บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนารูปแบบจัดประสบการณ์โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (PBL) เพื่อส่งเสริมทักษะกระบวนการคิดพื้นฐานของเด็กปฐมวัย 2) เพื่อเปรียบเทียบทักษะกระบวนการคิดพื้นฐานของเด็กปฐมวัยก่อน และหลังการใช้รูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (PBL) 3) เพื่อวัดเจตคติของเด็กปฐมวัยที่ได้รับจัดประสบการณ์โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (PBL) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ เด็กปฐมวัยที่มีอายุ 3-5 ปี ที่กำลังเรียนในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561 ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กวัดบ้านยางน้อย สังกัดกองการศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม องค์การบริหารส่วนตำบลสระบัว ตำบลสระบัว อำเภอแคนดง จังหวัดบุรีรัมย์ จำนวน 21 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive sampling) เครื่องมือที่ใช้ในวิจัย ประกอบด้วย 1) คู่มือการใช้รูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (PBL) เพื่อส่งเสริมทักษะกระบวนการคิดพื้นฐานของเด็กปฐมวัย เป็นแผนการจัดประสบการณ์ตามแนวคิดของรูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (PBL) เพื่อส่งเสริมทักษะกระบวนการคิดพื้นฐานของเด็กปฐมวัย จำนวน 10 หน่วยการเรียนรู้ จำนวน 30 แผน 2) แบบทดสอบทักษะกระบวนการคิดพื้นฐานของเด็กปฐมวัย จำนวน 2 ชุด ๆ ละ 10 ข้อ 3) แบบวัดเจตคติของเด็กปฐมวัยที่มีต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (PBL) เพื่อส่งเสริมทักษะกระบวนการคิดพื้นฐานของเด็กปฐมวัย จำนวน 10 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ความแตกต่างคะแนนก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้ t test
สรุปผลการวิจัย พบว่า
ผลการพัฒนารูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (PBL) เพื่อส่งเสริมทักษะกระบวนการคิดพื้นฐาน ของเด็กปฐมวัยสรุปผลได้ดังนี้
1. รูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (PBL) เพื่อส่งเสริมทักษะ
กระบวนการคิดพื้นฐาน ของเด็กปฐมวัยตามความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญ ในภาพรวม มีความเหมาะสมในระดับมากที่สุด ( = 4.53 S.D. = 0.73)
2. ผลการเปรียบเทียบทักษะกระบวนการคิดพื้นฐานของเด็กปฐมวัยก่อนเรียน หลังเรียน
ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (PBL) พบว่า เด็กปฐมวัยมีทักษะกระบวนการคิดพื้นฐาน หลังเรียนสูงกว่า ก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
3. ผลการศึกษาเจตคติของเด็กปฐมวัยที่มีต่อการจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้สมอง
เป็นฐานปฏิบัติกิจกรรมของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัด การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (PBL) พบว่า
เด็กปฐมวัยมีมีเจตคติต่อรูปแบบการจัดประสบการณ์ในภาพรวม อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.53 S.D. = 0.73)