ชื่อรายงาน การพัฒนาแบบฝึกทักษะวิชาภาษาไทย เรื่องการอ่านคิดวิเคราะห์
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนสูงเนิน
ผู้ศึกษา ศิวพร ปูนขุนทด
ปี พ.ศ. 2562
บทคัดย่อ
การรายงานครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อหาประสิทธิภาพของการพัฒนาแบบฝึกทักษะวิชาภาษาไทย เรื่อง การอ่านคิดวิเคราะห์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนสูงเนิน ที่สร้างขึ้น โดยเปรียบเทียบกับเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การอ่านคิดวิเคราะห์ ก่อนเรียนและหลังเรียน 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่เรียนด้วยแบบฝึกทักษะวิชาภาษาไทย เรื่อง การอ่านคิดวิเคราะห์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
ประชากรที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ นักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 287 คน
โรงเรียนสูงเนิน อำเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา สำนักการศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม องค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา กรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ เป็นนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/2 จำนวน 34 คน กำลังศึกษาอยู่ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2562 โรงเรียนสูงเนิน อำเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา ซึ่งได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง (บุญชม ศรีสะอาด. 2556 : 41)
เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ประกอบด้วย แบบฝึกทักษะวิชาภาษาไทย เรื่อง การอ่านคิดวิเคราะห์ สําหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จํานวน 7 เล่ม แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง การอ่านคิดวิเคราะห์ โดยใช้แบบฝึกทักษะวิชาภาษาไทย สําหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จํานวน 7 แผน รวม 14 ชั่วโมง แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เป็นแบบทดสอบที่ผู้ศึกษาสร้างขึ้น เพื่อใช้วัดความรู้ ความสามารถของนักเรียนในด้านการอ่านคิดวิเคราะห์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ก่อนเรียนและหลังเรียน ซึ่งเป็นแบบทดสอบปรนัย ชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จํานวน 40 ข้อ
แบบสอบถามความพึงพอใจ ของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยแบบฝึกทักษะวิชาภาษาไทย เรื่อง การอ่านคิดวิเคราะห์ สําหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scales) 5 ระดับ จํานวน 10 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ( ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และการทดสอบค่าที (t-test)
ผลการศึกษาพบว่า 1) การหาประสิทธิภาพของแบบฝึกทักษะวิชาภาษาไทย สําหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้เกณฑ์ 80/80 ได้ประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ (83.24/83.33) 2) คะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของกลุ่มตัวอย่างที่เรียนจากแบบฝึกทักษะ วิชาภาษาไทย สําหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ สูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะวิชาภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนสูงเนิน มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.56)