นวัตกรรม BANKOK MODEL
โรงเรียนบ้านกอกวิทยาคม น้อมนำศาสตร์พระราชาสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน เกิดจากการขับเคลื่อนร่วมกันระหว่างผู้บริหาร คณะครู บุคลากร นักเรียน คณะกรรมการสถานศึกษา ผู้ปกครองชุมชนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและเครือข่ายสถานศึกษาปลอดยาเสพติดและอบายมุข ภายใต้ นวัตกรรม BANKOK MODEL ในการดำเนินการด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในโรงเรียนตามนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการ โครงการสถานศึกษาสีขาวปลอดยาเสพติดและอบายมุข โรงเรียนบ้านกอกวิทยาคม ดำเนินการตามยุทธศาสตร์ ๕ ด้าน กลยุทธ์ ๔ ต้อง ๒ ไม่ ดังนี้ ยุทธศาสตร์ ๕ ด้านได้แก่
๑. ด้านการป้องกัน ประกอบด้วย
๑.๑ การดำเนินงานห้องเรียนสีขาว
๑.๒ การจัดการเรียนการสอนตามแนวทางการจัดการเรียนรู้การสร้างภูมิคุ้มกัน
สารเสพติดเพื่อพัฒนาทักษะชีวิต
๑.๓ การจัดกิจกรรมเชิงสร้างสรรค์เพื่อป้องกันยาเสพติด
๒. ด้านการค้นหา ประกอบด้วย
๒.๑ การจัดทำข้อมูลนักเรียนรายบุคคล
๒.๒ การสุ่มตรวจปัสสาวะของนักเรียนกลุ่มเสี่ยง/กลุ่มเสพ/กลุ่มติด
๒.๓ การคัดกรองจำแนกกลุ่มปลอด/กลุ่มเสี่ยง/กลุ่มเสพ/กลุ่มติด/กลุ่มค้า
๒.๔ การรายงาน การสำรวจสภาพการใช้สารเสพติด/ยาเสพติด
๓. ด้านรักษา ประกอบด้วย
๓.๑ นโยบายในการบำบัดรักษาและส่งต่อ
๓.๒ การดำเนินงาน คลินิกเสมารักษ์ จิตสังคมบำบัดในสถานศึกษา
๔. ด้านการเฝ้าระวัง ประกอบด้วย
๔.๑ การดำเนินงาน ตู้เสมารักษ์ รับเรื่องปัญหายาเสพติดและอบายมุข
๔.๒ เครือข่ายด้านการเฝ้าระวังปัญหายาเสพติดและอบายมุข
๕. ด้านการบริหารจัดการ ประกอบด้วย
๕.๑ มีนโยบายและยุทธศาสตร์
๕.๒ มีแผนงานและโครงการ/กิจกรรม
๕.๓ มีคณะกรรมการดำเนินงานและมีห้องปฏิบัติกิจกรรม
๕.๔ มีความร่วมมือและประสานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องการบูรณาการบริหารแบบ
มีส่วนร่วมกับภาคีเครือข่ายทุกภาคส่วน
๕.๕ มีการกำกับติดตาม ประเมินผล และรายงานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
กลยุทธ์ ๔ ต้อง ได้แก่
๑. มีกลยุทธ์ในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดและบริบทพื้นที่
๒. มีแผนงานยาเสพติดในสถานศึกษาที่ชัดเจน
๓. มีการพัฒนาระบบรองรับยุทธศาสตร์ ๔ ระบบ คือป้องกัน เฝ้าระวัง ดูแลช่วยเหลือ และบริหารจัดการ
4. มีเครือข่ายการทำงานระหว่างนักเรียน ครู ผู้ปกครอง และชุมชน
๒ ไม่ ได้แก่
๑. ไม่ปกปิดข้อมูล กลุ่มเสพ กลุ่มติด กลุ่มค้ายาและไม่ผลักปัญหา และ
๒. ไม่ไล่นักเรียนออกจากสถานศึกษาแต่ต้องนำไปบำบัดรักษาแล้วกลับมาเรียนใหม่ได้โดยเฉพาะกิจกรรมห้องเรียนสีขาวโรงเรียนบ้านกอกวิทยาคม ดำเนินการห้องเรียนสีขาวครบทุกห้อง
คิดเป็นร้อยละ ๑๐๐
การดำเนินกิจกรรมห้องเรียนสีขาว มีดังนี้
๑. องค์ประกอบของกลยุทธ์ห้องเรียนสีขาว ประกอบด้วย
๑.๑ การจัดการให้มีแหล่งเรียนรู้ด้านวิชาการ เช่น จัดบอร์ด จัดทำสื่อที่เป็นสิ่งพิมพ์ หนังสือ วารสาร หนังสือพิมพ์ จดหมายข่าวที่ให้ความรู้เกี่ยวกับยาเสพติด โรคเอดส์
การตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร และอุบัติภัย นำสถานการณ์ข่าวสารทุกด้านมาเสนอให้เพื่อนนักเรียน
รับฟัง
๑.๒ การดูแลช่วยเหลือจัดให้มีนักเรียนแกนนำดูแลช่วยเหลือซึ่งกันและกันตอบสนองปัญหาของพฤติกรรมของนักเรียน ช่วยเหลือด้านการเรียนและให้คำปรึกษาแนะนำ ช่วยเหลือหากไม่สามารถแก้ไขได้ให้รายงานครูที่ปรึกษา
๑.๓ เอื้อเฟื้อด้วยคุณธรรม นักเรียนทุกคนจะต้องมีหลักธรรมคำสอนตามศาสนา
ที่ตนนับถือมาเป็นหลักยึดปฏิบัติในห้องเรียนเช่น พรหมวิหาร ๔ มีความเมตตา มีความกรุณา มีความมุทิตา และมีความอุเบกขาจะทำให้ทุกคนรักกันช่วยเหลือกัน
๑.๔ กิจกรรมสร้างสรรค์มีกิจกรรมที่สร้างสรรค์ที่จะช่วยให้มีความสามัคคี
และใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ไม่ไปมั่วสุมกับยาเสพติด หรือสื่อลามกอนาจารเช่น การเล่นกีฬา
การเล่นดนตรี ศิลปะและกิจกรรมตามที่กลุ่มสนใจร่วมกันจัดทำมาเพื่อพัฒนาร่างกาย และจิตใจรวมทั้งกิจกรรมทั้งภายในและภายนอกสถานศึกษา
๒. การจัดองค์กรภายในห้องเรียนสีขาว ประกอบด้วย ๔ ฝ่าย ได้แก่
๒.๑ ฝ่ายการเรียน (มีแหล่งเรียนรู้)
๒.๒ ฝ่ายการงาน (ดูแลช่วยเหลือ)
๒.๓ ฝ่ายกิจกรรม (สร้างสรรค์ด้วยกิจกรรม)
๒.๔ ฝ่ายสารวัตรนักเรียน/ กิจการนักศึกษา (เอื้อเฟื้อด้วยคุณธรรม)
การดำเนินโครงการการพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน
โรงเรียนบ้านกอกวิทยาคม จังหวัดกาฬสินธุ์
โดยใช้รูปแบบ BANKOK MODEL ปีการศึกษา 2561
โรงเรียนบ้านกอกวิทยาคมได้น้อมนำวิธีการของศาสตร์พระราชาคือ เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา โดยต้องเข้าใจ เข้าถึง พัฒนา คนวัตถุ สังคม สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรม
เข้าใจ หมายถึง การใช้ข้อมูลที่มีอยู่แล้วการใช้และแสวงหาข้อมูลเชิงประจักษ์ การวิเคราะห์และการวิจัยการทดลองใช้จนได้ผลจริงก่อนเข้าถึง หมายถึงการระเบิดจากข้างในเข้าใจกลุ่มเป้าหมายในการพัฒนา และสร้างปัญญาสังคม
พัฒนา หมายถึงการพัฒนาที่ประชาชนเริ่มต้นด้วยตนเอง พึ่งพาตนเองได้และมีต้นแบบในการเผยแพร่ความรู้ให้ประชาชนได้เรียนรู้และนำไปประยุกต์ใช้

การประยุกต์แห่งศาสตร์พระราชา ต้องทำให้ด้วยความรักและด้วยใจต้องประยุกต์ใช้อย่างยั่งยืน ไม่ยึดติดตำรา ปรับตามบุคคล ภูมิสังคมสภาพพื้นที่และสถานการณ์ โดยมีขั้นตอนการบริหารสถานศึกษาสีขาว ปลอดยาเสพติดและอบายมุข ดังนี้
หลักเข้าใจ มี 2 ขั้นตอน
ขั้นที่ 1 Big Dream จุดประกายความฝัน
สร้างแรงบันดาลใจ ทำงานแบบรวมพลัง แบ่งบทบาทหน้าที่ของครูในโรงเรียนเพื่อดำเนินการประชุมวางแผนงาน ตั้งวัตถุประสงค์ กำหนดกลุ่มเป้าหมาย รูปแบบการดำเนินโครงการร่วมกัน
ขั้นที่ 2 Active Learning รังสรรค์กิจกรรม
ออกแบบกิจกรรมเชิงรุก มุ่งเน้น การลงมือปฏิบัติในการทำกิจกรรมโครงการ
หลักเข้าถึง มี 3 ขั้นตอนดังนี้
ขั้นที่ 3 Network ดำเนินงานร่วมเครือข่าย
ประสานงานให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมและวิทยากร ได้แก่ ผู้นำชุมชน หน่วยงานต่างๆ ภาคีเครือข่าย
ขั้นที่ 4 Knowledge สานสายใยความรู้ ให้ความรู้เรื่องยาเสพติด อบายมุข ผลกระทบเมื่อตัดสินใจผิดพลาด การส่งเสริมแนวทางอาชีพแก่นักเรียน เพื่อเป็นพื้นฐานในการคิด การตัดสินใจ และการตระหนักรู้ นำไปสู่คุณลักษณะที่พึงประสงค์
ขั้นที่ 5 Organization สู่ทีมยอดเยี่ยม
กิจกรรมกลุ่มเพื่อสร้างนักเรียนแกนนำ จัดกิจกรรมเชิงสร้างสรรค์ให้นักเรียนได้ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์
หลักพัฒนา มี 1 ขั้นตอนดังนี้
ขั้นที่ 6 Kindness เต็มเปี่ยมด้วยคุณธรรม
ดำเนินการวัดและประเมินผลตามวัตถุประสงค์ของโครงการ ในเรื่องยาเสพติด การป้องกันการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น และการแก้ไขปัญหาในรูปแบบเพื่อนช่วยเพื่อน และคุณลักษณะอันพึงประสงค์
การนำนวัตกรรม BANKOK MODEL สู่การปฏิบัติ
กิจกรรมหรือโครงการที่โรงเรียนบ้านกอกวิทยาคม ได้ดำเนินงานป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในสถานศึกษาตามาตรการ 5 มาตรการ และกลยุทธ์ 4 ต้อง 2 ไม่ ได้แก่
1.1 มาตรการป้องกัน
- ครูพระสอนศีลธรรมหรือครูผู้นำศาสนาสอนจริยธรรมตามแต่ละหลักศาสนา
- ครูตำรวจ
- ครูแกนนำ พ.ส.น.
- กิจกรรมลูกเสือ/เนตรนารี/ยุวกาชาด ต้านยาเสพติด
- การจัดกิจกรรมวัยใสไม่ท้องก่อนวัย ห่างไกลยาเสพติด
- การจัดกิจกรรมต้านยาเสพติดของนักเรียน
- กิจกรรมเสริมสร้างคุณธรรมจริยธรรมตามศาสนา
- กิจกรรมจิตอาสา/บำเพ็ญสาธารณประโยชน์
- กิจกรรมให้ความรู้เกี่ยวกับยาเสพติดหรือการป้องกันยาเสพติด
- กิจกรรมฝึกอาชีพ / แหล่งเรียนรู้ภายในชุมชน
- กิจกรรมส่งเสริมทักษะการเรียนรู้ เช่น กิจกรรมส่งเสริมการอ่าน การใช้เทคโนโลยี
- กิจกรรมกีฬาและนันทนาการ เช่น กิจกรรมวัฒนธรรม ศิลปะ คีตะมวยไทย ฯลฯ
- มีวิทยากรเพื่อการป้องกันยาเสพติดเข้าสอนนักเรียนในสถานศึกษา
- มีการจัดกิจกรรมช่วงเวลาหลังเลิกเรียน
- มีการจัดกิจกรรมในช่วงปิดภาคเรียน
1.2 มาตรการค้นหา
- มีการสำรวจ ค้นหา นักเรียนกลุ่มเสี่ยงเสพ/ติดและกลุ่มค้าโดยอำเภอร่วมกับตำรวจ
- การตรวจปัสสาวะ/ด้วยการคัดกรอง/RE-X-RAY
1.3 มาตรการรักษา
- การจัดตั้งกลุ่มเพื่อนช่วยเพื่อน (นักเรียนแกนนำ ๔ ฝ่าย)
- มีการจัดค่ายปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสำหรับนักเรียนที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยง
- มีการจัดค่ายปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสำหรับนักเรียนที่อยู่ในกลุ่มเสพ
- มีการทำจิตสังคมบำบัดในโรงเรียน
- มีการส่งต่อผู้เสพ/ผู้ติดเข้ารับการบำบัดรักษาที่อื่น
- ดำเนินการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน
- การเยี่ยมบ้านนักเรียน
1.4 มาตรการเฝ้าระวัง
- มีการจัดเจ้าหน้าที่ตำรวจประสานงานในสถานศึกษา
- มีการสำรวจพื้นที่เสี่ยง/ปัจจัยเสี่ยงรอบสถานศึกษาในระยะ 1 กิโลเมตร
- มีการตรวจเยี่ยม/ตรวจตราพื้นที่เสี่ยงรอบสถานศึกษาในระยะ 1 กิโลเมตร
- มีนักเรียนแกนนำต่อต้านยาเสพติด
- มีครูแกนนำที่รับผิดชอบงานด้านยาเสพติด
- มีการจัดตั้งเครือข่ายผู้ปกครองและเครือข่ายจัดระเบียนนักเรียนในสถานศึกษาและชุมชน
1.5 มาตรการบริหารจัดการ
- มียุทธศาสตร์การป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดที่สอดคล้องกับสภาพปัญหาและบริบทในพื้นที่
- มีการจัดทำแผนงานยาเสพติดในสถานศึกษาที่ชัดเจน
- มีการจัดทำคำสั่งมอบหมายหน้าที่ความรับผิดชอบและข้อสั่งการนำนโยบายไปสู่การปฏิบัติ
- มาตรการเสริมแรงพิจารณายกย่องเชิดชูเกียรติ โล่ เกียรติบัตร
- มาตรการลงโทษดำเนินการทางวินัยและอาญา
1.6 กลยุทธ์ 4 ต้อง 2 ไม่
- มีการกำหนดยุทธศาสตร์
- มีการจัดทำแผนปฏิบัติงาน
- มีระบบข้อมูลทั้ง 4 ระบบ ได้แก่ ระบบการป้องกัน ระบบการเฝ้าระวัง
ระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน และระบบการบริหารจัดการ
- มีเครือข่ายการทำงานระหว่างนักเรียน ครู ผู้ปกครองและชุมชน
- ไม่ปกปิดข้อมูลนักเรียนที่เป็นกลุ่มเสี่ยง กลุ่มเสพ และกลุ่มค้า
- ไม่ไล่นักเรียนที่เสพและติดยาเสพติดออกจากสถานศึกษาและนำเข้าสู่ระบบการบำบัดรักษา
ด้านปริมาณ
นักเรียนโรงเรียนบ้านกอกวิทยาคม ปีการศึกษา ๒๕๖๑ จำนวน ๒๘๔ คน ได้รับการจัดกิจกรรมพัฒนาทักษะชีวิตเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันสารเสพติดทุกคน
ด้านคุณภาพ
นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจในโทษและพิษภัยของยาเสพติด มีทักษะในการดำเนินชีวิต ตระหนักรู้และเห็นคุณค่าของตนเองและผู้อื่น มีการคิดวิเคราะห์ ตัดสินใจ และแก้ไขปัญหาอย่างสร้างสรรค์ รู้จักจัดการกับอารมณ์และความเครียด และการสร้างสัมพันธ์ภาพที่ดีกับผู้อื่น มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ และมีภูมิคุ้มกันการติดสารเสพติดอย่างยั่งยืน
จุดเด่น
1. ผู้บริหารครู ผู้ปกครองละชุมชน ให้ความสำคัญกับปัญหายาเสพติดซึ่งเป็นปัญหาที่รัฐบาลกำหนดให้เป็นวาระแห่งชาติ ตั้งใจ เสียสละ และอุทิศเวลาให้กับการปฏิบัติงาน การสร้างภูมิคุ้มกันสารเสพติดในสถานศึกษาการเฝ้าระวังและการป้องกันยาเสพติดไม่ปกปิดข้อมูล ไม่ผลักภาระและประสานความร่วมมือกับฝ่ายสารวัตรนักเรียนและตำรวจกรณีปัญหาความเสี่ยงในการปฏิบัติงานซึ่งต้องเข้าไปเกี่ยวข้องกับยาเสพติด
2. กิจกรรมพัฒนาทักษะชีวิตเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันสารเสพติดให้กับผู้เรียน สอดคล้องกับกลุ่มเป้าหมายและตรงตามสภาพปัญหา
3. สถานศึกษาสอดแทรกทักษะชีวิตเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันการติดสารเสพติดด้วยการบูรณาการการเรียนการสอนทุกกลุ่มสาระ
4. สร้างเครือข่ายการดำเนินงานเพื่อต่อต้านยาเสพติดที่เข้มแข็ง ได้รับความร่วมมือจากทุกภาคส่วนในการดำเนินงานเป็นอย่างดียิ่ง