บทคัดย่อ
ชื่อเรื่อง การพัฒนาผลสัมฤทธิ์การอ่านจับใจความสำคัญของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓
ด้วยวิธีการจัดการเรียนรู้แบบ SQ๔R โดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะภาษาไทย โรงเรียนเทศบาลบ้านห้วยอ้อ กองการศึกษา เทศบาลตำบลห้วยอ้อ จังหวัดแพร่
ผู้ศึกษา นางศรัญญา ม่วงเลี้ยง ตำแหน่งครู วิทยฐานะ ชำนาญการ
สถานศึกษา โรงเรียนเทศบาลบ้านห้วยอ้อ กองการศึกษา เทศบาลตำบลห้วยอ้อ จังหวัดแพร่
ปีการศึกษา ๒๕๖๑
การศึกษาในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ ๑) เพื่อหาประสิทธิภาพของการจัดการเรียนรู้การอ่านจับใจความสำคัญของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓ ด้วยวิธีการจัดการเรียนรู้แบบ SQ๔R โดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะภาษาไทย ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ ๘๐/๘๐ ๒) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ด้านการอ่านจับใจความสำคัญ ก่อนและหลังเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓ ด้วยวิธีการจัดการเรียนรู้แบบ SQ๔R โดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะภาษาไทย ๓) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้การอ่านจับใจความสำคัญของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓ ด้วยวิธีการจัดการเรียนรู้แบบ SQ๔R โดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะภาษาไทย
ประชากรในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓ โรงเรียนเทศบาลบ้านห้วยอ้อ กองการศึกษา เทศบาลตำบลห้วยอ้อ จังหวัดแพร่ ภาคเรียนที่ ๒ ปีการศึกษา ๒๕๖๑ จำนวน ๓๐ คน
เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ประกอบด้วย ๑) แบบฝึกเสริมทักษะภาษาไทย หน่วยการเรียนรู้ การอ่านจับใจความสำคัญ ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓ โรงเรียนเทศบาลบ้านห้วยอ้อ กองการศึกษา เทศบาลตำบลห้วยอ้อ จังหวัดแพร่ จำนวน ๖ เล่ม ๒) แผนการจัดการเรียนรู้การอ่านจับใจความสำคัญของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓ ด้วยวิธีการจัดการเรียนรู้แบบ SQ๔R โดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะภาษาไทย จำนวน ๖ แผน แผนละ ๓ ชั่วโมง เวลา ๑๘ แผน ทั้งนี้ รวมเวลาในการทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน (ก่อนเรียนและหลังเรียน) รวมเวลาทั้งหมด ๒๐ ชั่วโมง ๓) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ด้านการอ่านจับใจความสำคัญ ก่อนและหลังเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓ ด้วยวิธีการจัดการเรียนรู้แบบ SQ๔R โดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะภาษาไทย แบบปรนัย ๔ ตัวเลือก จำนวน ๓๐ ข้อ และ ๔) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้การอ่านจับใจความสำคัญของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓ ด้วยวิธีการจัดการเรียนรู้แบบ SQ๔R โดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะภาษาไทย ซึ่งเป็นแบบมาตราประมาณค่า (Rating Scale) แบ่งระดับความพึงพอใจออกเป็น ๕ ระดับ คือ มากที่สุด มาก ปานกลาง น้อย และน้อยที่สุด จำนวน ๒๐ ข้อ สถิติที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้า คือ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ t-test (Dependent Samples)
สรุปผลการศึกษา
๑. ประสิทธิภาพของการจัดการเรียนรู้การอ่านจับใจความสำคัญของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓ ด้วยวิธีการจัดการเรียนรู้แบบ SQ๔R โดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะ มีประสิทธิภาพ (E๑/E๒) เท่ากับ ๘๖.๕๔/๘๕.๘๙ ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ ๘๐/๘๐ ที่กำหนดไว้
๒. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓ ที่เรียนด้วยการจัดการเรียนรู้การอ่านจับใจความสำคัญของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓ ด้วยวิธีการจัดการเรียนรู้แบบ SQ๔R โดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะ มีคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติที่ระดับ .๐๕
๓. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓ มีความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้การอ่านจับใจความสำคัญของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓ ด้วยวิธีการจัดการเรียนรู้แบบ SQ๔R โดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะภาษาไทย โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ("μ" =๔.๗๖) และได้พิจารณาเป็นรายข้อพบว่าข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ กิจกรรมการเรียนรู้ SQ๔R ทำให้ผู้เรียนได้ประสบการณ์การเรียนรู้มากขึ้น ("μ" =๔.๙๓) รองลงมาได้แก่ แบบฝึกเสริมทักษะภาษาไทยมีความสะดวกในการนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ และเนื้อหาในแบบฝึกทักษะเหมาะสมกับวัย ไม่ยากและง่ายจนเกินไป ("μ" =๔.๙๐) ตามลำดับ