ชื่อเรื่อง การพัฒนาทักษะการอ่าน การคิด การเขียน ของนักเรียนโดยใช้ HEAD MODEL โรงเรียนเทศบาล ๓ (บ้านหัวทาง) สังกัดเทศบาลเมืองสตูล จังหวัดสตูล
ปีการศึกษา 2560 - 2561
ผู้รายงาน นางโสภาวรรณ รัตนดิลก ณ ภูเก็ต
ตำแหน่ง ผู้อำนวยการสถานศึกษา โรงเรียนเทศบาล ๓ (บ้านหัวทาง)
ปีที่รายงาน ปีการศึกษา 2560 - 2561
บทคัดย่อ
การวิจัยเพื่อการพัฒนาทักษะการอ่าน การคิด การเขียน ของนักเรียนโดยใช้ HEAD MODEL โรงเรียนเทศบาล ๓ (บ้านหัวทาง) ปีการศึกษา 2560 2561 มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาทักษะการอ่าน การคิด การเขียนของนักเรียนโดยใช้ HEAD MODEL 2) เพื่อศึกษาทักษะการอ่าน การคิด การเขียน ของนักเรียนหลังการพัฒนา 3) เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนจำแนกเป็น 3.1) ผลสัมฤทธิ์ระดับสถานศึกษา 3.2) ผลการสอบประเมินคุณภาพการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (NT) 3.3) ผลการทดสอบการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) และ 3.4) ผลการประเมินสมรรถนะสำคัญ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 และ 6 โดยหน่วยงานต้นสังกัด และ 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียน ครูผู้ปกครอง คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานและเครือข่ายชุมชน ที่มีต่อการพัฒนาทักษะการอ่าน การคิดการเขียน ของนักเรียนโดยใช้ HEAD MODELโดยประยุกต์ใช้หลักการวิจัยเพื่อพัฒนา 3 ระยะ 7 ขั้นตอน ต่อเนื่องปีการศึกษา 2560 2561 กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วยประชากรและกลุ่มตัวอย่างได้แก่ประชากรครู ปีการศึกษา 2560 2561 จำนวน 12 คน ส่วนกลุ่มตัวอย่างได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3- 6 ปีการศึกษา 2560 จำนวน192 คน ปีการศึกษา 2561จำนวน172คน ผู้ปกครองปีการศึกษา 2560 จำนวน 192 คน ปีการศึกษา 2561 จำนวน 167 คน คณะกรรมการสถานศึกษา 2560 2561 จำนวน 13 คน และเครือข่ายชุมชน จำนวน 15 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลทั้งสิ้น 7 ฉบับ มี 2 ลักษณะ ได้แก่ แบบสอบถาม แบบบันทึกข้อมูลตามสภาพจริง จำนวน 5 ฉบับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป SPSS Version 23 และนำเสนอผลการวิจัยครั้งนี้
1. ผลการวิเคราะห์คุณภาพการพัฒนาทักษะการอ่าน การคิด การเขียน ของนักเรียนโดยใช้ HEAD MODEL ตามความคิดเห็นของนักเรียน ครู ผู้ปกครอง พบว่าโดยรวมทั้ง 3 กลุ่ม มีคุณภาพอยู่ในระดับมาก สอดคล้องตามสมมติฐาน
2. ผลการคัดกรองความสามารถด้านการอ่าน การคิด การเขียน ของนักเรียนโดยใช้ HEAD MODEL ตามมาตรฐานและตัวชี้วัด รายชั้น ตามที่หลักสูตรสถานศึกษากำหนด พบว่า หลังการพัฒนานักเรียนมีความสามารถด้านการอ่าน การคิด การเขียน มีคุณภาพระดับดีเพิ่มขึ้น สอดคล้องตามสมมติฐาน
3. ผลการวิเคราะห์ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน พบว่า หลังการพัฒนา จำแนกเป็นผลสัมฤทธิ์ระดับสถานศึกษา ผลการทดสอบคุณภาพทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (NT) และ (O-NET) และผลการประเมินสมรรถนะสำคัญของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 และ 6 โดยหน่วยงานต้นสังกัด หลังการพัฒนา มีค่าเฉลี่ยสูงกว่าก่อนการพัฒนา สอดคล้องตามสมมติฐาน
4. ความพึงพอใจของนักเรียน ครู ผู้ปกครอง คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และเครือข่ายชุมชนที่มีต่อการพัฒนา ทักษะการอ่าน การคิด การเขียน ของนักเรียนโดยใช้ HEAD MODELหลังการพัฒนาพบว่า โดยภาพรวมทุกกลุ่มมีความพึงพอใจ อยู่ในระดับมากสอดคล้องตามสมมติฐาน