ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบการสอนสังคมศึกษา ด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้ โดยใช้สมองเป็นฐาน เพื่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนเทศบาลวัดมเหยงคณ์
ผู้วิจัย นางพจมาน ชูสง
ปีวิจัย ปีการศึกษา 2560
บทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานหลักการในการพัฒนารูปแบบการสอนสังคมศึกษาด้วยชุดกิจกรรมตามหลักการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐานเพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 (2) เพื่อสร้างและพัฒนารูปแบบการสอนสังคมศึกษาชุดกิจกรรมตามหลักการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐานเพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 (3) เพื่อทดลองใช้รูปแบบการสอนสังคมศึกษาด้วยชุดกิจกรรมตามหลักการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐานเพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 และ (4) เพื่อประเมินรูปแบบการสอนสังคมศึกษาด้วยชุดกิจกรรมตามหลักการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐานเพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ผู้วิจัยได้ดำเนินการตามขั้นตอนการวิจัยและพัฒนา (Research & Development) 4 ขั้นตอน ดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 การวิจัย (Research : R1) ศึกษาข้อมูลพื้นฐานสำหรับการพัฒนารูปแบบการสอน ขั้นตอนที่ 2 การพัฒนา (Development : D1) ขั้นตอนที่ 2 การสร้างและพัฒนารูปแบบการสอน (Design and Development : D&D) ขั้นตอนที่ 3 การวิจัย (Research : R2) ทดลองใช้ (Implementation : I) รูปแบบการสอนกับนักเรียนกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 35 คน ด้วยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560 และขั้นตอนที่ 4 การพัฒนา (Development : D2) การประเมินผล (Evaluation : E) ประเมินและปรับปรุงแก้ไขรูปแบบการสอน เครื่องมือที่ใช้วิจัย ได้แก่ 1) รูปแบบการสอน 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 3) แผนการจัดการเรียนรู้ และ 4 ) แบบประเมินความคิดเห็นที่มีต่อรูปแบบการสอน ผู้วิจัยนำเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าทีแบบ dpendent Sample
ผลการวิจัยพบว่า
1) ผลการศึกษาข้อมูลพื้นฐานหลักการในการพัฒนารูปแบบการสอนสังคมศึกษาที่พัฒนาขึ้นประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ ได้แก่ (1) สื่อการสอน (2) ผู้สอน (3) ผู้เรียน (4) การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และ (5) การวัดและประเมินผล
2) รูปแบบการสอนสังคมศึกษา มีขั้นตอน 5 ขั้นได้แก่ (1) ขั้นนำเข้าสู่บทเรียนด้วยกิจกรรมที่หลากหลาย (2) ขั้นกำหนดกระบวนการเรียนรู้อย่างเป็นระบบ (3) ขั้นสร้างความรู้ที่แปลกใหม่ผ่านกิจกรรมกลุ่ม (4) ขั้นแลกเปลี่ยนประสบการณ์การเรียนรู้ที่เป็นประโยชน์ และ (5) ขั้นสรุปความรู้
3) ผลการทดลองใช้รูปแบบการพัฒนารูปแบบการสอนสังคมศึกษา ด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้ โดยใช้สมองเป็นฐาน เพื่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 พบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน และเฉลี่ยความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์หลังเรียนของกลุ่ม ตัวอย่างสูงกว่าคะแนนเฉลี่ยก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
4) จากการประเมินรูปแบบการสอนสังคมศึกษา ด้วยชุดกิจกรรมตามหลักการเรียนรู้ โดยใช้สมองเป็นฐาน ผู้เชี่ยวชาญมีความเห็นว่ารูปแบบการสอนสังคมศึกษา ด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้ โดยใช้สมองเป็นฐาน เพื่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มีความเหมาะสมระดับมาก ถือว่าผ่านเกณฑ์การประเมิน