บทคัดย่อ
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542 ได้กำหนดแนวทางการศึกษา
ให้ผู้เรียนทุกคนมีความสามารถในการเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้และถือว่าผู้เรียนสำคัญที่สุด
การจัดการเรียนรู้ให้สถานศึกษาและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดเนื้อหาสาระและกิจกรรมให้สอดคล้องกับความสนใจและความถนัดสนใจและความถนัดของผู้เรียน โดยคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล
ฝึกทักษะ กระบวนการคิด การจัดการ การเผชิญสถานการณ์ การประยุกต์ความรู้มาใช้เพื่อป้องกันและแก้ปัญหา จัดกิจกรรมให้นักเรียนได้เรียนรู้จากประสบการณ์จริง ฝึกการปฏิบัติ ให้ทำได้ คิดเป็น ทำเป็น ดังนั้นการจัดกิจกรรมการเรียนรู้วิชาวิทยาศาสตร์ในศตวรรษที่ 21 โดยใช้บทเรียนท้องถิ่น ด้านการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพเขตห้ามล่าสัตว์ป่าดูนลำพัน สามารถพัฒนาการคิดวิเคราะห์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ การวิจัยในครั้งนี้มีจุดมุ่งหมาย 1) เพื่อพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้วิชาวิทยาศาสตร์ในศตวรรษที่ 21 โดยใช้บทเรียนท้องถิ่น การอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพเขตห้ามล่าสัตว์ป่าดูนลำพัน ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อศึกษาดัชนีประสิทธิผลการเรียนรู้ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่เรียนด้วยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้วิชาวิทยาศาสตร์ในศตวรรษที่ 21 โดยใช้บทเรียนท้องถิ่น การอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพเขตห้ามล่าสัตว์ป่าดูนลำพัน 3) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระหว่างคะแนนก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่เรียนด้วยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้วิชาวิทยาศาสตร์ในศตวรรษที่ 21 โดยใช้บทเรียนท้องถิ่น การอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพเขตห้ามล่าสัตว์ป่าดูนลำพัน 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้วิชาวิทยาศาสตร์ในศตวรรษที่ 21 โดยใช้บทเรียนท้องถิ่น การอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพเขตห้ามล่าสัตว์ป่าดูนลำพัน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาในครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/1 โรงเรียนนาเชือกพิทยาสรรค์ ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2562 จำนวน 36 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) ใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยในการสุ่ม เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้วิชาวิทยาศาสตร์ในศตวรรษที่ 21 จำนวน 8 แผน คุณภาพของแผนการจัดการเรียนรู้ที่สร้างขึ้นจากการประเมินของผู้เชี่ยวชาญ ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.83 แผนการจัดการเรียนรู้มีความเหมาะสมระดับมากที่สุด บทเรียนท้องถิ่น
การอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพเขตห้ามล่าสัตว์ป่าดูนลำพัน คุณภาพจากการประเมินของผู้เชี่ยวชาญค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.75 แสดงว่าบทเรียนท้องถิ่น การอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพเขตห้ามล่าสัตว์ป่าดูนลำพัน เหมาะสมระดับมากที่สุด แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาเคมี ว23207 แบบปรนัยชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 40 ข้อ มีค่าดัชนีความสอดคล้องตั้งแต่ 0.80 ถึง 1.00 ถือว่ามีความเหมาะสม ค่าความยาก (P) ตั้งแต่ 0.22 ถึง 0.77 ค่าอำนาจจำแนก (B) ตั้งแต่ 0.33 ถึง 0.77 ค่าความเชื่อมั่นของแบบทดสอบทั้งฉบับเท่ากับ 0.94 และแบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ต่อการเรียนรู้ จำนวน 15 ข้อ มีค่าดัชนีความสอดคล้องตั้งแต่ 0.80 ถึง 1.00 ถือว่ามีความเหมาะสม ค่าอำนาจจำแนก (B) ตั้งแต่ 0.21 ถึง 0.65 ค่าความเชื่อมั่นของแบบทดสอบทั้งฉบับเท่ากับ 0.56 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และตรวจสอบสมมติฐานใช้ t test (Dependent Sample)
ผลการวิจัยปรากฏดังนี้
1. การจัดกิจกรรมการเรียนรู้วิชาวิทยาศาสตร์ในศตวรรษที่ 21 โดยใช้บทเรียนท้องถิ่น
การอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพเขตห้ามล่าสัตว์ป่าดูนลำพัน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
มีประสิทธิภาพ (E1/E2) เท่ากับ 86.31/84.58 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ 80/80
2. นักเรียนที่เรียนโดยใช้การจัดกิจกรรมการเรียนรู้วิชาวิทยาศาสตร์ในศตวรรษที่ 21
โดยใช้บทเรียนท้องถิ่น การอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพเขตห้ามล่าสัตว์ป่าดูนลำพัน
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีคะแนนเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้วิชา
วิทยาศาสตร์ในศตวรรษที่ 21 โดยใช้บทเรียนท้องถิ่น การอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพเขตห้ามล่าสัตว์ป่าดูนลำพัน ในระดับมากที่สุด
โดยสรุป ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้วิชา
วิทยาศาสตร์ในศตวรรษที่ 21 โดยใช้บทเรียนท้องถิ่น การอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพเขตห้ามล่าสัตว์ป่าดูนลำพัน ทำให้ผู้เรียนสามารถผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น ผู้เรียนมีความรู้เพิ่มขึ้นจากเดิมอย่างมีคุณภาพ อีกทั้งผู้เรียนได้รับการพัฒนาการคิดวิเคราะห์ด้วยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ดังนั้นการจัดกิจกรรมการเรียนรู้วิชาวิทยาศาสตร์ในศตวรรษที่ 21 โดยใช้บทเรียนท้องถิ่น การอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพเขตห้ามล่าสัตว์ป่าดูนลำพัน นับว่าเป็นสื่อการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพและเกิดประโยชน์สำหรับนำไปใช้ในการพัฒนาการเรียนการสอนเป็นอย่างยิ่ง