บทคัดย่อ
ชื่อรายงานเรื่อง การสร้างเกมคณิตศาสตร์เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การคูณ
สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3
ชื่อผู้รายงาน นางสาวสาวิตรี พวงจำ
ปีที่ทำการวิจัย ปีการศึกษา 2562
กลุ่มสาระ คณิตศาสตร์
การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อสร้างและพัฒนาเกมฝึกทักษะคณิตศาสตร์ ให้มีประสิทธิภาพ ตามเกณฑ์ 75/75 (2) (2) เพื่อทดลองใช้เกมคณิตศาสตร์ เรื่องการคูณ สำหรับนักเรียนประถมศึกษาปีที่ 3 และศึกษาผลการทดลองโดย (2.1) เปรียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังเรียนโดยใช้เกมคณิตศาสตร์ เรื่อง การคูณ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 (2.2) ศึกษาพึงพอใจในการเรียนรู้ของนักเรียนที่เรียนโดยใช้เกมคณิตศาสตร์ เรื่องการคูณ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 กลุ่มตัวอย่าง ที่ใช้ในการวิจัยคือนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3/2 โรงเรียนเทศบาลตำบลงิม อำเภอปง จังหวัดพะเยา ที่กำลังศึกษาอยู่ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2562 จำนวน 24 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ได้แก่ (1) แผนการจัดการเรียนรู้ (2) เกมคณิตศาสตร์ เรื่อง การคูณ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ จำนวน 20 เกม (3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การคูณ จำนวน 40 ข้อ ชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก ที่มีค่าความยากง่ายอยู่ระหว่าง 0.26 0.60 และค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.23 0.79 และค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.88 (3) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่มีต่อการเรียนรู้คณิตศาสตร์ โดยใช้เกมคณิตศาสตร์ จำนวน 20 ข้อคำถาม
การวิเคราะห์ข้อมูลหาคุณภาพของเกมคณิตศาสตร์และแผนการจัดการเรียนรู้จากการประเมินของผู้เชี่ยวชาญ เรื่อง การคูณ ใช้ค่าสถิติพื้นฐาน ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานทดสอบความแตกต่างระหว่างคะแนนทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้สถิติทดสอบ t test แบบสองกลุ่มสัมพันธ์
ผลการวิจัยพบว่า
1. ได้เกมคณิตศาสตร์เพื่อพัฒนาผลการเรียนรู้ เรื่องการคูณ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 20 เกม ผลการประเมินคุณภาพของเกมในด้านความเหมาะสมของเกมคณิตศาสตร์เพื่อใช้ในการจัดการเรียนการสอน มีความเหมาะสมทุกรายการประเมินเฉลี่ยในภาพรวมในระดับมาก และเกมคณิตศาสตร์มีประสิทธิภาพท่ากับ 78.77/79.33
2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3/2 เรื่อง การคูณ หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3/2 มีความพึงพอใจในการเรียนรู้คณิตศาสตร์ โดยใช้เกมคณิตศาสตร์ ในระดับมาก (x̄ = 4.56 , SD= 0.19)