ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพของโรงเรียนเทศบาล
11 หนองหิน สังกัดสำนักการศึกษาเทศบาลนครอุดรธานี จังหวัดอุดรธานี
ชื่อผู้วิจัย นางธนพร แก้วชารุณ
ตำแหน่ง ผู้อำนวยการสถานศึกษา วิทยฐานะผู้อำนวยการชำนาญการพิเศษ
โรงเรียนเทศบาล 11 หนองหิน สังกัดสำนักการศึกษา เทศบาลนครอุดรธานี
จังหวัดอุดรธานี
ปีที่วิจัย 2561
บทคัดย่อ
การวิจัยเรื่องการพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ ของโรงเรียนเทศบาล 11 หนองหิน สังกัดสำนักการศึกษา เทศบาลนครอุดรธานี จังหวัดอุดรธานี มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษาการพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพของโรงเรียนเทศบาล 11 หนองหิน สังกัดสำนักการศึกษาเทศบาลนครอุดรธานี จังหวัดอุดรธานี มีวิธีการดำเนินการวิจัยแบ่งออกเป็น 3 ตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 การศึกษา วิเคราะห์ สังเคราะห์ แนวคิด ทฤษฎี และสภาพการณ์การบริหารจัดการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพของโรงเรียนเทศบาล 11 หนองหิน สังกัดสำนักการศึกษาเทศบาลนครอุดรธานี จังหวัดอุดรธานี โดยการเก็บข้อมูลจากการสังเกตและเก็บข้อมูลเชิงประจักษ์ การสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) จากผู้ปฏิบัติงานจริง เพื่อนำข้อมูลที่ได้จากการสัมภาษณ์มาวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) และกำหนดองค์ประกอบของร่างรูปแบบการบริหารจัดการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพของโรงเรียนเทศบาล 11 หนองหิน ขั้นตอนที่ 2 การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ ของโรงเรียนเทศบาล 11 หนองหิน สังกัดสำนักการศึกษา เทศบาลนครอุดรธานี จังหวัดอุดรธานี เป็นการสร้างและพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการ ด้านการดำเนินงานโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ โดยใช้เทคนิคเดลฟาย (Delphi Technique) กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ทรงคุณวุฒิที่มีประสบการณ์เป็นผู้บริหารสถานศึกษาหรือเป็นผู้รับผิดชอบในการบริหารงานส่งเสริมสุขภาพในโรงเรียน หรือมีผลงานวิชาการที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมสุขภาพในโรงเรียน มีวุฒิการศึกษาระดับปริญญาเอกในสาขาการบริหารการศึกษาหรือสาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพ จำนวน 10 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม จำนวน 3 รอบ คือ รอบที่ 1 เป็นแบบสอบถามความคิดเห็น และความเป็นไปได้ของรูปแบบการบริหารจัดการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพของโรงเรียนเทศบาล ๑๑ หนองหิน สังกัดสำนักการศึกษาเทศบาลนครอุดรธานี จังหวัดอุดรธานีและนำข้อมูลมาวิเคราะห์สังเคราะห์จัดทำเป็นแบบสอบถามรอบที่ 2 เกี่ยวกับกิจกรรมการบริหารจัดการในด้านต่าง ๆ ของการดำเนินงาน
โรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ ในลักษณะประเมินค่า 5 ระดับ แล้วให้ผู้ทรงคุณวุฒิให้ความเห็น
และนำมาคำนวณค่ามัธยฐาน (Median) ใช้เกณฑ์การพิจารณากิจกรรมการบริหารจัดการเพื่อนำไปกำหนดรูปแบบที่เหมาะสม กำหนดให้กิจกรรมที่มีค่ามัธยฐาน ตั้งแต่ 3.50 ขึ้นไป และค่าพิสัยระหว่างควอไทล์ (Interquartile Range) ไม่เกิน 1.50 นำมาสร้างแบบสอบถาม รอบที่ 3 โดยใช้ข้อความเดิมแต่เพิ่มค่ามัธยฐานและค่าพิสัยระหว่างควอไทล์ และคำตอบของผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อให้ทบทวนคำตอบในแต่ละข้อและใช้เกณฑ์เดิมในการพิจารณากิจกรรมเพื่อนำไปกำหนดรูปแบบที่เหมาะสม เมื่อดำเนินการครบทั้ง 3 รอบ แล้วจึงสรุปรูปแบบการบริหารจัดการตามการดำเนินงานแต่ละด้านของโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ ขั้นตอนที่ 3 การประเมินรูปแบบการบริหารจัดการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพของโรงเรียนเทศบาล ๑๑ หนองหิน สังกัดสำนักการศึกษาเทศบาลนครอุดรธานี จังหวัดอุดรธานี โดยสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับความเหมาะสมความเป็นประโยชน์และความเป็นไปได้ในการนำรูปแบบไปใช้ กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้รับผิดชอบงานส่งเสริมสุขภาพของโรงเรียน สังกัดสำนักการศึกษาเทศบาลนครอุดรธานี จำนวน 21 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม แบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ และสัมภาษณ์เชิงลึกผู้เกี่ยวข้องกับการใช้รูปแบบ คือ ผู้บริหารของสำนักการศึกษาเทศบาลนครอุดรธานี หัวหน้างานส่งเสริมสุขภาพ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุดรธานี และผู้บริหารสถานศึกษา วิเคราะห์ข้อมูลโดยค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า
1. การศึกษา วิเคราะห์ สังเคราะห์ แนวคิดและทฤษฎีทางการบริหารจัดการ และแนวคิดการดำเนินงานโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพทั้งในประเทศและต่างประเทศ พบว่า แนวคิดกระบวนการบริหารจัดการ ของรอบบินส์; และคูลเตอร์ (Robbins; & Coulter. 2009: 23-24) ที่ประกอบด้วย การวางแผนการจัดองค์กรการชี้นำ และการควบคุม (POLC) มาเป็นกรอบในการศึกษาข้อมูลสภาพการณ์การบริหารจัดการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพของโรงเรียนเทศบาล ๑๑ หนองหิน สังกัดสำนักการศึกษาเทศบาลนครอุดรธานี จังหวัดอุดรธานี โดยยึดแนวทางการดำเนินงานโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพของกรมอนามัยกระทรวงสาธารณสุข เป็นกรอบในการพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการ เนื่องจากมีความสัมพันธ์กับการประเมินรับรองตามเกณฑ์และมาตรฐานโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ
2. การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ ของโรงเรียนเทศบาล ๑๑ หนองหิน สังกัดสำนักการศึกษา เทศบาลนครอุดรธานี จังหวัดอุดรธานี
2.1 การบริหารจัดการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพของโรงเรียนเทศบาล ๑๑ หนองหิน สังกัดสำนักการศึกษาเทศบาลนครอุดรธานี จังหวัดอุดรธานี มีองค์ประกอบในการดำเนินงานจำนวน 7 ด้านและมีกระบวนการบริหารจัดการ ประกอบด้วย 1) การวางแผน 2) การจัดองค์กร 3) การนำและ 4) การควบคุม ของแต่ละองค์ประกอบการดำเนินงานโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพระดับ
ประถมศึกษาโดยมีกิจกรรมในการบริหารจัดการรวมทั้งหมด 87 กิจกรรม จำแนกตามองค์ประกอบ ดังนี้
2.1.1 ด้านการจัดสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพ มีกิจกรรมการบริหารจัดการ จำนวน 16 กิจกรรม
2.1.2 ด้านการบริการอนามัยโรงเรียน กิจกรรมการบริหารจัดการ จำนวน 16 กิจกรรม
2.1.3 ด้านสุขศึกษาในโรงเรียนกิจกรรมการบริหารจัดการ จำนวน 11 กิจกรรม
2.1.4 ด้านโภชนาการอาหารที่ปลอดภัย กิจกรรมการบริหารจัดการ จำนวน 14 กิจกรรม
2.1.5 ด้านการออกกำลังกาย กีฬาและนันทนาการกิจกรรมการบริหารจัดการ จำนวน 11 กิจกรรม
2.1.6 ด้านการให้คำปรึกษาและสนับสนุนทางสังคมกิจกรรมการบริหารจัดการ จำนวน 10 กิจกรรม
2.1.7 ด้านการส่งเสริมสุขภาพบุคลากรกิจกรรมการบริหารจัดการ จำนวน 9 กิจกรรม
2.2 ผลการหาค่ามัธยฐานและค่าพิสัยควอไทล์ตามความคิดเห็นของผู้ทรงคุณวุฒิต่อ กิจกรรมการบริหารจัดการในแต่ละด้านของการดำเนินงานโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพระดับประถมศึกษา พบว่า มีความคิดเห็นต่อกิจกรรมการบริหารจัดการอยู่ในระดับสูง มีค่ามัธยฐาน เท่ากับ 5.00
3. การประเมินรูปแบบการบริหารจัดการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ ของโรงเรียนเทศบาล 11 หนองหิน สังกัดสำนักการศึกษา เทศบาลนครอุดรธานี จังหวัดอุดรธานี
3.1 ผลการประเมินความคิดเห็นของผู้เกี่ยวข้องกับการใช้รูปแบบการบริหารจัดการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ ของโรงเรียนเทศบาล 11 หนองหิน สังกัดสำนักการศึกษา เทศบาลนครอุดรธานี จังหวัดอุดรธานีด้านความเหมาะสม ด้านความเป็นประโยชน์ และความเป็นไปได้ในการนำไปใช้ ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก
3.2 ผลการสัมภาษณ์ข้อมูลเชิงคุณภาพกับผู้ที่เกี่ยวข้องในการนำไปใช้ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก