ชื่อเรื่อง การพัฒนาการจัดประสบการณ์โดยกิจกรรมการละเล่นภูมิปัญญาท้องถิ่น เพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัย
ชื่อผู้วิจัย นางธนพร งามดี
ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะครูชำนาญการ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านงิ้ว สังกัดกองการศึกษา
ศาสนาและวัฒนธรรม องค์การบริหารส่วนตำบลสระบัว ตำบลสระบัว อำเภอ
แคนดง จังหวัดบุรีรัมย์
ปีที่วิจัย ปีการศึกษา 2561
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของการจัดกิจกรรมการละเล่นภูมิปัญญาท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัย 2) เพื่อเปรียบเทียบความคิดสร้างสรรคก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนปฐมวัยที่ผ่านการเรียนรูด้วยแผนการจัดประสบการณ์การละเล่นภูมิปัญญาท้องถิ่น 3) เพื่อประเมนิผลความพงึพอใจของเด็กปฐมวัยที่เรียนด้วยแผนการจัดประสบการณ์ เรื่อง การละเล่นภูมิปัญญาท้องถิ่น กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ เด็กปฐมวัยชั้นอนุบาล 2 ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านงิ้ว สังกัดกองการศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม องค์การบริหารส่วนตำบลสระบัว ตำบลสระบัว อำเภอแคนดง จังหวัดบุรีรัมย์ จำนวน 29 คน เป็นเด็กปฐมวัยที่มีอายุ 4-6 ปี ที่กำลังเรียนในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561 ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive sampling) เครื่องมือที่ใช้ในวิจัย ประกอบด้วย 1) แผนการจัดประสบการณ์โดยใช้การละเล่นภูมิปัญญาท้องถิ่น จำนวน 30 แผน 2) แบบทดสอบวัดทักษะความคิดสร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัย จำนวน 5 ชุด จำนวน 16 ข้อ 3) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียน จำนวน 10 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ความแตกต่างคะแนนก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้ t test
สรุปผลการวิจัย
จากผลการศึกษาเรื่องการพัฒนาทักษะการคิดสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัยโดยใช้ สรุป
โดยรวมมีผล ดังนี้
1. ประสิทธิภาพของแผนการจัดกิจกรรมการละเล่นภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อพัฒนาความคิด สร้างสรรคของเด็กปฐมวัย มีประสิทธิภาพตาม 81.61/80.33 ซึ่งสูงกว่าเกณฑที่ตั้งไว
2. คะแนนเฉลี่ยทักษะการคิดสร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัยหลังการจัดประสบการณ์โดยใช้
การละเล่นภูมิปัญญาท้องถิ่น ในภาพรวมสูงกว่าก่อนการจัดประสบการณ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า คะแนนเฉลี่ยทักษะการคิดสร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัย ด้านความคิดคล่องแคล่ว ดานความคิดริเริ่ม ด้านความคิดละเอียดลออ ด้านความคิดยึดหยุ่น สัดส่วนหลังการจัดประสบการณ์โดยใช้การละเล่นภูมิปัญญาท้องถิ่น สูงกว่าก่อนจัดประสบการณ์ในทุกด้านอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
3. ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดประสบการณ์โดยใช้การละเล่นภูมิปัญญาท้องถิ่น โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดประสบการณ์โดยใช้การละเล่นภูมิปัญญาท้องถิ่นโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( = 2.69 S.D = 0.44) เมื่อพิจารณาเป็นรายประเด็น พบว่า การละเล่นภูมิปัญญาท้องถิ่นมีที่เหมาะสมกับเนื้อหา, บรรยากาศในการเรียนน่าสนใจและสนุกสนาน, นักเรียนได้มีส่วนร่วมในการเล่นการละเล่นภูมิปัญญาท้องถิ่น ,ใช้เวลาเหมาะสมในการเล่นการละเล่นภูมิปัญญาท้องถิ่น, นักเรียนเข้าใจคำชี้แจงการละเล่นภูมิปัญญาท้องถิ่นที่ครูอธิบายให้ฟัง, การละเล่นภูมิปัญญาท้องถิ่นมีภาพประกอบสวยงาม , มีตัวอักษรตัวเลขชัดเจนเหมาะสม , กิจกรรมการเรียนรู้สร้างความเข้าใจระหว่างครูกับนักเรียน , นักเรียนมีความสุขในการเล่นการละเล่นภูมิปัญญาท้องถิ่น , การละเล่นภูมิปัญญาท้องถิ่นมีความน่าสนใจ ( = 3.00 ,2.96 ,2.93 ,2.86 ,2.64, 2.54, 2.52 ,2.52 ,2.51, 2.50 S.D = 0.00 ,0.18, 0.25 ,0.34 , 0.61, 0.72 ,0.78 ,0.78 , 0.64 ,0.16) ตามลำดับ