ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบ PASCE Model เพื่อส่งเสริมความสามารถ ในการคิดแก้ปัญหา ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5
ผู้วิจัย นางวิไลวรรณ อันทะลัย
ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการพิเศษ
ปีที่วิจัย 2561
บทคัดย่อ
การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบ PASCE Model เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหา ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้แบบ PASCE Model เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 2) เพื่อสร้างและพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบ PASCE Model เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 3) เพื่อศึกษาผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบ PASCE Model เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 4) เพื่อประเมินการจัดการเรียนรู้แบบ PASCE Model เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 แหล่งข้อมูลที่ใช้ในการศึกษาผลการทดลองใช้และประเมินการจัดการเรียนรู้ คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561 โรงเรียนเมืองเตาวิทยาคม เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา คือ 1) รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบ PASCE Model เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหา ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 2) แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบ PASCE Model เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 4) แบบวัดความสามารถในการคิดแก้ปัญหา และ 5) แบบประเมินรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบ PASCE Model เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ การทดสอบค่าที (t-test)
สรุปผลการวิจัย
1. ข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้แบบ PASCE Model เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ข้อมูลสภาพปัจจุบันและความต้องการในการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระวิทยาศาสตร์ มุ่งส่งเสริมให้นักเรียนมีทักษะของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 ส่งเสริมการให้ผู้เรียนได้เป็นผู้เสาะแสวงหาความรู้ มากกว่ารับความรู้ เน้นกระบวนการทำงานกลุ่ม มีทักษะการคิดวิเคราะห์ การส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ การใช้เทคโนโลยี จนถึงการสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง ผลการศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบ PASCE Model เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ของครูผู้สอน พบว่า ด้านสภาพปัญหา มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง ("X" ̅ = 3.37, S.D. = 0.17) และด้านความต้องการ มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ( "X" ̅ = 4.27, S.D. = 0.16) ผลการศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบ PASCE Model เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ของนักเรียน พบว่า ด้านสภาพปัญหา มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง ("X" ̅ = 3.40 , S.D. = 0.19) ด้านความต้องการ มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ("X" ̅ = 4.35, S.D. = 0.14)
2. สร้างและพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบ PASCE Model เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ประกอบด้วย 6 องค์ประกอบ คือ องค์ประกอบที่ 1 แนวคิดและทฤษฎีพื้นฐาน องค์ประกอบที่ 2 วัตถุประสงค์ องค์ประกอบที่ 3 ขั้นตอนการจัดการเรียนรู้ ประกอบด้วย 5 ขั้น ดังนี้ 1) ขั้นเตรียมความพร้อมผู้เรียนและกำหนดปัญหา 2) ขั้นวิเคราะห์ปัญหา 3) ขั้นศึกษาค้นคว้าหาวิธีแก้ปัญหา 4) ขั้นร่วมมือกันแก้ปัญหา 5) ขั้นประเมินผลการแก้ปัญหา องค์ประกอบที่ 4 ระบบทางสังคม องค์ประกอบที่ 5 หลักการตอบสนอง และ องค์ประกอบที่ 6 ระบบสนับสนุน เมื่อนำไปให้ผู้เชี่ยวชาญด้านรูปแบบการเรียนรู้ประเมินรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบ PASCE Model เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยผู้เชี่ยวชาญ มีความเหมาะสมในระดับมากที่สุด (X ̅ = 4.45 , S.D. = 0.27) ซึ่งเมื่อพิจารณารายข้อพบว่าทุกข้อมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากขึ้นไป และนำไปทดลองใช้กับนักเรียนแบบภาคสนาม จำนวน 30 คน ซึ่งผลการศึกษาประสิทธิภาพของรูปแบบการจัดการเรียนรู้ เมื่อวิเคราะห์ประสิทธิภาพจากคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน มีค่าเท่ากับ 82.41/82.80 และเมื่อวิเคราะห์คะแนนการคิดแก้ปัญหา มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 82.41/81.24 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 80/80
3. ผลการศึกษาการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบ PASCE Model เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ค่าประสิทธิภาพของรูปแบบการเรียนการสอนเท่ากับ 82.08/84.80 ดัชนีประสิทธิผลของการจัดการเรียนรู้แบบ PASCE Model เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 มีค่าดัชนีประสิทธิผลมีเท่ากับ 0.6697 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผลการวัดความสามารถในการคิดแก้ปัญหา ของนักเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และนักเรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบ PASCE Model เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (x ̅ = 4.43, S.D. = 0.12)
4. ผลการประเมินรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบ PASCE Model เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ความคิดเห็นของผู้ประเมินที่มีต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบ PASCE Model เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 พบว่า โดยภาพรวมมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย 4.86 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 0.25 ผลการประเมินรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบ PASCE Model เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยรวม อยู่ในเกณฑ์ ผ่าน