ชื่อเรื่อง รายงานการพัฒนาเอกสารประกอบการเรียน เรื่อง พุทธธรรมนำชีวิต
สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา
ศาสนาและวัฒนธรรม
ผู้ศึกษา นายเกื้อกูล แก้วจันทร์
กลุ่มสาระการเรียนรู้ สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม
ปีที่รายงาน 2563
บทคัดย่อ
รายงานการพัฒนาเอกสารประกอบการเรียน เรื่อง พุทธธรรมนำชีวิต สำหรับนักเรียน
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม มีวัตถุประสงค์
1. เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพเอกสารประกอบการเรียน เรื่อง พุทธธรรมนำชีวิต สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ตามเกณฑ์ 80/80
2. เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยเอกสารประกอบ
การเรียน เรื่อง พุทธธรรมนำชีวิตสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2561 โรงเรียนเทศบาลตำบลวังผาง สังกัดเทศบาลตำบลวังผาง จังหวัดลำพูน จำนวน 24 คน ได้มาโดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ( )
ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และค่า t-test
ผลการศึกษาพบว่า
1. เอกสารประกอบการเรียน เรื่อง พุทธธรรมนำชีวิต สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม จำนวน 7 เล่ม ที่ผู้รายงานสร้างขึ้น
มีประสิทธิภาพ 83.03/ 87.08 ซึ่งผ่านเกณฑ์ 80/80
2. ผลการทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนก่อนเรียน มีค่าเฉลี่ย 31.25 และ
หลังเรียน มีค่าเฉลี่ย 35.25 เมื่อเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของคะแนนก่อนเรียนกับค่าเฉลี่ยของคะแนนหลังเรียน พบว่า คะแนนสอบหลังเรียนของนักเรียนมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าคะแนนก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ด้วยเอกสารประกอบการเรียน เรื่อง พุทธธรรมนำชีวิต สำหรับนักเรียน
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม
3. นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนด้วยเอกสารประกอบการเรียน เรื่อง พุทธธรรม
นำชีวิต สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ ( =4.48) และเมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนด้วยเอกสารประกอบการเรียน เรื่อง พุทธธรรมนำชีวิต สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม อยู่ในระดับมากถึงมากที่สุด