ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบการสอนตามแนวคอนสตรัคต์วิสซึมร่วมกับการร่วมมือกันเรียนรู้ โดย
ใช้ชุดกิจกรรม เรื่องอาณาจักรสุโขทัย เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชา
ประวัติศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
ชื่อผู้วิจัย นางอุไรย์ เพ็งแก้ว
ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการพิเศษ โรงเรียนเทศบาลเขาชัยสน จังหวัดพัทลุง
ปีที่วิจัย 2561
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาสภาพปัญหาข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนารูปแบบการสอนตามแนวคอนสตรัคต์วิสซึมร่วมกับการร่วมมือกันเรียนรู้ โดยใช้ชุดกิจกรรม (2) สร้างและหาประสิทธิภาพของรูปแบบการสอนตามแนวคอนสตรัคต์วิสซึมร่วมกับการร่วมมือกันเรียนรู้ โดยใช้ชุดกิจกรรม ตามเกณฑ์ 80/80 (3) ศึกษาผลการใช้รูปแบบการสอนตามแนวคอนสตรัคต์วิสซึมร่วมกับการร่วมมือกันเรียนรู้ โดยใช้ชุดกิจกรรม ก่อนเรียนและหลังเรียน และ (4) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อรูปแบบการสอนตามแนวคอนสตรัคต์วิสซึมร่วมกับการร่วมมือกันเรียนรู้ โดยใช้ชุดกิจกรรม กลุ่มตัวอย่างได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4/2 ปีการศึกษา 2561 จำนวน 32 คน เครื่องมือที่ใช้วิจัย ได้แก่ 1) แบบประเมินรูปแบบการสอน 2) แผนการจัดการเรียนรู้ 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ และ 4) แบบสอบถามความคิดเห็นที่มีต่อรูปแบบการสอน ผลการวิจัยพบว่า
1) ผลการศึกษาสภาพปัญหาข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนารูปแบบการสอนตามแนวคอนสตรัคต์วิสซึมร่วมกับการร่วมมือกันเรียนรู้ โดยใช้ชุดกิจกรรม ประกอบด้วยข้อมูลพื้นฐานด้าน การพัฒนาศักยภาพครูเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้ การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน การพัฒนากระบวนการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ การพัฒนาสื่อและแหล่งเรียนรู้ และการส่งเสริมความร่วมมือในการทำงานกลุ่ม
2) ผลการสร้างและหาประสิทธิภาพของรูปแบบการสอนตามแนวคอนสตรัคต์วิสซึมร่วมกับการร่วมมือกันเรียนรู้ โดยใช้ชุดกิจกรรม ประกอบด้วย 5 ขั้นตอน 1) ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน 2) ขั้นกิจกรรมกลุ่ม 3) ขั้นวิเคราะห์ผลงานร่วมกัน 4) ขั้นการปฏิบัติ 5) ขั้นสรุปและประเมินผล และรูปแบบการสอนมีประสิทธิภาพ E1 / E2 เท่ากับ 87.12/ 87.83
3) ผลการใช้รูปแบบการสอนตามแนวคอนสตรัคต์วิสซึมร่วมกับการร่วมมือกันเรียนรู้ โดยใช้ชุดกิจกรรม หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
4) ผลการศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อรูปแบบการสอนตามแนวคอนสตรัคต์วิสซึมร่วมกับการร่วมมือกันเรียนรู้ โดยใช้ชุดกิจกรรม เรื่องอาณาจักรสุโขทัย วิชาประวัติศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.30