ชื่อเรื่อง การประเมินโครงการนิเทศภายในโรงเรียนเทศบาล 2 (วัดใน)
ผู้รายงาน นางกัญญา มีนายน
ปีการศึกษา 2560
บทคัดย่อ
รายงาน เรื่อง การประเมินโครงการนิเทศภายในโรงเรียนเทศบาล 2 (วัดใน) ครั้งนี้เป็น
การประเมินโครงการเชิงประเมิน (Evaluation Research) มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินโครงการนิเทศ
ภายในของโรงเรียนเทศบาล 2 (วัดใน) การประเมินครั้งนี้ใช้รูปแบบการประเมินแบบ CIPP MODEL
โดยทำการประเมินโครงการใน 4 ด้าน คือ 1) เพื่อประเมินสภาวะแวดล้อม (Context Evaluation)
ของโครงการนิเทศภายในของโรงเรียนเทศบาล 2 (วัดใน) 2) เพื่อประเมินปัจจัย (Input Evaluation)
ของโครงการนิเทศภายในของโรงเรียนเทศบาล 2 (วัดใน) 3) เพื่อประเมินกระบวนการ (Process
Evaluation) ดำเนินโครงการนิเทศภายในของโรงเรียนเทศบาล 2 (วัดใน) และ 4) เพื่อประเมินผลผลิต (Product Evaluation) ของโครงการนิเทศภายในของโรงเรียนเทศบาล 2 (วัดใน) กลุ่มตัวอย่าง ประกอบด้วย ครูผู้สอน จำนวน 40 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 14 คนใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) ผู้ปกครองนักเรียนจำนวน 265 คน สุ่มอย่างง่ายโดยเลือกจากผู้ปกครองนักเรียนที่เป็นกลุ่มตัวอย่าง และนักเรียนจำนวน 265 คน รวมทั้งหมด 584 คน เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินเป็นแบบสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับการประเมินโครงการนิเทศภายใน โรงเรียนเทศบาล 2 (วัดใน) เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า สถิติที่ใช้ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการประเมินพบว่า
1. การประเมินโครงการนิเทศภายในโรงเรียนเทศบาล 2 (วัดใน) พบว่า
1.1 ผลการวิเคราะห์ผลการประเมินความคิดเห็นเกี่ยวกับการประเมินโครงการนิเทศภายใน โรงเรียนเทศบาล 2 (วัดใน) โดยรวม อยู่ในระดับมาก ( =3.71) และเมื่อพิจารณาในรายด้าน พบว่า ทุกด้านอยู่ใน ระดับมาก โดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย คือ ด้านสภาพแวดล้อม ( = 3.76 ) ด้านปัจจัยเบื้องต้น ( = 3.73) ด้านผลผลิต ( = 3.69) และด้านกระบวนการดำเนินงาน ( = 3.65 ) ตามลำดับ
1.2 ความคิดเห็นต่อการดำเนินโครงการนิเทศภายในโรงเรียนเทศบาล 2 (วัดใน) ด้าน
สภาพแวดล้อมอยู่ในระดับมาก ( = 3.76 ) และเมื่อพิจารณาในรายข้อ พบว่าทุกข้ออยู่ในระดับมาก โดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย 3 ลำดับแรก คือ ผู้บริหารโรงเรียนตระหนักให้ความสำคัญต่อโครงการนิเทศภายในโรงเรียน ( =3.92)โรงเรียนจัดกิจกรรมการนิเทศภายในที่หลากหลายรูปแบบ และส่งเสริมให้ครูพัฒนากระบวนการจัดการเรียนรู้ ( = 3.85 ) และโครงการนิเทศภายในเป็นกิจกรรมที่ทั่วถึงและมีความต่อเนื่อง ( =3.81) ตามลำดับ
1.3 ความคิดเห็นต่อการดำเนินโครงการนิเทศภายในโรงเรียนเทศบาล 2 (วัดใน) ด้านปัจจัยเบื้องต้น รายด้านมีความเห็นด้วยอยู่ในระดับมาก ( = 3.73 ) และเมื่อพิจารณาในรายข้อพบว่า ทุกข้ออยู่ในระดับมาก โดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย 3 ลำดับแรก คือ มีการวางแผนกิจกรรม ไว้อย่างเหมาะสมชัดเจน ( =3.95 ) สื่อและเครื่องมือในการนิเทศ มีความเหมาะสมกับครูแต่ละสาระการเรียนรู้ ( = 3.86 ) และบุคลากรมีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมการนิเทศภายใน ( = 3.83 ) ตามลำดับ
1.4 ความคิดเห็นต่อการดำเนินโครงการนิเทศภายในโรงเรียนเทศบาล 2 (วัดใน) ด้านกระบวนการดำเนินงาน รายด้านมีความเห็นด้วยอยู่ในระดับมาก ( =3.65 ) และเมื่อพิจารณาในรายข้อพบว่าทุกข้ออยู่ในระดับมากโดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย 3 ลำดับแรก คือ การปฏิบัติตามกิจกรรมที่กำหนดไว้ในปฏิทินการปฏิบัติการนิเทศภายใน ( = 3.84 ) โรงเรียนยกย่องชมเชยผู้รับผิดชอบโครงการหรือกิจกรรมเมื่อประสบผลสำเร็จ ( = 3.77 ) และผู้บริหารโรงเรียนดำเนินการนิเทศทางตรงโดยผู้นิเทศ เช่น การสังเกตการสอนในชั้นเรียน การสาธิต การสอน การให้คำปรึกษา ( = 3.76 ) ตามลำดับ
1.5 ความคิดเห็นต่อการดำเนินโครงการนิเทศภายในโรงเรียนเทศบาล 2 (วัดใน) ด้านผลผลิต รายด้านมีความเห็นด้วยอยู่ในระดับมาก ( = 3.69) และเมื่อพิจารณาในรายข้อพบว่า ทุกข้ออยู่ในระดับมาก โดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย 3 ลำดับแรก คือ ผลการดำเนินการโครงการนิเทศภายในเป็นที่ยอมรับและตรงตามความต้องการของนักเรียน ผู้ปกครองนักเรียนและชุมชน ( = 3.83) นักเรียนมีคุณธรรม จริยธรรมและคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามที่โรงเรียนกำหนด ( = 3.81) และนักเรียนมีทักษะในการทำงาน โดยสามารถทำงานเป็นขั้นตอนและมีประสิทธิภาพ ( = 3.77 ) ตามลำดับ
2. ความพึงพอใจต่อการดำเนินโครงการนิเทศภายในโรงเรียนเทศบาล 2 (วัดใน) โดยรวมมีความเห็นด้วยอยู่ในระดับมาก ( = 3.92 ) และเมื่อพิจารณาในรายข้อ พบว่า ทุกข้ออยู่ในระดับมาก โดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย 3 ลำดับแรก คือ การมีส่วนร่วมของทุกฝ่ายในการดำเนินโครงการ ( = 4.39 ) การสนับสนุนของผู้บริหารโรงเรียนในการดำเนินโครงการ ( = 4.25) ระบบข้อมูลสารสนเทศของโครงการ ( = 4.24) ตามลำดับ