครงการ SMBLD กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี กิจกรรม English for Today กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ และกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน
3. ทดลองใช้รูปแบบการบริหารจัดการสถานศึกษา เพื่อสร้างนักเรียน สร้างสังคม สู่ ความพอเพียง และพัฒนาจิตสาธารณะและคุณธรรมพื้นฐาน โรงเรียนเทศบาล ๒ (วัดกะพังสุรินทร์) เทศบาลนครตรัง ไปใช้ในการบริหารโรงเรียน พบว่า 3.1) ค่าเฉลี่ยระดับการปฏิบัติก่อนใช้รูปแบบและหลังใช้รูปแบบการบริหารจัดการสถานศึกษา เพื่อสร้างนักเรียน สร้างสังคม สู่ความพอเพียง และพัฒนาจิตสาธารณะและคุณธรรมพื้นฐาน โรงเรียนเทศบาล ๒ (วัดกะพังสุรินทร์) เทศบาลนครตรัง โดยรวมและรายด้านพบว่าหลังใช้รูปแบบการบริหารค่าเฉลี่ยระดับ การปฏิบัติทุกข้อ มีค่าสูงขึ้นกว่าก่อนการใช้รูปแบบ โดยรวม มีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 4.63 มีระดับการปฏิบัติสม่ำเสมอ เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่าด้านที่ 7 ด้านความสามัคคี มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด เท่ากับ 4.69 มีระดับการปฏิบัติสม่ำเสมอ ได้มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ด้านที่ 1 ด้านความขยัน เท่ากับ 4.54 มีระดับการปฏิบัติสม่ำเสมอและ 3.2) ผลการศึกษาจาก การสนทนากลุ่มของครูผู้สอนและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่า 3.2.1) นักเรียนมีพฤติกรรม มีการจัดห้องเรียนมีความเป็นระเบียบ เก็บอุปกรณ์การเล่นกีฬาเป็นหมวดหมู่ มีกิริยามารยาทเรียบร้อยยิ้มงาม ถามไถ่ผู้มาเยี่ยมเยือนโรงเรียนด้วยความเคารพมีความประหยัดในการใช้สาธารณูปโภคใช้อุปกรณ์ประกอบในการแสดง และจัดนิทรรศการโครงงาน สื่อประชาสัมพันธ์ ป้ายนิเทศ ป้ายเตือน อย่างประหยัด ร่วมมือร่วมใจพัฒนาอาคารสถานที่ภายในโรงเรียนให้ใช้ประโยชน์ได้ทุกจุด 3.2.2) นักเรียนมีพฤติกรรมการแต่งกายถูกต้องตามระเบียบของโรงเรียน มีความกระตือรือร้นในการเข้าเรียนในแต่ละรายวิชาให้ความสำคัญในการค้นหาคำตอบเพื่อตอบปัญหา ที่ได้รับมอบหมาย บูรณาการความรู้ที่ศึกษามาจัดทำเป็นโครงงานอย่างหลากหลายปฏิบัติหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายอย่างเต็มใจไม่ละทิ้งหน้าที่ ให้ความร่วมมือในการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนอย่างสนุกสนานมีภาวะความเป็นผู้นำ ในการทำกิจกรรมวันสำคัญต่าง ๆ ใช้บริการห้องสมุด ห้องคอมพิวเตอร์ ด้วยการเคารพกฎระเบียบอย่างสม่ำเสมอ ดูแลรักษาเครื่องคอมพิวเตอร์ของโรงเรียนด้วยการไม่เปิดโอกาส ให้ไวรัสทำลายข้อมูล งดเว้นการเล่นเกมส์ในระหว่างเรียน ละเว้นการนำแก้วน้ำ อาหาร ขึ้นไปรับประทานบนอาคาร ขึ้นลงอาคารด้วยความสุขุมไม่ส่งเสียงดังรบกวนคนอื่น และ 3.2.3) นักเรียนมีลักษณะเป็นผู้รับฟังข้อเสนอแนะ และความคิดเห็นของคนอื่น มีหลักการใช้เหตุผลในการโต้แย้งคำตอบยอมรับผลการปฏิบัติงานทั้งดีและต้องปรับปรุง มีบุคลิกเป็นผู้ใช้ภาษาไทยอย่างถูกต้องตามอักขระ เมื่อได้รับมอบหมายให้แจ้งข่าวสารต่อบุคคลอื่นจะรีบปฏิบัติทันทีเพื่อจะทำให้ข่าวสารนั้นเกิดประโยชน์ต่อส่วนรวมต่อไป เข้าร่วมกิจกรรมเชิงอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอย่างตั้งใจนำมาปฏิบัติในโรงเรียน มีผู้อาสาเป็นตัวแทนของนักเรียนเข้าร่วมกิจกรรมกับหน่วยงานต่าง ๆ ตัวแทนหรือผู้นำจะนำความรู้ที่ได้รับจากการฝึกทักษะ ความรู้ ไม่ว่าจะเป็นด้านกีฬา ด้านการป้องกันตนเองจากสารเสพติด ด้านการมีส่วนร่วมในการปกครองระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข ถ่ายทอดแก่เพื่อนนักเรียนด้วยกันเสมอ เปิดโอกาสให้คนอื่นได้มีส่วนร่วมชื่นชม ปรับปรุงบริเวณสวนไม้ดอก ไม้ประดับ ในเขตพื้นที่รับผิดชอบของห้องตนเอง เมื่อพบเห็นสิ่งของที่คนอื่นลืมไว้หรือเก็บได้จะนำมาแจ้งครูให้ทราบเสมอ มีความยินดีให้เพื่อนคนอื่นร่วมเล่นอุปกรณ์กีฬาของโรงเรียนด้วยความเต็มใจ จะเข้าแถวรอรับอาหาร และรับเงินทอนเฉพาะในส่วนของตนเอง ถ้าได้รับเกินมาจะคืนให้แม่ค้า เมื่อได้รับแจกอุปกรณ์การเรียนจะรับเท่ากับจำนวนที่มอบให้เท่านั้น งดเว้นการจองโต๊ะ- เก้าอี้นั่งเรียนไว้เผื่อคนอื่นที่มาช้า
4.ประเมินและปรับปรุงรูปแบบการบริหารจัดการสถานศึกษา เพื่อสร้างนักเรียน สร้างสังคม สู่ความพอเพียง และพัฒนาจิตสาธารณะและคุณธรรมพื้นฐาน โรงเรียนเทศบาล ๒ (วัดกะพังสุรินทร์) เทศบาลนครตรัง พบว่า 4.1) ความคิดเห็นของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานโดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่ามีจำนวน 4 ข้อ อยู่ในระดับมากที่สุดโดยข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนทุกวิชา มีการปลูกฝังคุณธรรม ค่านิยมที่ดีงาม และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง คือ ความพอประมาณ ความมีเหตุผล การสร้างภูมิคุ้มกันที่ดี และ 4.2) ความคิดเห็นของครู โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่ามีจำนวน 4 ข้ออยู่ในระดับมากที่สุด โดยข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนทุกวิชามีการปลูกฝังคุณธรรมค่านิยมที่ดีงามและคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง คือ ความพอประมาณ ความมีเหตุผล การสร้างภูมิคุ้มกันที่ดี