ผู้วิจัย นางภัทรวดี สิทธิสาร
สถานศึกษา โรงเรียนเสือโก้กวิทยาสรรค์ ตำบลเสือโก้ก อำเภอวาปีปทุม จังหวัดมหาสารคาม
องค์การบริหารส่วนจังหวัดมหาสารคาม
ปีที่วิจัย 2561
บทคัดย่อ
การวิจัยและพัฒนาครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบัน ความต้องการ และแนวทางในการส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ และทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นบูรณาการของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 22) เพื่อพัฒนาโปรแกรมส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ และทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นบูรณาการของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
3) เพื่อประเมินผลการใช้โปรแกรมส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์และทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นบูรณาการของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2โดยผู้วิจัยได้ดำเนินการวิจัยเป็น 3 ระยะ คือระยะที่ 1 ศึกษาสภาพปัจจุบัน ความต้องการ และแนวทางในการส่งเสริมความสามารถ ในการคิดวิเคราะห์ และทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นบูรณาการของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 54 คน โรงเรียนเสือโก้กวิทยาสรรค์ กลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิในการสัมภาษณ์ ได้แก่ ครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ระดับมัธยมศึกษาของสถานศึกษาสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดมหาสารคาม จำนวน 12 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ 1) แบบประเมินองค์ประกอบและตัวชี้วัด 2) แบบสอบถามสภาพปัจจุบันและความต้องการในการส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ และทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นบูรณาการ และ 3) แบบสัมภาษณ์ ระยะที่ 2 สร้างและพัฒนาโปรแกรมส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ และทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นบูรณาการของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 กลุ่มผู้ทรง
คุณวุฒิ ได้แก่ ศึกษานิเทศก์ ผู้บริหารสถานศึกษา และรองผู้บริหารฝ่ายวิชาการ จำนวน 7 คนเครื่องมือที่ใช้ได้แก่ 1) โปรแกรมส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ และทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นบูรณาการ และ 2) แบบประเมินความเหมาะสม ความเป็นไปได้ของโปรแกรมฯ ระยะที่ 3 การประเมินผลการใช้โปรแกรมส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์และทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นบูรณาการของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดมหาสารคามจำนวน20คน และนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนเสือโก้กวิทยาสรรค์จำนวน25 คนเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ 1) โปรแกรมส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ และทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นบูรณาการของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 2) แบบทดสอบวัดความสามารถในการคิดวิเคราะห์และทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นบูรณาการ 3) แบบสอบถามความพึงพอใจ และ 4) แบบประเมินความเหมาะสมความเป็นไปได้และความเป็นประโยชน์สถิติที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และร้อยละ
ผลการวิจัยพบว่า
1. สภาพปัจจุบันด้านความสามารถในการคิดวิเคราะห์ และทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นบูรณาการของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง มีความต้องการในการส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ และทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นบูรณาการ อยู่ในระดับมาก และมีแนวทางในการส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์และทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นบูรณาการได้ว่า ครูควรศึกษารูปแบบกิจกรรมการเรียนรู้และสื่อการเรียนรู้ที่หลากหลาย ควรสร้างสถานการณ์จำลอง เพื่อให้นักเรียนรู้จักการแก้ปัญหาจัดกิจกรรมหลายๆ อย่างรวมทั้งศึกษาวิธีการฝึกให้นักเรียนได้เรียนรู้ทั้งในห้องเรียนและนอกห้องเรียนจัดกิจกรรมให้นักเรียนรู้จักการเชื่อมโยงความสำคัญ ความสัมพันธ์และหลักการ เน้นให้นักเรียนได้รู้จักองค์ประกอบต่างๆ ของการคิดวิเคราะห์และทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นบูรณาการ จัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นการคิดวิเคราะห์ เช่น การใช้คำถามการศึกษาจากแหล่งเรียนรู้ทั้งในห้องเรียนและนอกห้องเรียน
2. การพัฒนาโปรแกรมการส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์และทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นบูรณาการของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 มีผลการประเมินจากผู้ทรงคุณวุฒิโดยรวมมีความเหมาะสมและความเป็นไปได้ อยู่ในระดับมากโปรแกรมมีองค์ประกอบสำคัญคือ หลักการ วัตถุประสงค์ กระบวนการเรียนการสอน สื่อวัสดุอุปกรณ์ และการประเมินผล โปรแกรมมีเนื้อหามุ่งให้ความรู้ความเข้าใจความหมาย ความสำคัญ แนวคิดและทฤษฎีของการคิดวิเคราะห์และทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ และฝึกปฏิบัติด้วยกิจกรรม วิธีการพัฒนาคือ การฝึกอบรมและการเรียนรู้ด้วยตนเอง การวัดและประเมินผลโดยการประเมินความรู้ก่อนและหลังการเข้าร่วมโปรแกรม การประเมินความพึงพอใจของผู้เข้าร่วมโปรแกรม
3. ผลการใช้โปรแกรมส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์และทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นบูรณาการของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 สรุปได้ดังนี้
3.1 โปรแกรมส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์และทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นบูรณาการของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 86.35/83.20
ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด 80/80
3.2 นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 มีคะแนนเฉลี่ยของผลการทดสอบหลังการเข้าฝึกอบรมด้วยโปรแกรมส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์และทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นบูรณาการสูงกว่าก่อนฝึกอบรม ซึ่งแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05
3.3 นักเรียนที่เข้าร่วมโปรแกรมส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์และทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ มีความพึงพอใจโดยรวมอยู่ในระดับมาก
3.4 ครูผู้สอนมีความคิดเห็นต่อโปรแกรมส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ และทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ด้านความเหมาะสม ด้านความเป็นไปได้ และด้านความเป็นประโยชน์ มีระดับเห็นด้วยโดยรวมอยู่ในระดับมากทุกด้าน