ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบการสอนตามแนวคิดห้องเรียนกลับด้าน เพื่อส่งเสริมทักษะ
การคิดสร้างสรรค์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง นาฏศิลป์ท้องถิ่น ระดับชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 6
ผู้วิจัย นายจิตติภัส ขวัญส่ง
ปีที่ทำการวิจัย ปีการศึกษา 2561
บทคัดย่อ
การดำเนินการวิจัยครั้งนี้เป็นการพัฒนารูปแบบการสอนตามแนวคิดห้องเรียนกลับด้าน เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดสร้างสรรค์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง นาฏศิลป์ท้องถิ่น ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้กระบวนการของการวิจัยและพัฒนา (Research and development)
4 ขั้นตอน ดังนี้ ขั้นที่ 1 การศึกษาองค์ประกอบ ความต้องการและแนวทางในการพัฒนารูปแบบ
การสอน ขั้นที่ 2 การสร้างรูปแบบการสอน ขั้นที่ 3 การทดลองรูปแบบการสอน ขั้นที่ 4 การศึกษาความพึงพอใจ โดยมีวัตถุประสงค์ดังนี้
1. เพื่อศึกษาองค์ประกอบ ความต้องการและแนวทางในการพัฒนารูปแบบการสอนตามแนวคิดห้องเรียนกลับด้าน เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดสร้างสรรค์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ 1) แบบสอบถามความต้องการในการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดห้องเรียนกลับด้าน เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดสร้างสรรค์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating scale) 5 ระดับของลิเคิร์ท จำนวน 20 ข้อ 2) แบบสัมภาษณ์ เรื่อง แนวทางการพัฒนารูปแบบการสอนตามแนวคิดห้องเรียนกลับด้าน เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดสร้างสรรค์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
2. เพื่อพัฒนารูปแบบการสอนตามแนวคิดห้องเรียนกลับด้าน เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดสร้างสรรค์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง นาฏศิลป์ท้องถิ่น ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แบบสอบถามความเหมาะสมและความถูกต้องของร่างรูปแบบการสอนตามแนวคิดห้องเรียนกลับด้าน เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดสร้างสรรค์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง นาฏศิลป์ท้องถิ่น ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 7 ข้อ 2) แบบสอบถามความเหมาะสมและความถูกต้องของคู่มือการใช้รูปแบบการสอนตามแนวคิดห้องเรียนกลับด้าน เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดสร้างสรรค์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง นาฏศิลป์ท้องถิ่น ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 28 ข้อ 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง นาฏศิลป์ท้องถิ่น ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 เป็นแบบปรนัย ชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ 4) แบบทดสอบทักษะการคิดสร้างสรรค์ เรื่อง นาฏศิลป์ท้องถิ่น ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6
3. เพื่อทดลองรูปแบบการสอนตามแนวคิดห้องเรียนกลับด้าน เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดสร้างสรรค์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง นาฏศิลป์ท้องถิ่น ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง นาฏศิลป์ท้องถิ่น ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 เป็นแบบปรนัย ชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ 2) แบบทดสอบวัดทักษะการคิดสร้างสรรค์ เรื่อง นาฏศิลป์ท้องถิ่น ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 3) คู่มือการใช้รูปแบบการสอนตามแนวคิดห้องเรียนกลับด้าน เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดสร้างสรรค์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง นาฏศิลป์ท้องถิ่น ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6
4. เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการสอนตามแนวคิดห้องเรียนกลับด้าน เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดสร้างสรรค์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง นาฏศิลป์ท้องถิ่น ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนต่อการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการสอนตามแนวคิดห้องเรียนกลับด้าน เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดสร้างสรรค์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง นาฏศิลป์ท้องถิ่น ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 20 ข้อ
การวิเคราะห์ข้อมูลใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การหาประสิทธิภาพ การทดสอบค่าที และการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า
1. การศึกษาองค์ประกอบ ความต้องการและแนวทางในการพัฒนารูปแบบการสอนศิลปะ โดยใช้ทฤษฎีการเรียนรู้แบบร่วมมือ เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดสร้างสรรค์ พบว่า
1.1 รูปแบบมี 4 องค์ประกอบ คือ 1) หลักการ 2) วัตถุประสงค์ 3) กระบวนการสอน4) ระบบสนับสนุน กระบวนการสอน 4 ขั้นตอน มีดังนี้
ขั้นที่ 1 ขั้นเตรียมการสอน (Preparing)
ขั้นที่ 2 ขั้นนำเสนอเนื้อหา (Advising) ขั้นที่ 3 ขั้นค้นหาคำตอบ (Searching) ขั้นที่ 4 ขั้นตรวจสอบทางเลือก (Checking)
1.2 ความต้องการในการจัดการสอนตามแนวคิดห้องเรียนกลับด้าน เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดสร้างสรรค์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
1.3 ผู้ทรงคุณวุฒิมีความเห็นว่า ควรพัฒนารูปแบบการสอนตามแนวคิดห้องเรียนกลับด้าน เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดสร้างสรรค์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โดยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ให้ผู้เรียนไปเรียนที่บ้านและมาทำการบ้านที่โรงเรียน ต้องจัดเตรียมกิจกรรมให้สอดคล้องการสอนตามแนวคิดห้องเรียนกลับด้าน
2. การพัฒนารูปแบบการสอนตามแนวคิดห้องเรียนกลับด้าน เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดสร้างสรรค์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง นาฏศิลป์ท้องถิ่น ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 พบว่า
2.1 รูปแบบมี 4 องค์ประกอบ คือ 1) หลักการ 2) วัตถุประสงค์ 3) กระบวนการสอน 4) ระบบสนับสนุน กระบวนการสอน 4 ขั้นตอน มีดังนี้
ขั้นที่ 1 ขั้นเตรียมการสอน (Preparing)
ขั้นที่ 2 ขั้นนำเสนอเนื้อหา (Advising) ขั้นที่ 3 ขั้นค้นหาคำตอบ (Searching) ขั้นที่ 4 ขั้นตรวจสอบทางเลือก (Checking) ความเหมาะสมและความถูกต้องของร่างรูปแบบการสอนตามแนวคิดห้องเรียนกลับด้าน เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดสร้างสรรค์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง นาฏศิลป์ท้องถิ่น ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
2.2 ความเหมาะสมและความถูกต้องของคู่มือการใช้รูปแบบการสอนตามแนวคิดห้องเรียนกลับด้าน เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดสร้างสรรค์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง นาฏศิลป์ท้องถิ่น ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
2.3 ประสิทธิภาพจากการทดลองใช้รูปแบบการสอนตามแนวคิดห้องเรียนกลับด้าน เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดสร้างสรรค์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง นาฏศิลป์ท้องถิ่น ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 มีค่า 81.11/80.44 เป็นไปตามเกณฑ์ประสิทธิภาพ 80/80 ที่กำหนดไว้
3. ผลการทดลองรูปแบบการสอนตามแนวคิดห้องเรียนกลับด้าน เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดสร้างสรรค์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง นาฏศิลป์ท้องถิ่น ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6
3.1 ประสิทธิภาพของรูปแบบการสอนตามแนวคิดห้องเรียนกลับด้าน เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดสร้างสรรค์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง นาฏศิลป์ท้องถิ่น ระดับชั้นมัธยมศึกษา
ปีที่ 6 มีค่าเท่ากับ 83.13/82.67 สูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่ตั้งไว้
3.2 นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนด้วยรูปแบบการสอนตามแนวคิดห้องเรียนกลับด้าน เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดสร้างสรรค์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง นาฏศิลป์ท้องถิ่น ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3.3 นักเรียนมีความสามารถในการคิดสร้างสรรค์หลังเรียนด้วยรูปแบบการสอนตามแนวคิดห้องเรียนกลับด้าน เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดสร้างสรรค์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง นาฏศิลป์ท้องถิ่น ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
4. ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการสอนตามแนวคิดห้องเรียนกลับด้าน เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดสร้างสรรค์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง นาฏศิลป์ท้องถิ่น ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โดยรวมอยู่ในระดับมาก