ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิด Active Learning เพื่อพัฒนาทักษะ
การอ่านและการเขียน โดยใช้นิทานพื้นบ้านปักษ์ใต้บ้านเรา สำหรับนักเรียน
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3
ชื่อผู้วิจัย นางพีรภรณ์ บุญสมพร
ปีการศึกษา 2561
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิด Active Learning เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านและการเขียน โดยใช้นิทานพื้นบ้านปักษ์ใต้บ้านเรา สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 2) สร้างและพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิด Active Learning เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านและการเขียน โดยใช้นิทานพื้นบ้านปักษ์ใต้บ้านเรา สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 3) ทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิด Active Learning เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านและการเขียน โดยใช้นิทานพื้นบ้านปักษ์ใต้บ้านเรา สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 และ 4) ประเมินผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิด Active Learning เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านและการเขียน โดยใช้นิทานพื้นบ้านปักษ์ใต้บ้านเรา สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ใน การวิจัยครั้งนี้ เป็นนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3/2 โรงเรียนเทศบาล ๑ (ชุมชนบ้านอุดมทอง) สังกัดกองการศึกษา เทศบาลตำบลพะตง อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา จำนวน 33 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ หนังสือนิทานพื้นบ้านปักษ์ใต้บ้านเรา แบบสัมภาษณ์ แบบประเมินความเหมาะสม แบบทดสอบ และแบบประเมินความพึงพอใจ การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทีแบบไม่อิสระ และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis)
ผลการวิจัย พบว่า
ตอนที่ 1 ผลการศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิด Active Learning เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านและการเขียน โดยใช้นิทานพื้นบ้านปักษ์ใต้บ้านเรา สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 พบว่า ภาษาไทยนั้นเป็นภาษาแม่ของคนทั้งชาติ เป็นทั้งศิลปวัฒนธรรม และเป็นเอกลักษณ์อันสำคัญยิ่ง แต่นักเรียนที่เป็นคนไทยกลับอ่านหนังสือไม่คล่อง เขียนไม่คล่อง พูดไม่ชัดเจนแม้จะจบชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 แล้วก็ยังมีอีกจำนวนมากที่อ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ นอกจากนี้ยังพบว่า เด็กสมัยนี้ไม่ชอบอ่านหนังสือ ซึ่งสาเหตุให้เด็กไม่ชอบอ่านหนังสืออาจเป็นเพราะสื่อมวลชนด้านต่าง ๆ ทั้งโทรทัศน์ วีดีทัศน์ คอมพิวเตอร์ เหล่านี้ล้วนแต่อำนวย ความสะดวกให้นักเรียนได้เรียนรู้และทราบข่าวสารได้รวดเร็ว จึงทำให้เด็ก ๆ สูญเสียเวลาที่ควรจะอ่านหนังสือบ้าง เด็กที่ไม่ชอบอ่านหนังสือก็จะทำให้มีผลต่อสติปัญญาที่ไม่มีการพัฒนาไปด้วยเช่นกัน
ตอนที่ 2 ผลการสร้างและการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิด Active Learning เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านและการเขียน โดยใช้นิทานพื้นบ้านปักษ์ใต้บ้านเรา สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่พัฒนาขึ้นมีชื่อว่า WLPEA Model ประกอบด้วย กระบวนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ 5 ขั้นตอนดังนี้ 1) ขั้นเตรียมความพร้อม (Worm Up) 2) ขั้นเรียนรู้เรื่องราว (Learning about) 3) ขั้นการฝึก (Practice) 4) ขั้นประเมินความรู้ (Evaluation) และ 5) ขั้นการนำไปใช้ (Application) มีองค์ประกอบคือ หลักการ วัตถุประสงค์ กระบวนการจัดกิจกรรม การเรียนรู้ สิ่งที่เสริมสร้างการเรียนรู้ และเงื่อนไขในการใช้รูปแบบการเรียนรู้ ผลการประเมิน ความเหมาะสมการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ พบว่า รูปแบบการเรียนรู้โดยภาพรวมมีความเหมาะสมและความเป็นไปได้ อยู่ในระดับมากที่สุด
ตอนที่ 3 ผลการทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิด Active Learning เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านและการเขียน โดยใช้นิทานพื้นบ้านปักษ์ใต้บ้านเรา สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 85.88/84.12 เมื่อเทียบกับประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 ปรากฏว่า สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้
ตอนที่ 4 ผลการประเมินผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิด Active Learning เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านและการเขียน โดยใช้นิทานพื้นบ้านปักษ์ใต้บ้านเรา สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 พบว่า นักเรียนมีคะแนนเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และผลการประเมินความพึงพอใจต่อการทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิด Active Learning เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านและการเขียน โดยใช้นิทานพื้นบ้านปักษ์ใต้บ้านเรา สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด