ผลงานวิชาการ การพัฒนาทักษะทางภาษาและนิสัยรักการอ่านของเด็กปฐมวัยโดยใช้หนังสือ
นิทานตั้งโต๊ะ ชุด ผลไม้ไทยที่ผู้ปกครองมีส่วนร่วม
ผู้ศึกษา นางศิริพร พรมมงคล
ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ตำบลแก้งแก สังกัดองค์การบริหารส่วนตำบลแก้งแก อำเภอโกสุมพิสัย
จังหวัดมหาสารคาม
ปีที่ศึกษา 2562
บทคัดย่อ
การศึกษา การพัฒนาทักษะทางภาษาและนิสัยรักการอ่านของเด็กปฐมวัยโดยใช้หนังสือนิทานตั้งโต๊ะ ชุด ผลไม้ไทยที่ผู้ปกครองมีส่วนร่วม ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ของการศึกษาเพื่อ 1) หาประสิทธิภาพของหนังสือนิทานตั้งโต๊ะ ชุด ผลไม้ไทย 2) เปรียบเทียบทักษะทางภาษาและนิสัยรักการอ่านของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังการใช้หนังสือนิทานตั้งโต๊ะ ชุด ผลไม้ไทย 3) ศึกษาความพึงพอใจของผู้ปกครองที่มีต่อการพัฒนาทักษะทางภาษาและนิสัยรักการอ่านของเด็กปฐมวัยโดยใช้หนังสือนิทานตั้งโต๊ะ ชุด ผลไม้ไทยที่ผู้ปกครองมีส่วนร่วม กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ เด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 1 ปีการศึกษา 2562 ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กตำบลแก้งแก สังกัดองค์การบริหารส่วนตำบลแก้งแก จำนวน 15 คน ที่ผู้ศึกษาเป็นครูประจำชั้น โดยใช้แบบแผนการศึกษาแบบ One Group Pre-test Post-test เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ หนังสือนิทานตั้งโต๊ะ ชุด ผลไม้ไทย จำนวน 3 ชุด มะพร้าวผลใหญ่ ชมไร่สับปะรด ผลผลิตกล้วยมากมี แผนการจัดประสบการณ์เพื่อพัฒนาทักษะทางภาษาและนิสัยรักการอ่านของเด็กปฐมวัยโดยใช้หนังสือนิทานตั้งโต๊ะ ชุด ผลไม้ไทยที่ผู้ปกครองมีส่วนร่วม แบบสังเกตพฤติกรรมด้านทักษะทางภาษา แบบสังเกตนิสัยรักการอ่าน แบบสอบถามความพึงพอใจของผู้ปกครองที่มีต่อการพัฒนาทักษะทางภาษาและนิสัยรักการอ่านของเด็กปฐมวัยโดยใช้หนังสือนิทานตั้งโต๊ะ ชุด ผลไม้ไทยที่ผู้ปกครองมีส่วนร่วม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
สรุปผลการศึกษา พบว่า
1. หนังสือนิทานตั้งโต๊ะ ชุด ผลไม้ไทย เพื่อพัฒนาทักษะทางภาษาและนิสัยรักการอ่านสำหรับเด็กปฐมวัยที่ผู้ปกครองมีส่วนร่วม มีประสิทธิภาพ (E1/E2) เท่ากับ 92.08/92.17 สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ คือ 80/80
2. เด็กปฐมวัยมีทักษะทางภาษาและนิสัยรักการอ่านหลังการใช้หนังสือนิทานตั้งโต๊ะ
ชุด ผลไม้ไทยที่ผู้ปกครองมีส่วนร่วม สูงขึ้นกว่าก่อนการใช้หนังสือนิทานตั้งโต๊ะ ชุด ผลไม้ไทยที่
ผู้ปกครองมีส่วนร่วม ทั้งนี้ เมื่อนำค่าเฉลี่ยของทักษะทางภาษาและนิสัยรักการอ่านหลังการใช้หนังสือนิทานตั้งโต๊ะ ชุด ผลไม้ไทยที่ผู้ปกครองมีส่วนร่วม มาวิเคราะห์ค่าร้อยละความก้าวหน้าทักษะทางภาษาและนิสัยรักการอ่านของเด็กปฐมวัย พบว่า มีค่าร้อยละความก้าวหน้าทักษะทางภาษาและนิสัยรักการอ่านของเด็กปฐมวัย หลังการใช้หนังสือนิทานตั้งโต๊ะ ชุด ผลไม้ไทยที่ผู้ปกครองมีส่วนร่วม เท่ากับ 36.52 สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ร้อยละ 25 ขึ้นไป
3. ผู้ปกครองมีความพึงพอใจต่อการพัฒนาทักษะทางภาษาและนิสัยรักการอ่านของเด็กปฐมวัยโดยใช้หนังสือนิทานตั้งโต๊ะ ชุด ผลไม้ไทยที่ผู้ปกครองมีส่วนร่วม ในภาพรวมระดับมาก และเมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า ทุกข้ออยู่ในระดับมาก