รายงานการใช้นวัตกรรม
เรื่อง การพัฒนาผู้เรียนในสถานศึกษาขนาดเล็กให้มีคุณภาพโดยใช้ กระบวนการ Cheng Wang Pit KOBNA Model
ผู้ศึกษา นางสาวประภัสสร ทามาลี
ปีที่รายงาน 2563
การพัฒนาผู้เรียนในสถานศึกษาขนาดเล็กได้มีคุณภาพ โดยใช้กระบวนการ Cheng Wang Pit KOBNA Model โรงเรียนเชียงหวางพิทยาคาร สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 20 มีวัตถุประสงค์ เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนให้สูงขึ้น พัฒนาศักยภาพผู้เรียนตามความสนใจ ความถนัดสู่ความเป็นเลิศ
ประชากร ได้แก่ นักเรียนเชียงหวางพิทยาคาร ปีการศึกษา 2561 จำนวน 89 คน ตัวแปรต้นที่ใช้ในการดำเนินการพัฒนา ได้แก่ การพัฒนาผู้เรียนในสถานศึกษาขนาดเล็กให้มีคุณภาพโดยใช้ กระบวนการ Cheng Wang Pit KOBNA Model ตัวแปรตาม ได้แก่ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนเชียงหวางพิทยาคาร คุณภาพผู้เรียน สู่ความเป็นเลิศ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คู่มือการพัฒนาผู้เรียนในสถานศึกษาขนาดเล็กให้มีคุณภาพโดยใช้ กระบวนการ Cheng Wang Pit KOBNA Model ประกอบด้วย กระบวนการ 8 หน่วยคือ 1) สร้างความตระหนัก (Cooperate) 2) เครือข่ายครู (Wide area netword) 3) การมีส่วนร่วม (Paticipation) 4)ความรู้ คู่ คุณธรรม (Knowledye And Morale) 5) เปิดโอกาสให้นักเรียนมีส่วนร่วม (Open) 6)ความสามารถสมดุลกับกระบวนการเรียน (Balanee) 7)นักเรียนยุค 21 (New generation) 8) ขยายผลต่อยอดองค์ความรู้ Aehievement )
ผลที่เกิดจากการดำเนินงาน
ด้านนักเรียน
1. นักเรียนได้เรียนตามความถนัด ความสนใจตามศักยภาพ
2. นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ที่สูงขึ้น และได้รับรางวัลการแข่งขันทักษะทางวิชาการในระดับต่างๆมากขึ้น
3. นักเรียนมีเจนคติที่ดีต่อตนเองและอยู่ร่วมกันกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข เป็นสมาชิกที่ดีของครอบครัว ชุมชนและสังคม
4. นักเรียนมีทักษะอาชีพ และเห็นคุณค่าของการมีงานทำมีรายได้ระหว่างเรียน สามารถนำไปปรับใช้กับชีวิตประจำวันได้
5. นักเรียนมีความภาคภูมิใจสนใจในการเข้าร่วมกิจกรรมศิลปวัฒนธรรม และประเพณีอันดีงานของท้องถิ่น
6. นักเรียนเป็นผู้มีจิตอาสา เห็นประโยชน์ส่วนรวม มากกว่าส่วนตน รู้จักเสียสละในการช่วยเหลือผู้อื่นและบำเพ็ญตนให้เป็นประโยชน์
ด้านผู้สอน
1. ผู้สอนมีความรู้ความเข้าใจ และพร้อมที่จะพัฒนาตนเองอยู่เสมอ
2. ผู้สอนมีการจัดกิจกรรมการเรียนรู้สอดคล้องกับความสนใจและความถนัดของผู้เรียนเน้นรายบุคคล
3. ครู มีการถ่ายทอด เทคนิค วิธีการ ที่หลากหลาย เสียสละ อดทน มุ่งมั่น เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ สอดแทรกคุณธรรม จริยธรรม และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ในการจัดกิจกรรมการสอน
4. มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้แก้ปัญหาร่วมกันอย่างเป็นระบบ
ด้านผู้บริหาร
1. ผู้บริหารสถานศึกษาได้รับการยอมรับ จากคณะกรรมการสานศึกษาขั้นพื้นฐาน ชุมชน หน่วยงานต้นสังกัด ตลอดจนหน่วยงานอื่นๆทั้งภาครัฐและเอกชน
2. มีความร่วมมือระหว่าง ผู้บริหาร ครูผู้สอน นักเรียน ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษา ในการจัดแหล่งเรียนรู้และระดมทรัพยากรเพื่อการศึกษา
3. ได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานทางการศึกษาต่างๆสนับสนุนให้ความร่วมมือ ส่งเสริมการเรียนรู้ตามหลักสูตร
4. นำเทคโนโลยีมาใช้ สนับสนุนในการจัดกิจกรรมการสอนอย่างเหมาะสม
5. ผู้บริหารให้การสนับสนุนในการจัดหา สื่อ อุปกรณ์ และแหล่งเรียนรู้ภายในสถานศึกษาด้วยความหลากหลาย
บทสรุป
สิ่งที่ได้รับ การพัฒนาผู้เรียนสถานศึกษาในสถานศึกษาขนาดเล็กให้มีคุณภาพโดยใช้กระบวนการ
Cheng Wang Pit KOBNA MODEL
ข้อเสนอแนะ
1. สร้างความตระหนักแก่บุคลากรในการพัฒนานวัตกรรม
2. ผู้ปกครองต้องให้ความสำคัญต่อการจัดกระบวนการเรียนการสอนและให้ความร่วมมือในการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน
3. ขอความอนุเคราะห์หน่วยงานต้นสังกัดในการสนับสนุนวิทยากร ศึกษานิเทศก์ ในการดำเนินกิจกรรมต่างๆ