บทคัดย่อ
ชื่องานวิจัย การพัฒนาชุดกิจกรรมเกมการศึกษา (เกมจับคู่) เพื่อพัฒนาความพร้อมทักษะ
ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
ผู้วิจัย นางปราณี สูบุญ
ปีที่พิมพ์ 2562
_______________________________________________________________________
การพัฒนาชุดกิจกรรมเกมการศึกษา (เกมจับคู่) เพื่อพัฒนาความพร้อมทักษะทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาชุดกิจกรรมเกมการศึกษา (เกมจับคู่) เพื่อพัฒนาความพร้อมทักษะทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบคะแนนประเมินผลระดับความรู้ของเด็กปฐมวัย ก่อนและหลังการใช้ชุดกิจกรรมเกมการศึกษา (เกมจับคู่) เพื่อพัฒนาความพร้อมทักษะทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย และ 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของเด็กปฐมวัยที่เรียนรู้จากชุดกิจกรรมเกมการศึกษา (เกมจับคู่) เพื่อพัฒนาความพร้อมทักษะทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาวิจัย เป็นเด็กปฐมวัยชั้นปีที่ 2 ศูนย์เด็กก่อนเกณฑ์ในวัดบ้านนาดี อำเภอม่วงสามสิบ จังหวัดอุบลราชธานี ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2561 จำนวน 13 คน ได้มาโดยการกำหนดเลือกแบบเจาะจง
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง แบบสอบถาม คู่มือการใช้นวัตกรรมแบบฝึกทักษะ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและแบบวัดความพึงพอใจของนักเรียน
สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสถิติ Wilcoxon Sing - Rank test
สรุปผลการวิจัย
การพัฒนาชุดกิจกรรมเกมการศึกษา (เกมจับคู่) เพื่อพัฒนาความพร้อมทักษะทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย สรุปผลได้ดังนี้
1. ผลการทดลองใช้ชุดกิจกรรมเกมการศึกษา (เกมจับคู่) เพื่อพัฒนาความพร้อมทักษะทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย พบว่า
1. ทดลองแบบหนึ่งต่อหนึ่ง (One to One Testing) โดยทดลองกับเด็กปฐมวัยชั้นปีที่ 2 ศูนย์เด็กก่อนเกณฑ์ในวัดบ้านนาดี อำเภอม่วงสามสิบ จังหวัดอุบลราชธานี ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 3 คน โดยเลือกนักเรียนที่มีผลการเรียนกลุ่มเก่ง ปานกลาง และอ่อน กลุ่มละ 1 คน ได้ค่าประสิทธิภาพของชุดกิจกรรม 82.60/84.10
2. ทดลองใช้กับเด็กปฐมวัยชั้นปีที่ 2 ศูนย์เด็กก่อนเกณฑ์ในวัดบ้านนาดี อำเภอม่วงสามสิบ จังหวัดอุบลราชธานี ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560 ที่ไม่ใช่กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 9 คน คือ นักเรียนเก่ง 3 คน ปานกลาง 3 คน และอ่อน 3 คน ได้ค่าประสิทธิภาพของชุดกิจกรรม 83.30/84.20
3. นำชุดกิจกรรมเกมการศึกษา (เกมจับคู่) เพื่อพัฒนาความพร้อมทักษะทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย ที่ได้รับการประเมินจากผู้เชี่ยวชาญมาพิจารณาปรับปรุงแก้ไขแล้วนำไปทดลองใช้จริงกับเด็กปฐมวัยชั้นปีที่ 2 ศูนย์เด็กก่อนเกณฑ์ในวัดบ้านนาดี อำเภอม่วงสามสิบ จังหวัดอุบลราชธานี ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2561 จำนวน 13 คน ได้ค่าประสิทธิภาพของชุดกิจกรรม 83.93/86.90
2. ประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมเกมการศึกษา (เกมจับคู่) เพื่อพัฒนาความพร้อมทักษะทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยมีประสิทธิภาพ 83.93/86.90 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้
3. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังการเรียนด้วยชุดกิจกรรมเกมการศึกษา (เกมจับคู่) เพื่อพัฒนาความพร้อมทักษะทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 นั่นคือ เมื่อนักเรียนได้รับการเรียนรู้จากชุดกิจกรรมเกมการศึกษา (เกมจับคู่) เพื่อพัฒนาความพร้อมทักษะทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทาง การเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน สอดคล้องกับสมมติฐาน
4. นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนโดยใช้ชุดกิจกรรมเกมการศึกษา (เกมจับคู่) เพื่อพัฒนาความพร้อมทักษะทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ค่าเฉลี่ย 4.53 เมื่อจำแนกเป็นรายด้าน พบว่า นักเรียนมีระดับความพึงพอใจ ด้านเนื้อหาโดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย 3 ลำดับแรก คือ ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ เรียงลำดับจากง่ายไปหายาก และมีความทันสมัยน่าสนใจค่าเฉลี่ย 4.62, 4.57 และ 4.52 ตามลำดับ ในด้านกิจกรรมการเรียนการสอน พบว่า นักเรียนมีระดับความพึงพอใจ เรียงลำดับค่าเฉลี่ย จากมากไปหาน้อย 3 ลำดับแรก คือ มีลำดับขั้นตอนเหมาะสม ร่วมกิจกรรมด้วยความสุข สนุกสนาน และมีส่วนร่วมในกิจกรรมทุกขั้นตอน ค่าเฉลี่ย 4.72 , 4.71 และ 4.68 ตามลำดับ ด้านรูปแบบประกอบการสอน พบว่า นักเรียนมีระดับความพึงพอใจ เรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมาก ไปหาน้อย 3 ลำดับแรก คือ น่าสนใจ สวยงาม ตัวอักษรอ่านง่าย ชัดเจน และภาพประกอบชัดเจนเหมาะสม ค่าเฉลี่ย 4.92 , 4.74 และ 4.63 และด้านการวัดและประเมินผล พบว่า นักเรียนมีระดับความพึงพอใจ เรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย 3 อันดับแรก คือ แบบทดสอบหลากหลาย เครื่องมือวัดผลประเมินผลชัดเจนและมีประสิทธิภาพและแบบทดสอบเหมาะสมกับเวลาค่าเฉลี่ย 4.64 , 4.61 และ 4.58 ตามลำดับ