ชื่อเรื่อง การประเมินโครงการหลักสูตรสองภาษา (MEP: Mini English Program) โรงเรียนเทศบาล ๗ ฝั่งหมิ่น จังหวัดเชียงราย
ผู้ศึกษา ผ่องพรรณ ปินตาแสน
ปีการศึกษา 2561
บทคัดย่อ
การประเมินโครงการครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อประเมินด้านสภาวะแวดล้อม (Context Evaluation: C) ที่เกี่ยวกับความต้องการจาเป็น เพื่อกาหนดโครงการหลักสูตรสองภาษา (MEP: Mini English Program) โรงเรียนเทศบาล ๗ ฝั่งหมิ่น จังหวัดเชียงราย 2) เพื่อประเมินด้านปัจจัยนาเข้า (Input Evaluation: I) ที่เกี่ยวกับทรัพยากรที่จาเป็นนามาใช้ในการดาเนินการโครงการหลักสูตรสองภาษา (MEP: Mini English Program) โรงเรียนเทศบาล ๗ ฝั่งหมิ่น จังหวัดเชียงราย มีความเป็นไปได้ เหมาะสม และเพียงพอ 3) เพื่อประเมินด้านกระบวนการ (Process Evaluation: P) ที่เกี่ยวกับการบริหารโครงการหลักสูตรสองภาษา (MEP: Mini English Program) โรงเรียนเทศบาล ๗ ฝั่งหมิ่น จังหวัดเชียงราย 4) เพื่อประเมินด้านผลผลิต (Product Evaluation: P) ที่เกี่ยวกับผลที่เกิดขึ้นจากโครงการหลักสูตรสองภาษา (MEP: Mini English Program) โรงเรียนเทศบาล ๗ ฝั่งหมิ่น จังหวัดเชียงราย เป็นไป ตามวัตถุประสงค์หรือไม่ และ 5) เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะของโครงการหลักสูตร สองภาษา (MEP: Mini English Program) โรงเรียนเทศบาล ๗ ฝั่งหมิ่น จังหวัดเชียงราย โดยใช้รูปแบบการประเมินโครงการแบบซิปป์โมเดล (CIPP Model) ประชากรที่ใช้ในการประเมินครั้งนี้ ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา จานวน 2 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จานวน 15 คน ครูผู้รับผิดชอบโครงการ จานวน 1 คน คณะครูในโรงเรียนเทศบาล ๗ ฝั่งหมิ่น จานวน 60 คน รวมทั้งสิ้น 78 คน นักเรียนชาย หญิง ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จานวน 584 คน และผู้ปกครองนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จานวน 584 คน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา ได้มาจากการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Sampling) ได้แก่ ครูผู้สอนภาษาอังกฤษชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 จานวน 3 คน ครูผู้สอนภาษาอังกฤษชั้นประถม ศึกษาปีที่ 6 จานวน 1 คน นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 จานวน 102 คน นักเรียนชั้นประถมศึกษา ปีที่ 6 จานวน 70 คน ผู้ปกครองนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 จานวน 102 คน และผู้ปกครองนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จานวน 70 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล เป็นแบบสอบถาม จานวน 4 ฉบับ ได้แก่ 1) แบบสอบถาม ฉบับที่ 1 เป็นแบบสอบถามความคิดเห็น การประเมินโครงการหลักสูตรสองภาษา (MEP: Mini English Program) โรงเรียนเทศบาล ๗ ฝั่งหมิ่น จังหวัดเชียงราย ด้านสภาวะแวดล้อม (Context Evaluation: C) 2) แบบสอบถาม ฉบับที่ 2 เป็นแบบสอบถามความคิดเห็นการประเมินโครงการหลักสูตรสองภาษา (MEP: Mini English Program) โรงเรียนเทศบาล ๗ ฝั่งหมิ่น จังหวัดเชียงราย ด้านปัจจัยนาเข้า (Input Evaluation: I) 3) แบบสอบถาม ฉบับที่ 3 เป็นแบบสอบถามความคิดเห็นการประเมินโครงการหลักสูตรสองภาษา (MEP: Mini English Program) โรงเรียนเทศบาล ๗ ฝั่งหมิ่น จังหวัดเชียงราย ด้านกระบวนการ (Process Evaluation: P) และ 4) แบบสอบถาม ฉบับที่ 4 เป็นแบบสอบถามความคิดเห็นการประเมินโครงการหลักสูตร
สองภาษา (MEP: Mini English Program) โรงเรียนเทศบาล ๗ ฝั่งหมิ่น จังหวัดเชียงราย ด้านผลผลิต
(Product Evaluation: P)
ผลการประเมิน พบว่า
1. ผลการประเมินด้านสภาวะแวดล้อม (Context Evaluation: C) ของโครงการหลักสูตร
สองภาษา (MEP: Mini English Program) โรงเรียนเทศบาล ๗ ฝั่งหมิ่น จังหวัดเชียงราย พบว่า โดยรวม
มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด (= 4.67, = 0.31) และผ่านเกณฑ์การประเมิน
( 3.51)
2. ผลการประเมินด้านปัจจัยนาเข้า (Input Evaluation: I) ของโครงการหลักสูตรสองภาษา
(MEP: Mini English Program) โรงเรียนเทศบาล ๗ ฝั่งหมิ่น จังหวัดเชียงราย พบว่า โดยรวมมีความ
เหมาะสมอยู่ในระดับมาก (= 4.48, = 0.40) และผ่านเกณฑ์การประเมิน ( 3.51) เมื่อ
พิจารณาผลการประเมินรายด้าน พบว่า ด้านคุณลักษณะที่เหมาะสมของครูผู้สอน มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด
( = 4.54, = 0.40) รองลงมา คือ ด้านคุณภาพ ความเพียงพอของสื่อ/อุปกรณ์/อาคาร
สถานที่/แหล่งเรียนรู้ (= 4.50, = 0.41) ด้านคุณลักษณะที่เหมาะสมของนักเรียน (=
4.44, = 0.40) และด้านความคิดเห็นด้านปัจจัยนาเข้า (Input Evaluation: I) มีค่าเฉลี่ยต่าที่สุด
(= 4.43, = 0.40)
3. ผลการประเมินด้านกระบวนการ (Process Evaluation: P) ของโครงการหลักสูตรสองภาษา
(MEP: Mini English Program) โรงเรียนเทศบาล ๗ ฝั่งหมิ่น จังหวัด พบว่า โดยรวมมีความเหมาะสม
อยู่ในระดับมาก (= 4.40, = 0.37) และผ่านเกณฑ์การประเมิน ( 3.51) เมื่อ
พิจารณาผลการประเมินรายด้าน พบว่า ความคิดเห็นด้านการบริหารโครงการหลักสูตรสองภาษา
(MEP: Mini English Program) มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด (= 4.4 7 , = 0.42 ) รองลงมา คือ
การบริหารหลักสูตรสองภาษา (MEP : Mini English Program) ( = 4.33, = 0.33)
4. ผลการประเมินด้านผลผลิต (Product Evaluation: P) ของโครงการหลักสูตรสองภาษา
(MEP: Mini English Program) โรงเรียนเทศบาล ๗ ฝั่งหมิ่น จังหวัดเชียงราย พบว่า โดยรวมมีความ
เหมาะสมอยู่ในระดับมาก ( X = 3.85, S.D. = 0.19) และผ่านเกณฑ์การประเมิน ( X 3.51) เมื่อ
พิจารณาผลการประเมินรายด้าน พบว่า ด้านผลกระทบจากการดาเนินงานตามโครงการหลักสูตร
สองภาษา มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด ( X = 3.97, S.D. = 0.12) รองลงมือ คือ ด้านผลที่เกิดกับนักเรียน
( X = 3.77, S.D. = 0.26)
5. ผลการศึกษาปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะของโครงการหลักสูตรสองภาษา (MEP:
Mini English Program) โรงเรียนเทศบาล ๗ ฝั่งหมิ่น จังหวัดเชียงราย
5.1 ด้านสภาวะแวดล้อมของโครงการ พบว่า ควรมีการชี้แจงให้ผู้เกี่ยวข้องตระหนักถึง
ความต้องการของโครงการ ให้นักเรียนมีส่วนร่วมในการคิดโครงการหรือมีส่วนร่วมเสนอความคิดเห็น
สร้างความเข้าใจให้กับผู้ปกครองและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จัดทาโครงการให้ตรงกับ
ความต้องการของชุมชน มีจุดแสดงผลงานให้นักเรียนได้แสดงผลงานและจุดเรียนรู้ให้นักเรียนได้เรียนรู้
มีกิจกรรมที่ให้นักเรียนได้ออกไปฝึกการใช้ภาษานอกโรงเรียน มีการจัดสรรบุคลากรที่เป็นเจ้าของภาษา
ให้เพียงพอต่อการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ มีการจัดโครงการอย่างต่อเนื่องเพื่อสานต่อการพัฒนา
ด้านภาษาอังกฤษของนักเรียนที่เข้าโครงการ การจัดกิจกรรมต่างๆ ควรคานึงถึงวัยของนักเรียนในแต่ละ
ระดับชั้น เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับวัย เน้นนักเรียนเป็นสาคัญ ให้นักเรียนได้ลงมือปฏิบัติจริง การจัดทาโครงการต้องมีความสอดคล้องกับบริบทต่างๆ และมีขั้นตอนการประเมินโครงการ รวมถึงทราบความต้องการจาเป็นของโครงการทั้งในด้านประโยชน์ วัตถุประสงค์ เป้าหมาย และขั้นตอนการดาเนินกิจกรรมเพื่อจะได้เตรียมการดาเนินงานตามแผนงานของโครงการได้อย่างมีประสิทธิภาพ
5.2 ด้านปัจจัยนาเข้าของโครงการ พบว่า ควรมีเกณฑ์ในการจัดสรรบุคลากรที่มีคุณภาพให้เพียงพอต่อความต้องการของหลักสูตรและมีมาตรฐานการคัดเลือก สร้างขวัญกาลังใจให้บุคลากรให้รักองค์กร มีการจัดอบรมให้บุคลากรและทากิจกรรมร่วมกัน มีกฎระเบียบที่เคร่งครัดและควรให้ครูชาวต่างชาติทาแผนการเรียนการสอนเพื่อตรวจสอบการสอน มีการศึกษาดูงานโรงเรียนสองภาษา มีการจัดสรรงบประมาณ วัสดุ อุปกรณ์ที่เพียงพอ และใช้เทคโนโลยีมาช่วยในการสอน มีระบบการสื่อสารทางอินเตอร์เน็ตที่ครอบคลุมพื้นที่ทุกส่วนในโรงเรียนที่มีประสิทธิภาพ เพื่อส่งเสริมการปฏิบัติงานของครูและการเรียนรู้ของนักเรียน มีการบริหารจัดการที่เป็นขั้นตอนและชัดเจน มีการประชุมชี้แจงหลักสูตรในการทากิจกรรม การวางแผนการบริหารจัดการ ขอบเขตการทางาน บริบทการทางานอย่างสม่าเสมอ จานวนนักเรียนต่อห้องควรมีความเหมาะสมกับจานวนครูผู้สอนเพื่อที่จะได้สอนได้อย่างทั่วถึง และการแต่งตั้งคณะทางานและแบ่งหน้าที่รับผิดชอบต้องมีความเป็นระบบและชัดเจน
5.3 ด้านกระบวนการของโครงการ พบว่า ควรเน้นการวางแผนงานอย่างมีระบบร่วมกันทุกภาคส่วน โดยเน้นหลักการมีส่วนร่วมในการบริหารโครงการ เปิดโอกาสให้นักเรียนมีส่วนร่วมในการออกแบบกิจกรรม สร้างแรงจูงใจในการทางานของบุคลากร จัดให้มีการอบรม การปรับแผนการเรียนรู้ทุกปีการศึกษาก่อนเปิดภาคเรียน ควรสรรหาบุคลากรครูชาวต่างชาติที่มีคุณภาพมาสอน มีการประชุมวางแผนร่วมกันระหว่างครูไทยกับครูชาวต่างชาติเพื่อวางแผนเป้าหมาย กาหนดทิศทาง การจัดการศึกษาหลักสูตรสองภาษาอย่างเป็นรูปธรรม มีการวางแผนล่วงหน้าก่อนเปิดภาคเรียน มีการประชาสัมพันธ์และจัดทาแผนการปฏิบัติการต่างๆ ล่วงหน้า มีแผนงานสารองที่สามารถยืดหยุ่นเรื่องเวลา มีการนิเทศติดตามการเรียนการสอนเพื่อกระตุ้นเสริมแรงในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน และสามารถแก้ไขข้อบกพร่องต่างๆ ทั้งในด้านแผนการเรียนรู้และผู้สอน ในขณะที่ด้านการสรุปรายงานผลการดาเนินงาน ควรมีการเปิดเผยข้อมูลงานกิจกรรม สรุปรายงานผล มีการประชุมชี้แจงงานเป็นระยะๆ และหลังจากเสร็จสิ้นโครงการควรเร่งดาเนินการรายงานผลการดาเนินงานต่อผู้ปกครอง คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และหน่วยงานต้นสังกัด
5.4 ด้านผลผลิตของโครงการ พบว่า ได้บรรลุวัตถุประสงค์และเป้าหมายของโครงการ สู่ความเป็นเลิศอยู่ในระดับที่ดีมาก นักเรียนมีเจตคติที่ดีต่อการเรียนภาษาอังกฤษ นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาอังกฤษอยู่ในเกณฑ์ที่ดีขึ้น ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ อยู่ในระดับที่ดีมาก นักเรียน ครู และบุคลากรได้ฝึกฝนการใช้ภาษาอังกฤษในการสื่อสาร ดังนั้นจึงสมควรดาเนินโครงการอย่างต่อเนื่องในปีการศึกษาถัดไป และสามารถนาผลการประเมินโครงการไปเป็นแนวทางในการดาเนินงานโครงการหลักสูตรสองภาษา และสามารถเผยแพร่ผลการดาเนินงานโครงการต่อไป