รายงานผลการดำเนินงานที่ดี (Best Practices)
โครงการโรงเรียนส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมนักเรียนของโรงเรียนวัดคอกช้าง
1. Best Practices
1.1 สภาพทั่วไป
การศึกษาเป็นกระบวนการที่สำคัญยิ่งในการพัฒนาคนให้มีคุณภาพมีความสามารถที่จะปรับตัวได้อย่างรู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงต่างๆและมีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ตามความเหมาะสมตามกาลเวลาและของสังคมไทย ดังปรากฏจากนโยบายทางการปฏิรูปการศึกษาให้ความสำคัญสูงสุดกับการปฏิรูปการเรียนรู้ โดยยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง มีการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับความสนใจและความถนัดของผู้เรียน เน้นการปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม เพื่อให้คนสามารถพัฒนาสู่การเป็นคนที่สมบูรณ์ คือ เป็นคนดี คนเก่ง และมีความสุขอย่างแท้จริง
ปัจจุบันปัญหาสังคมเกิดขึ้นรายวันให้เห็นอยู่ทั่วไป ซึ่งหนึ่งในส่วนของผู้กระทำความผิดนั้น มีเยาวชนรวมอยู่เป็นจำนวนไม่น้อย ทั้งนี้เนื่องจากสภาพสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป ส่งผลให้สภาพครอบครัวเปลี่ยนแปลงตามไปด้วย เวลาในการอบรมสั่งสอนบุตรของพ่อแม่ก็น้อยลง ทำให้เยาวชนในชาติกลายเป็นเยาวชนที่มีปัญหา ขาดคุณภาพ โดยเฉพาะปัญหาการขาดคุณธรรม จริยธรรมที่ดีงาม จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการปลูกฝังคุณธรรม ที่ดีงามให้แก่นักเรียนนั้น ซึ่งต้องช่วยกันทุกคนทุกฝ่าย ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน โรงเรียน ครอบครัว อาจต้องใช้เวลานาน ในการกล่อมเกลา ฝึกอบรมนิสัย ต้องใช้เทคนิค วิธีการ และกิจกรรมมากมายหลายรูปแบบในการที่จะพัฒนาให้นักเรียน เยาวชนเป็นคนดี มีคุณธรรมตามที่โรงเรียนและสังคมต้องการ และเพื่อให้เขาเป็นพลเมืองที่ดีของประเทศชาติในอนาคต
1.2 สภาพ/วิธีการดำเนินงานในอดีต
โรงเรียนวัดคอกช้าง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุพรรณบุรี เขต 3 เปิดสอนตั้งแต่ระดับอนุบาลศึกษาปีที่ 2-3 ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6 ผู้ปกครองนักเรียนส่วนใหญ่มีอาชีพเกษตรกรรม รับจ้างทั่วไปและไปทำงานต่างจังหวัด นักเรียนส่วนใหญ่จึงถูกทิ้งให้อยู่กับปู่ย่าตายายหรือญาติพี่น้อง ผู้ปกครองไม่มีเวลาที่จะอบรมสั่งสอนบุตรหลานและมิได้สนใจในเรื่องของการศึกษาเท่าที่ควร เพราะมีปัญหาในด้านของเศรษฐกิจ การแข่งกันทำมาหากิน ทำให้ไม่ได้อบรมสั่งสอนลูกจึงส่งผลให้นักเรียนมีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม การประพฤติตนไม่ถูกต้องตามระเบียบของโรงเรียน ไม่เคารพเชื่อฟังพ่อแม่ผู้ปกครองรวมทั้งครูอาจารย์ เบื่อหน่ายต่อการเรียน พฤติกรรมเบี่ยงเบนและเสี่ยงต่อการติดยาเสพติดเสื่อมถอยทางคุณธรรมและจริยธรรม โรงเรียนวัดคอกช้าง มุ่งเน้นให้นักเรียนได้รับการปลูกฝังและเสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรม ค่านิยมและคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียนอย่างต่อเนื่อง พัฒนาขึ้นตามระดับชั้นและวัยของนักเรียนเพื่อให้นักเรียนเป็นคนที่สมบูรณ์ ทั้งร่างกายและจิตใจ แต่การปลูกฝังและเสริมสร้างคุณธรรมจริยธรรมและคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียนไม่บรรลุผลตามเป้าหมาย เนื่องมาจากนักเรียนในช่วง อายุ 12-18 ปี เป็นวัยที่ไม่มีความมั่นคงในอารมณ์ ไม่ชอบการบังคับ ชอบทำอะไรตามใจตนเองเป็นวัยของการสร้างปัญหาควรได้รับการเอาใจใส่ดูแล สาเหตุอีกประการหนึ่ง คือ ผลจากการเปลี่ยนแปลงทางด้านเศรษฐกิจและสังคมอย่างรวดเร็ว เน้นวัตถุนิยม สังคมเริ่มเปลี่ยนแปลงจากสังคมเอื้ออาทรกันมีการแก่งแย่งชิงดี เอารัดเอาเปรียบ เห็นแก่ตัว ความมีคุณธรรมจริยธรรมเสื่อมลง มีความเจริญทางด้านวัตถุ แต่ความเจริญงอกงามทางด้านจิตใจลดลงผู้ปกครองนักเรียนขาดการดูแลเอาใจใส่และขาดการอบรม เนื่องจากต้องใช้เวลาส่วนใหญ่ในการประกอบอาชีพขาดแบบอย่างที่ดีเมื่ออยู่นอกโรงเรียน แหล่งอบายมุขและสถานเริงรมย์มีมากมายทำให้นักเรียนซึ่งมีอารมณ์อ่อนไหว มีพฤติกรรมที่เบี่ยงเบนเป็นไปในแนวทางที่ไม่พึงประสงค์ ทำให้ไม่ประสบความสำเร็จในด้านการเรียน ด้านสังคม การอยู่ร่วมกัน ประพฤติตัวผิดระเบียบวินัยทางสังคมและบ้านเมือง ทำให้เกิดปัญหาอาชญากรรมเนื่องจากคุณภาพของนักเรียนไม่เป็นที่ต้องการของสังคม
1.3 ลักษณะสำคัญของวิธีหรือแนวทางปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practices)
โครงการโรงเรียนส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมนักเรียน เป็นรูปแบบการจัดกิจกรรมดำเนินการผ่านกิจกรรม 11 กิจกรรม ประกอบด้วย
1) กิจกรรมเดินอย่างมด ดำเนินการเกี่ยวกับ การจัดระเบียบแถวของนักเรียนโดยมีครูผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้ฝึกการเข้าแถว เดินต่อเรียงกันไปไม่แซงคิวจนถึงสถานที่เป้าหมายของนักเรียน
2) กิจกรรมสุขาน่าใช้ร่วมใจรักษา ดำเนินการเกี่ยวกับการ การมอบหมายให้นักเรียนดูแความสะอาดห้องน้ำโดย เน้นความสะอาดของห้องน้ำทั้งภายในและภายนอก มีการจัดเตรียมร้องเท้าไว้เปลี่ยนสับเปลี่ยนก่อนเข้าห้องน้ำ มีกระดาษชำระ มีปริมาณที่พอและมีเวรคอยดูและการใช้ห้องน้ำอย่างถูกวิธีเป็นประจำทุกๆวัน
3) กิจกรรมวางดีมีระเบียบ ดำเนินการเกี่ยวกับการจัดวางดีมีระเบียบ ได้แก่ รองเท้านักเรียน กระเป๋านักเรียน ไม้กวาด และภาชนะต่างๆภายในโรงเรียน โดยมีครูผู้รับผิดชอบเป็นผู้ตรวจและให้คะแนนนักเรียน
4) กิจกรรมหนูกินข้าวหมดหนูทำได้ ดำเนินการเกี่ยวกับการ การฝึกและสร้างข้อตกลงในการรับประทานอาหารกลางวันและการดื่มน้ำ โดยนักเรียนจะทานอาหารกลางวันจนหมดจานและดื่มน้ำหมดแก้วครูผู้รับผิดชอบโครงการจะตักอาหารและสอบถามความต้องการปริมาณอาหารของแต่ะละวัน
5) กิจกรรมไหว้งามตามแบบไทย ดำเนินการเกี่ยวกับการฝึกให้นักเรียนสวัสดี ยิ้มไหว้ทักทายตามมารยาท เมื่อพบกันหรือไหว้ขอบคุณเมื่อได้รับสิ่งของจากครู ผู้ปกครองและบุคคลอื่นๆที่เข้ามาภายในโรงเรียน
6) กิจกรรมช่วยกันคิดแบ่งกันทำนำความสะอาด ดำเนินการเกี่ยวกับการทำความสะอาดเขตบริการประจำชั้นของตนเองประจำวัน โดยมอบหมายให้หัวหน้าห้องและสภานักเรียนเป็นผู้ตรวจความสะอาด รายงานผลและมอบเกียรติบัตร
7) กิจกรรมออมทรัพย์ ดำเนินการเกี่ยวกับการออมทรัพย์ประจำวันกับครูประจำชั้นเรียนตั้งแต่ชั้นอนุบาล ถึง ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
8) กิจกรรมของหายต้องได้คืน ดำเนินการเกี่ยวกับการบันทึกผู้เก็บสิ่งของได้และส่งคืนให้กับเจ้าของผ่านการประชาสัมพันธ์หน้าเสาธงและครูประจำชั้นเรียนและบันทึกไว้เป็นข้อมูลเพื่อมอบเกียรติบัตรยกย่องความดีต่อไป
9) กิจกรรมโรงเรียนวิถีพุทธ ดำเนินการเกี่ยวกับการดำเนินการด้านพุทธศาสนาและวันสำคัญทางศาสนา แต่งกายสัญลักษณ์ด้วยชุดวันพระที่มีสีขาวทุกคน
10) กิจกรรมแยกขยะ ดำเนินการเกี่ยวกับการจัดการอบรมให้ความรู้กับนักเรียน สาธิตการคัดแยกโดยการจัดเตรียมสถานที่รับฝากขยะ ทำบันทึกการฝากและขายเพื่อนำมาเป็นรายได้เสริม
11) กิจกรรมคนดีศรีคอกช้าง ดำเนินการเกี่ยวกับการ ส่งเสริมให้นักเรียนมีจิตอาสาร่วมรักษาความสะอาดของชุมชนและหมู่บ้านโดยนำนักเรียน ครูและผู้ปกครองจัดเก็บขยะเป็นประจำเดือนละ 1 ครั้ง
วัตถุประสงค์
1. เพื่อปลูกฝัง คุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมอันพึงประสงค์ ให้กับนักเรียน
2. เพื่อปลูกฝังให้นักเรียนสามารถปรับตัวอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข
3. เพื่อส่งเสริมให้นักเรียนมีการยอมรับความคิดและวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน
4. เพื่อปลูกฝังให้นักเรียนรู้จักผิดชอบ ชั่วดี และสิ่งที่ควรหรือไม่ควรประพฤติ
เป้าหมาย
ผลผลิต (Outputs)
1. นักเรียนมีคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมอันพึงประสงค์ ให้กับนักเรียน
2. นักเรียนสามารถปรับตัวอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข
3. นักเรียนมีการยอมรับความคิดและวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน
4. นักเรียนรู้จักผิดชอบ ชั่วดี และสิ่งที่ควรหรือไม่ควรประพฤติ
ผลลัพธ์ (Outcomes)
นักเรียนปฏิบัติตามหลักศีลธรรม มีคุณธรรม จริยธรรม อันดีงาม ดำรงตนอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามเป้าหมายของโรงเรียน
4. วิธีดำเนินการ / ขั้นตอน / กระบวนการที่ดีของโรงเรียน
4.1 แต่งตั้งคณะทำงาน
1. แต่งตั้งคณะทำงานโครงการโรงเรียนส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมนักเรียน
2. จัดทำโครงการโรงเรียนส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมนักเรียน
3. ดำเนินการโครงการโรงเรียนส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมนักเรียน
4. ประสานงานกับคณะกรรมการ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
5. ประชาสัมพันธ์ผลรางวัลที่ได้รับแก่นักเรียน ผู้ปกครองและชุมชน ติดตามผลประเมินผลการดำเนินการ
6. จัดประชุมคณะกรรมการสถานศึกษาฯ ผู้ปกครองนักเรียน เพื่อสรุปผลการดำเนินการโครงการโรงเรียนส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมนักเรียน
หลักการ / เหตุผล
4.2 วิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศ
1. สร้างความรู้ความเข้าใจ และความรับผิดชอบเกี่ยวกับโครงการโรงเรียนส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมนักเรียนให้เกิดขึ้นกับนักเรียนคณะครูทุกคน
2. การมีส่วนร่วมของผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย โดยให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมเกี่ยวกับการอบรมส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมนักเรียน
3. เผยแพร่ผลการดำเนินการโครงการโรงเรียนส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมนักเรียน สู่ชุมชน
5. ผลการดำเนินงาน
5.1 ประโยชน์ที่ได้รับจากการดำเนินโครงการ
ผลที่เกิดกับนักเรียน
1. นักเรียนมีคุณธรรม จริยธรรมนักเรียน
2. นักเรียนได้ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์และนักเรียนรู้จักผิดชอบ ชั่วดี และสิ่งที่ควรหรือไม่ควรประพฤติ
3. นักเรียนมีผลการเรียนที่สูงขึ้น
ผลที่เกิดกับโรงเรียน
1. ได้รับการยอมรับจากหน่วยงานและชุมชน
2. ได้แนวปฏิบัติที่เป็นเลิศ Best practice ซึ่งเป็นนวัตกรรมของโรงเรียน
ผลที่เกิดกับชุมชน
1. ชุมชนมีความเชื่อมั่นในการจัดระบบการศึกษาของโรงเรียน
2. ชุมชนได้เยาวชนที่ปฏิบัติตามหลักศีลธรรม มีคุณธรรม จริยธรรม อันดีงาม ดำรงตนอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามเป้าหมายของโรงเรียน
5.2 รางวัลที่ได้รับ
1. เกียรติบัตรโรงเรียนคุณธรรม ระดับ 2 ดาว
2. เกียรติบัตรโรงเรียนคุณธรรม ระดับ 3 ดาว