ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานบูรณาการการสอนคิด
เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ วิชาสังคมศึกษา เรื่อง
การเปลี่ยนแปลงทางกายภาพและภัยพิบัติทางธรรมชาติของโลก ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5
ชื่อผู้วิจัย นายพงษ์ศักดิ์ ไชยศรีจันทร์ ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะครูชำนาญการพิเศษ
สถานศึกษา โรงเรียนเสือโก้กวิทยาสรรค์ อำเภอวาปีปทุม จังหวัดมหาสารคาม
สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดมหาสารคาม
ปีการศึกษา ภาคเรียนที่ 1ปีการศึกษา 2562
ปีที่พิมพ์ 2562
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ1) เพื่อพัฒนาและหาประสิทธิภาพของรูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานบูรณาการการสอนคิดเพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ วิชาสังคมศึกษา เรื่องการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพและภัยพิบัติทางธรรมชาติของโลก ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5
2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานบูรณาการการสอนคิดเพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ วิชาสังคมศึกษา เรื่องการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพและภัยพิบัติทางธรรมชาติของโลก ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน3) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนที่เรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานบูรณาการการสอนคิดเพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ วิชาสังคมศึกษา เรื่องการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพและภัยพิบัติทางธรรมชาติของโลก
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานบูรณาการการสอนคิดเพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ วิชาสังคมศึกษา เรื่องการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพและภัยพิบัติทางธรรมชาติของโลก ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/1ที่กำลังศึกษาในภาคเรียนที่1ปีการศึกษา 2562โรงเรียนเสือโก้กวิทยาสรรค์อำเภอวาปีปทุม จังหวัดมหาสารคามจำนวน 31คนจาก 1 ห้องเรียนได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม(Cluster Random Sampling)
เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้ประกอบการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานบูรณาการการสอนคิดเพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ วิชาสังคมศึกษา เรื่องการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพและภัยพิบัติทางธรรมชาติของโลก ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 3) แบบทดสอบวัดความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ 4) แบบสอบถามความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบค่าทีแบบไม่อิสระ (t-test dependent)
ผลการวิจัยพบว่า
1. รูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานบูรณาการการสอนคิดเพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ วิชาสังคมศึกษา เรื่องการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพและภัยพิบัติทางธรรมชาติของโลก ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5มีชื่อว่า DAPOIAP Model จากการตรวจสอบโดยผู้เชี่ยวชาญ รูปแบบการจัดการเรียนรู้มีความเหมาะสมและสอดคล้องกันทุกองค์ประกอบ รูปแบบการจัดการเรียนรู้มี 8 องค์ประกอบ คือ หลักการ วัตถุประสงค์ กระบวนการจัดการเรียนรู้ หลักการตอบสนอง ระบบสังคม สิ่งสนับสนุน สาระความรู้ และสิ่งส่งเสริมการเรียนรู้ กระบวนการเรียนรู้มี 7 ขั้นตอน ประกอบด้วย 1) ขั้นกำหนดและให้คำนิยามปัญหา (Define the problems) 2) ขั้นกำหนดสมมติฐาน(Assumptions) 3) ขั้นวางแผนการศึกษาค้นคว้าและการรวบรวมข้อมูล(Plan and collect data) 4) ขั้นจัดระบบข้อมูลและดำเนินการศึกษาค้นคว้า(Organized and conducted the study) 5) ขั้นตีความและสังเคราะห์ความรู้(Interpret and synthesize knowledge)6) ขั้นสรุปและประเมินข้อสรุป (Assessment and conclusion) 7)ขั้นนำเสนอและประเมินผลงาน(Presentation and evaluation) และค่าประสิทธิภาพ(E1/E2) ของรูปแบบการจัดการเรียนรู้ เท่ากับ 84.21/82.90เมื่อเทียบกับเกณฑ์ 80/80 ปรากฏว่ามีประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้
2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานบูรณาการการสอนคิดเพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ วิชาสังคมศึกษา เรื่องการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพและภัยพิบัติทางธรรมชาติของโลก ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
3. ความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนที่เรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานบูรณาการการสอนคิดเพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ วิชาสังคมศึกษา เรื่องการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพและภัยพิบัติทางธรรมชาติของโลก ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.01
4. ความพึงพอใจของนักเรียนที่เรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานบูรณาการการสอนคิดเพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ วิชาสังคมศึกษา เรื่องการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพและภัยพิบัติทางธรรมชาติของโลก ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5อยู่ในระดับมากที่สุด