บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนากิจกรรมการเรียนการสอนวิชาฟิสิกส์
เรื่อง การเคลื่อนที่แบบโพรเจกไทล์และการเคลื่อนที่แบบวงกลม ตามทฤษฏีการสร้างองค์ความรู้
โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem-Based Learning) และเพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน กลุ่มเป้าหมายคือ
นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2562 โรงเรียนสาหร่ายวิทยาคม สังกัดองค์การ
บริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา จำนวน 45 คน
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ 1) เครื่องมือที่ใช้ในการปฏิบัติการ ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้
วิชาฟิสิกส์ เรื่อง การเคลื่อนที่แบบโพรเจกไทล์ และการเคลื่อนที่แบบวงกลม โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน
2) เครื่องมือที่ใช้ผลการสะท้อนปฏิบัติการ ได้แก่ แบบบันทึกการสัมภาษณ์ผู้เรียน แบบบันทึกการสังเกตการณ์การจัดการเรียนการสอน และแบบบันทึกการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน 3) เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินผลการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน คือ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ใบงาน
และแบบฝึกทักษะ
การวิจัยครั้งนี้ใช้หลักการวิจัยเชิงปฏิบัติการ ตามแนวคิดของ Stephen Kermis
และ Robin Mc Taggart ซึ่งมีวงจรปฏิบัติการ 3 วงจร คือ วงจรปฏิบัติการที่ 1 ประกอบด้วย
แผนการจัดการเรียนรู้ปฐมนิเทศและแผนการจัดการเรียนรู้ที่ 1-2 วงจรปฏิบัติการที่ 2 ประกอบด้วย
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 3-5 และวงจรปฏิบัติการที่ 3 ประกอบด้วยแผนการจัดการเรียนรู้ที่ 6-10 ในวงจรปฏิบัติการมีใบงานมีใบงานประกอบทั้งหมด 10 ใบงาน ในแต่ละวงจรปฏิบัติการจะมีการสะท้อนผลการปฏิบัติโดยผู้วิจัย ครูผู้ร่วมวิจัย และนักเรียน เพื่อปรับปรุงแผนการจัดการเรียนรู้ในวงจรต่อไปให้ประสิทธิภาพมากขึ้น หลังการเรียนแต่ละแผนจะมีแบบทดสอบหลังเรียน และมีแบบฝึกทักษะในบางแผน เมื่อปฏิบัติครบทั้ง 3 วงจร จะมีการทดสอบท้ายบทเรียนอีกครั้ง เพื่อนำผลผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่ได้จาการทดสอบหลังเรียนและการทดสอบท้ายบทเรียน มาประกอบการประเมินผลของการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนเรื่อการเคลื่อนที่แบบโพรเจกไทล์ และการเคลื่อนที่แบบวงกลม ตามทฤษฏีการสร้างองค์ความรู้ โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน
การวิเคราะห์ข้อมูลแบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ 1) การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ
โดยการนำข้อมูลที่ได้จากการสังเกตโดยผู้วิจัย ครูผู้ร่วมวิจัยและการสัมภาษณ์ผู้เรียน มาวิเคราะห์
ตีความและสรุปผล 2) ข้อมูลเชิงปริมาณ การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ โดยนำคะแนนใบงาน
แบบฝึกทักษะและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนมาหาค่าเฉลี่ย และร้อยละ
ผลที่ได้จากการพัฒนากิจกรรมการเรียนการสอนในวิชาฟิสิกส์ เรื่อง การเคลื่อนที่
แบบโพรเจกไทล์และการเคลื่อนที่แบบวงกลม ตามทฤษฏีสร้างองค์ความรู้ โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน
คือนักเรียนร้อยละ 84.44 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนผ่านเกณฑ์ ร้อยละ 70.00 และนักเรียนได้คะแนนใบงานเฉลี่ยร้อยล่ะ 82.00 ซึ่งผ่านเกณฑ์ร้อยละ 70.00 ได้คะแนนจากแบบฝึกทักษะเฉลี่ย ร้อยละ 72.00 ซึ่งผ่านเกณฑ์ ร้อยละ 70.00 ได้คะแนนจากแบบทดสอบท้ายแผนเฉลี่ยร้อยละ 76.70 ซึ่งผ่านเกณฑ์ ร้อยละ 70.00