บทคัดย่อ
ชื่อ รายงานการพัฒนาโครงการเกษตรอินทรีย์ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอแคนดง จังหวัดบุรีรัมย์
ผู้ศึกษา นายณัฐพงษ์ ทองหล่อ
ตำแหน่ง ผู้อำนวยการสถานศึกษา ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย
อำเภอแคนดง จังหวัดบุรีรัมย์
วิทยฐานะ ผู้อำนวยการชำนาญการพิเศษ
ปีที่ศึกษา 2562
การพัฒนาโครงการเกษตรอินทรีย์ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอแคนดง จังหวัดบุรีรัมย์ มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาผลการดำเนินงานโครงการเกษตรอินทรีย์ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงจำนวน 4 กิจกรรม คือ การทำปุ๋ยหมักชีวภาพจากเศษพืช การทำน้ำหมักชีวภาพจากเศษอาหาร การทำสารขับไล่แมลง และการปลูกผักสวนครัว
ปลอดสารพิษ 2) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้เรียน ครูและผู้ปกครองที่มีต่อการดำเนินงานโครงการเกษตรอินทรีย์ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และ 3) เพื่อนำเสนอการขยายผลโครงการเกษตรอินทรีย์
ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่ชุมชน การดำเนินงานแบ่งออกเป็น 4 ระยะ ดังนี้ ระยะที่ 1 การศึกษาสภาพปัจจุบันของชุมชนและสถานศึกษา ระยะที่ 2 การวางแผนการดำเนินงานโครงการ
ระยะที่ 3 การดำเนินงานตามโครงการ และระยะที่ 4 การประเมินผลโครงการ
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย แบบประเมินพฤติกรรมการจัด
กิจกรรมการเรียนรู้ของครู แบบประเมินพฤติกรรมการเรียนรู้ของผู้เรียน แบบสอบถามความพึงพอใจ
ต่อการดำเนินโครงการเกษตรอินทรีย์ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง จำนวน 2 ฉบับ คือ
สอบถามผู้เรียน จำนวน 1 ฉบับ สอบถามครูและผู้ปกครอง จำนวน 1 ฉบับ และแบบสำรวจ
ข้อมูลชุมชนที่ทำการเกษตรอินทรีย์ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง การเก็บรวบรวมข้อมูล
จากผู้ที่เกี่ยวข้องคือ ผู้เรียน จำนวน 40 คน ครู จำนวน 9 คน และผู้ปกครอง จำนวน 40 คน
การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพื้นฐาน คือ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการศึกษาปรากฏดังนี้
1. ผลการดำเนินงานโครงการเกษตรอินทรีย์ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
มีดังนี้
1.1 พฤติกรรมการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ของครูโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
ค่าเฉลี่ย 4.92
1.2 พฤติกรรมการเรียนรู้ของผู้เรียนโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ค่าเฉลี่ย 4.65
1.3 พฤติกรรมผู้เรียนตามหลักการ 3 ห่วง 2 เงื่อนไข พบว่า รายการประเมินมีค่าเฉลี่ย
มากที่สุดทุกด้าน โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ เงื่อนไขคุณธรรม ค่าเฉลี่ย 4.77
2. การศึกษาความพึงพอใจที่มีต่อการดำเนินงานโครงการเกษตรอินทรีย์ตามหลักปรัชญา
ของเศรษฐกิจพอเพียงมีดังนี้
2.1 ความพึงพอใจของผู้เรียนโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ค่าเฉลี่ย 4.78
2.2 ความพึงพอใจของครูและผู้ปกครองโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ค่าเฉลี่ย 4.77
3. การศึกษาการขยายผลโครงการเกษตรอินทรีย์ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
สู่ชุมชน พบว่า การขยายผลจากสถานศึกษาสู่ชุมชนมีการตั้งกลุ่มปลูกผักปลอดสารพิษ และกลุ่มเกษตรอินทรีย์ นอกจากนี้ยังมีการนำเสนอกับบุคคล หน่วยงานที่มาศึกษาดูงานและแลกเปลี่ยนเรียนรู้อยู่เสมอ