ชื่องานวิจัย ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยชุดการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้ เรื่อง สารเสพติด
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยใช้รูปแบบการสอนแบบ CIPPA
ผู้วิจัย นางสาวพรพนา พ่วงเพชร โรงเรียนนนทบุรีวิทยาลัย สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด
นนทบุรี กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น
ปีที่วิจัย 2562
บทคัดย่อ
ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยชุดการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้ เรื่อง สารเสพติด
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยใช้รูปแบบการสอนแบบ CIPPA เป็นการวิจัยเชิงทดลองแบบกลุ่มเดียวทดสอบก่อนและหลังเรียน (One Group pre-test post-test Design) มีวัตถุประสงค์ของการวิจัย คือ 1) เพื่อพัฒนาชุดการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา เรื่อง สารเสพติด
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ก่อนเรียนและหลังเรียนจากการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยชุดการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา เรื่อง สารเสพติด ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยใช้รูปแบบการสอนแบบ CIPPA และ 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ด้วยชุดการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา เรื่อง สารเสพติด ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยใช้รูปแบบการสอนแบบ CIPPA กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/2 ที่กำลังศึกษาใน
ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561 โรงเรียนนนทบุรีวิทยาลัย สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดนนทบุรี จำนวน 37 คน เครื่องมือที่ใช้ คือ 1) ชุดการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา เรื่องสารเสพติด ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 5 ชุด 2) แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ประกอบการใช้ชุดการเรียนรู้ เรื่อง สารเสพติด ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยใช้รูปแบบการสอนแบบ CIPPA จำนวน 5 แผน ใช้เวลาแผนละ 2 ชั่วโมง รวม 10 ชั่วโมง 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกลุ่มสาระ
การเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา เรื่อง สารเสพติด ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 แบบปรนัย 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ ที่มีค่าความยาก (p) .37 - .71 กับค่าอำนาจจำแนก .21 - 68 และค่าความเชื่อมั่น .81 และ 4) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อชุดการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา เรื่อง สารเสพติด ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยจัดกิจกรรมการเรียนรู้รูปแบบ CIPPA
สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ( ) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และทดสอบสมมุติฐานโดยใช้สถิติที Dependent samples t-test
ผลการวิจัยพบว่า
1. ประสิทธิภาพของชุดการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา
เรื่อง สารเสพติด ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีค่า E1/ E2 เท่ากับ 87.14 / 86.94
2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนหลังการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยชุดการเรียนรู้ เรื่อง สารเสพติด ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยใช้รูปแบบการสอนแบบ CIPPAสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3. ความพึงพอใจของนักเรียนต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ด้วยชุดการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา เรื่อง สารเสพติด ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยใช้รูปแบบการสอน
แบบ CIPPA อยู่ในระดับมาก