ผู้วิจัย นายมะรุธ เครือเทียร
ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการพิเศษ
สถานที่ทำการวิจัย โรงเรียนบัวขาว อำเภอกุฉินารายณ์ จังหวัดกาฬสินธุ์
ปีรายงานการวิจัย ปีการศึกษา 2562
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานสำหรับการพัฒนารูปแบบ การเรียนการสอนคณิตศาสตร์เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 2) เพื่อการออกแบบและพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนคณิตศาสตร์เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 3) เพื่อศึกษาผลการใช้รูปแบบการเรียนการสอนคณิตศาสตร์เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 4) เพื่อประเมินและปรับปรุงรูปแบบการเรียนการสอนคณิตศาสตร์เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) โดยวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) โดยกำหนดรูปแบบการทดลองแบบหนึ่งกลุ่มทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน (OneGroup Pretest Posttest Design) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6/2 โรงเรียนบัวขาว จำนวน 46 คน ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2561 ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) รูปแบบการเรียนการสอนคณิตศาสตร์เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 2) แผนการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ 3) แบบประเมินความสอดคล้องของรูปแบบการเรียนการสอน 4) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 5) แบบทดสอบวัดความสามารถในการคิดแก้ปัญหา อย่างสร้างสรรค์ และ 6) แบบสอบถามความพึงพอใจ การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าร้อยละ (%) ค่าเฉลี่ย ( ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) การทดสอบค่าที (t-test) (Dependent Samples) และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis)
ผลการวิจัยพบว่า
1. รูปแบบการเรียนการสอนคณิตศาสตร์เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ผ่านการตรวจสอบหาประสิทธิภาพ โดยผู้เชี่ยวชาญและวิจัยเชิงปฏิบัติการรูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้นนี้มีชื่อว่า ESCPE Model โดยมีองค์ประกอบดังนี้หลักการ วัตถุประสงค์ เนื้อหา กระบวนการเรียนการสอน รูปแบบการเรียน การสอนที่พัฒนาขึ้นมีกระบวนการเรียนรู้ 5 ขั้นตอน คือ 1) ขั้นกระตุ้นเตรียมความพร้อม (Encouragement : E) 2) ขั้นศึกษาหาความรู้ (Study : S) ประกอบด้วย 3 ขั้นย่อยได้แก่ (2.1) เผชิญสถานการณ์ปัญหาและแก้ปัญหาเป็นรายบุคคล (2.2) ไตร่ตรองทางปัญญาในกลุ่มย่อย (2.3) เสนอแนวทางในการแก้ปัญหาของกลุ่มย่อยต่อทั้งชั้น 3) ขั้นสรุป (Conclusion : C) 4) ขั้นฝึกทักษะ (Practice : P) และ 5) ขั้นประเมิน (Evaluate : E)
2. ประสิทธิภาพ (E1/E2) ของรูปแบบการเรียนการสอนคณิตศาสตร์เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 เท่ากับ 88.19/84.42 เมื่อเทียบกับเกณฑ์ 80/80 ปรากฏว่ามีประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้
3. ความสามารถในการคิดแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ที่เรียนด้วยรูปแบบการเรียนการสอนคณิตศาสตร์เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหา อย่างสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ก่อนเรียนและหลังเรียนแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยความสามารถในการคิดแก้ปัญหาอย่างอย่างสร้างสรรค์หลังเรียน สูงกว่าก่อนเรียน
4. ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ที่มีต่อรูปแบบการเรียนการสอนคณิตศาสตร์เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์พบว่า นักเรียนมีความ พึงพอใจในภาพรวมอยู่ใน ระดับมาก