ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบการบริหารงานวิชาการ เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ของนักเรียนทั้งระบบ โรงเรียนเทศบาล ๗ ฝั่งหมิ่น จังหวัดเชียงราย
ผู้วิจัย ผ่องพรรณ ปินตาแสน
ปีการศึกษา 2561
บทคัดย่อ
การวิจัยเรื่อง การพัฒนารูปแบบการบริหารงานวิชาการ เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนทั้งระบบ โรงเรียนเทศบาล ๗ ฝั่งหมิ่น จังหวัดเชียงราย มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาวิเคราะห์ สังเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานและแนวคิดทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง เพื่อใช้เป็นพื้นฐานในการสังเคราะห์พัฒนารูปแบบการบริหารงานวิชาการ เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนทั้งระบบ โรงเรียนเทศบาล ๗ ฝั่งหมิ่น จังหวัดเชียงราย 2) เพื่อพัฒนาและตรวจสอบความเหมาะสม เป็นไปได้ ของรูปแบบการบริหารงานวิชาการ เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนทั้งระบบ โรงเรียนเทศบาล ๗ ฝั่งหมิ่น จังหวัดเชียงราย 3) เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนทั้งระบบ จากการใช้รูปแบบการบริหารงานวิชาการ โรงเรียนเทศบาล ๗ ฝั่งหมิ่น จังหวัดเชียงราย และ 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องที่มีต่อรูปแบบการบริหารงานวิชาการ เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนทั้งระบบ โรงเรียนเทศบาล ๗ ฝั่งหมิ่น จังหวัดเชียงราย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ ในการวิจัย แบ่งออกเป็น 4 ระยะ ตามลักษณะการเก็บข้อมูล ดังนี้ ระยะที่ 1 การวิเคราะห์และสังเคราะห์เอกสาร แนวคิด ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการประชุมกลุ่มย่อย (Focus Group) คือ ผู้อานวยการสถานศึกษา สังกัดเทศบาลนครเชียงราย จานวน ๖ คน โดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) ระยะที่ 2 การพัฒนาและตรวจสอบรูปแบบการบริหารงานวิชาการ แบ่งเป็น 2 ขั้นตอน คือ2.1) การตรวจสอบความเที่ยงตรงและความสอดคล้องของร่างรูปแบบการบริหารงานวิชาการ โดยผู้เชี่ยวชาญ จานวน 5 คน และ 2.2) การตรวจสอบความเหมาะสม ความเป็นไปได้ และการใช้ประโยชน์ของร่างรูปแบบการบริหารงานวิชาการ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ ประกอบด้วย ผู้อานวยการสถานศึกษา สังกัดเทศบาลนครเชียงราย จานวน 6 คน รองผู้อานวยการสถานศึกษา สังกัดเทศบาลนครเชียงราย จานวน 10 คน และครูผู้สอน สังกัดเทศบาลนครเชียงราย จานวน 180 คน สุ่มตัวอย่างโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) ระยะที่ 3 การนารูปแบบการบริหารงานวิชาการไปใช้ ระยะที่ 4 การประเมินผลและแก้ไข รับรองและเผยแพร่รูปแบบการบริหารงานวิชาการ และกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ ประกอบด้วย ผู้อานวยการสถานศึกษา โรงเรียนเทศบาล ๗ ฝั่งหมิ่น จานวน 1 คน รองผู้อานวยการสถานศึกษา โรงเรียนเทศบาล ๗ ฝั่งหมิ่น จานวน 1 คน ครูผู้สอน โรงเรียนเทศบาล ๗ ฝั่งหมิ่น จานวน 24 คน นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนเทศบาล ๗ ฝั่งหมิ่น จานวน 86 คน และนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนเทศบาล ๗ ฝั่งหมิ่น จานวน 85 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบวิเคราะห์ข้อมูล แบบสอบถามความคิดเห็น แบบเก็บข้อมูลผลการทดสอบปลายภาคของนักเรียน และแบบสอบถามความพึงพอใจ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis)
ผลการวิจัยพบว่า
1. ผลการศึกษาวิเคราะห์ สังเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานและแนวคิดทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง เพื่อใช้เป็น
พื้นฐานในการสังเคราะห์พัฒนารูปแบบการบริหารงานวิชาการ เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
ของนักเรียนทั้งระบบ โรงเรียนเทศบาล ๗ ฝั่งหมิ่น จังหวัดเชียงราย พบว่า การจัดการศึกษาทุกระดับ
ต้องสร้างความร่วมมือกันในทุกภาคส่วน โดยการพัฒนาการศึกษาต้องสอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลง
ของโลกศตวรรษที่ 21 รองรับ Thailand 4.0 การจัดการศึกษาต้องยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง
จัดเนื้อหาสาระและกิจกรรมให้สอดคล้องกับความสนใจและความต้องการของผู้เรียน พร้อมทั้งปลูกฝัง
คุณธรรมจริยธรรม ด้านการบริหารงานวิชาการในสถานศึกษา ผู้บริหารต้องใช้ทั้งหลักประสิทธิภาพและ
ประสิทธิผล คานึงถึงคุณภาพของผู้เรียนเป็นหลัก และต้องคานึงถึงบุคลากรซึ่งเป็นผู้มีบทบาทสาคัญใน
กระบวนการบริหาร โดยให้ทุกคนมีส่วนร่วมในการบริหาร มีกระบวนการประกันคุณภาพการศึกษา
ทั้งการควบคุมคุณภาพ การตรวจสอบคุณภาพ และการประเมินผล เพื่อพัฒนาสถานศึกษาสู่ความเป็น
เลิศทางวิชาการ เป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ที่มีคุณภาพ และมีศักยภาพเป็นที่ยอมรับของสังคม
ในระดับสากล
2. รูปแบบการบริหารงานวิชาการ เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน
ทั้งระบบ โรงเรียน เท ศบ าล ๗ ฝั่งห มิ่น จังห วัดเชียงราย ที่พัฒ น าขึ้น มีชื่อว่า "F Plus
4 Learning Model" ประกอบด้วย หลักการ วัตถุประสงค์ กระบวนการบริหารงานวิชาการ
4 องค์ประกอบ คือ องค์ประกอบที่ 1 (F1) : หลักการพัฒนาคุณภาพสู่เป้าหมายแห่งการเรียนรู้
องค์ประกอบที่ 2 (F2) : การกาหนดโครงสร้างองค์การแห่งการเรียนรู้ตามหลักความเป็นวิชาการ
องค์ประกอบที่ 3 (F3) : การปฏิบัติการสอนเพื่อผลของการเรียนรู้ และองค์ประกอบที่ 4 (F4) : การ
ตรวจสอบผลของการเรียนรู้ ผลการตรวจสอบความเหมาะสม เป็นไปได้ ของรูปแบบการบริหารงาน
วิชาการ แบบ "F Plus 4 Learning Model" พบว่า ในภาพรวมมีความเหมาะสม เป็นไปได้อยู่ใน
ระดับมาก และผลการตรวจสอบความสอดคล้องของรูปแบบการบริหารงานวิชาการ แบบ "F Plus
4 Learning Model" โดยผู้เชี่ยวชาญ พบว่า มีค่าดัชนีความสอดคล้องอยู่ในเกณฑ์ที่ยอมรับได้
(  0.50)
3. หลังการใช้รูปแบบการบริหารงานวิชาการ แบบ "F Plus 4 Learning Model" พบว่า
ในปีการศึกษา 2561 โดยเฉลี่ยนักเรียนโรงเรียนเทศบาล ๗ ฝั่งหมิ่น จังหวัดเชียงราย ร้อยละ
88.90 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับดี (3) ขึ้นไป
4. ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องมีความพึงพอใจต่อรูปแบบการบริหารงานวิชาการ เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์
ทางการเรียนของนักเรียนทั้งระบบ โรงเรียนเทศบาล ๗ ฝั่งหมิ่น จังหวัดเชียงราย แบบ "F Plus
4 Learning Model" โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก