ชื่อเรื่อง การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหา
หน่วยการเรียนรู้ เสียง รายวิชาฟิสิกส์ 3 ว32203 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5
โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือและเทคนิค KWDL
ผู้ศึกษา นางพรทิพย์พา จรรยาประดิษฐ์
โรงเรียน โรงเรียนสีคิ้ว สวัสดิ์ผดุงวิทยา อำเภอสีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมา
สำนักการศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม องค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา
ปีที่พิมพ์ 2562
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อหาประสิทธิภาพของการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือและเทคนิค KWDL ตามเกณฑ์ 75/75 (2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการก่อนเรียนกับหลังเรียน โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือและเทคนิค KWDL (3) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาหลังเรียนกับเกณฑ์ร้อยละ 75 โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือและเทคนิค KWDL (4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือและเทคนิค KWDL กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561 จำนวน 32 คน โรงเรียนสีคิ้ว สวัสดิ์ผดุงวิทยา อำเภอสีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมา ซึ่งได้มาจากวิธีการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) โดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยการสุ่ม (Sampling Unit) เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาประกอบด้วย (1) แผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 12 แผน (2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน จำนวน 1 ฉบับ (3) แบบทดสอบวัดความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหา จำนวน 1 ฉบับ และ (4) แบบสอบถามความพึงพอใจ จำนวน 1 ฉบับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ (1) ค่าร้อยละ (Percentage) (2) ค่าเฉลี่ย ( ) (3) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และ (4) การทดสอบค่าที (t-test)
ผลการศึกษาพบว่า
1. การจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือและเทคนิค KWDL หน่วยการเรียนรู้ เสียง รายวิชาฟิสิกส์ 3 ว32203 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 มีประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์ 75/75 ที่ตั้งไว้
2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน หน่วยการเรียนรู้ เสียง รายวิชาฟิสิกส์ 3 ว32203 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
3. ความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาของนักเรียน หน่วยการเรียนรู้ เสียง รายวิชาฟิสิกส์ 3 ว32203 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 หลังเรียนสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 75 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
4. ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือและเทคนิค KWDL โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด