ชื่อเรื่อง การพัฒนาทักษะทางสังคมโดยใช้การจัดกิจกรรมการละเล่นพื้นบ้านไทย
สําหรับเด็กปฐมวัย
ผู้ศึกษาค้นคว้า นางสาวปิยนุช นุ่นรอด
สถานที่ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านทุ่งค่าย ต.หนองธง อ.ป่าบอน จ.พัทลุง
ปีที่พิมพ์ 2562
บทคัดย่อ
ทักษะทางสังคมเป็นทักษะหนึ่งที่จําเป็นและควรปลูกฝังให้กับเด็กปฐมวัย กระบวนการ
ปรับตัว ทางสังคมของเด็กปฐมวัยเป็นการเรียนรู้จากการปฏิสัมพันธ์กับบุคคลและสิ่งแวดล้อม การละเล่นพื้นบ้าน ของเด็กช่วยให้เด็กปฐมวัยเตรียมความพร้อมที่จะเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีทั้งพัฒนาการทั้งด้านร่างกาย สติปัญญา อารมณ์ จิตใจ และสังคม ดังนั้น ในการศึกษาค้นคว้าครั้งจึงมีความมุ่งหมาเพื่อ 1) ศึกษา ประสิทธิภาพของแผนการจัดประสบการณ์โดยใช้กิจกรรมการละเล่นพื้นบ้านไทย สําหรับเด็กปฐมวัย ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 70/70 2) เปรียบเทียบทักษะทางสังคมของเด็กปฐมวัยระหว่างก่อนและ หลังการจัดกิจกรรมการละเล่นพื้นบ้านไทย กลุ่มเป้าหมายเป็นกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นอนุบาล 2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561 ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านทุ่งค่าย ต.หนองธง อ.ป่าบอน จ.พัทลุง จํานวน 13 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ใน การศึกษาค้นคว้า ได้แก่ แผนจัดประสบการณ์โดยใช้กิจกรรมการละเล่นพื้นบ้านไทย จํานวน 12 กิจกรรม แบบประเมินพฤติกรรมระหว่างเรียน และแบบประเมินทักษะทางสังคม ซึ่งมีค่าความเชื่อมันทั้งฉบับ เท่ากับ 0.86 และ 0.81 ตามลําดับ สถิติที่ใช้คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการศึกษาปรากฏดังนี้
1. แผนการจัดประสบการณ์เพื่อการพัฒนาทักษะทางสังคมโดยใช้การจัดกิจกรรมการละเล่นพื้นบ้านไทย สําหรับเด็กปฐมวัย มีประสิทธิภาพเท่ากับ 76.82/80.89 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ ที่ตั้งไว้ 70/70
2. เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์เพื่อพัฒนาทักษะทางสังคมโดยใช้กิจกรรมการละเล่นพื้นบ้านไทย ทั้ง 12 กิจกรรม มีคะแนนทักษะทางสังคมหลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลอง และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้านทั้ง 6 ด้าน ได้แก่ ด้านการแสดงออกทางอารมณ์ ด้านความไวใน การรับรู้อารมณ์ผู้อื่น ด้านการควบคุมอารมณ์ตนเอง ด้านการแสดงออกทางสังคม ด้านความไว ในการรับรู้ทางสังคม และด้านการควบคุมทางสังคมหลังการทดลองเด็กปฐมวัยมีคะแนนทักษะทาง สังคมสูงขึ้นทุกด้าน
โดยสรุป การพัฒนาทักษะทางสังคมโดยใช้การจัดกิจกรรมการละเล่นพื้นบ้านไทยสําหรับเด็กปฐมวัย มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ทําให้เด็กปฐมวัยมีทักษะทางสังคมทั้ง 6 ด้านสูงขึ้นดังนั้น จึงสมควรสนับสนุนให้ครูผู้สอนนํากิจกรรมการละเล่นพื้นบ้านไปใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน สําหรับเด็กปฐมวัยต่อไป