เรื่อง การพัฒนาการเรียนรู้ภาษาอังกฤษโดยใช้กิจกรรมการเคลื่อนไหวและจังหวะ สำหรับเด็กปฐมวัย
ผู้ศึกษานางณัชมนลักษณ์ ขัดแสนจักร์ ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการพิเศษ
โรงเรียนอนุบาลเทศบาลตำบลร้องกวาง สังกัดเทศบาลตำบลร้องกวาง
ปีที่ศึกษา 2560
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์1) เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพของแผนการจัดประสบการณ์ภาษาอังกฤษโดยใช้กิจกรรมการเคลื่อนไหวและจังหวะสำหรับเด็กปฐมวัย ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน80/80 2)เพื่อหาค่าดัชนีประสิทธิผลของแผนการจัดประสบการณ์ภาษาอังกฤษโดยใช้กิจกรรมการเคลื่อนไหวและจังหวะสำหรับเด็กปฐมวัย 3) เพื่อเปรียบเทียบผลการประเมินพัฒนาการด้านภาษาอังกฤษของเด็กปฐมวัย ก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยแผนการจัดประสบการณ์ภาษาอังกฤษโดยใช้กิจกรรมการเคลื่อนไหวและจังหวะสำหรับเด็กปฐมวัยและ 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของเด็กปฐมวัย ที่มีต่อการเรียนด้วยแผนการจัดประสบการณ์ภาษาอังกฤษโดยใช้กิจกรรมการเคลื่อนไหวและจังหวะสำหรับเด็กปฐมวัย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ใน การวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ เด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 2/2 โรงเรียนอนุบาลเทศบาลตำบลร้องกวาง สังกัดเทศบาลตำบลร้องกวาง จังหวัดแพร่ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 1 ห้องเรียน รวม 30 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) โดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยในการสุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดประสบการณ์ภาษาอังกฤษโดยใช้กิจกรรมการเคลื่อนไหวและจังหวะสำหรับเด็กปฐมวัย จำนวน 4 หน่วย หน่วยละ 5 แผน รวม 20 แผน 2 ) แบบทดสอบท้ายหน่วยการเรียน จำนวน 4 หน่วย หน่วยละ 5 ข้อ เป็นแบบทดสอบแบบปรนัยชนิดเลือกคำตอบ 3 ตัวเลือก 3) แบบทดสอบประเมินพัฒนาการด้านภาษาอังกฤษ สำหรับเด็กปฐมวัย จำนวน 20 ข้อ เป็นแบบทดสอบชนิดเลือกตอบ มีตัวเลือกเป็นรูปภาพ 3 ตัวเลือก 4) แบบประเมินความพึงพอใจของเด็กปฐมวัย ที่มีต่อการเรียนด้วยแผนการจัดประสบการณ์ภาษาอังกฤษโดยใช้กิจกรรมการเคลื่อนไหวและจังหวะสำหรับเด็กปฐมวัย จำนวน 15 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติที่ใช้ทดสอบสมมติฐานโดยใช้ t-test (Dependent Sample)
ผลการศึกษาค้นคว้า พบว่า
1.แผนการจัดประสบการณ์ภาษาอังกฤษโดยใช้กิจกรรมการเคลื่อนไหวและจังหวะ สำหรับเด็กปฐมวัย ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นมีประสิทธิภาพ 82.33/82.67 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่ตั้งไว้
2.ดัชนีประสิทธิผลของแผนการจัดประสบการณ์ภาษาอังกฤษโดยใช้กิจกรรมการเคลื่อนไหวและจังหวะ สำหรับเด็กปฐมวัยมีค่าเท่ากับ 0.6376 ซึ่งหมายความว่า เด็กปฐมวัยที่เรียนด้วยแผนการจัดประสบการณ์ภาษาอังกฤษ โดยใช้กิจกรรมการเคลื่อนไหวและจังหวะ สำหรับเด็กปฐมวัย มีพัฒนาการเพิ่มขึ้น 0.6376 หรือคิดเป็นร้อยละ 63.76
3.พัฒนาการด้านภาษาอังกฤษของเด็กปฐมวัยที่เรียนด้วยแผนการจัดประสบการณ์ภาษาอังกฤษ โดยใช้กิจกรรมการเคลื่อนไหวและจังหวะ สำหรับเด็กปฐมวัย หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
4.ความพึงพอใจของเด็กปฐมวัยที่มีต่อการเรียนด้วยแผนการจัดประสบการณ์ภาษาอังกฤษโดยใช้กิจกรรมการเคลื่อนไหวและจังหวะ สำหรับเด็กปฐมวัย โดยรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก
ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา
ในปัจจุบันภาครัฐได้ให้ความสำคัญของการศึกษาในทุกระดับ เริ่มตั้งแต่ระดับปฐมวัย ระดับประถมศึกษา มัธยมศึกษาและระดับอุดมศึกษา ซึ่งได้มีการกำหนดไว้ในพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542 ด้วย สำหรับการจัดการศึกษาระดับปฐมวัยนั้น ได้มีการจัดทำหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560 ขึ้น เพื่อใช้เป็นแนวทางในการจัดการศึกษาระดับปฐมวัยของประเทศ และมีการจัดทำนโยบายและยุทธศาสตร์การพัฒนาเด็กปฐมวัยระยะยาว พ.ศ.2550-2559 เนื่องจากภาครัฐเล็งเห็นถึงความสำคัญของการวางรากฐานการศึกษาที่ควรเริ่มต้นตั้งแต่ระดับปฐมวัย ซึ่งเป็นช่วงวัยที่มีการพัฒนาได้อย่างรวดเร็วทั้งด้านร่างกายและสติปัญญา ในขณะเดียวกันรัฐบาลได้ให้ความสำคัญของการเรียนรู้ภาษาอังกฤษควบคู่ไปด้วย เพื่อนำพาประเทศสู่การเป็นประชาคมอาเซียน ซึ่งต้องมีการติดต่อสื่อสารกันระหว่างประเทศในภูมิภาคอาเซียน ที่ประกอบด้วยประเทศที่มีภาษาและวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน การรู้ภาษาต่างประเทศจะช่วยสร้างสัมพันธภาพอันดีระหว่างชนชาติไทยและชนชาติอื่น เพราะมีความเข้าใจวัฒนธรรมที่แตกต่างกันของแต่ละเชื้อชาติ ทำให้สามารถปฏิบัติตนต่อกันได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม โดยหลักการทางจิตวิทยาของ เพียเจต์ (Piaget) พบว่า เด็กในช่วงอายุ 35 ขวบนั้น สามารถเรียนภาษาต่างประเทศ (Foreign Language) หรือภาษาที่สอง (Second Language) ควบคู่ไปกับภาษาแม่ (Mother Language) ได้ดี เนื่องจากเด็กในวัยนี้ความสามารถในการรับรู้และพัฒนาการทางสมองทางด้านความทรงจำของเด็กทั้ง วัจนภาษา (Verbal Language) และอวัจนภาษา (Nonverbal Language) กำลังพัฒนาไปได้อย่างดี ดังนั้น การให้เด็กได้มีโอกาสเรียนภาษาอังกฤษในระดับปฐมวัยจึงเป็นการเตรียมความพร้อมให้กับเด็กที่จะเรียนภาษาอังกฤษในระดับประถมศึกษาและในระดับชั้นสูงต่อไป
การจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษในปัจจุบันจึงนับเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการเรียนรู้ของเด็กยุคปัจจุบัน โดยเฉพาะตามนโยบายการเตรียมความพร้อมสู่ประชาคมอาเซียนที่มุ่งให้เด็ก ใช้ภาษาอังกฤษเป็นเครื่องมือในการสื่อสารกับต่างชาติต่างวัฒนธรรม ด้วยเหตุนี้ทุกชาติ ทุกภาษาจึงบรรจุวิชาภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่สองรองลงมาจากภาษาประจำชาติ เป็นแกนหลักของหลักสูตรการศึกษาทุกระดับตั้งแต่ปฐมวัยไปจนถึงการศึกษาตลอดชีวิต ผู้ปกครองและครูสามารถจัดประสบการณ์ภาษาที่สองได้ตามสภาพแวดล้อม ความสนใจ เท่าที่สาระและกิจกรรมการเรียนรู้จะเอื้อให้สามารถเรียนรู้ได้อย่างเหมาะสมกับสภาพเด็ก การเรียนการสอนภาษาอังกฤษระดับปฐมวัย
ได้พื้นฐานแนวคิดจากภาษาอังกฤษระดับเตรียมความพร้อม (Preparatory Level) ซึ่งเป็นการเรียนการสอนเพื่อสร้างพื้นฐานการเรียนรู้ภาษาตามแนวธรรมชาติ เป็นการเรียนที่เน้นความสามารถด้านการฟัง-พูด เป็นเบื้องต้น โดยการร่วมปฏิบัติกิจกรรมการเล่นและกิจกรรมต่างๆ ทำให้เกิดความสุขสนุกสนาน โดยใช้ภาษาในระดับพื้นฐานง่ายๆ ในการเข้าสู่สังคมและการสื่อความ ตลอดจนเรียนรู้คำนามที่เกี่ยวกับคน สัตว์ สิ่งของที่อยู่ใกล้ตัวในชีวิตประจำวันทั่วๆ ไป และคำกิริยาแสดงอาการเคลื่อนไหวต่างๆ ซึ่งจะนำไปสู่การสร้างความสามารถในการสื่อสารด้วยภาษาอังกฤษในระยะต้น (ไพรินทร์ พ่วงจันทร์, 2542, หน้า 12) ซึ่งสอดคล้องกับแนวคิดของ หัสชัย สิทธิรักษ์ (2552 อ้างถึงใน สมโภชน์ พนาวาส, 2556, หน้า 29) ที่กล่าวว่า การเรียนการสอนในระดับเริ่มเรียนรู้ภาษานั้น คงต้องเน้นการมีส่วนร่วมทางภาษาให้มากที่สุด คือ ผู้เรียนต้องเรียนรู้จากการฟังและพูดอย่างเป็นธรรมชาติจนเกิดทักษะ เริ่มจากการพูดในชีวิตประจำวันในครอบครัว แล้วค่อยขยายออกไปสู่โลกภายนอกมากขึ้น เช่นเดียวกับการที่เราเรียนรู้ภาษาแรกจากพ่อแม่ เป็นการเรียนรู้แบบธรรมชาติ ไม่จำเป็นต้องท่องศัพท์ แปล หรือรู้หลักไวยากรณ์ ซึ่งนักการศึกษาเชื่อว่าการเรียนรู้ภาษาตั้งแต่ยังเยาว์วัยสามารถทำให้เด็กได้เรียนรู้และรับรู้ภาษาได้ดี เพราะเป็นช่วงวัยที่มีพัฒนาการด้านต่างๆ มากที่สุด (กุลยา ตันติผลาชีวะ, 2545) แต่จากการสำรวจพัฒนาการเด็กปฐมวัยของ กรมอนามัย (2553 อ้างถึงใน สมโภชน์ พนาวาส, 2556, หน้า 2) พบว่า พัฒนาการรวมปกติของเด็กปฐมวัย ร้อยละ 70.29 เมื่อเปรียบเทียบกับปี พ.ศ. 2550 พบว่า พัฒนาการเด็กปฐมวัยภาพรวมปกติมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ในขณะที่พัฒนาการด้านภาษายังเป็นปัญหามากกว่าด้านอื่นๆ ซึ่งเป็นพัฒนาการพื้นฐานของการพัฒนาสติปัญญาของเด็กในอนาคต ซึ่งพบว่าล่าช้า ร้อยละ 18.88 ผลการวิจัยแสดงให้ เห็นว่าทักษะทางภาษายังเป็นทักษะที่เป็นปัญหาของพัฒนาการเด็กปฐมวัยจึงเป็นทักษะที่ ควรให้ความสำคัญอย่างยิ่งในการจัดการศึกษาให้กับเด็กปฐมวัย เพราะภาษาไม่ว่าจะเป็นภาษาแม่ หรือภาษาอื่นๆ ย่อมมีความสำคัญต่อการสื่อสารและส่งเสริมต่อการพัฒนาด้านอื่นๆ กล่าวคือ เด็กต้องสามารถใช้ภาษาไทยได้อย่างดีและสามารถใช้เรียนรู้ภาษาอื่นเพื่อใช้สื่อสารได้อย่างสากลด้วย
การเรียนภาษาต่างประเทศแตกต่างจากการเรียนสาระการเรียนรู้อื่น เนื่องจากผู้เรียน ไม่ได้เรียนภาษาเพื่อความรู้เกี่ยวกับภาษาเท่านั้น แต่เรียนภาษาเพื่อให้สามารถใช้ภาษาเป็นเครื่องมือในการติดต่อสื่อสารกับผู้อื่นได้ตามความต้องการ ในสถานการณ์ต่างๆ ทั้งในชีวิตประจำวันและการงานอาชีพ การที่ผู้เรียนจะใช้ภาษาได้ถูกต้อง คล่องแคล่วและเหมาะสมนั้นขึ้นอยู่กับทักษะการใช้ภาษา ดังนั้น การจัดการเรียนการสอนที่ดี ผู้เรียนจะต้องมีโอกาสได้ฝึกทักษะการใช้ภาษาให้มากที่สุด ทั้งในห้องเรียนและนอกห้องเรียน การจัดกระบวนการเรียนการสอนต้องสอดคล้องกับธรรมชาติและลักษณะเฉพาะของภาษา การจัดการเรียนการสอนภาษาจึงควรจัดกิจกรรมให้หลากหลาย ทั้งกิจกรรมการฝึกทักษะทางภาษาและกิจกรรมการฝึกผู้เรียนให้รู้วิธีการเรียนภาษาด้วยตนเองควบคู่ไปด้วย อันจะนำไปสู่การเรียนที่พึ่งตนเองได้ (Learner-Independence) และสามารถเรียนรู้ได้ตลอดชีวิต (Lifelong Learning) ทั้งด้านภาษาต่างประเทศโดยใช้ภาษาต่างประเทศเป็นเครื่องมือในการค้นคว้าหาความรู้ในการเรียนวิชาอื่นๆ ในการศึกษาต่อ รวมทั้งในการประกอบอาชีพ ซึ่งเป็นจุดหมายสำคัญประการหนึ่งของการปฏิรูปการเรียนรู้ (กรมวิชาการ, 2544, หน้า 1-2)โดยเฉพาะอย่างยิ่งกระบวนการในการเรียนรู้เป็นเรื่องสำคัญที่ครูจะต้องตระหนักในการจัดการเรียนรู้ผ่านกิจกรรม เกม การเล่น เพลง เล่านิทาน หรือสื่อการสอนที่สอดรับกับเนื้อหานั้น (พิทยาภรณ์ มานะจุติ, 2548, หน้า 1) แนวการสอนภาษาอังกฤษสำหรับเด็กปฐมวัยจึงควรต้องคำนึงถึงพัฒนาการตามวัยและความสามารถ ในการรับรู้ของเด็กเป็นสำคัญ ซึ่งตามหลักพัฒนาการของเด็กวัยนี้เป็นวัยที่เรียนรู้จากความสนใจเป็นหลัก (Emotional-Based Learning) การเรียนรู้จากการเล่น การมีปฏิสัมพันธ์ร่วมกับผู้ใหญ่ โดยส่วนใหญ่จะใช้วิธีการสอนภาษาแบบองค์รวม (Whole Language) ซึ่งครูสามารถทำให้เด็กคุ้นเคยกับภาษาโดยผ่านการร้องเพลง คำคล้องจอง การเคลื่อนไหวและจังหวะ เป็นไปตามธรรมชาติของเด็กปฐมวัยที่ชอบเต้น ชอบร้องเพลง การนำกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะมาประกอบการสอนภาษาอังกฤษให้แก่เด็กปฐมวัย จึงเป็นสิ่งที่สามารถส่งเสริมการเรียนรู้ภาษาอังกฤษได้ นอกจากนี้การที่เด็กเรียนภาษาอังกฤษอย่างสนุกสนาน สามารถเชื่อมโยงการใช้คำศัพท์ที่เรียนไปสู่ชีวิตประจำวัน และยังจะทำให้เด็กมีเจตคติที่ดีต่อการเรียนภาษาอังกฤษด้วย
การจัดการเรียนการสอนวิชาภาษาต่างประเทศ ผู้สอนจำเป็นที่จะต้องรู้ความแตกต่างระหว่างเทคนิคการสอน วิธีสอนและแนวคิดทฤษฎี ซึ่งเป็นที่มาของวิธีสอนแบบต่างๆ วิธีสอน
บางวิธีเป็นที่นิยมใช้กันอยู่นาน บางวิธีถูกนำมาใช้เพียงช่วงระยะเวลาหนึ่งแล้วก็เสื่อมความนิยมไป การที่วิธีสอนแต่ละวิธีไม่ได้รับความนิยมต่อเนื่อง มิใช่เพราะมีความล้มเหลวในการปฏิบัติจริง แต่มีสาเหตุมาจากการเปลี่ยนแปลงด้านแนวคิด ทฤษฎีการเรียนรู้ด้านจิตวิทยา ด้านภาษาศาสตร์ และด้านการศึกษา แนวทางในการจัดการเรียนการสอนภาษาต่างประเทศได้รับอิทธิพลจากแนวคิดใน
ยุคสมัยต่างๆ ของนักปรัชญา นักจิตวิทยาและนักภาษาศาสตร์ ซึ่งเข้ามามีส่วนร่วมในการกำหนดแนวทางในการจัดการเรียนการสอนภาษาหลายแนวทาง ที่ได้พัฒนาไปหลายรูปแบบตามยุคสมัย จนถึงแนวการสอนเพื่อการสื่อสารที่มีลักษณะเด่นชัด คือ เน้นเด็กเป็นศูนย์กลาง (Learner Center) การจัดการเรียนการสอนภาษาตามแนวการสอนเพื่อการสื่อสารมุ่งเน้นกระบวนการเรียนรู้ที่มีการฝึกปฏิบัติ มีการนำภาษาไปใช้ได้จริงตามหน้าที่ของภาษาในการสื่อความหมาย โดยมีเป้าหมายอยู่ที่ การใช้ภาษาสื่อสารในชีวิตจริง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้ภาษาได้เหมาะสมกับสภาพสังคม ดังนั้น การจัดกระบวนการเรียนรู้จะมุ่งให้เด็กมีโอกาสฝึกใช้ภาษาให้มาก และให้มีทักษะใน
การแสวงหาความรู้จากแหล่งการเรียนรู้ต่างๆ ที่มีอยู่หลากหลาย ในการจัดกิจกรรมการเรียน
การสอนผู้สอนจึงควรเลือกใช้กลยุทธ์การเรียนรู้ต่างๆ (Learning Strategies) ที่เหมาะสมกับวัยและระดับชั้นของเด็ก เพื่อให้เด็กมีลีลาการเรียน (Learning Styles) เป็นของตนเอง กลยุทธ์
การเรียนรู้ต่างๆ ได้แก่ กลยุทธ์ในการสื่อสาร ทักษะการทำ ทักษะการถาม การคิดอย่างมีวิจารณญาณ การคิดเชิงสร้างสรรค์ การประเมินตนเอง การวางแผนจัดการเรียนรู้ของตนเอง การใช้วิธีเรียนแบบต่างๆ การทำงานร่วมกับผู้อื่น ฯลฯ ได้เหมาะสมกับตนเองตามระดับชั้น (กระทรวงศึกษาธิการ, 2545, หน้า 18-19)
การเรียนภาษาอังกฤษโดยใช้กิจกรรมเคลื่อนไหวเหมาะที่จะเป็นกิจกรรมของเด็กระดับอนุบาลและระดับประถมศึกษา ทั้งนี้เนื่องจากกิจกรรมการเคลื่อนไหวมิได้มีประโยชน์เฉพาะเด็กที่มีสไตล์การเรียนด้านการเคลื่อนไหว (Kinesthetic Child) เท่านั้น แต่ยังมีประโยชน์ต่อเด็กที่มีสไตล์ การเรียนอื่นๆ ด้วย เช่น เด็กที่เรียนได้ดีจากการดูและการฟัง (Visual and Auditory) นอกจากนั้น การวิจัยยังพบว่ากิจกรรมการเคลื่อนไหวช่วยส่งเสริมการทำงานของสมองอีกด้วย (Hanna, 2006 อ้างถึงใน สุพรรณี บุญเพิ่ม, 2551, หน้า 3) ดังนั้น กิจกรรมการเคลื่อนไหวจึงยังคงมีความสำคัญ เนื่องจากเด็กที่มีความฉลาดด้านการเคลื่อนไหว (Kinesthetic Intelligence) จะแสดงความสามารถในการส่งผ่านข้อมูลโดยการใช้ร่างกาย และจะเรียนรู้ได้ดีเมื่อได้ทำกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับสรีระ ตัวอย่างที่ชัดเจน เช่น เด็กที่มีความฉลาดทางการเคลื่อนไหวจะแสดงออกโดยการเรียนรู้การใช้คอมพิวเตอร์ด้วยตนเอง ทฤษฎีการเรียนรู้ต่างๆ จึงเห็นความสำคัญของการนำเอาความรู้เกี่ยวกับทักษะทางด้านร่างกายมาใช้ร่วมด้วย เช่น การเรียนรู้การอ่านไม่ได้เกี่ยวข้องเฉพาะการใช้สายตาและความสามารถทางภาษาเท่านั้น แต่ยังเกี่ยวกับการพัฒนาการเคลื่อนไหวด้วย เด็กที่มีความถนัดด้านการเคลื่อนไหวจะชอบจับ หรือสัมผัสสิ่งต่างๆ โดยไม่อยู่นิ่ง ชอบพูด ชอบสนทนาโต้ตอบ และจะเรียนได้ดีเมื่อได้ปฏิบัติกิจกรรมทางด้านการเคลื่อนไหวร่างกาย เช่น การเต้นรำ การเล่นกีฬา สร้างงานศิลปะ การปั้น การแสดงละคร การซ่อมเครื่องยนต์ และการใช้คอมพิวเตอร์ (Keith, 2006 อ้างถึงใน สุพรรณี บุญเพิ่ม, 2551, หน้า 3) กิจกรรมการเคลื่อนไหวเป็นกิจกรรมที่เด็กต้องออกกำลังกายเพื่อให้ร่างกายแข็งแรงและจิตใจแจ่มใส ปลอดโปร่ง กิจกรรมเคลื่อนไหวและการออกกำลังกายช่วยพัฒนาความฉลาดด้านมิติสัมพันธ์ และการใช้ร่างกาย หรือส่วนต่างๆ ของร่างกาย นอกจากความคิดสร้างสรรค์ รวมตลอดถึงทักษะในการแก้ปัญหา (นภเนตร ธรรมบวร, 2549, หน้า 169) ดังนั้น การเคลื่อนไหวร่างกายจะมีส่วนช่วยให้เด็กมีพัฒนาการทางด้านร่างกาย และยังสามารถพัฒนาพัฒนาการด้านสติปัญญาด้วย การเคลื่อนไหวเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้เกิดการเรียนรู้ แสดงว่า การเคลื่อนไหวร่างกายก็มีส่วนช่วยให้เด็กจดจำคำศัพท์ภาษาอังกฤษได้
การใช้เพลงประกอบการเรียนการสอนถือว่าเป็นนวัตกรรมทางการศึกษาอย่างหนึ่งใน
วงการศึกษาของไทย มีบทบาทสำคัญที่จะช่วยในการจัดประสบการณ์ให้กับเด็กได้แทบทุกวิชาโดยเฉพาะอย่างยิ่งในระดับปฐมวัย ทั้งนี้เพราะธรรมชาติของเด็กวัยนี้ไม่ว่าจะเป็นเพศชาย
หรือเพศหญิงจะมีความสนใจในการร้องเพลง หรือเคลื่อนไหวร่างกายในลักษณะต่างๆ ให้เข้ากับจังหวะเพลง ครูควรจัดกิจกรรมโดยใช้เพลงประกอบเพื่อเร้าความสนใจ จะทำให้เกิดการเรียนรู้ได้ดีและเพลงยังช่วยให้เด็กกล้าแสดงออก เป็นการปลูกฝังความเชื่อมั่นในตนเองให้แก่เด็ก (เยาวภา เดชะคุปต์, 2542, หน้า 83) เด็ก คือ แหล่งที่มาของเพลง เด็กจะมาโรงเรียนพร้อมกับเพลงที่ชอบ เช่น เพลงที่ร้องที่บ้าน เพลงที่เคยได้ยินจากวิทยุ โทรทัศน์ เทปเพลง เพลงที่เรียนจากพี่น้อง หรือเพื่อน เพลงจากรายการโทรทัศน์ หรือมิวสิควีดีโอที่เด็กจะสนุกเมื่อได้ยิน เด็กวัย 5 ขวบมักมีโอกาสร้องเพลง หรือ ท่องคำคล้องจองที่ชอบ เด็กเล็กๆ จะท่องคำคล้องจองได้โดยไม่รู้ความหมาย ชอบที่จะเคลื่อนไหวประกอบจังหวะ เด็กจะเรียนรู้ที่จะร้องเพลงด้วยตนเองโดยการฟังเพลงและทำนองเพลงก่อน McDonald (นภเนตร ธรรมบวร, 2549, หน้า 167) กล่าวว่า เด็กจะซึมซับ หรือได้ยินเสียงเพลงจากสิ่งรอบข้างของตัวเองตลอดเวลา ไม่ว่าจะเป็นเสียงจากพ่อแม่ เสียงธรรมชาติ เช่น เสียงฟ้าร้อง ฝนตก เสียงลม เสียงสัตว์ร้อง เมื่อโตขึ้นก็จะซึมซับเสียงเพลงจากเทป ซีดี ครูและเพื่อนที่โรงเรียน เด็กจะเรียนรู้เองโดยไม่รู้ตัว จึงทำให้เด็กชอบร้องเพลงหลังจากเด็กคุ้นเคยเป็นพื้นฐาน วิธีการสอนภาษาอังกฤษด้วยเพลงเป็นวิธีการสอนอีกวิธีหนึ่งที่ทำให้เด็กปฐมวัยมีความสามารถและแรงจูงใจในการเรียนภาษาอังกฤษได้อย่างมีประสิทธิภาพ การร้องเพลงและเคลื่อนไหวร่างกายประกอบเพลง เพื่อกระตุ้นและจูงใจให้เด็กเกิดความสนใจ ได้เรียนรู้ตามความต้องการตามธรรมชาติอย่างมีความสุข ตามแนวคิดของ เรมซี่ และ เบย์เลส (Ramsey & Bayless, 1980, pp.148-149) กล่าวว่า การร้องเพลงเป็นองค์ประกอบที่สำคัญ เด็กในวัยนี้ชอบร้องเพลง มีเพลงภาษาอังกฤษมากมายที่เด็กชอบและร้องได้เองโดยที่ไม่ต้องมีใครสอน เช่น เพลงอวยพรวันเกิด (Happy Birthday Song) ตามแนวคิดของ เฟรอเบล เพลง คือ ความสุขในการเรียนรู้ตามธรรมชาติอย่างแท้จริงของเด็กปฐมวัย และมีความเหมาะสมที่จะนำเพลงเข้ามาใช้ในการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาความสามารถในการเรียนภาษาอังกฤษของเด็กปฐมวัยได้เป็นอย่างดี การนำแนวคิดในการเรียนการสอนภาษาอังกฤษของเด็กปฐมวัย โดยการนำธรรมชาติของเด็กปฐมวัยมาเป็นพื้นฐานเพื่อนาไปสู่การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนภาษาอังกฤษระดับเตรียมความพร้อม คือ การนำเพลงเข้ามาพัฒนาความสามารถของเด็กปฐมวัยในการเรียนภาษาอังกฤษ โดยมีความมุ่งหมายเพื่อให้เด็กปฐมวัยได้รู้จักและเตรียมความพร้อมใน การเรียนภาษาอังกฤษ ซึ่งการเรียนภาษาอังกฤษก็จะเป็นเพียงการใช้คำศัพท์ง่ายๆ เช่น การแนะนำตนเอง การทักทายเป็นภาษาอังกฤษ การรู้จักชื่อคน สัตว์ สิ่งของ หรือรู้จักพยัญชนะภาษาอังกฤษ ซึ่งเด็กจะได้รับความสนุกสนานและเรียนรู้ภาษาอังกฤษจากเพลงในลักษณะเรียนปนขับร้อง
ดังนั้น ผู้วิจัยเห็นว่าเด็กปฐมวัยสามารถที่จะเรียนรู้ภาษาอังกฤษได้ตามสภาพความพร้อมและความสนใจของเด็ก โดยใช้กิจกรรมที่เด็กชอบ คือ การร้องเพลง การเคลื่อนไหว ซึ่งจะทำให้เด็กเรียนรู้อย่างสนุกสนานและมีความสุขขณะที่ได้ร้องเพลงและเรียนไปพร้อมๆ กัน การร้องเพลง
จะทำให้เด็กจดจำได้ดีกว่าการท่องจำ หรือการพูดบรรยาย ทำให้เด็กเกิดการซึมซับและจดจำได้ ผู้วิจัยจึงได้นำกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะมาประกอบการสอนภาษาอังกฤษสำหรับเด็กปฐมวัย โดยมุ่งหวังว่าเด็กปฐมวัยจะจดจำคำศัพท์ภาษาอังกฤษเบื้องต้นได้ ไม่เกิดความเบื่อหน่าย และสามารถที่จะเรียนรู้อย่างสนุกสนานพร้อมกับสร้างบรรยากาศในชั้นเรียนได้ดี อีกทั้งทำให้เด็กมีเจตคติที่ดีต่อภาษาอังกฤษ เพื่อให้เด็กกล้าที่จะใช้ภาษาอังกฤษในการสื่อสารกับเจ้าของภาษาอีกด้วย
วัตถุประสงค์ของการวิจัย
1. เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพของแผนการจัดประสบการณ์ภาษาอังกฤษโดยใช้กิจกรรมการเคลื่อนไหวและจังหวะสำหรับเด็กปฐมวัย ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80
2. เพื่อหาค่าดัชนีประสิทธิผลของแผนการจัดประสบการณ์ภาษาอังกฤษโดยใช้กิจกรรม การเคลื่อนไหวและจังหวะสำหรับเด็กปฐมวัย
3. เพื่อเปรียบเทียบผลการประเมินพัฒนาการด้านภาษาอังกฤษของเด็กปฐมวัย ก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยแผนการจัดประสบการณ์ภาษาอังกฤษโดยใช้กิจกรรมการเคลื่อนไหวและจังหวะสำหรับเด็กปฐมวัย
4. เพื่อศึกษาความพึงพอใจของเด็กปฐมวัย ที่มีต่อการเรียนด้วยแผนการจัดประสบการณ์ภาษาอังกฤษโดยใช้กิจกรรมการเคลื่อนไหวและจังหวะสำหรับเด็กปฐมวัย
สมมติฐานของการวิจัย
พัฒนาการด้านภาษาอังกฤษของเด็กปฐมวัย ที่ได้รับการจัดประสบการณ์ด้วยแผนการจัดประสบการณ์ภาษาอังกฤษโดยใช้กิจกรรมการเคลื่อนไหวและจังหวะสำหรับเด็กปฐมวัย หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน
ความสำคัญของการวิจัย
1. ได้แผนการจัดประสบการณ์ภาษาอังกฤษโดยใช้กิจกรรมการเคลื่อนไหวและจังหวะสำหรับเด็กปฐมวัย ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 เพื่อส่งเสริมพัฒนาการด้านสติปัญญาในส่วนของการพัฒนาภาษา ให้เด็กปฐมวัยมีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ตามเป้าหมายของหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2546
2. เด็กปฐมวัย โรงเรียนอนุบาลเทศบาลตำบลร้องกวาง จังหวัดแพร่ สามารถฟังและพูดออกเสียงคำศัพท์ภาษาอังกฤษได้อย่างเหมาะสม
ขอบเขตของการวิจัย
1. ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ เด็กชั้นอนุบาลปีที่ 2 โรงเรียนอนุบาลเทศบาลตำบลร้องกวาง สังกัดเทศบาลตำบลร้องกวาง จังหวัดแพร่ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2558
ซึ่งมีการจัดห้องเรียนแบบคละความสามารถ มีทั้งเด็กที่มีความสามารถในการเรียนระดับเก่ง ปานกลาง อ่อน ในห้องเรียนเดียวกัน จำนวน 2 ห้องเรียน รวม 60 คน
2. กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นเด็กชั้นอนุบาลปีที่ 2/2 โรงเรียนอนุบาลเทศบาลตำบลร้องกวาง สังกัดเทศบาลตำบลร้องกวาง จังหวัดแพร่ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2558 จำนวน 1 ห้องเรียน รวม 30 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) โดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยในการสุ่ม
3. ตัวแปรที่ศึกษา มีดังนี้
3.1 ตัวแปรต้น ได้แก่ แผนการจัดประสบการณ์ภาษาอังกฤษโดยใช้กิจกรรม
การเคลื่อนไหวและจังหวะสำหรับเด็กปฐมวัย
3.2 ตัวแปรตาม ได้แก่
3.2.1 พัฒนาการด้านภาษาอังกฤษของเด็ก
3.2.2 ความพึงพอใจของเด็กที่มีต่อการเรียนด้วยแผนการจัดประสบการณ์ภาษาอังกฤษโดยใช้กิจกรรมการเคลื่อนไหวและจังหวะสำหรับเด็กปฐมวัย
4. เนื้อหาที่ใช้ในวิจัยครั้งนี้ เป็นเนื้อหาภาษาอังกฤษสำหรับเด็กปฐมวัย ตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560 จำนวน 4 หน่วย ดังนี้
4.1 หน่วย Parts of Body ได้แก่ Head, Shoulder, Knee, Toe, Eye, Ear, Nose, Mouth, Arms, Legs
4.2 หน่วย My Family ได้แก่ Daddy, Mummy, Brother, Sister, Me, Baby
4.3 หน่วย Animals ได้แก่ Dog, Cow, Duck, Rabbit, Cat, Bird, Pig, Mouse, Horse, Frog
4.4 หน่วย Colours ได้แก่ Red, Yellow, Blue, Green, Pink, Purple, Orange, Brown, Black, White
5. ระยะเวลาที่ใช้ในการวิจัย ทำการทดลองสอนเพื่อหาประสิทธิภาพในภาคเรียนที่ 2
ปีการศึกษา 2558 ใช้เวลาในการทดลอง 4 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 5 วัน วันละ 30 นาที ระหว่างเวลา 08.30 น. 09.00 น. รวมระยะเวลา 20 ครั้ง ทั้งนี้ไม่รวมเวลาที่ใช้ในการทดสอบก่อนเรียนและ
หลังเรียน โดยผู้วิจัยดำเนินการสอนด้วยตัวเอง
นิยามศัพท์เฉพาะ
1. เด็กปฐมวัย หมายถึง เด็กเด็กเพศชายและหญิง อายุระหว่าง 5-6 ปี ซึ่งกำลังศึกษาอยู่ในชั้นอนุบาลปีที่ 2 ปีการศึกษา 2558 โรงเรียนอนุบาลเทศบาลตำบลร้องกวาง จังหวัดแพร่
2. แผนการจัดประสบการณ์ภาษาอังกฤษ หมายถึง แผนการจัดประสบการณ์ภาษาอังกฤษโดยใช้กิจกรรมการเคลื่อนไหวและจังหวะสำหรับเด็กปฐมวัย ที่มีองค์ประกอบ ดังนี้ จุดประสงค์ การเรียนรู้ สาระสำคัญ ประสบการณ์สำคัญ กระบวนการจัดการเรียนรู้ เนื้อหา/สาระการเรียนรู้ สื่อ/แหล่งเรียนรู้ การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ บันทึกหลังการสอน ซึ่งผู้วิจัยสร้างขึ้น มีทั้งหมด 20 แผน
3. กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ หมายถึง การเคลื่อนไหวตามจังหวะโดยใช้ส่วนต่างๆ ของร่างกายประกอบบทเพลงภาษาอังกฤษตามประเภทต่างๆ ดังนี้
3.1 การเคลื่อนไหวและจังหวะพื้นฐาน
3.2 การเคลื่อนไหวและจังหวะตามคำสั่ง
3.3 การเคลื่อนไหวและจังหวะตามบทเพลง
3.4 การเคลื่อนไหวและจังหวะประกอบอุปกรณ์
3.5 การเคลื่อนไหวและจังหวะตามจินตนาการ
3.6 การเคลื่อนไหวและจังหวะแบบผู้นำผู้ตาม
4. ประสิทธิภาพของแผนการจัดประสบการณ์ภาษาอังกฤษ หมายถึง คุณภาพของแผน การจัดประสบการณ์ภาษาอังกฤษโดยใช้กิจกรรมการเคลื่อนไหวและจังหวะ ที่ทำให้เด็กสามารถตอบคำถามในแบบทดสอบท้ายกิจกรรมได้ถูกต้องตามเกณฑ์ 80/80 มีค่าและความหมาย ดังนี้
80 ตัวแรก (E1) หมายถึง ประสิทธิภาพของกระบวนการ คิดเฉลี่ยเป็นร้อยละของคะแนน ที่ได้จากการทำแบบฝึกท้ายแผนการจัดประสบการณ์แต่ละหน่วยของเด็ก ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80
80 ตัวหลัง (E2) หมายถึง ประสิทธิภาพของผลสัมฤทธิ์ คิดเฉลี่ยเป็นร้อยละของคะแนน
ที่ได้จากการทำแบบทดสอบประเมินพัฒนาการด้านภาษาอังกฤษ หลังการเรียนรู้ด้วยแผนการจัดประสบการณ์ภาษาอังกฤษโดยใช้กิจกรรมการเคลื่อนไหวและจังหวะ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80
5. ดัชนีประสิทธิผล (The Effectiveness Index) (E.I.) หมายถึง ค่าแสดงความก้าวหน้าของเด็กปฐมวัย โรงเรียนอนุบาลเทศบาลตำบลร้องกวาง จังหวัดแพร่ ที่ได้รับการจัดประสบการณ์ภาษาอังกฤษโดยใช้กิจกรรมการเคลื่อนไหวและจังหวะสำหรับเด็กปฐมวัย
6. แบบประเมินพัฒนาการด้านภาษาอังกฤษสำหรับเด็กปฐมวัย หมายถึง แบบวัดและประเมินพัฒนาการด้านภาษาอังกฤษ สำหรับเด็กปฐมวัย ซึ่งเป็นแบบวัดประเมินพัฒนาการที่ผู้รายงานสร้างขึ้น เป็นแบบประเมินเลือกตอบตามภาพจากการที่ครูอ่านให้เด็กฟังและให้เด็กตอบคำถาม ซึ่งมีทั้งหมด 20 ข้อ เพื่อใช้ทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยแผนการจัดประสบการณ์ภาษาอังกฤษโดยใช้กิจกรรมการเคลื่อนไหวและจังหวะสำหรับเด็กปฐมวัย
7. ความพึงพอใจ หมายถึง ความคิดเห็น ความรู้สึกชอบ หรือพอใจของเด็กที่มีต่อการเรียนด้วยแผนการจัดประสบการณ์ภาษาอังกฤษโดยใช้กิจกรรมการเคลื่อนไหวและจังหวะสำหรับเด็กปฐมวัยซึ่งวัดได้จากแบบประเมินความพึงพอใจตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้
กรอบแนวคิดในการวิจัย
ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
ประชากร
ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ เด็กชั้นอนุบาลปีที่ 2 โรงเรียนอนุบาลเทศบาลตำบลร้องกวาง สังกัดเทศบาลตำบลร้องกวาง จังหวัดแพร่ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560 ซึ่งมีการจัดห้องเรียนแบบคละความสามารถ มีทั้งเด็กที่มีความสามารถในการเรียนระดับเก่ง ปานกลาง อ่อน ในห้องเรียนเดียวกัน จำนวน 2 ห้องเรียน รวม 60 คน
กลุ่มตัวอย่าง
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นเด็กชั้นอนุบาลปีที่ 2/2 โรงเรียนอนุบาลเทศบาลตำบลร้องกวาง สังกัดเทศบาลตำบลร้องกวาง จังหวัดแพร่ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2558 จำนวน 1 ห้องเรียน รวม 30 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) โดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยในการสุ่ม
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
1. แผนการจัดประสบการณ์ภาษาอังกฤษโดยใช้กิจกรรมการเคลื่อนไหวและจังหวะสำหรับเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 2 จำนวน 4 หน่วย หน่วยละ 5 แผน รวม 20 แผน
2. แบบทดสอบท้ายหน่วยการเรียน จำนวน 4 หน่วย หน่วยละ 5 ข้อ เป็นแบบทดสอบแบบปรนัยชนิดเลือกคำตอบ 3 ตัวเลือก
3. แบบทดสอบประเมินพัฒนาการด้านภาษาอังกฤษ สำหรับเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 2 จำนวน 20 ข้อ เป็นแบบทดสอบชนิดเลือกตอบ มีตัวเลือกเป็นรูปภาพ 3 ตัวเลือก
4. แบบประเมินความพึงพอใจของเด็กชั้นอนุบาลปีที่ 2 ที่มีต่อการเรียนด้วย
แผนการจัดประสบการณ์ภาษาอังกฤษโดยใช้กิจกรรมการเคลื่อนไหวและจังหวะสำหรับเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 2 จำนวน 15 ข้อ
วิธีดำเนินการวิจัย
การวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยได้ดำเนินการทดลองตามขั้นตอน ดังนี้
1. ก่อนทำการทดลองผู้วิจัยได้ปฐมนิเทศชี้แจงข้อตกลงในการจัดประสบการณ์ อธิบายถึงประโยชน์และข้อตกลงร่วมกันให้เด็กเข้าใจ และดำเนินการทดสอบก่อนเรียน (Pre-test) กับเด็กกลุ่มตัวอย่าง โดยใช้แบบทดสอบประเมินพัฒนาการด้านภาษาอังกฤษ สำหรับเด็กปฐมวัย ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น ซึ่งเป็นข้อสอบแบบปรนัยเลือกตอบ 3 ตัวเลือก จำนวน 20 ข้อ แล้วตรวจให้คะแนนตามเกณฑ์ที่กำหนด
2. ผู้วิจัยดำเนินการทดลองสอนด้วยตนเอง โดยใช้แผนการจัดประสบการณ์ภาษาอังกฤษโดยใช้กิจกรรมการเคลื่อนไหวและจังหวะ สำหรับเด็กปฐมวัย ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น จนครบ 20 แผน แผนละ 30 นาที รวมระยะเวลา 20 ครั้ง
การวิเคราะห์ข้อมูล
ผู้วิจัยได้นำผลจากการทดลองมาวิเคราะห์ข้อมูล ดังต่อไปนี้
1. หาประสิทธิภาพของแผนการจัดประสบการณ์ภาษาอังกฤษโดยใช้กิจกรรม
การเคลื่อนไหวและจังหวะ สำหรับเด็กปฐมวัย โดยใช้เกณฑ์ประสิทธิภาพ
2. หาค่าพัฒนาการที่เพิ่มขึ้นของเด็กที่เรียนด้วยแผนการจัดประสบการณ์ภาษาอังกฤษโดยใช้กิจกรรมการเคลื่อนไหวและจังหวะ สำหรับเด็กปฐมวัย โดยการหาค่าดัชนีประสิทธิผล (Effectiveness Index: E.I.)
3. เปรียบเทียบพัฒนาการด้านภาษาอังกฤษของเด็กก่อนเรียนและหลังเรียน
ด้วยแผนการจัดประสบการณ์ภาษาอังกฤษโดยใช้กิจกรรมการเคลื่อนไหวและจังหวะ สำหรับ
เด็กปฐมวัย โดยใช้ค่าเฉลี่ย และการทดสอบค่า แบบ Dependent Sample
4. วิเคราะห์ความพึงพอใจของเด็กที่มีต่อการเรียนด้วยแผนการจัดประสบการณ์ภาษาอังกฤษโดยใช้กิจกรรมการเคลื่อนไหวและจังหวะ สำหรับเด็กปฐมวัย โดยรวมคะแนนแล้ววิเคราะห์หาค่าเฉลี่ย
สรุปผลการวิจัย
1. แผนการจัดประสบการณ์ภาษาอังกฤษโดยใช้กิจกรรมการเคลื่อนไหวและจังหวะ
สำหรับเด็กปฐมวัย ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นมีประสิทธิภาพ 82.33/82.67 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่ตั้งไว้
2. ดัชนีประสิทธิผลของแผนการจัดประสบการณ์ภาษาอังกฤษโดยใช้กิจกรรม
การเคลื่อนไหวและจังหวะ สำหรับเด็กปฐมวัย มีค่าเท่ากับ 0.6376 ซึ่งหมายความว่า เด็กที่เรียนด้วย
แผนการจัดประสบการณ์ภาษาอังกฤษ โดยใช้กิจกรรมการเคลื่อนไหวและจังหวะ สำหรับเด็กปฐมวัย
มีพัฒนาการเพิ่มขึ้น 0.6376 หรือคิดเป็นร้อยละ 63.76
3. พัฒนาการด้านภาษาอังกฤษของเด็กที่เรียนด้วยแผนการจัดประสบการณ์ภาษาอังกฤษ
โดยใช้กิจกรรมการเคลื่อนไหวและจังหวะ สำหรับเด็กปฐมวัย หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมี
นัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
4. ความพึงพอใจของเด็กที่มีต่อการเรียนด้วยแผนการจัดประสบการณ์ภาษาอังกฤษโดยใช้
กิจกรรมการเคลื่อนไหวและจังหวะ สำหรับเด็กปฐมวัย โดยรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก
บรรณานุกรม
กมลจันทร์ ชื่นฤทธิ์. (2550). การพัฒนาความมีวินัยในตนเองของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัด
กิจกรรมประกอบเพลงคุณธรรมตามพระราชดำรัส. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษา
มหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
กรมวิชาการ. (2539). คู่มือจัดกิจกรรมเตรียมความพร้อมภาษาอังกฤษชั้นประถมศึกษาปีที่ 1.
กรุงเทพฯ: กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ.
________. (2544). การสังเคราะห์งานวิจัยเกี่ยวกับรูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ.
กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.
________. (2545). การจัดสาระการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศตามหลักสูตร
การศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.
________. (2547). คู่มือหลักสูตรปฐมวัย พุทธศักราช 2546. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.
กรรณานุช เกษมสันต์ ณ อยุธยา. (2548). การวิเคราะห์เนื้อหาความรู้ที่ปรากฏในเพลงสำหรับ
สอนเด็กปฐมวัย. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
กรรณิการ์ พวงเกษม. (2534). การสอนเรื่องโดยใช้จินตนาการสร้างสรรค์ในระดับประถมศึกษา.
กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2545). คู่มือการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ.
กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.
________. (2546). หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2546. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภา
ลาดพร้าว.
กาญจนา อรุณสุขรุจี. (2546). จิตวิทยาทั่วไป. กรุงเทพฯ: บำรุงสาส์น.
กุลยา ตันติผลาชีวะ. (2543). การสอนแบบจิตปัญญา: แนวการใช้ในการสร้างแผนการสอนระดับ
อนุบาลศึกษา. กรุงเทพฯ: เอดิสัน เพรส โปรดักส์.
________. (2545). รูปแบบการเรียนการสอนปฐมวัยศึกษา. กรุงเทพฯ: เอดิสัน เพรส โปรดักส์.
________. (2547). การจัดการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย. กรุงเทพฯ: เอดิสัน เพรส โปรดักส์
คำรณ ล้อมในเมือง และรุ่งฟ้า ล้อมในเมือง. (2549). นวัตกรรมปฐมวัย. กาฬสินธุ์:
ประสานการพิมพ์.
จรรยา กนกนิรันดร. (2540). สภาพการจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ ระดับเตรียมความพร้อม
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์ปริญญา
ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
จารุรักษ์ อิสระเสนีย์. (2552). การศึกษาความสามารถและแรงจูงใจในการเรียนวิชาภาษาอังกฤษ
ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการสอนตามแนวทฤษฎีการสอนแบบอรรถฐาน (GENRE BASED
APPROACH) โดยใช้อรรถลักษณะของการเล่านิทาน (NARRATIVE
GENRE FEATURES). วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง.
จิรพันธ์ ไตรทิพจรัส. (2542). การวิจัยและทฤษฎีเทคโนโลยีการศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 2).
มหาสารคาม: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
จิราภรณ์ เลี่ยมไธสง. (2546). ผลของการใช้กิจกรรมประกอบจังหวะเป็นสื่อเสริมเพื่อเพิ่มพูน
ผลสัมฤทธิ์และความพึงพอใจในการเรียนภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
โรงเรียนวัดสระบัว จังหวัดบุรีรัมย์. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต
บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมมาธิราช.
จีระพันธุ์ พูลพัฒน์. (2540). การสอนแบบมอนเทสซอรี. กรุงเทพฯ: เทพนิมิตการพิมพ์.
ฉลองชัย สุรวัฒนบูรณ์. (2546). สาระน่ารู้ทางเทคโนโลยีการศึกษา. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัย
เกษตรศาสตร์.
ฉันทนา ภาคบงกช. (2537). เอกสารประกอบการประชุมเชิงปฏิบัติการเรื่องการพัฒนาการทาง
ภาษาแบบ Whole Language สำหรับเด็กปฐมวัย. หน้า 1-4 ระหว่างวันที่ 8-9
พฤษภาคม, กรุงเทพฯ: สถาบันวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
ประสานมิตร.
ชวลิต ชูกำแพง. (2551). การพัฒนาหลักสูตร. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ชัยยงค์ พรหมวงศ์. (2538). ชุดการสอนในระดับประถมศึกษา. นนทบุรี: มหาวิทยาลัย
สุโขทัยธรรมาธิราช.
________. (2539). แนวคิดการพัฒนาสื่อการเรียนการสอน. กรุงเทพฯ: ต้นอ้อ แกรมมี่.
ทิศนา แขมมณี. (2548). รูปแบบการเรียนการสอนทางเอกที่หลากหลาย (พิมพ์ครั้งที่ 3).
กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
เทพพนม เมืองแมน และสวิง สุวรรณ. (2540). พฤติกรรมองค์การ. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช.
ธนทร ฐานะพรรณดร. (2553). ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนจากชุดการสอนแบบบูรณาการคำศัพท์
ภาษาไทย คำศัพท์ภาษาอังกฤษ และคณิตศาสตร์พื้นฐานสำหรับเด็กปฐมวัย.
วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี
ราชมงคลธัญบุรี.
ธนาภรณ์ ธนิตย์ธีรพันธ์. (2547). การพัฒนาสัมพันธภาพของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรม
การเคลื่อนไหวประกอบเพลง. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต
บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
นภเนตร ธรรมบวร. (2544). การประเมินผลพัฒนาการเด็กปฐมวัย. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์
มหาวิทยาลัย.
________. (2549). การจัดกระบวนการคิดในเด็กปฐมวัย. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
นฤมล เนียมหอม, สุภัทรา คงเรือง และภาวิณี แสนทวีสุข. (2543). การสอนภาษาแบบธรรมชาติ
ใน เอกสารประกอบการอบรม เรื่อง การสอนภาษาแนวธรรมชาติ เสนอที่ งานมหกรรม
อนุบาล 2000 วันที่ 28-30 มกราคม. นครปฐม: ศูนย์ฝึกอบรมงานอภิบาล บ้านผู้หว่าน.
นววรรณ พันธุเมธา. (2544). คลังค า. กรุงเทพฯ: อัมรินทร์.
นิตยา ประพฤติกิจ. (2539). การพัฒนาเด็กปฐมวัย. กรุงเทพฯ: โอ เอส พริ้นติ้งส์ เฮาส์.
บังอร พานทอง. (2550). ภาษาเพื่อพัฒนาปัญญา. กรุงเทพฯ: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัย
ศรีนครินทรวิโรฒ.
บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ: สุรีริยสาสน์.
บุษบง ตันติวงศ์. (2536). นวัตกรรมการสอนภาษาแบบธรรมชาติในการอ่านเขียนของเด็กปฐมวัย.
กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ประภาพันธ์ พลายจันทร์. (2546). โปรแกรมประยุกต์ด้านการศึกษา. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.
ประสาท อิศรปรีดา. (2547). สารัตถะจิตวิทยาการศึกษา. มหาสารคาม: คลังนานาวิทยา.
ปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน์. (2546). จิตวิทยาการศึกษา. กรุงเทพฯ: ศูนย์สื่อเสริมกรุงเทพฯ.
ปิยกมล เปล่งอรุณ. (2540). การเปรียบเทียบความคิดสร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัยการทำกิจกรรม
วาดรูปเป็นกลุ่มกับเป็นรายบุคคลหลังจากการท ากิจกรรมเคลื่อนไหวประกอบเพลง.
วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
เผชิญ กิจระการ. (2546). ดัชนีประสิทธิผล. มหาสารคาม: ภาควิชาเทคโนโลยีการศึกษา
คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
พรรณทิพย์ ศิริวรรณบุศย์. (2547). ทฤษฎีจิตวิทยาพัฒนาการ. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พรรณพร ศรีสังข์. (2555). การพัฒนาทักษะภาษาของนักเรียนที่มีภาวะบกพร่องทางสติปัญญา
ระดับเล็กน้อย โดยใช้วิธีการสอนภาษาแบบองค์รวม. วิทยานิพนธ์ปริญญา
ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
พวงทอง ไสยวรรณ์. (2530). กิจกรรมพละศึกษาส าหรับเด็กปฐมวัย. พิษณุโลก: ภาควิชาการ
อนุบาลศึกษา คณะครุศาสตร์ วิทยาลัยครูพิบูลสงคราม พิษณุโลก.
พวงรัตน์ ทวีรัตน์. (2540). วิธีการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. กรุงเทพฯ:
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
________. (2543). วิธีการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัย
ศรีนครินทรวิโรฒ.
พัชรี ผลโยธิน. (2537). การจัดกิจกรรมและประสบการณ์ในระดับปฐมวัยศึกษา ใน เอกสาร
การสัมมนาการศึกษาปฐมวัย หน่วยที่ 4-7. กรุงเทพฯ: สหมิตร.
พันธ์นิภา คงสุวรรณ์. (2550). วิเคราะห์หาความสอดคล้องของบทเพลงจากแผนการจัด
ประสบการณ์ชั้นอนุบาลปีที่ 1 กับพัฒนาการด้านต่างๆ ของเด็ก. การศึกษาค้นคว้า
ด้วยตนเองปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยนเรศวร.
พิทยาภรณ์ มานะจุติ. (2546). ภาษาอังกฤษส าหรับเด็กปฐมวัย. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยราชภัฏ
เชียงใหม่.
ไพรินทร์ พ่วงจันทร์. (2542). การสร้างชุดการสอนฝึกทักษะการฟัง-พูด ภาษาอังกฤษ ส าหรับ
นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1. ปริญญานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต
บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยบูรพา.
ไพเราะ พุ่มมั่น. (2544). การพัฒนาคุณภาพนักเรียนระดับก่อนประถมศึกษาสู่ผลงานทางวิชาการ.
กรุงเทพฯ: ร าไทยเพรส.
ภรณี คุรุรัตนะ. (2542). การสอนภาษาโดยองค์รวม (Whole Language Approach) การเรียนรู้
ของเด็กปฐมวัย. กรุงเทพฯ: ส านักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ.
ภัทรดรา พันธุ์สีดา. (2551). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนแบบ SPARPS เพื่อเสริมสร้าง
ทักษะทางภาษาของเด็กปฐมวัย. ปริญญานิพนธ์ปริญญาการศึกษาดุษฎีบัณฑิต
บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
มนัสชนก จันทร์เจริญ. (2555). การพัฒนากิจกรรมการจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้เพลงเพื่อ
เสริมสร้างความสามารถทางภาษาอังกฤษสำหรับเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 1. การศึกษา
ค้นคว้าด้วยตนเองปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยนเรศวร.
เยาวพา เดชะคุปต์. (2542). การจัดการศึกษาสำหรับปฐมวัย. กรุงเทพฯ: แม็ค.
ระวิวรรณ ศรีคร้ามครัน. (2539). การสอนวิชาภาษาอังกฤษ. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามค าแหง.
รังสฤษฏิ์ บุญชลอ. (2545). กิจกรรมเข้าจังหวะ (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: สกายบุ๊กส์. ราชบัณฑิตยสถาน. (2546). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พุทธศักราช 2542.
กรุงเทพฯ: นานมีบุ๊ค พับลิเคชั่นส์.
รุจิร์ ภู่สาระ. (2546). การเขียนแผนการจัดการเรียนรู้ (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: บุ๊คพอยท์.
โรงเรียนเทศบาล 3 (วัดแก้วพิจิตร). (2550). หลักสูตรสถานศึกษา กลุ่มสาระการเรียนรู้
ภาษาต่างประเทศ (ภาษาอังกฤษ) ระดับปฐมวัย. ปราจีนบุรี: โรงเรียนเทศบาล 3
(วัดแก้วพิจิตร)
ลาวัลย์ ยิ่งมี. (2547). การใช้เพลงประกอบการเรียนคณิตศาสตร์เรื่อง เวลา สำหรับนักเรียน
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ล้วน สายยศ และอังคณา สายยศ. (2536). หลักการวิจัยทางการศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 3).
กรุงเทพฯ: ศูนย์ส่งเสริมวิชาการ.
________. (2538). เทคนิคการวัดและประเมินผลการเรียนรู้. กรุงเทพฯ: สุวีริยสาสน์.
________. (2539). เทคนิคการวิจัยทางการศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: ศูนย์ส่งเสริมวิชาการ.
วรศักดิ์ เพียรชอบ. (2548). รวมบทความเกี่ยวกับปรัชญา หลักการ วิธีสอน และการวัดเพื่อ
ประเมินผลทางพลศึกษา. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วรางคณา ดำคง. (2552). ผลการจัดการเรียนรู้เพื่อเตรียมความพร้อมทางด้านภาษาอังกฤษของ
เด็กปฐมวัยโดยใช้เกมการศึกษาและเพลง ระดับชั้นอนุบาลปีที่ 2. พังงา: โรงเรียนอนุบาล
ช้าง.
วอร์ด คริสทีน. (2549). คู่มือครูส าหรับเสริมสร้างสมองของเด็กวัยเรียน (แปลโดย
พีรณา ริกุลสุรกาน, สมหญิง สัมฤทธิ์ผล) (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: แฮปปี้ แฟมิลี่.
วัฒนาพร ระงับทุกข์. (2543). แผนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง (พิมพ์ครั้งที่ 3).
กรุงเทพฯ: วัฒนาพานิช.
วารินทร์ รัศมีพรหม. (2542). การออกแบบและพัฒนาระบบการสอน. กรุงเทพฯ: ภาควิชา
เทคโนโลยีการศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
วาโร เพ็งสวัสดิ์. (2544). การวิจัยทางการศึกษาปฐมวัย. กรุงเทพฯ: สุวีริยสาสน์.
วิจิตร ชีวจิตร. (2550). ผลของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ภาษาธรรมชาติควบคู่กับการเสริมแรงทาง
สังคมที่มีต่อทักษะการฟังของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 3 โรงเรียนอนุบาลหนูน้อย
เขตพระโขนง กรุงเทพมหานคร. สารนิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต
บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
วิมลรัตน์ สุนทรโรจน์. (2545). พัฒนาการเรียนการสอน. มหาสารคาม: คณะศึกษาศาสตร์
มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ศรีเรือน แก้วกังวาล. (2540). จิตพัฒนาการทุกช่วงวัย (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ:
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ศิริวรรณ เสรีรัตน์. (2541). พฤติกรรมผู้บริโภค. กรุงเทพฯ: ธีรฟิล์ม และไซเทกซ์.
สมโภชน์ พนาวาส. (2556). การศึกษาสภาพปัญหา ความต้องการและแนวทางการจัดประสบการณ์
การเรียนรู้ภาษาอังกฤษสำหรับเด็กปฐมวัย. กรุงเทพฯ: คณะมนุษยศาสตร์และ
สังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต.
สมยศ นาวีการ. (2544). การบริหาร: คู่มือและแบบทดสอบ (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: บรรณกิจ.
สมศักดิ์ คงเที่ยง และอัญชลี โพธิ์ทอง. (2542). การบริหารบุคลากรและการพัฒนาทรัพยากร
มนุษย์. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
ส านักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา. (2547). คู่มือหลักสูตรการศึกษาปฐมวัยพุทธศักราช 2546
(สำหรับเด็กอายุ 3-5 ปี). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.
ส าลี รักสุทธี. (2544). เทคนิคการจัดการเรียนการสอนและเขียนแผนการสอน โดยยึดผู้เรียน
เป็นสำคัญ. กรุงเทพฯ: พัฒนาศึกษา.
สิริพิณดา กันธะค า. (2552). การพัฒนาการเรียนรู้ภาษาอังกฤษของเด็กปฐมวัยโดยใช้กิจกรรม
การเคลื่อนไหวและจังหวะ. การค้นคว้าแบบอิสระปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต
บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
สิริมา ภิญโญอนันตพงษ์. (2550). เอกสารประกอบการเรียนวิชา ECED 201 การศึกษาปฐมวัย
Early Childhood Education. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต.
สิริรัตน์ เรือนนุช. (2552). การศึกษาความสามารถและแรงจูงใจในการเรียนภาษาอังกฤษของเด็ก
ปฐมวัย โรงเรียนบ้านรางอีเม้ย โดยวิธีการสอนด้วยการจัดกิจกรรมการสอนภาษาเพื่อ
การสื่อสารโดยใช้เพลง. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง.
สุกิจ ศรีพรหม. (2541). ชุดการสอนกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน. วารสารวิชาการ, 1(9), 6872.
สุนันทา สุนทรประเสริฐ. (2550). แผนการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ. ราชบุรี: ธรรมรักษ์
การพิมพ์.
สุพรรณี บุญเพิ่ม. (2551). การพัฒนาทักษะการฟังและการพูดภาษาอังกฤษชั้นประถมศึกษาปีที่ 1
โดยใช้กิจกรรมการเคลื่อนไหว. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต
บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
สุพานี สฤษฏ์วานิช. (2552). พฤติกรรมองค์การสมัยใหม่: แนวคิดทฤษฎี. ปทุมธานี: โรงพิมพ์
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
สุมิตรา อังวัฒนกุล. (2539). วิธีสอนภาษาอังกฤษ. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุรางค์ โค้วตระกูล. (2544). จิตวิทยาการศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: ด่านสุทธาการพิมพ์.
สุรีย์พร ภูศรี. (2540). เปรียบเทียบความสามารถทางการเรียนกิจกรรมเข้าจังหวะระหว่างผู้ที่เป็น
นักกีฬากับผู้ที่ไม่เป็นนักกีฬา. ปริญญานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต
บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
สุวิทย์ คำมูล. (2549). กลยุทธ์การสอนคิดสังเคราะห์. กรุงเทพฯ: ภาพพิมพ์.
สุวิทย์ มูลคำ และคณะ. (2549). การเขียนแผนการจัดการเรียนรู้ที่เน้นการคิด (พิมพ์ครั้งที่ 2).
กรุงเทพฯ: ภาพพิมพ์.
หรรษา นิลวิเชียร. (2535). ปฐมวัยศึกษา: หลักสูตรและแนวปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.
อธิภัทร สายนาค. (2543). การศึกษาเจตคติต่อการจัดกิจกรรมการเคลื่อนไหวและจังหวะของครูที่ใช้
คู่มือการประเมินการปฏิบัติการสอน. ปริญญานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต
บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
อรทัย เลาอลงกรณ์. (2544). กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ. ลำปาง: มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง.
อรอุมา ราษฏร์วงศ์ศรี. (2545). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและเจตคติต่อการเรียน
ภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ระหว่างการสอนแบบใช้เพลงประกอบ
และการสอนแบบการโต้ตอบทางสรีระ (TRR.). ปริญญานิพนธ์ปริญญาการศึกษา
มหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
อาภรณ์ ใจเที่ยง. (2550). หลักการสอน. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.
อารี สัณหฉวี. (2535). นวัตกรรมปฐมวัยศึกษา. กรุงเทพฯ: สมาคมเพื่อการอนุบาลศึกษา.
เอกรินทร์ สี่มหาศาล. (2545). กระบวนการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษา แนวคิดสู่ปฏิบัติ.
กรุงเทพฯ: บุ๊คพอยท์.
Benson Charles Odongo Okongo. (2011). A Descriptive Study of Early Childhood
Teachers Music Practices in the State of Arizona. Doctor of Philosophy.
Ph.D. Arizona: Arizona State University.
Cruz-Cruz, Maria Luisa. (2005). The Effects of Selected Music and Songs on Teaching
Grammar and Vocabulary to Second Grade English Language Learners.
Dissertation, Ed.D. Texas: Texas A&M University-Kingsville.
Good, Carter V. (1973). Dictionary of Education. 3 th ed. New York: McGraw-Hill.
Kathryn M. Smith. (2008). An Exploration of Musical Play and Scaffolding in Early
Childhood. Doctor of Education. Ph.D. Alberta: University of Edmonton.
Kotler, Phillip. (2000). Marketing Management. The Millennium Edition. New Jersey:
Prentice Hall.
Maslow, A.H. (1970). Motivation and Personality. New York: Harper and Row
Publishers.
Shirley, Mosby M. (1964). The First Two Years: The Motor Sequence. New York: Holt
Rinehart and Winston.
Somers, Leslie Eloise. (2000). The Effects of Rhythm, Music, song, and Chant in the
Korean English Language Classroom. Dissertation, Ph.D. Ohio: The Union
Institute.
YunFei Hsee.(2007). Musical Interaction among Infants/Toddlers and Early
Childhood Teacher: The Role of Intervention on Early Childhood Teacher
Scaffolding of Young Childrens Music Learning. Doctor of Education. Ph.D.
Pennsylvania: University of Pennsylvania.