บทคัดย่อ
ชื่องานวิจัย การพัฒนาชุดกิจกรรมทักษะทางภาษาด้านการฟังและการพูด สำหรับเด็ก
ปฐมวัยโดยใช้หนังสือประกอบคำคล้องจอง
ผู้วิจัย นางสาวชุณาภรณ์ จอมหงษ์
ปีที่พิมพ์ 2562
________________________________________________________________________
การพัฒนาชุดกิจกรรมทักษะทางภาษาด้านการฟังและการพูด สำหรับเด็กปฐมวัยโดยใช้หนังสือประกอบคำคล้องจอง มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาชุดกิจกรรมทักษะทางภาษาด้านการฟังและการพูด สำหรับเด็กปฐมวัยโดยใช้หนังสือประกอบคำคล้องจอง ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อศึกษาดัชนีประสิทธิผลของชุดกิจกรรมทักษะทางภาษาด้านการฟังและการพูด สำหรับเด็กปฐมวัยโดยใช้หนังสือประกอบคำคล้องจอง 3) เพื่อเปรียบเทียบคะแนนประเมินผลระดับความรู้ของเด็กปฐมวัย ก่อนและหลังการใช้ชุดกิจกรรมทักษะทางภาษาด้านการฟังและการพูด สำหรับเด็กปฐมวัยโดยใช้หนังสือประกอบคำคล้องจอง และ 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของเด็กปฐมวัยที่เรียนรู้จากชุดกิจกรรมทักษะทางภาษาด้านการฟังและการพูด สำหรับเด็กปฐมวัยโดยใช้หนังสือประกอบคำคล้องจอง
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาเป็นเด็กปฐมวัยชั้นปีที่ 2 ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กองค์การบริหารส่วนตำบลยางสักกระโพหลุ่ม อำเภอม่วงสามสิบ จังหวัดอุบลราชธานี ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2561 จำนวน 15 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบเจาะจง
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม ชุดกิจกรรมทักษะทางภาษาด้านการฟังและการพูด แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและแบบวัดความพึงพอใจของนักเรียน
สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสถิติ Wilcoxon Sing - Rank test
สรุปผลการวิจัย
การพัฒนาชุดกิจกรรมทักษะทางภาษาด้านการฟังและการพูด สำหรับเด็กปฐมวัยโดยใช้หนังสือประกอบคำคล้องจอง สรุปผลได้ดังนี้
1. ผลการทดลองใช้ชุดกิจกรรมทักษะทางภาษาด้านการฟังและการพูด สำหรับเด็กปฐมวัยโดยใช้หนังสือประกอบคำคล้องจอง พบว่า
1. ทดลองแบบหนึ่งต่อหนึ่ง (One to One Testing) โดยทดลองกับเด็กปฐมวัยชั้นปีที่ 2 ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กองค์การบริหารส่วนตำบลยางสักกระโพหลุ่ม อำเภอม่วงสามสิบ จังหวัดอุบลราชธานี ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 3 คน โดยเลือกนักเรียนที่มีผลการเรียนกลุ่มเก่ง ปานกลาง และอ่อน กลุ่มละ 1 คน ได้ค่าประสิทธิภาพของชุดกิจกรรม 83.60/84.15
2. ทดลองใช้กับเด็กปฐมวัยชั้นปีที่ 2 ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กองค์การบริหารส่วนตำบล ยางสักกระโพหลุ่ม อำเภอม่วงสามสิบ จังหวัดอุบลราชธานี ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560 ที่ไม่ใช่กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 9 คน คือ นักเรียนเก่ง 3 คน ปานกลาง 3 คน และอ่อน 3 คน ได้ค่าประสิทธิภาพของชุดกิจกรรม 83.40/84.28
3. นำชุดกิจกรรมทักษะทางภาษาด้านการฟังและการพูด สำหรับเด็กปฐมวัยโดยใช้หนังสือประกอบคำคล้องจอง ที่ได้รับการประเมินจากผู้เชี่ยวชาญมาพิจารณาปรับปรุงแก้ไขแล้วนำไปทดลองใช้จริงกับเด็กปฐมวัยชั้นปีที่ 2 ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กองค์การบริหารส่วนตำบลยางสักกระโพหลุ่ม อำเภอม่วงสามสิบ จังหวัดอุบลราชธานี ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2561 จำนวน 15 คน ได้ค่าประสิทธิภาพของชุดกิจกรรม 87.29/87.10
2. ประสิทธิภาพชุดกิจกรรมทักษะทางภาษาด้านการฟังและการพูด สำหรับเด็กปฐมวัยโดยใช้หนังสือประกอบคำคล้องจอง มีประสิทธิภาพ 87.29/87.10 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ สอดคล้องกับสมมติฐาน
3. ค่าดัชนีประสิทธิผลของชุดกิจกรรมทักษะทางภาษาด้านการฟังและการพูด สำหรับเด็กปฐมวัยโดยใช้หนังสือประกอบคำคล้องจอง มีค่าดัชนีประสิทธิผล เท่ากับ 0.78 หรือคิดเป็นร้อยละ 78.00 สอดคล้องกับสมมติฐาน
4. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังการเรียนด้วยชุดกิจกรรมทักษะทางภาษาด้านการฟังและการพูด สำหรับเด็กปฐมวัยโดยใช้หนังสือประกอบคำคล้องจองแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 นั่นคือ เมื่อนักเรียนได้รับการเรียนรู้จากชุดกิจกรรมทักษะทางภาษาด้านการฟังและการพูด สำหรับเด็กปฐมวัยโดยใช้หนังสือประกอบคำคล้องจอง นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียน สูงกว่าก่อนเรียน สอดคล้องกับสมมติฐาน
5. นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนโดยใช้ชุดกิจกรรมทักษะทางภาษาด้านการฟังและ การพูด สำหรับเด็กปฐมวัยโดยใช้หนังสือประกอบคำคล้องจอง โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ค่าเฉลี่ย 4.61 สอดคล้องกับสมมติฐาน และพบว่า นักเรียนมีระดับความพึงพอใจต่อชุดกิจกรรมทักษะทางภาษาด้านการฟังและการพูด สำหรับเด็กปฐมวัยโดยใช้หนังสือประกอบคำคล้องจอง โดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย 5 ลำดับแรก คือ ชุดกิจกรรมช่วยให้นักเรียนมีความสามารถและเกิดทักษะในการฟังและการพูด นักเรียนมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมร่วมกัน ชุดกิจกรรมส่งเสริมให้นักเรียนได้ใช้ความคิดโดยอาศัยความรู้และความเข้าใจเดิมเป็นพื้นฐาน เวลาที่ใช้ในการทำชุดกิจกรรมเพียงพอและเหมาะสม และกิจกรรมในชุดกิจกรรมทำให้นักเรียนทราบความก้าวหน้าของตนเอง ค่าเฉลี่ย 4.92, 4.74, 4.72, 4.68 และ 4.63 ตามลำดับ