ชื่อเรื่อง การพัฒนาการจัดประสบการณ์เรียนรู้แบบเด็กนักวิจัยเพื่อส่งเสริมสร้างคุณลักษณะ
พฤติกรรมทางสังคม ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 3
โรงเรียนเทศบาล ๑ (ถนนภูผาภักดี)
ผู้รายงาน นางธันยาภรณ์ เพชรโยธา
ปีที่รายงาน 2561
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาและเปรียบเทียบคะแนนพฤติกรรมทางสังคมของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 3 โดยรวม และรายด้านที่ได้รับการจัดประสบการณ์เรียนรู้แบบเด็กนักวิจัย
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้เป็นเด็กปฐมวัย ชาย - หญิง ที่มีอายุ 5 - 6 ปี ชั้นอนุบาลศึกษาปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 1 ปการศึกษา 2561 โรงเรียนเทศบาล ๑ (ถนนภูผาภักดี) จำนวน 25 คน ซึ่งไดมาโดยการจับสลากหองเรียนและนักเรียนมาเป็นกลุ่มทดลอง โดยไดรับการจัดกิจกรรมการจัดการเรียนรู้แบบเด็กนักวิจัย ใช้เวลาในการทดลอง 10 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 5 วัน วันละ 50 นาที รวมระยะเวลาทั้งสิ้น
40 ครั้ง เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ แผนการจัดประสบการณ์เรียนรู้แบบเด็กนักวิจัย และแบบสังเกตพฤติกรรมทางสังคม ได้ค่าดัชนีความสอดคลองระหว่างพฤติกรรมกับจุดประสงค์ IOC อยู่ระหว่าง
0.67 1.00 และมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .96 การวิจัยครั้งนี้ใชแผนการทดลองแบบ One Group Time Series สถิติที่ใชวิเคราะหขอมูล คือ การวิเคราะหความแปรปรวนแบบวัดซ้ำ (One Way Repeated ANOVE). Partial η และ LSD แบบวัดซ้ำ
ผลการวิจัยพบว่าก่อนการทดลองและชวงการทดลองการจัดประสบการณ์เรียนรู้แบบเด็กนักวิจัย มีระดับคะแนนพฤติกรรมทางสังคมของนักเรียนอนุบาลศึกษาปีที่ 3 แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ p < .05 ทั้งโดยรวม (F = 6.658) และรายด้านคือ ด้านการช่วยเหลือ
(F = 18.380) ด้านการแบ่งปัน (F = 12.816) และด้านความร่วมมือ (F = 15.556) โดยการจัดประสบการณ์เรียนรู้แบบเด็กนักวิจัยส่งผลต่อพฤติกรรมทางสังคมโดยรวม ร้อยละ 98 (Partial η = .98) และส่งผลต่อพฤติกรรมทางสังคมรายด้าน คือ ด้านการช่วยเหลือร้อยละ 81 , (Partial η = .81) ด้านการแบ่งปันร้อยละ 93 , (Partial η = .93) และด้านการร่วมมือร้อยละ 89 , (Partial η = .89) ตามลำดับ