เรื่องที่ศึกษา : การพัฒนาทักษะการอ่านและเขียนคำคล้องจองของนักเรียน
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนเทศบาลตำบลแวงน้อย โดยใช้วรรณกรรม
เรื่อง คำสอนของพ่อ (การจัดการเรียนรู้โดยใช้วรรณกรรมเป็นฐาน)
ผู้รายงาน : นางนงลักษณ์ ล่ำดี
ปีที่ศึกษา : พ.ศ. 2562
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อสร้างแผนการจัดการเรียนรู้เรียนรู้สำหรับ การพัฒนาทักษะการอ่านและเขียนคำคล้องจอง ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนเทศบาลตำบลแวงน้อย โดยใช้วรรณกรรมเรื่อง คำสอนของพ่อ (การจัดการเรียนรู้โดยใช้วรรณกรรมเป็นฐาน) ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบพัฒนาการทางการเรียน 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้การพัฒนาทักษะการอ่านและเขียนคำคล้องจองของนักเรียน กลุ่มเป้าหมาย คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนเทศบาลตำบลแวงน้อย จังหวัดขอนแก่น ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562 จำนวน 14 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้เพื่อการพัฒนาทักษะการอ่านและ เขียนคำคล้องจองของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนเทศบาลตำบลแวงน้อย โดยใช้วรรณกรรมเรื่อง คำสอนของพ่อ (การจัดการเรียนรู้โดยใช้วรรณกรรมเป็นฐาน) จำนวน 15 แผน ผู้รายงานสร้างขึ้น มีประสิทธิภาพ 90.16 / 84.29 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ ก่อนเรียน หลังเรียน จำนวน 1 ชุด เป็นแบบทดสอบ ปรนัยเลือกตอบ ที่ผู้รายงานสร้างขึ้น มีผลการทดสอบหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน โดยแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ . 05
3) แบบประเมินความพึงพอใจ ของนักเรียนต่อการจัดการเรียนรู้ อยู่ในระดับพอใจมาก
ผลการศึกษา พบว่า
1 ผลการพัฒนาทักษะการอ่านและเขียนคำคล้องจองของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนเทศบาลตำบลแวงน้อย โดยใช้วรรณกรรม เรื่อง คำสอนของพ่อ (การจัดการเรียนรู้โดยใช้วรรณกรรมเป็นฐาน) เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ด้านการอ่านและเขียนคำคล้องจอง กลุ่มสาระการเรียนรู้ ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562 โรงเรียนเทศบาลตำบลแวงน้อย มีประสิทธิภาพ 90.16 / 84.29
2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียน หลังเรียน โดยใช้แผนการจัดการเรียนรู้สำหรับ การพัฒนาทักษะการอ่านและเขียนคำคล้องจองของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนเทศบาลตำบลแวงน้อย โดยใช้วรรณกรรมเรื่อง คำสอนของพ่อ (การจัดการเรียนรู้โดยใช้วรรณกรรมเป็นฐาน) สูงกว่าก่อนเรียนโดยแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ . 05
3. ความพึงพอใจของนักเรียน ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้การพัฒนาทักษะการอ่าน และเขียนคำคล้องจองของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนเทศบาลตำบลแวงน้อย โดยใช้วรรณกรรมเรื่อง คำสอนของพ่อ (การจัดการเรียนรู้โดยใช้วรรณกรรมเป็นฐาน) อยู่ในระดับ มาก