บทคัดย่อ : ชุดการเรียนรู้ นิทานพื้นเมือง เรื่อง นิทานพื้นบ้านสุรินทร์ เพื่อพัฒนาทักษะทางคณิตศาสตร์ สำหรับ เด็กปฐมวัยตำบลหนองเรือ
ผู้ศึกษา นางรสริน สอนดี
ปีที่ทำการศึกษา ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2561
บทคัดย่อ
รายงานการพัฒนาชุดทักษะการเรียนรู้ เรื่อง ท้องถิ่นสุรินทร์ เพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์
ของเด็กเล็กบ้านโนนเปือย
วัตถุประสงค์ในการวิจัย
1. เพื่อพัฒนาชุดทักษะการเรียนรู้ เรื่อง ท้องถิ่นสุรินทร์ เพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์
ของเด็กเล็กบ้านโนนเปือย ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80
2. เพื่อหาดัชนีประสิทธิผลชองชุดทักษะการเรียนรู้ เรื่อง ท้องถิ่นสุรินทร์ เพื่อพัฒนา
ความคิดสร้างสรรค์ของเด็กเล็กบ้านโนนเปือย
3. เพื่อเปรียบเทียบความคิดสร้างสรรค์ขอเด็กเล็กก่อนและหลังรับชุดทักษะการเรียนรู้
เรื่อง ท้องถิ่นสุรินทร์ เพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ของเด็กเล็กบ้านโนนเปือย
4. เพื่อศึกษาความพึงพอใจของเด็กเล็กบ้านโนนเปือย ที่มีต่อการเรียนโดยใช้ชุดทักษะ
การเรียนรู้ เรื่อง ท้องถิ่นสุรินทร์ เพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ ของเด็กเล็กบ้านโนนเปือย
การศึกษาครั้งนี้ทำการศึกษาโดยใช้ระยะเวลาทำการศึกษาในภาคเรียนที่ 1 ปการศึกษา 2561
ใช้เวลาในการสอน 28 ชั่วโมง มีการสอบก่อนเรียนและหลังเรียน 2 ชั่วโมง รวมทั้งหมด 30 ชั่วโมง
โดยสอนสัปดาห์ละ 2 ชั่วโมง โดยกลุ่มตัวอย่าง ที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ เด็กเล็กบ้านโนนเปือย
ซึ่งมีจำนวน 16 คน ไดมาโดยการสุ่มแบบเจาะจง (Purposive Sampling)
เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่
1. ชุดทักษะการเรียนรู้ เรื่อง ท้องถิ่นสุรินทร์ เพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ของเด็กเล็ก
บ้านโนนเปือย ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2561 แบ่งเนื้อหาออกเป็น 14 เรื่อง ดังนี้
เรื่องที่ 1 เรื่อง ศาลหลักเมือง
เรื่องที่ 2 เรื่อง วัดบูรณาราม
เรื่องที่ 3 เรื่อง อนุเสารีย์พระยาสุรินทร์
เรื่องที่ 4 เรื่อง พระพุทธสุรินทรมงคล
เรื่องที่ 5 เรื่อง วนอุทธยานพนมสวาย
เรื่องที่ 6 เรื่อง หมู่บ้านช้าง
เรื่องที่ 7 เรื่อง หมู่บ้านทอผ้าไหม
เรื่องที่ 8 เรื่อง หมู่บ้านหัตกรรมเขาวสินรินทร์
เรื่องที่ 9 เรื่อง จักสานหวายหางหนู
เรื่องที่ 10 เรื่อง ตลาดการค้าช่องจอม
เรื่องที่ 11 เรื่อง ตลาดนัดสีเขียว
เรื่องที่ 12 เรื่อง พระพุทธบาทเขาศาลา
เรื่องที่ 13 เรื่อง พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติสุรินทร์
เรื่องที่ 14 เรื่อง เทศกาลงานประเพณี
2. แบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียนชุด ๆ ละ 5 ข้อ จำนวน 14 ชุด
3. แบบวัดความพึงพอใจของนักเรียนที่มีชุดทักษะการเรียนรู้ เรื่อง ท้องถิ่นสุรินทร์ เพื่อ
พัฒนาความคิดสร้างสรรค์ของเด็กเล็กบ้านโนนเปือย จำนวน 10 ข้อ
สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่
1. สถิติที่ใช้ในการตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือ ได้แก่ ความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา (IOC :
Index of Item Objective Congruence) ค่าความยาก (p) ค่าความเชื่อมั่นของแบบทดสอบ (KR- 20) ค่าอำนาจจำแนก (r)
2. สถิติที่ใช้ในการตรวจสอบสมมติฐาน ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ค่าความเบี่ยงเบน
มาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานประสิทธิภาพของแบบฝึกหลักภาษาไทย ทดสอบสมมติฐานผลสัมฤทธิ์
(t test Dependent) และทดสอบสมมติฐานดรรชนีประสิทธิผล (The Effectivenness index)
ผลการศึกษาพบว่า
1. ประสิทธิภาพของชุดทักษะการเรียนรู้ เรื่อง ท้องถิ่นสุรินทร์ เพื่อพัฒนาความคิด
สร้างสรรค์ของเด็กเล็กบ้านโนนเปือย มีค่าประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ (E1/E2 = 91.02/84.67) ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่ตั้งไว้และเมื่อพิจารณาโดยแยกเป็นชุดทักษะการเรียนรู้ เรื่อง ท้องถิ่นสุรินทร์ เพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ของเด็กเล็กบ้านโนนเปือยมีค่าประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ E1/E2 = 80/80 ทุกชุด
2. ดัชนีประสิทธิผลของชุดทักษะการเรียนรู้ เรื่อง ท้องถิ่นสุรินทร์ เพื่อพัฒนาความคิด
สร้างสรรค์ของเด็กเล็ก บ้านโนนเปือย เท่ากับ 0.8395 แสดงว่านักเรียนมีความก้าวหน้าในการเรียน
ด้านความคิดสร้างสรรค์ คิดเป็นร้อยละ 83.95.
3. เปรียบเทียบความคิดสร้างสรรค์ของของเด็กเล็กก่อนและหลังรับชุดทักษะการเรียนรู้
ระหว่างก่อนและหลังการเรียน โดยใช้ชุดทักษะการเรียนรู้ เรื่อง ท้องถิ่นสุรินทร์ เพื่อพัฒนาความคิด
สร้างสรรค์ของเด็กเล็ก บ้านโนนเปือย คะแนนเฉลี่ยหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยมีค่า t เท่ากับ 34.99 และเมื่อแยกเป็นชุดทักษะการเรียนรู้ เรื่อง ท้องถิ่นสุรินทร์ เพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ของเด็กเล็ก บ้านโนนเปือย พบว่ามีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ทุกชุด
4. ความพึงพอใจของผู้ปกครองเด็กเล็ก บ้านโนนเปือย ที่มีต่อการเรียนโดยใช้ชุดทักษะการ
เรียนรู้ เรื่อง ท้องถิ่นสุรินทร์ เพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ของเด็กเล็กบ้านโนนเปือย โดยภาพรวมความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด (X- = 4.51)
การศึกษาครั้งนี้ทำให้ได้ชุดทักษะการเรียนรู้ เรื่อง ท้องถิ่นสุรินทร์ เพื่อพัฒนาความคิด
สร้างสรรค์ของเด็กเล็กบ้านโนนเปือย ที่มีประสิทธิภาพ สามารถนำไปใช้พัฒนาผู้เรียนให้มีความคิดสร้างสรรค์ของของเด็กเล็กที่สูงขึ้น นักเรียนมีความสุขในการเรียนรู้และการทำกิจกรรม มีความกระตือรือร้นที่จะเรียน เป็นแนวทางให้ครูผู้สอนนำไปประยุกต์ใช้ในเนื้อหาเรื่องอื่น ๆ ต่อไป